-
วินทร์ เลียววาริณ1 วันที่ผ่านมา
ท่านที่ชอบอ่านคำทำนายราศีรู้ไหมครับว่า การทำนายแบบนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไร?
ก. สมัยอียิปต์
ข. สมัยโรมัน
ค. สมัยอินคาให้เวลาคิดห้าวินาที
คำตอบคือข้อ ง. - ผิดทั้งหมด
คำทำนายราศีเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 โดย R. H. Naylor หมอดูชาวอังกฤษ ตอนนั้นหนังสือพิมพ์มีหน้าว่าง บรรณาธิการก็บอก "เฮ้ย! เนย์เลอร์ เอ็งหาอะไรมาป้อนหน่อยซิ"
"ข่าวซุบซิบดาราดีมั้ยพี่?"
"อย่าเลย คนเขียนเยอะแล้ว อยากได้อะไรใหม่ๆ น่ะ แต่คนต้องชอบ"
"งั้นทำนายดวงดีมั้ยพี่?"
"ดี แต่จะทำนายคนจำนวนมากได้ยังไงเล่า"
"ก็ทำนายราศีไง คนเกิดราศีนี้ วันนี้เป็นอย่างนี้ คนเกิดราศีนั้น วันนี้เป็นอย่างนั้น"
"แต่มีคนอ่านเป็นล้านๆ คน คำทำนายจะแม่นกับทุกคนได้ยังไง"
"ช่าง mang เถอะพี่"
"เอ้า! เอาก็เอา mang ก็ mang"
วันนั้นจึงเป็นต้นกำเนิดของ tabloid astrology - โหราศาสตร์สิ่งพิมพ์ ทายแบบเหมาโหล มั่ว เป็นกลาง ๆ
ปรากฏว่าฮิตระเบิด คำทำนายแบบนี้แพร่ระบาดไปทั่วโลก ผ่านมาร้อยกว่าปี ก็ยังไม่เลิก ใครก็บอกว่า "แม่นจุงเบย"
เป็นไปได้ยังไง? คำตอบคือคนอ่านทำให้มันแม่นเอง
นี่ก็คือหลัก ‘Self Selection’ นั่นคือคนจะตีความให้เข้ากับสิ่งที่ตนคาดหวังลึก ๆ ในใจ (คำว่า Self Selection ล้อกับคำว่า Natural Selection ของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน) สรุปก็คือคำทำนายราศีมั่วมาตั้งแต่วันแรกแล้ว และเราก็ยินดีอ้าแขนรับความมั่วมาร้อยกว่าปี และคงอีกหลายร้อยปี
ทางพุทธสอนว่า สรรพสิ่งดำเนินไปตามเหตุและปัจจัย มันเป็นความจริงเช่นนั้น ดังนั้นผลของอนาคตจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ ณ นาทีนี้ของเรา
พระพุทธองค์ตรัสว่า “ดวงดาวในท้องฟ้าจะทำอะไรได้ ประโยชน์ที่ควรจะได้ก็ผ่านพ้นคนโง่ ๆ ที่มัวแต่นั่งคำนวณดวงดาวในท้องฟ้าไปเสียสิ้น”
และนี่ก็คือความแตกต่างระหว่างการใช้ปัญญานำทางชีวิต หรือใช้ความงมงายกำหนดชีวิต
ย่อบางส่วนจาก หลับถึงชาติหน้า / วินทร์ เลียววาริณ อ่านเล่มนี้เล่มเดียว ประหยัดค่าดูหมอแก้กรรมฯลฯ ไปตลอดชีวิต
(ข้อมูลหนังสือ https://www.winbookclub.com/store/detail/168/หลับถึงชาติหน้า )
0- แชร์
- 5
-
วินทร์ เลียววาริณ1 วันที่ผ่านมา
ตามสูติบัตร ผมเป็นชาวราศีเมษ เพราะวันเกิดในทะเบียนบ้านคือ 3 เมษายน
แต่ตามความเป็นจริง ผมเป็นชาวราศีมีน เพราะวันเกิดจริงคือ 23 มีนาคม
สัญลักษณ์ของราศีมีนคือปลาคู่ ปลาธรรมดานะครับ ไม่ใช่ปาท่องโก๋ที่เป็นคู่เหมือนกัน
สมัยหนุ่มๆ ผมศึกษาเรื่องราศี อ่านตำราโหราศาสตร์มากมาย เพราะเชื่อว่าเรื่องราศีเป็นวิทยาศาสตร์
จนภายหลังไปคบหาสมาคมกับพวกนอกคอก เช่น อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก คาร์ล เซเกน และนักฟิสิกส์อีกจำนวนมาก ก็เริ่มมีมุมมองที่เปลี่ยนไปแบบ 180 องศา
เพราะพบว่าราศีต่างๆ ไม่ว่าเมษ มีน ธนู ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งสมมุติ ไม่มีตัวตนจริงๆ
ราศีเป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ สร้างขึ้นมาให้เราเชื่อเอง ทุกเรื่องเกี่ยวกับราศีเป็น 'นิยาย' ที่แต่งขึ้นมาให้เชื่อ
ยิ่งศึกษาก็ยิ่งพบหลักฐานชัดเจนว่าโหราศาสตร์ (astrology) ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ มันเป็นแค่ศาสตร์อย่างหนึ่ง
ส่วนวิชาที่เกี่ยวข้องกับดวงดาวและเป็นวิทยาศาสตร์จริงๆ เรียก ดาราศาสตร์ (astronomy)
เป็นหนังคนละม้วนกัน
การย้ายสังกัดจากพรรค astrology มาเป็นพรรค astronomy นั้นบอกตรงๆ ว่ายากมาก เพราะมันสวนความเชื่อที่ได้รับการปลูกฝังมาแต่เด็ก
แต่เราก็ต้องว่ากันที่หลักฐานใช่ไหม? - กาลามสูตรน่ะ
ผมเขียนหนังสือพวก ปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล / ปลาที่ว่ายนอกสนามฟุตบอล / หลับถึงชาติหน้า ฯลฯ ก็เพื่อโน้มน้าวใจผู้อ่านให้ย้ายพรรคเหมือนกัน
แต่ไม่โน้มน้าวใจด้วยความเชื่อ ว่ากันด้วยหลักฐานล้วนๆ
ถ้าเห็นหลักฐานแล้วยังไม่พอใจ หรือรับหลักฐานได้ แต่ยังไม่อยากย้ายพรรค ก็เอาที่สบายใจ ไม่ว่ากัน
แต่ซื้อหนังสือก่อนก็แล้วกัน
วินทร์ เลียววาริณ 5-6-23
0- แชร์
- 9
-
วินทร์ เลียววาริณ1 วันที่ผ่านมา0
- แชร์
- 2
-
วินทร์ เลียววาริณ1 วันที่ผ่านมา0
- แชร์
- 0
-
วินทร์ เลียววาริณ2 วันที่ผ่านมา
(เรื่องนี้ฉายในโรงในปี 2017 ตอนนี้มาฉายทาง Netflix จึงลงบทรีวิวซ้ำ)
ปีคือ 2073 ปัญหาคือประชากรล้นโลก การแก้ปัญหาคือ Cryosleep
Cryosleep คือกระบวนการทำให้ร่างกาย 'หลับ' หยุดทำงาน หรือแช่แข็ง แต่ยังไม่ตาย สามารถปลุกให้ฟื้นอีกครั้งตามเวลาที่กำหนด เป็นองค์ประกอบในนิยายวิทยาศาสตร์จำนวนนับไม่ถ้วน
ในกรณีนี้คือทำให้ประชากรเด็กที่ล้นโลกหลับไป เพื่อประหยัดอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ แล้วรอปลุกให้ตื่นในอนาคตเมื่อโลกแก้ปัญหาเรื่องต่างๆ ได้หมดแล้ว
นี่คือ What Happened to Monday หนังไซไฟทริลเลอร์ของผู้กำกับชาวนอร์เวย์
มันไม่ใช่คอนเส็ปต์ใหม่ ในปี 1973 เราเคยมีหนังเรื่อง Soylent Green ของ Richard Fleischer ซึ่งว่าด้วยเรื่องพลเมืองล้นโลกเช่นกัน หนังหักมุมอย่างเจ็บปวด กลายเป็นหนังคลาสสิกไปแล้ว
ในปี 1978 มีหนังเรื่อง Coma กำกับโดย Michael Crichton คนเขียน Jurassic Park ว่าด้วยการแช่แข็งคน หนังหักมุมเอวเคล็ดพอประมาณ
What Happened to Monday ก็คือ Soylent Green + Coma + Nineteen Eighty-Four
เมื่อเคยดู Soylent Green + Coma มาแล้ว ก็เดาไม่ยากเท่าไรว่าเรื่อง What Happened to Monday จะเดินไปทิศไหน
อย่างไรก็ตาม WHtM หักมุมหลายชั้นกว่า
สรุปก็คือ WHtM ดีกว่าที่คิด แม้มีจุดอ่อนมากพอประมาณ ตัวร้ายคลิเช่ และกลิ่น "Big Brother is watching you." ค่อนข้างแรง แต่พอให้อภัยได้ด้วยวิธีเล่าเรื่อง การหักมุมหลายชั้น และให้ความบันเทิงสูง
8.5/10
Netflixวินทร์ เลียววาริณ รวมบทรีวิวหนังจำนวนหลายร้อยเรื่องในหนังสือใหม่ บ้าหนัง 1-4 มีจำหน่ายในรูปอีบุ๊คที่เว็บไซต์ winbookclub.com และที่ MEB (คีย์คำว่า วินทร์ เลียววาริณ)
0- แชร์
- 21
