เกี่ยวกับสำนักพิมพ์ 113
113 คือเลขที่บ้านเกิดและเป็นจุดเริ่มต้นการเรียนรู้โลกของ วินทร์ เลียววาริณ 113 จึงใช้เป็นชื่อสำนักพิมพ์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับผลงานของเขา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2543 ผลิตหนังสือจำหน่ายปีละ 4-5 เล่ม
113 ตั้งใจผลิตแต่งานคุณภาพ ไม่มียาพิษแก่ผู้อ่าน เน้นการให้ความรู้ ปัญญา ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และพยายามรักษาราคาหนังสือให้ต่ำที่สุดเท่าที่สำนักพิมพ์อยู่ได้ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงหนังสือได้ง่าย
หนังสือบางชุดเช่นชุดกำลังใจ เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้อ่านฟรีก่อนที่จะตีพิมพ์เป็นเล่ม จำนวนกว่า 400 บทความ (อยู่ในห้องข่าวหน้าหนึ่ง - หนอนในตะกร้า)
ผู้อ่านที่สนใจอยากอ่านบทวิจารณ์หนังสือโดยนักวิจารณ์ อาจารย์ และนักอ่าน โปรดอ่านได้ที่ห้องผลงาน
113 ยังจำหน่ายหนังสือผ่านเว็บนี้ในราคาพิเศษ เพื่อความสะดวกแก่ผู้อ่านที่เข้าถึงร้านหนังสือได้ยาก หรือร้านไม่ได้วางจำหน่ายครบ หนังสือทุกเล่มมีตัวอย่างให้อ่านฟรี (อยู่ในห้องผลงาน)
ถึงจะเป็นองค์กรขนาดเล็กมาก 113 ก็พยายามคืนกำไรแก่สังคมโดยผลิตหนังสือบริจาคเข้าห้องสมุดทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน เราได้บริจาคหนังสือเข้าห้องสมุดไปแล้วกว่า 80,000 เล่ม มูลค่ากว่า 15 ล้านบาท (รายละเอียดอยู่ในห้อง เติมหัวใจใส่ห้องสมุด)
ติดต่อสำนักพิมพ์
สำนักพิมพ์ 113
85/53 ถนนสุขุมวิท 15
เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
โทร. 02-255-7655, 08-5067-6696
อีเมล : 113@winbookclub.com
ติดต่อฝ่ายจัดส่ง
โทร. 02-512-3225, 08-5109-1020
อีเมล : order@winbookclub.com
ติดต่อ วินทร์ เลียววาริณ : win@winbookclub.com
เกี่ยวกับ วินทร์ เลียววาริณ
วินทร์ เลียววาริณ เกิดูที่บ้านเลขที่ 113 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2499 แต่ในทะเบียนราษฎร์คือ 3 เมษายน 2499 เนื่องจากการคมนาคมในยุคนั้นไม่สะดวก จึงแจ้งเกิดช้ากว่าวันเกิดจริง ชื่อเดิมคือ สมชัย พ่ออพยพจากเมืองจีน มาตั้งหลักที่หาดใหญ่ ประกอบอาชีพเป็นช่างทำ-ซ่อมรองเท้า แม่ช่วยพ่อทำรองเท้าและเป็นแม่บ้าน ตั้งแต่เด็กคลุกคลีกับการออกแบบรองเท้า การดูช่างฝีมือทำงาน และแก้ปัญหาในการซ่อมทุกรูปแบบ มีส่วนชี้นำให้สนใจด้านการออกแบบ
เมื่ออายุเจ็ดขวบ เข้าเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวิริยะเธียรวิทยา โรงเรียนเล็กๆ ที่สอนเพียงชั้นประถมเท่านั้น เรียนซ้ำชั้น ป. 1 ไม่ใช่เพราะสอบตก แต่ครูประจำชั้นเห็นว่าจะทำให้ภูมิแน่นขึ้น!
เมื่อผ่านชั้น ป. 3 ไปเรียนต่อชั้น ป. 4 ที่โรงเรียนแสงทองวิทยา หาดใหญ่ เนื่องจากพ่อแม่อยากให้เรียนภาษาอังกฤษด้วย เรียนภาษาอังกฤษจากบาทหลวงฝรั่ง แสงทองวิทยาเป็นโรงเรียนคาทอลิก จึงมีโอกาสเรียนทั้งศาสนาพุทธและคริสต์ ชอบวิชาวาดเขียนเป็นพิเศษ เป็นช่วงเวลาที่อ่านหนังสือนิยายจนหมดห้องสมุด ชอบอ่านหนังสือมากจนสมัครเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดของโรงเรียน อ่านนิยายมากทั้งนอกและในห้องเรียน จนทำให้การเรียนหล่นจากที่ 1 เป็นที่ 25!
เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีโอกาสไปเรียนต่อชั้น ม.ศ. 4 ที่กรุงเทพฯ ณ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รุ่นที่ 3 และเป็นรุ่นแรกที่เรียน ณ ที่ตั้งของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ปัจจุบัน นี่เป็นจุดหักเหของชีวิต เนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะไม่ได้ไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯและทำงานเจริญรอยตามพ่อ
วินทร์ เลียววาริณ สนใจงานศิลปะตั้งแต่เล็ก ชอบวาดรูปเป็นชีวิตจิตใจ แต่เนื่องจากสมัยนั้นไม่มีคณะวิชาทางด้านศิลปะให้เลือกมาก จึงเลือกเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในรุ่น 2518 ระหว่างเรียนหนังสือ เขาเขียนนิยายภาพขายด้วย
วินทร์ เลียววาริณ ได้รับอิทธิพลวิธีการคิดมาจากอาจารย์หลายท่าน เช่น แสงอรุณ รัตกสิกร ซึ่งสอนเรื่องสัจจะในการออกแบบ ความเรียบง่ายคือความงามของ ศิลปะ และธรรมชาติ เรียนการปลูกต้นไม้จากคณะนี้เช่นกัน
หลังจบปริญญาตรี สถ.บ. ได้วันเดียว วินทร์ เลียววาริณ ก็เดินทางไปทำงานที่สิงคโปร์ทันที เป็นสถาปนิกที่สิงคโปร์ราวสามปีเศษ ก็เดินทางไปทำงานเป็นสถาปนิกที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกันในตอนกลางคืนก็เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยหลายแห่งโดยไม่เอาปริญญา เช่น กราฟิก ดีไซน์, ภาพยนตร์, แอนิเมชัน, การตัดต่อหนัง และด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกยุคเริ่มต้น ซึ่งเป็นของใหม่ในเวลานั้น เมื่อจบแล้วกลับเมืองไทยมาทำงานในวงการโฆษณา เริ่มชีวิตคนโฆษณาด้วยตำแหน่งผู้กำกับศิลป์ และต่อมาเป็น ครีเอทีฟ ไดเรคเตอร์ ระหว่างนั้นเรียนต่อปริญญาโทด้านการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาจกล่าวได้ว่า วินทร์ เลียววาริณ เริ่มต้นการเขียนหนังสือในรูปนิยายภาพ แต่งเรื่อง และวาดภาพ แต่เริ่มงานเขียนเรื่องสั้นเมื่อเริ่มทำงานโฆษณา เขียนเรื่องสั้นจำนวนหนึ่งเก็บไว้เล่นๆ โดยไม่คิดจะเป็นนักเขียน จวบจนวันหนึ่งเมื่อเรื่องสั้นแนวหักมุมจบ ไฟ ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารอิมเมจ (อยู่ใน สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง) ก็เริ่มเขียนจริงจังมากขึ้น ตรงกับช่วงการกลับมาของนิตยสารช่อการะเกดยุคที่สองพอดี จึงกลายเป็นสนามทดลองของเขา งานเขียนแนวทดลองทั้งหมดก็มีจุดเริ่มต้นที่นิตยสารช่อการะเกด รางวัลวรรณกรรมแรกๆ ในชีวิตก็เกิดที่สนามช่อการะเกด เช่น โลกีย-นิพพาน (2535 อยู่ใน อาเพศกำสรวล), การหนีของราษโลกสามใบของ ราษฎร์ เอกเทศ (2538) และ ตุ๊กตา (2541) ได้รับรางวัลช่อการะเกดยอดนิยมประจำปี 2535, 2538 และ 2541 ตามลำดับ (อยู่ใน สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน)
นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลวรรณกรรมอื่นๆ เช่น เช็งเม้ง (2541) ได้รับรางวัลเรื่องสั้นดีเด่นจากสมาคมภาษาและหนังสือ ปี 2541 (อยู่ใน สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน), รางวัลซีไรต์สองสมัยจากนวนิยาย ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน (2540) และรวมเรื่องสั้น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน (2542) ได้รับรางวัลศิลปาธรในปี พ.ศ. 2549 และได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี พ.ศ. 2556
ในปี 2546 วินทร์ เลียววาริณ เลิกทำงานโฆษณาเพื่อ "ขอลองเป็นนักเขียนอาชีพสักปีสองปี ถ้าไม่สำเร็จ จะกลับไปทำงานโฆษณาตามเดิม" ปรากฏว่าเขาไม่ได้หวนกลับไปทำงานนั้นอีกเลยจนทุกวันนี้
(สนใจอ่านประวัติการทำงานและผลงานด้านอื่นๆ ของ วินทร์ เลียววาริณ ได้จากหนังสือ เดินไปให้สุดฝัน)
- Official facebook เข้าเฟซบุ๊ค วินทร์ เลียววาริณ
- fanpage จัดทำขึ้นโดยกลุ่มนักอ่าน เชิญเข้าไปร่วมสนุกได้
บทสัมภาษณ์ วินทร์ เลียววาริณ
- เส้นทางสายน้ำหมึก วินทร์ เลียววาริณ
- คนดลใจ
- BK Magazine Feb 19, 2014
- Bangkok Post, February 10, 2014
- สัมภาษณ์รายการ 168 ชั่วโมง
- รงค์ วงษ์สวรรค์ เขย่ามือกับ วินทร์ เลียววาริณ
- คนในยุทธจักรไม่เป็นตัวของตัวเอง
- สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2556
- สัมภาษณ์โดยวิชาการดอทคอม
- "เอาใจเขามาใส่ใจเราคือศาสนาของผม"
- เมืองกับชนบท
- ของฝากสำหรับนักอยากเขียน จาก วินทร์ เลียววาริณ
- จุก เบี้ยวสกุล เขียนถึง วินทร์ เลียววาริณ
- วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนสองซีไรต์
- มุมมองนักคิด
- สัมภาษณ์ Accy Today
- เขียนอย่างไรจึงอยู่ในใจนักอ่าน
- กรุงเทพธุรกิจสัมภาษณ์
- นิตยสารยูงทองสัมภาษณ์
- Science Fiction Not All About Aliens
- เคล็ดสำคัญจาก วินทร์ เลียววาริณ
- เขียนบทหนังแบบ วินทร์ เลียววาริณ
- ปืนใหญ่จอมสลัด นสพ.สยามดารา
- Southern yarns weave a rich tapestry
- Open 2549
- มองวิทย์ด้วยจิตศิลป์
- สัมภาษณ์ 6 นักเขียนไซไฟ
- Book Variety โลกหนังสือ 2544-2545
- นิตยสารไรเตอร์ ฉบับกันยายน 2540
- The Nation, Sunday Focus December 1995
- DNA สัมภาษณ์
- วินทร์ เลียววาริณ ในวันเวลาที่ 'ตกผลึก'
- นิทานที่ วินทร์ เลียววาริณ อยากให้คนรุ่นใหม่อ่าน
- กรุงเทพธุรกิจ 24 สิงหาคม 2546
- สัมภาษณ์ผู้จัดการ 8/2003
- สัมภาษณ์นิตยสาร E-Commerce, 6/04
- คำถามจาก นิตยสารสุดสัปดาห์ 25 มิถุนายน 2545
- หนังสือของ ชาติ ภิรมย์กุล 22 พฤษภาคม 2545
- Of Life, Death and Other Fears
- วินทร์ เลียววาริณ โดย ยูร กมลเสรีรัตน์
- ผู้ผลิตหนังสือทำมือ 3 สิงหาคม 2546
- นิตยสาร FRONT 31 กรกฎาคม 2546
- คำถาม 17 มีนาคม 2546
- คำถาม 30 มกราคม 2547
- คำถามจากนักศึกษา 2547
- กีรตี ชนา 1 มีนาคม 2547
- สัมภาษณ์นักศึกษาคณะสถาปัตยฯ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- บทสัมภาษณ์ โตเกียว ชิมบุน 2001 (ฉบับแปล)
- ลมหายใจบนตัวหนังสือ
- GM Magazine 2538
BK Magazine Feb 19, 2014
Author Win Lyovarin on winning yet another award, extra-terrestrial life and "real" democracy
The two-time winner of the S.E.A. Write award, prominent writer Win Lyovarin, 57, was just recently anointed as a National Artist of Thailand by the Office of National Culture.
By Monruedee Jansuttipan | Feb 19, 2014
I never thought I’d become a writer, even though I loved to read so much. When I came back from the US, I tried to find books to read but nothing satisfied me. I had a vast collection of books to read in the US, but there was nothing I could read here at all.
If you can’t find it, just create it. I started writing what I wanted to read. It was just an expression of what I fantasized about. I later sent some of my short novels to be published in magazines in the 1990s, and I’ve kept writing ever since.
I don’t get why Thai society doesn’t see the importance of writing as a profession. The pay is still the same as it was 20-30 years ago. That’s why I had to take another job as an art director make a living.
I get bored easily. That’s why I always change genres, from thriller to noir to sci-fi.
Writers always live inside their own little world, myself included. That’s why I’m not really affected by the outside world, including winning the National Artist Award. I appreciate that people recognize my work, but I’ll continue to work the same as always.
I only write what I believe in, but sometimes imagination isn’t enough. When writing sci-fi about extraterrestrial life, it’s hard to support my ideas because so little is known.
I believe that there is extraterrestrial life. Witnessing the vast diversity on this planet, it would be so weird if there weren’t other lives in this gigantic universe.
Readers in Thailand may be growing in quantity, but not quality. We don’t have that many types of books here. For example, it’s really hard to find Thai sci-fi. No one sells it, no one reads it.
It’s horrible that we don’t have enough good books to counterbalance crap books about black magic or superstitions. It shows that our readers aren’t very diverse, too.
Books are food for the brain. We should encourage people to taste new types of books. It’s like eating different vitamins. It will give you a wider perspective.
We should be more serious about selecting books for children in libraries. If you give black magic books to children while they grow up, what kind of adult will we get in the future?
We need to stop thinking of every book as good. I’m fed up with this. We need to be more rigorous to determine good books from bad. If it’s a bad book, tear it up, burn it, throw it in the bin right away.
Books that make you dumber are poison. I don’t give poison to my readers because I’ve always said that I write books for my children and I don’t want bad things for them.
It’s time to create a society that is full of wisdom, not knowledge. Even if one day we are a country where 90 percent of the population has graduated from university, it could still be a bad society if people don’t use their knowledge for the power of good. Too many nowadays use their knowledge to serve evil politicians.
You can tell what a person is like from what they read. Is there any other country in this world so easily bought by politicians with populism? How do they believe in all the free stuff? It all comes from our taxes.
Greed has brought our country into turmoil. Politicians are greedy and people are greedy. Our people aren’t ready to improve the political system. This vicious circle hasn’t changed since our first constitution in 1932.
We can’t wait for politicians to change. They will never change. We must be the ones to instigate change. If we reject corruption, then our politicians will too.
If we want a better society, we must create quality people through good books. Give children good books.
Publishers are making books for money, not for people. There are people who do really try to make good books, but it’s not enough. They need support from the government.
We don’t have a real democracy. If we had quality people, we wouldn’t be talking about how to get the country out of this crisis in the first place. We wouldn’t need to think of how to remove protesters or whether to vote or not. The fact is our people are not good enough.
Other countries have a democracy they can believe in. We can have that, too.
Thai society is hypocritical. We say we are Buddhists but we secretly do black magic. We are Buddhists but we’re easily bought by consumerism and populism.
Crises can happen anytime and over and over. But as long as we have a good system, we will get through them. We need to look to the long-term. But the problem is no one really plans more than six months ahead.
A society where no one ever listens to each other will inevitably fail because problems aren’t discussed to be fixed.
Everything is connected. Life is not about learning one thing in depth. Broaden your horizons.
Bangkok Post, February 10, 2014
Universal truths
When other people are watching television, Win Lyovarin is writing his next best-selling novel. When they are drinking in bars, he's reading scientific research about the Big Bang and weaving a sci-fi tale. When he reads the news, he's plotting his next detective fiction. When he was still working in advertising, he wrote while eating lunch.
Over the past two decades or so, Win has produced more than 40 books. His first books Aphet Kamsuan and Samut Pok Dam Kab Baimai Si Daeng were published in 1994. His eminence as a writer of multiple genres has long been recognised by critics and awards winning the SEA Write Award for Prachathipatai Bon Sen Kanan (Democracy, Shaken & Stirred), and Sing Mee Cheewit Tee Riak Wa Khon (That Living Thing Called Man) among many others.
The prolific writer has just been named a National Artist in literature, along with writers Mala Kamjan and Sopark Suwarn. But regardless of all the fame and recognition, Win persists in his exacting ways, ever cautiously, producing a remarkable average of four books a year since he left his day job and began writing full-time in 2003. "I write every day, 365 days a year," says Win, sipping from a cup of green tea. "When I get bored I garden or go see a movie. In between those things, I'm always writing. "When I get bored I garden or go see a movie. In between those things, I'm always writing. When I'm sitting in a car, I'm thinking of a plot."
His garden is well-groomed, with a few little nooks tucked in shady areas, where the whispers of cascading water can be heard. "If you want to survive on writing, you have to [publish consistently]. The books sales in Thailand aren't high. If I could sell as many books as a well-known foreign writer, I wouldn't have to write four books a year," Win says.
Because of the stamp of the SEA Write Award, Prachathipatai Bon Sen Kanan essentially a history book of Thailand between 1932 and 1992 with an additional two fictional characters on opposing sides, for fairness' sake has been selling exceptionally well. But usually for the Thai book market, "a literary novel in Thai sells only 5,000 copies on average. Maybe almost 10,000 for a general fiction book", Win says.
After 16 years of writing on the side while working in advertising, he has built a name for himself and is able to live on the income from selling books alone. But that comes with necessary discipline "if you can't produce, if you don't write, you'll starve".
This is where his versatility and boundless creativity comes in handy. He works on several projects at the same time, moving on to the next when he's stuck or bored with one, jumping from a detective story to a love story, then back again. He can write anywhere, anytime, and he's used to working with deadlines from his days in advertising.
"I don't write the first page till I have a solid framework. Sometimes I write the ending first. I guess it stems from my training in architecture," says Win, who studied architecture before spending a few years in New York working in a design firm. "I have to know what kind of house I'm going to build. I make an outline, a sketch. I might start with the second floor before the first, or I might start with the slanted roof," Win explains. He seems to have analysed himself and his own work process thoroughly.
Through his books, Win interests people in facts through works of fiction. He has a vast knowledge in science and history, the history of science and the science of history. His stories, across genres, explore the mechanism of humans through our heritage, culturally and scientifically.
He spends much of his time reading non-fiction texts on the universe and black holes, on physics and metaphysics, rather than general fiction novels whose plots, he claims, are contrived and predictable after the massive amount he's read. These science books are for entertainment, with the benefits of research. Reading keeps him questioning, he says.
On his interest in astrophysics, Win explains: "It's something to investigate, something very interesting that they don't teach in school. It seems so far removed from daily life. But how can you say that you know about human nature if you don't understand the universe and how we came about? How can we begin to explain human behaviour if we don't know that our atoms ultimately transpired from the Big Bang? We'd only be able to look at society from one angle, from the narrow perspective we have, from how we were raised."
Sing Mee Cheewit contains a collection of short stories that reflect on human conduct "through the origins of the universe", as Win describes. Through the lens of science, he brings up questions of nature versus nurture, proposes the influence of biology in determining moral codes and virtues a person lives by. Metaphysical and philosophical queries are ever present in his works.
He is working on a ghost novel, Prataid Pee Sing (A Possessed Nation), a novel that uses the devices of a ghost story even though the "ghosts" in there are not really supernatural. In fact, it's a return to the start: when Win was 16, he wrote graphic pulp-novels with such titles as Haunted Mansion. He actually pitched science fiction, but the publishers said no and told him that the market demanded ghost stories. That was then, and maybe they still do now, though the meaning of ghosts might be different.
"I feel like it's an unfinished business. After 40 years, I'm writing a ghost story again, from a different perspective, with all my accumulated knowledge and experience." In the new novel, he uses elements of a ghost story to communicate deeper issues, like politics here as apparent in the title.
Achieving the title of a National Artist means Win will be receiving a modest monthly income, and it might boost sales momentarily, but the dismal state of readership in Thailand still won't afford him the time to write a long heavy novel, one like The Unbearable Lightness Of Being by Milan Kundera, or works by Herman Hesse, which Win loves and admires. He is pragmatic and critical.
Writing, while a delightful creative expression, is also a business, a source of income. And Thailand is not the best place for it.
"Here, it's not just that people don't read, but sometimes people read terrible books that are available in libraries all over the country. Like these sin absolution books. It's like planting poisonous seeds. People in Thailand are taught that reading is good reading makes you smart. But then there are all these books misleading people, books by professors and doctors, which people read without discerning the credibility or the value," says the best-selling author.
"If you read bad books, I think you shouldn't read at all."
What books are on your bedside table?
Books on dharma by Bhudadassa Bhikku and other monks.
What are you reading now?
Einstein: His Life and Universe by Walter Isaacson, along with non-fiction books on science.
What are some books you've always wanted to read but haven't done so?
Lots of Haruki Murakami, like Norwegian Wood.
What are your favourite science fiction books?
Mostly books by Isaac Asimov and Arthur C. Clarke. Especially 2001: A Space Odyssey by Arthur C. Clarke and The Foundation Series by Asimov. I also like Robert Anson Heinlein.
- Pimrapee Thungkasemvathana
Bangkok Post, Monday, February 10, 2014
(The Bangkok Post’s lifestyle, arts and culture section)
รงค์ วงษ์สวรรค์ เขย่ามือกับ วินทร์ เลียววาริณ
'รงค์ วงษ์สวรรค์
วันวานเขย่ามือกับ วินทร์ เลียววาริณ (HA-HA)
คอลัมน์ 2 นาฑี (มติชนสุดฯ) วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1314
ปกอ่อนหลายเล่มของนักเขียนหนุ่มบนสันอ่านว่า อาเพศกำสรวล หลังอานบุรี เดือนช่วงดวงเด่นฟ้าดาดาว สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ผลงานบดออกจากก้อนสมองของ วินทร์ เลียววาริณ ผู้มาเยี่ยมเยียน สวนทูนอิน วางไว้บนหิ้งขอบบานหน้าต่าง
บนปลีหินผากผาแดดเริงแรงก่อนเข้าพรรษาถึงเดือนนี้น้ำบิดเกลียวไหลเชี่ยวฟูฟอง
นกเด้าลมดงบินมาเดียวดายกระดกหางเปิดตูดพลางโคลงหัวก้มลงจิกปากกินเกสรดอกลำโพง ปลายกลีบสีชมพูเบ่งบานแขวนทรวดทรงแตรงามงอน
เม็ดทรายแวววาวในบรรเลงของซิมโฟนีป่า
2 นาฑี นี้เราพูดกับมือที่หยิบดินสอดำไส้ 2B ว่ากำลังมองชีวิต
ชีวิตของวันเวลาที่แตกต่างกันของนักเขียน
(หรือ) ชีวิตของนักเขียนที่แตกต่างกันกับวันเวลา
วันวาน วันนี้ วันพรุ่งนี้
วันนี้ไม่มีเงื่อนไขเร้นลับอย่างไรมากกว่าการเขย่ามือของวันวานกับวันพรุ่งนี้
yesterday shaking hands with tomorrow
วันพรุ่งนี้หมายถึงความหวังใช่ไหม ?
(ตอบ) ไม่มีคำตอบโว้ย ! HA-HA
เวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมา พูดอย่างแบกน้ำหนักความเป็นคนว่ากว่า 1/2 ศตวรรษที่ผ่านมา ไอ้หนุ่มเกเรในสายตาของคนอื่นมันอยากเป็นนักเขียนโดยความคับแค้นและโดยความไร้สาระมากมาย
และโดยแรงผลักดันของความรักการอ่าน
ไอ้หนุ่มมันโดนเตะออกจากโรงเรียนเตรียมฯ พญาไท ร่อนเร่ไปบนถนน
เวลาเดียวกันเพื่อนในฝูงเข้ามหาวิทยาลัย รั้วรอบจามจุรี rain tree มันเดินเข้าโรงบิลเลียดและร้านเหล้า
แวดวงและแแห่งหนที่พูดกันอย่างขมขื่นโกหกตัวเองว่ามหาวิทยาลัยชีวิต
กรุงเทพฯ ยุคเดินดลโหนรถเมล์และรถราง
รถรางขับเคลื่อนบนรางเหล็กดวยแรงงานไฟฟ้าผ่านสายกรอกับรอกปลายคันโพงพาดบนหลังคาเรียกว่าสาลี่ (trolley) ระงมเสียงระฆังโดยตีนของคนขับกระทืบบนปุ่มแนบพื้นที่เขาเหยียบยืน เตือนคนบนถนนและพาหนะอื่นให้ออกห่างอันตราย (การโดนชน) มือของเขาเกร็งกับคานกุญแจหมุนคว้างชะลอความเร็วเวลาเข้าโค้งหรือเทียบจอดกับธงโลหะปลายแหลมทาสีแดง ตรึงไว้กับเสาไฟฟ้าริมถนน
ค่าโดยสารรถรางกำหนดตามระยะใกล้-ไกล ใน พ.ศ. ที่เหรียญสลึงยังมีราคากับการโยนลงในกระป๋องได้ยินขอทานให้พรยืดยาว
สามล้อถีบแพงกว่า 4 บาทไปจากบางลำพูถึงโรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมกรุง
ข้าวราดแกงหมูหรือแกงวัวนั่งกินริมหาบจานละ 4 สลึง (1 บาท) สลัดเนื้อสันตำรับกุ๊กช็อพของไอ้โกในคูหาตึก ผนังด้านนอกจับตะไคร่กับรอยด่างของน้ำฝนซัดแดดสาดเผาจานละ 10 สลึง
เบียร์ขวดเล็ก 5 บาท เหล้าเลียนรสวิสกี้ของโรงงานบางยี่ขันขวดกลม 17 บาท ยกย่องกันว่าแพงอย่างเชิดหน้าต้องกินแบบผสมกับโซดา
คนจนกินเหล้าขาว 28 ดีกรี ตวงก๊งกระบอกทองเหลือง
4 ก๊ง 1 บาท
โอยัวะ--กาแฟดำร้อนแก้วละ 50 สตางค์
ไอ้หนุ่มร่อนเร่ไปบนถนนและสะพาน
มุดหัวหลบลมหนาวใต้ขยาบเรือสำปั้นผุพังก้นคลองโคลนเลน น้ำเน่าและยุงชุมชิบหาย นอนในบ้านกะหรี่ราคา 10 บาท สบายกว่า
ต้นไม้สอนเป็น (หยั่งรากและผลิใบ) โดยเจ้าของรดน้ำพรวนดิน ไอ้หนุ่มสอนวิชานักเลงให้ตัวเองโดยความดิบและความหิว
เลือดกับน้ำตาเป็นแรงขับเคลื่อนชีวิต
ไอ้หนุ่มเคยคิดถึงการฆ่าตัวตาย (HA-HA)
ถุย ! ไอ้บัดซบ ! แต่มันยังไม่ฉลาดพอจะทำอย่างที่คิดอย่างนั้น
ฯลฯ-ฯลฯ-ฯลฯ เวลาแรมนานกับชีวิตคลั่งแค้นไอ้หนุ่มบากหน้าของานทำในสำนักงานหนังสือพิมพ์บนอาคาร 6 ถนนราชดำเนิน และกลายเป็นนักเขียน
นักเขียนผู้ไม่มีขนบและขบถกับไวยากรณ์ (HA-HA)
ไอ้หนุ่มถอนใจมองนักเขียนรุ่นน้ารุ่นครู ผู้ชีวิตวนเวียนรอยก้นหอยอยู่ระหว่างบ้านเช่ากับโรงจำนำ ร้านเหล้ากงโกรยก้นซอยกับความเมาราคาถูก และความป่วยไข้ในอ้อมกอดของเมียผ่ายผอมกับบรรเลงดนตรีออกจากปากลูกหิวนมร้องไห้
แล้วไอ้หนุ่มบอกตัวเองว่านั้นไม่ใช่แบบแผนชีวิตนักเขียนของกู DAMNSHIT !
ใครคนนั้นผู้ตายไปเป็นรูปปั้นหล่อบร็อนซ์บนแท่นคารวะแล้วนานต่อมาโดนโค่นทำลายล้มลงกลิ้งบนถนน Joseph Stalin ครูสตาลินสอนว่า the writer is an engineer of the human soul !
"เฮ้ย ! มึงเป็นนักเขียนมึงเป็นวิศวกรแห่งวิญญาณ !"
ใช่ไม่ใช่ ? กูไม่รู้โว้ย !
การเป็นนักเขียนของไอ้หนุ่มเกเรกรากเกรียมกับงานหนักวายป่วงแต่บังเอิญยังไม่เป็นบ้า (HA-HA) ขบเคี้ยวกับอายุ 20 ถึง อายุ 73 กะรัต (กรวด) 2 นาฑี นี้ของคืนนี้อ้างว้างไม่มีใครให้พูดด้วยนอกจากดินสอดำไส้ 2B
เหน็ดเหนื่อยแต่ไม่หน่าย
ผิวปากไม่เป็นเพลง และเปรี้ยวราวผ่านการปัดกวาดลานหญ้าในแสงแดดด้วยแปรงหนวดบนริมฝีปาก
Oh fuck me !
วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนหนุ่มของวันนี้
กรุงเทพฯ ยุคกาแฟขุ่นโคลนอย่างขี้ดาว star-butt ถ้วยละ 200 บาท
ผู้อ่านคงไม่หวงแหนเวลาเพื่อตะโกนถามว่าเขาเป็นใคร ?
ตอบว่าเขาเป็นสถาปนิก ปริญญาตรี
ปริญญาโท Master In Marketing
ประกาศนียบัตรคอมพิวเตอร์ของ New School for Social Research ป่าคอนกรีท สหรัฐอเมริกา
สะสมประสบการณ์กับแขนงงานในสิงคโปร์ นิวยอร์ค และกรุงเทพฯ
รอบรู้และเจนจัดชีวิตสายโฆษณาบนตำแหน่ง Creative/Art Director
การเป็นนักเขียนของเขาไม่เป็นแบบเผลอไผล
แต่โดยแบบแผนแน่วนิ่งแน่นอน และโดยเจตนาเข้มข้นของตัวเองผู้กำหนดโชคชาตาของตัวตนและของตัวละคร
เขาไม่วอนขอพรจากใครบนกลีบเมฆ
เขาเตรียมการอย่างแพรวพราวด้วยคมปัญญา เยห์--ไม่ใช่การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยวงเหล้าเยี่ยงยุคกว่า 1/2 ศตวรรษที่ผ่านมา (HA-HA)
เขาไม่พูดกับดินสอดำหรือปากกา แต่พูดกับนิ้วร่ายเรียงบนคีย์บอร์ดของกลไกวางบนตัก--laptop
เขาเป็นความแตกต่างที่น่ายินดีในบรรดานักเขียนรุ่นใหม่ยุคใยแก้ว
เขาเรียนรู้เรียนรักอักษรด้วยเส้น แสง สีสัน องศา และสัญญาณของ the signs of IDEAS
1 ไม่เป็น 2S ASS (HA-HA)
เขาทำงานหนักอย่างเคารพกับเวลาบนหน้าปัดนาฬิกา และอย่างรื่นรมย์
ผลงานของเขาขอยกย่องด้วยคำพูดของ John Ruskin นักเขียนนักวิจารณ์ศิลป์ และนักปฏิรูปสังคม
All books are divisible into two classes: the books of the hour, (และผลงานของเขา) and the books of all time !
เราบอกเราว่าเขาเป็นวันพรุ่งนี้ของวันนี้
เราถามเราอย่างมีความสุขว่า ทำไมมึงไม่เป็นวันวานผู้ขอเขย่ามือกับวันพรุ่งนี้ yesterday shaking hands with tomorrow (HA-HA)
นิสัยของ วินทร์ เลียววาริณ ญาติน้ำหมึกเป็นอย่างไรกรุณาอ่านรูปประกอบ 2 นาฑี บทนี้ เขาเขียนอธิบายไว้ในสมุดเยี่ยมเยียน สวนทูนอิน ในเวลา 2 วินาฑี
a million THANKS
คนในยุทธจักรไม่เป็นตัวของตัวเอง
สามก๊กฉบับคนกันเอง
โดย เอื้อ อัญชลี
2549
คนในยุทธจักรไม่เป็นตัวของตัวเอง
ตอนนี้ตั้งใจไว้ว่าจะคุยกับ 2 หนุ่ม "ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน" วินทร์ เลียววาริณ กับ ปราบดา หยุ่น
ปีหนึ่งจะมีงานหนังสือให้ญาติน้ำหมึกมากระทบไหล่กัน 2 ครั้ง คือ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติฯ ในเดือนเมษายน กับงานมหกรรมหนังสือฯ ในเดือนตุลาคม หลายคนใช้โอกาสนี้ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน อย่างฉันใช้ชีวิตอยู่ข้างนอกตลอดปี จะได้รับรู้บรรยากาศข้างในก็ช่วงนี้เอง
ด้วยสายตาของคนนอกที่ซอกแซกเข้าไปได้ทุกกลุ่ม ฉันพอจะมองเห็นทั้งความคงเดิมและความเปลี่ยนแปลง บางอย่างคงเดิมดี บางอย่างคงเดิมไม่ดี บางอย่างเปลี่ยนแปลงดี บางอย่างเปลี่ยนแปลงแล้วไม่ดี
ฉันไปนั่งเล่นที่บู๊ธ "วินทร์ เลียววาริณ" เห็นบรรยากาศคึกคัก มีคนอ่านให้ความสนใจไม่ขาดสาย ระหว่างที่พี่วินทร์นั่งแจกลายเซ็น
พี่วินทร์เป็นคนสบายๆ บุคลิกเรียบร้อย สะอาดตา นั่งตัวตรง เคร่งขรึม ขณะที่เซ็นชื่อให้แฟนหนังสือ ฉันลอบมองลายเซ็นอันเฉียบขาดของเขา เขาเอาใจใส่ต่อคนอ่านของเขามาก
ก่อนหน้านี้ที่เคยคุยกัน พี่วินทร์มักจะให้คำแนะนำว่า ต้องหากลุ่มคนอ่านของตัวเองให้ได้สักจำนวนหนึ่ง แล้วจะอยู่ได้สบาย ฉันเข้าใจและเห็นด้วยกับเขา วรรณกรรมต้องการคนอ่านที่มีพื้นฐานพอสมควร หากสร้างนิสัยรักการอ่านขึ้นมาได้แล้ว เขาก็จะชอบอ่านต่อไปเรื่อยๆ
พี่วินทร์เป็นนักทำโฆษณามาก่อน สามารถนำเทคนิคจากงานโฆษณาและการตลาดมาปรับใช้กับงานวรรณกรรมให้เหมาะกับวิถีชีวิตของคนในยุคนี้มากขึ้น อันเป็นการสร้างคนอ่านกลุ่มใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย หนังสือเกือบ 20 เล่ม ประดับเกียรติกว่า 10 รางวัล การันตีความสำเร็จของเขาได้เป็นอย่างดี
"พี่ทำงานวรรณกรรมมายี่สิบปีแล้วนะ" แต่นั่นคือประโยคแห่งความภาคภูมิใจของเขา
ฉันเลยถามเขาว่า วันนั้นกับวันนี้ต่างกันอย่างไรบ้าง
พี่วินทร์ว่า "ตลาดหนังสือกว้างขึ้น แต่ตลาดวรรณกรรมกลับน้อยลง ช่องทางเยอะขึ้น แต่แทบไม่มีช่องทางให้งานวรรณกรรม วันนี้จะให้นึกว่าเขียนเรื่องสั้นไปลงที่ไหน แทบนึกไม่ออก"
"ปัญหาอยู่ตรงไหนหรือพี่"
"ระบบการศึกษาไม่ได้สอนให้คนรักการอ่าน รักการเรียนรู้ และรูปแบบการใช้ชีวิตในปัจจุบันไม่ได้เอื้อให้คนใช้เวลาอ่านหนังสือ ยิ่งวรรณกรรมยิ่งไม่ต้องพูดถึง"
ประมาณได้ว่า สิ่งที่ไม่มีความจำเป็นต่อชีวิต อาจไม่พบในตลาด เพราะมันจะขายยากมาก
ฉะนั้น นักเขียนควรจะปรับตัวใช่ไหม และจะปรับตัวอย่างไรถึงจะไม่สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง
เนื่องจากพี่วินทร์เป็นอีกคนหนึ่งที่ติดตามนิยายกำลังภายในมาไม่น้อย ฉันจึงถามเขาด้วยสำนวนกำลังภายในว่า "พี่รู้สึกอย่างไรกับคำว่าคนในยุทธจักรไม่เป็นตัวของตัวเอง"
พี่วินทร์คิดเสียงดัง "เป็นตัวของตัวเองไหม? ไม่เป็นตัวของตัวเองเรื่องอะไร?"
ฉันจึงเสริม "คำว่ายุทธจักรสำหรับพี่คืออะไร"
"พี่นึกถึงภาษาจีน คำว่ายุทธจักรเขาใช้กันสองคำนะ คำหนึ่งคือเจียงหู แปลว่า แม่น้ำกับทะเลสาบ อีกคำหนึ่งคือบู๊ลิ้ม หรือหวู่หลิน หวู่แปลว่าการต่อสู้ หลินแปลว่าป่า บู๊ลิ้มจึงหมายถึงป่านักสู้ ยุทธจักรเป็นนามธรรมของโลกที่เราต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอด สู้กับคนอื่น หรือสู้กับตัวเอง สำหรับพี่ต่อสู้กับตัวเองมากกว่า ต่อสู้ในการหาความคิดใหม่ๆ"
ประมาณได้ว่า ยุทธจักรเป็นภาพพจน์ของการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ความเป็นตัวของตัวเองจึงต้องมีเหตุผลสัมพันธ์กับความอยู่รอดด้วย
ฉันนึกถึงสภาพที่เกิดขึ้นในสามก๊กช่วงเริ่มแรก เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุย ต่างเป็นคนทำมาหากิน ค้าขายอยู่ในตลาดอำเภอตุ้นกวน
เล่าปี่เปิดบู๊ธ "เล่าปี่-เสียนเต๋อ" จำหน่ายรองเท้าสานและเสื่อทอสุดทนทาน ด้วยว่าเขาเป็นคนมีมิตรจิตมิตรใจ ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ และชอบช่วยเหลือคนยากจน ชื่อเสียงจึงเลื่องลือไปทั่วตลาด
กวนอูเปิดบู๊ธ "กวนอู-หยุนฉาง" จำหน่ายถั่วเขียวคัดพิเศษ
ส่วนเตียวหุยอู้ฟู่กว่าเพื่อน เปิดบู๊ธ "เตียวหุย-อี้เต๋อ" กว้าง 2 คูหา จำหน่ายสุราและเนื้อหมูคุณภาพ มีลูกน้องช่วยหลายคน จะได้ยินเสียงเขาโหวกเหวกโวยวาย เพื่อกระตุ้นลูกน้องให้บรรยากาศคึกคัก
การค้ายุคเริ่มแรก ใครมีสินค้าอะไรก็เอามาชุมนุมกัน เพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนตามความพอใจ
ทว่าด้วยคนระดับบนมิได้ตั้งอยู่ในครรลองคลองธรรม ราชการกฎหมายและแผ่นดินก็ปรวนแปร คนระดับล่างส่วนมากฐานะยากจน ซ้ำยังถูกกดขี่ขูดรีดอย่างหนัก เพื่อความอยู่รอด พวกเขาจึงพร้อมใจไปกับการโน้มน้าวของเตียวก๊ก ซึ่งแสดงอิทธิฤทธิ์เสริมความเชื่อ และซ่องสุมกำลังเป็นกองโจรโพกผ้าเหลือง แต่งอุบายเป็นคำทำนายว่าจะเกิดผู้มีบุญนำความอยู่เย็นเป็นสุขมาให้ทุกคน
เวลาต่อมา กำลังของโจรโพกผ้าเหลืองได้แผ่ขยายลุกลามไปถึง 8 มณฑล หาผู้ใดเอาไม่อยู่
เมื่อกบฏเตียวก๊กยกกำลังเข้าตีปลายแดนแคว้นอิวจิ๋ว เล่าเอี๋ยนเจ้าแคว้นมีทหารน้อย จำให้แต่งหนังสือไปปิดไว้ตามประตูเมือง ประกาศรับสมัครกองกำลังอาสาปราบโจรโพกผ้าเหลือง
คนทำมาค้าขายในตลาดอำเภอตุ้นกวนล้วนถูกผลกระทบจากกลุ่มโจรโพกผ้าเหลืองเช่นกัน เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุย จึงต่างเห็นพ้องถึงความจำเป็น เพื่อความอยู่รอด พวกเขาจะต้องอาสาแผ่นดิน เกลี้ยกล่อมชาวตลาดที่มีฝีมือกล้าหาญร่วมกันไปปราบโจร จากนั้นก็สาบานเป็นพี่น้องกัน
ไม่ใช่เฉพาะพ่อค้ารายย่อย ประจวบเหมาะกับตอนนั้นมีพ่อค้ารายใหญ่ 2 เจ้า จากเมืองจงซาน ชื่อ เตียวสิเผง กับเล่าสง เป็นผู้ค้าม้า และค้าเหล็กเนื้อดี กำลังจะขึ้นเหนือไปขายสินค้า แต่เที่ยวแรกถูกโจรโพกผ้าเหลืองปล้นเอาไป เที่ยวที่ 2 พวกเขาคิดว่าคงจะถูกปล้นอีก หากไม่ให้ก็คงจะเอาชีวิตไม่รอด
เมื่อได้ยินข่าว 3 พี่น้องร่วมสาบาน ระดมกำลังปราบโจรโพกผ้าเหลือง หารือกันแล้ว เตียวสิเผงกับเล่าสงจึงนำทรัพย์สินของตนไปมอบให้แก่เล่าปี่
ทีแรกเล่าปี่ไม่ยอมรับ "ใช่ว่าเราจะรวบรวมพวกพ้องเพื่อเที่ยวเรี่ยไรเงินทองของคนอื่น หากอยู่รอดด้วยตัวเองไม่ได้ ช่วยเหลือแค่ไหนล้วนสูญเปล่า"
เตียวสิเผงกับเล่าสงชี้แจ้ง "นี่ไม่ใช่การให้เพื่อหวังผลตอบแทนหรือเป็นบุญคุณต่อกัน แต่หากไม่ให้พวกท่าน ของเหล่านี้ต้องถูกปล้นตกเป็นของโจรโพกผ้าเหลือง แล้วโจรเหล่านี้ก็จะย้อนกลับมาทำลายทุกคน บัดนี้เมื่อพวกท่านคิดควบคุมสถานการณ์ นับว่าต้องความประสงค์กันแล้ว"
เล่าปี่จึงรับมอบม้า 50 ตัว เหล็กเนื้อดี 1,000 ช่าง และเงิน 500 ตำลึง
บางครั้งความอยู่รอดก็มาจากการเสียสละ เช่น 3 พี่น้องร่วมสาบานต้องเสียสละความเหนื่อยยากของตัวเอง เตียวสิเผงกับเล่าสงเสียสละทรัพย์สินเพื่อความอยู่รอดของส่วนรวม
แต่สำหรับเล่าปี่ซึ่งเป็นผู้นำที่มีใจคอกว้างขวาง ย่อมเห็นไปไกลกว่านั้นว่า การปราบโจรโพกผ้าเหลืองเป็นปลายเหตุของการแก้ปัญหา เป้าหมายที่แท้จริงของเขาคือการขจัดสภาพต้นเหตุที่ทำให้คนกลายเป็นโจร นั่นคือทำอย่างไรถึงจะแปรเปลี่ยนความหมายของความอยู่รอด จากการเบียดเบียนเอาเปรียบกัน เป็นการพึ่งพาอาศัยด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีเสมอกัน ทุกคนจึงจะเป็นตัวของตัวเองได้อย่างแท้จริง
คนในยุทธจักรไม่เป็นตัวของตัวเอง แม้ว่าแต่ละคนจะตั้งใจประกอบสัมมาชีพ แต่ถ้าส่วนรวมไม่พัฒนา ปล่อยให้คนใดคนหนึ่งอยู่ไม่รอด คนเหล่านั้นก็จะย้อนกลับมาทำลายคนอื่น แล้วสุดท้ายทุกคนล้วนอยู่ยาก
พี่วินทร์เคยเสนอให้นำ "การตลาด" มาช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาย แต่ก็ให้ระวังเรื่องการแยกแยะคุณค่าด้วย เพราะบางครั้งการตลาดก็ทำให้สิ่งที่มีคุณค่าน้อยกลับมีคุณค่ามากจนเกินจริง
หนังสือ "ปั้นน้ำเป็นตัว" กล่าวอธิบายวิธีคิดของเขาไว้ว่า "ในยุคที่การตลาดเป็นเส้นเลือดใหญ่ของระบบทุนนิยม เราเห็นสินค้าใหม่ๆ ผลิตออกมาทุกวัน บางอย่างเป็นนวัตกรรม (Breakthrough) บางอย่างเป็นการปรับปรุงหีบห่อใหม่ (Repackaging) บางอย่างเป็นเพียงการปรับปรุง (Renovation) และบ้างก็เป็นการปรับปรุงภาพพจน์ (Image)
ในทางวรรณกรรมการนำเสนอเรื่องเป็นเพียง "Repackaging" ไม่ใช่หัวใจของเรื่อง การนำเสนอที่หวือหวาไม่ได้รับประกันความดีของเรื่องสั้นนั้น แต่การนำเสนอที่น่าสนใจช่วยทำให้การเสพเรื่องสั้นหรือนวนิยายนั้นๆ มี "รสชาติอร่อย" มากขึ้น"
ฉันถามว่า มันเป็นการปรับตัวใช่ไหมพี่
พี่วินทร์ตอบ "เป็นวิธีการเฉพาะตัวของแต่ละคนมากกว่า เพราะทุกคนก็พยายามปรับตัวกันทั้งนั้นแหละ สำคัญที่การอยู่ได้ในระยะยาว บางคนไม่ต้องปรับตัวก็ได้นะ หากเขามีความคิดที่ดีอยู่แล้ว"
ภายหลังพี่วินทร์ยุติการทำงานโฆษณา มาเขียนหนังสือเต็มตัว เขาบอกอย่างภูมิใจว่า "พี่เขียนหนังสือเป็นอาชีพจริงๆ มา 3 ปี 4 เดือน 5 วัน แล้วนะ" (นับถึงวันที่คุยกัน)
ฉันสงสัย "พี่ไม่กลัวเรื่องความอยู่รอดเหรอ"
"กลัวปัญหาเชิงเศรษฐกิจเหมือนกัน ทำให้ต้องมีวินัยมากขึ้น ต้องคำนวณการทำงานเขียนในแต่ละปีไว้ล่วงหน้า ว่าเดือนไหนจะออกผลงานอะไร ปีหนึ่งจะต้องออกหนังสือกี่เล่ม"
นี่คือสิ่งที่ฉันทึ่งในตัวพี่วินทร์ เพราะเขาเป็นนักเขียนที่ไม่หยิบโหย่ง มีเป้าหมาย มีความตั้งใจ มีระเบียบวินัย และทุกขั้นตอนในความสำเร็จของเขา มาจากการต่อสู้ด้วยตัวเอง รับผิดชอบกับความเป็นนักเขียนของเขาด้วยตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก
ก่อนจบการสนทนา พี่วินทร์บอกเหมือนนึกขึ้นได้ว่า "พี่ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบมากกว่า ไม่ได้รู้สึกว่าอยู่ในยุทธจักรอะไร เมื่อไม่ได้อยู่ในยุทธจักร จึงเป็นตัวของตัวเอง"
ไม่มีอะไรได้มาโดยง่าย ไม่มีใครไม่มีปัญหา กว่าจะมาถึงวันนี้พี่วินทร์ต้องผ่านแรงเสียดทานพอสมควร ซึ่งแรงเสียดทานของแต่ละคนแตกต่างกันไปตามเป้าหมายของการทำงาน และมีวิธีรักษาตัวเพื่อลดความเสียหายจากแรงเสียดทานที่ต่างกัน อย่าง ปราบดา หยุ่น ก็น่าจะมีแรงเสียดทานอีกแบบหนึ่ง
แว่วยินเสียงประกาศว่าปราบดามาพบปะผู้อ่านอยู่ที่บู๊ธมาดามแป๊ด ฉันแหวกว่ายคลื่นคนไปตามทาง แต่พื้นที่กระดาษหน้า 65 หมดเสียแล้ว เลยต้องขอลงเอยจบแค่ตรงนี้เอย
สัมภาษณ์โดยวิชาการดอทคอม
วินทร์ เลียววาริณ : งานเขียนของผมต้องผ่านมาตรฐาน ISO
(สัมภาษณ์วิชาการดอทคอม ราวปี 2550)
ต้องยอมรับว่า ด้วยรางวัลซีไรต์ถึงสองสมัยจาก ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน จนมาถึงรวมเรื่องสั้น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน ทำให้คนอ่านหนังสือรู้จักผู้ชายชื่อ วินทร์ เลียววาริณ มากขึ้น อะไรที่ทำให้สถาปนิกหนุ่มละทิ้งรายได้งามอันเป็นกอบกำของงานโฆษณามายึดอาชีพนักเขียนอย่างเช่นทุกวันนี้ และหลังจากที่ประตูวรรณกรรมได้เปิดอ้ารับนักเขียนนาม วินทร์ เลียววาริณ แล้ว อะไรทำให้เขาเดินทางต่อมาได้อย่างยาวนาน เชื่อว่ามันเป็นเรื่องที่หลายๆคนอยากรู้ เห็นทีวิชาการดอทคอมจะต้องพาคุณมาศึกษาผู้ชายคนนี้ ผู้ชายที่ใครหลายคนยอมรับ ให้เป็นสัญลักษณ์ของงานเขียนแนวทดลอง
ก่อนที่จะเข้ามาทำงานเขียน คุณวินท์ทำอะไรมาก่อนคะ
ผมทำงานทางด้านโฆษณามาก่อน
แล้วตอนนี้ถือว่าตัวเองเป็นนักเขียนอาชีพหรือยัง
ตอนนี้ผมเป็นนักเขียนอาชีพมาสามปีกว่าแล้วครับ
ต่างกันไหมคะ ชีวิตนักเขียนอาชีพกับที่เคยทำงานทางโฆษณาไปด้วย
มันก็ต่างกันตรงเม็ดเงินล่ะครับ เพราะนักเขียนอาชีพเม็ดเงินมันจะน้อยกว่าการทำอาชีพประจำในงานธุรกิจที่มันให้เงินมากกว่า แต่อย่างน้อยเราก็ถือว่าอาชีพนักเขียนมันได้อิสระในการทำงานมากกว่า แล้วก็มีความสุขมากกว่า
แล้วอะไรทำให้คุณวินทร์เข้ามาในเส้นทางนักเขียน
มันคงเป็นความรู้สึกเก็บกดอยู่ข้างใน ที่อยากจะระบายความรู้สึกหรือความคิดเห็นบางอย่าง เกี่ยวกับสังคม การเมือง หรือหลายๆ เรื่องที่เราอยากพูดออกมาบ้าง แต่เราไม่อยากพูดออกมาในเชิงความเห็นตรงๆ แต่อยากจะถ่ายทอดออกมาในแนวศิลป์ จึงกลายเป็นการถ่ายทอดในเชิงเรื่องสั้นหรือนวนิยาย มันก็เลยกลายเป็นที่มาของการเป็นนักเขียนไปโดยปริยาย
บนเส้นทางการมาเป็นนักเขียน ถือว่าขรุขระหรือราบเรียบขนาดไหน
ผมไม่ถือว่าขรุขระ แต่ไม่ถึงว่าราบเรียบ เพราะผมทำงานหนักและจริงจังมาตลอด เวลาเขียนก็เขียนจริงจัง ฝึกก็ฝึกจริงจังอย่างต่อเนื่อง มันก็เป็นไปตามขั้นตอนของมัน ก็ดูค่อนข้างจะไม่มีปัญหาอะไร
คือมันไม่ได้หมายความว่าคุณเขียนเรื่องหนึ่งปุ๊บ ปีหนึ่งมีผลงานรวมเล่มเลย มันใช้เวลาหลายปีกว่าคุณจะมีผลงานออกมา แต่ว่ามันก็ไม่ถึงกับยากเย็น เพราะเราฝึกมาตลอด ไม่ได้ท้อถอย จนกระทั่งมันเข้าที่เอง
ในช่วงแรกๆ ที่ส่งงานคงต้องมีที่ลงตะกร้าบ้าง ตอนนั้นมองว่าอย่างไร การส่งเรื่องไปลงนิตยสาร และบรรณาธิการอ่านแล้วทิ้งเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว คือนักเขียนคนไหนที่ไม่เคยผ่านตะกร้ามาก่อน ก็ถือว่าไม่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นนักเขียนที่สมบูรณ์นะ เพราะเก่งเกินไป ผมยังไม่เคยเจอนักเขียนที่ได้รับการตีพิมพ์งานทุกชิ้น โดยไม่เคยโดนทิ้งลงตะกร้าเลย
มีนักเขียนบางคนบอกว่า เพราะเจอบรรณาธิการคนนี้ถึงมีเขาขึ้นมาได้ แล้วอย่างคุณวินทร์ล่ะคะ มีบรรณาธิการการที่มีอิทธิพลกับคุณหรือเปล่า
บรรณาธิการคือคุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี เป็นบรรณาธิการนิตยสาร ช่อการะเกดในสมัยนั้น เมื่อประมาณสัก 10-20 ปีที่แล้ว ท่านเป็นคนที่สร้างนักเขียนใหม่ๆ ออกมาจำนวนหนึ่ง เป็นนักเขียนในเชิงวรรณกรรมออกมา ท่าน เป็นคนที่อ่านงานของนักเขียนอย่างละเอียด วิพากษ์วิจารณ์ คัดเรื่องเรื่องมาลง เปิดโอกาสให้นักเขียนใหม่ๆ ก้าวขึ้นมาจำนวนมากทีเดียว ถือว่าเป็นบรรณาธิการคุณภาพระดับสูงคนหนึ่งของเมืองไทย
ทำงานเขียนมาถึงวันนี้ คิดว่าตัวเองมีพัฒนาการในด้านไหน อย่างไรบ้างคะ
มันคงไม่ได้ว่าด้านไหน คือในปัญหาแรกของคนทีเริ่มเขียนหนังสือ มันอาจจะมีสองข้อ ข้อแรกคือการคิดพล็อตเรื่องให้มันกลมกลืนกันออกมา และอีกข้อคือการใช้ภาษา ทั้งสองอย่างนี้ต้องฝึกทั้งคู่
ปัญหาโดยส่วนตัวของผมจะเป็นปัญหาการใช้ภาษามากกว่าการสร้างพล็อตเรื่อง เพราฉะนั้นผมจะพยายามฝึกในส่วนที่ผมอ่อนตรงจุดนั้น พยายามจะเป็นนายของภาษาให้ได้
ถ้าเราเปรียบการทำงานในแง่จิตรกรรม เวลาที่คุณวาดรูปนี่ คุณต้องใช้พู่กันใช้สีให้แม่น นั้นคือการใช้ภาษา ส่วนจะวาดรูปอะไรพิสดารอย่างไงนั้น นั่นคือพล็อตเรื่อง
เพราะจุดด้อยด้านภาษาด้วยหรือเปล่าที่ทำให้งานของคุณวินทร์นำเสนอออกมาเป็นงานเขียนแนวทดลอง
เป็นไปได้ในระยะแรกๆ แต่ไม่ใช่ในระยะหลัง ซึ่งในระยะแรกๆ ก็ไม่เชิงเสียทีเดียวว่าเราใช้ภาษาไม่ดี เราถึงนำเสนอในเชิงทดลอง แต่เพราะเราชอบงานในแนวทดลองอยู่แล้ว เราอยากจะสร้างงานทีมันแปลกๆถ้าเป็นไปได้คือ ไม่เคยมีใครทำมาก่อนในยุคแรกๆ นี่ ผมมักจะทำงานแบบนั้น คือรู้สึกสนุกกับมัน มันเหมือนกับว่าเราไม่ใช่นักเขียน เราเป็นนักเป็นนักประดิษฐ์มากกว่า แต่พอเราทำงานผ่านมาสิบกว่าปี เราก็รู้สึกว่าเราไม่จำเป็นต้องไปในแนวนั้นตลอดเวลา เราสามารถเป็นอิสระได้มากกว่านั้น เราอาจทำงานที่พิสดารกว่านั้น หรือไม่ต้องพิสดารก็ได้ อยู่ที่เนื้อหาหรือประเด็นที่เราพูดมากกว่า
ความเป็นนักโฆษณามีอิทธิพลกับงานเขียนของคุณวินทร์บ้างไหม
มันมีอยู่แล้วในส่วนหนึ่ง เพราะแบ็คกราวน์ของใครก็จะมีผลกับคนนั้นอยู่แล้วโดยปริยาย ไม่มากก็น้อย
คือลักษณะงานมันจะมีความเป็นกราฟิก มีวิธีคิดแบบคอนเซ็ปนักโฆษณาอยู่บ้างเหมือนกัน บางเรื่องมีการใช้ภาพด้วยซ้ำไป ก็คือมันจะเป็นการนำเสนอความคิดมากกว่า ไม่ได้ไปติดอยู่ที่การใช้ภาษาอย่างเดียว นั้นคือที่มาที่เราใช้ภาพประกอบตัวหนังสือไม่ใช่ใช้เฉพาะตัวหนังสือล้วนๆ
คุณวินทร์มีขั้นตอนในการทำงานเขียนอย่างไร
มันอยู่ที่ประเด็นที่เราจะเขียน สมมุติว่าเราอ่านหนังสือพิมพ์ เจอข่าวอะไรบางอย่างที่เราคิดว่าเราจับประเด็นได้ คือมันอาจจะหลุดออกมาในลักษณะเป็นพล็อตเรื่องเลยก็ได้ หรือบางทีเราได้ประเด็นมาก่อน มาสร้างเรื่องที่หลังก็ได้ แล้วแต่สถานการณ์ และก็แล้วแต่ช่วงเวลานั้นว่าเราคิดอะไรอยู่ มันเป็นไปได้ทั้งคู่
มันมีสองวิธีที่จะสร้างเรื่องขึ้นมา ถ้ามีพล็อตเรื่องอยู่แล้ว เราอาจพูดคร่าวๆ เช่นถึงครอบครัวที่มีปัญหาแล้วค่อยๆ ใส่รายละเอียดลงไป แต่ถ้าเรามีประเด็นล้วนๆ ไม่มีเรื่อง เราก็สามารถสังเคราะห์เรื่องออกมา แบบนี้เป็นกระบวนการสังเคราะห์เรื่องออกมาจากกระดาษว่างเปล่า
มีคนมองว่าคุณวินทร์เป็นสัญลักษณ์ ของงานเขียนแนวทดลองเคยมีเกร็งบ้างไหมค่ะ ว่าคนจะรอดูว่า งานชิ้นต่อไปของวินทร์จะมาในแนวไหนอีก
ผมเลิกเกร็งมานานแล้ว แรกๆอาจจะมีบ้าง ซึ่งมันจะเกร็งแบบนั้นไม่ได้ ผมไม่ได้สนใจว่างานชิ้นใหม่จะต้องดีกว่าเก่า หรือต้องเป็นแนวทดลองหรือเปล่า ผมมีแต่สนในว่า เวลานั้นผมอยากจะทำอะไร บางทีผมมีโครงการแปลกๆใหม่ๆอะไร ผมก็จะทำไป ทำให้ดีทีสุด ทำด้วยความสนุกสนานในขณะนั้น ผมไม่คิดด้วยซ้ำไปว่าต้องดีกว่าเก่า มันฉีกหรือไม่ฉีกอย่างไร
ยกตัวอย่างเช่น ที่ผมเอานิยายภาพเก่าๆของคุณจุก เบี้ยวสกุล ที่เขาทำมาทั้งชีวิต ผมก็เอามายำใหม่เป็นนวนิยายเรื่องใหม่ ก็เอามาทำด้วยความสนุกสนาน ไม่ได้คิดว่ามันต้องเป็นงานที่วิเศษกว่าชิ้นเก่าที่เคยทำมาแล้ว
เวลาที่คิดงานเขียน เคยมี “วินทร์มุขแป๊ก” บ้างไหมคะ
ก็มีแป๊กเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าไม่แป๊กสิถึงจะแปลก แต่ในฐานะของนักเขียนอาชีพเราต้องรู้จักวิธีที่จะแก้ปัญหาเวลาคิดอะไรไม่ออก ยกตัวอย่างเช่น เวลาทำงาน ผมจะทำงานมากกว่าหนึ่งโปรเจ็คต์ในเวลาเดียวกัน อย่างเวลาเขียนงานรวมเรื่องสั้น ผมก็จะทำนิยาย หรือโครงการอย่างอื่นไปด้วย เวลาผมคิดไม่ออกในโครงการหนึ่ง ผมก็จะไปคิดในอีกอย่างหนึ่ง ผมไม่เสียเวลาไปคิดต่อ ไปบีบมัน เวลาสมองมันคลายตัว มันจะคิดกลับได้เอง บางครั้งเราคิดไม่ออกเพราะเราทำงานหนักเกินไป สมองเราไม่ได้พักแล้วมันก็วนเวียนในเรื่องที่คิดนั้น ทำให้เราคิดไม่ออก
แล้วเคยกลัวไหมว่างานที่ทำออกมาจะไปซ้ำแนวของใครหรือเปล่า
ซ้ำโดยเจตนาไม่มีอยู่แล้ว ไม่มีใครอยากซ้ำกับใครเพราะนั้นคือการฆ่าตัวตาย แต่ในการซ้ำแบบไม่เจตนาเป็นเรื่องธรรมดามาก ในวงการสร้างสรรค์ทั่วไป ทั้งงานเขียน วงการโฆษณา เป็นเรื่องธรรมดามากๆ ที่ไอเดียสองอย่างจะซ้ำกัน วิธีที่ดีที่สุดก็คือทำอย่างที่เราอยากทำไป แต่ถ้าบังเอิญไอเดียนั้นมันซ้ำกับของคนอื่นที่ทำมาก่อนแล้ว เราต้องยกเลิก หมายถึงว่าใครทำก่อนมีสิทธิก่อน ไม่ได้หมายความว่าเราผิด
มีบางโปรเจ็คต์ที่ผมทำ แต่มันช้าไป ผมเห็นคนอื่นทำแล้ว ผมก็ต้องยกเลิกโครงการนั้นไป มันไม่มีประโยชน์ คือมันเป็นการให้เกียรติคนนั้นด้วยทีทำมาก่อนผม ในขณะเดียวกันผมก็เชื่อว่า มีหลายคนที่คิดโครงการเดียวกับผม ก็ถือว่าซวยไปในลักษณะนั้น
นักวิจารณ์บางท่านบอกว่านักเขียนสมัยนี้ติดอยู่กับรูปแบบมากเกินไป แต่พออ่านแล้วงานข้างในกลวง คุณวินทร์คิดว่าอย่างไร
ก็คือผมนั่นแหละ! มันแล้วแต่มุมมองแล้วแต่วิธีคิด ผมจะโดนนักวิจารณ์พูดอยู่เรื่อยว่าติดที่รูปแบบ มันก็เป็นมุมมองของนักวิจารณ์ เราก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะแล้วแต่คนมอง
ผมรู้สึกว่าในช่วงแรกๆ ผมจะติดในรูปแบบจริง แต่ในตอนนี้ ผมหลุดออกมาจากรูปแบบนั้นแล้ว ไม่คิดว่าตัวเองจะต้องคิดอะไรที่ต้องฉีกตลอดเวลา บางทีผมก็คิดเรื่องธรรมดาง่ายๆ ไม่มีลูกเล่นอะไร จนกระทั้งบางครั้งผมคิดว่า การไม่ทดลองของผมคือการทดลองอย่างหนึ่ง
เจอคำวิจารณ์มามาก มีแบบที่ชอบ และแบบที่รู้สึกว่าไม่สร้างสรรค์บ้างไหมคะ
ผมเจอบ่อย เจอทั้งสองอย่าง ทั้งคำวิจารณ์ที่รับมาแล้ว เราเอาไปแก้ไขให้เรียบร้อย พัฒนาขึ้นมาได้
และในลักษะแบบที่ทำลายเสียมากกว่า แต่เราก็ไม่ว่าอะไร นักวิจารณ์ก็คือนักวิจารณ์ มีสไตล์การวิจารณ์ที่ต่างกัน
แต่ว่าเราคนทำ เราต้องไม่ไปอารมณ์เสีย
ผมมองว่าทุกครั้งที่เขาวิจารณ์มา ก็ถือว่าเค้าอุตส่าห์เขียน เราจะต้องให้เกียติเขา บางที่สิ่งที่เขาพูดอาจจะถูก ก็จะดูว่าเขาพูดถูกรึเปล่า เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว ซึ่งถ้าผิดเราก็แก้ มันไม่ได้เป็นเรื่องเสียหน้าซะหน่อย เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้วที่งานชิ้นหนึ่งจะมีจุดผิดพลาด ถ้าเห็นว่าผิดจริงเราก็แก้ และยังขอบคุณนักวิจารณ์ด้วยซ้ำไป แต่ถ้ามาชี้ในเรื่องที่นานาจิตตังเป็นเรื่องอารมณ์ความรู้สึกเฉพาะตัว ก็ไม่จำเป็นต้องแก้
งานเขียนที่ดีในมุมมองของคุณวินทร์ ต้องเป็นอย่างไร
มันก็อยู่ที่มุมมองของคนเสพ ว่าอ่านได้ลึกขนาดไหนด้วย เขาเข้าใจแค่ไหน เพราะฉะนั้นคุณวุฒิ วัยวุฒิของคนอ่านก็มีส่วนในการพิจารณางานแต่ละชิ้นไม่เหมือนกันด้วย งานบางชิ้นสำหรับบางคนอาจจะคิดว่าเลอเลิศบางคนอาจว่าธรรมดา เพราะฉะนั้น เรื่องนี้มันก็แล้วแต่คนที่อ่านด้วย
แต่ว่าโดยรวมผมว่างานที่ดีก็มีคุณสมบัติที่คล้ายๆ กันอยู่แล้ว คือประเทืองอารมณ์เราได้ ให้ประเด็นแง่คิดที่ทำให้เราเอาไปคิดต่อ ชี้มุมมองอะไรบางอย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน พูดง่ายๆ คืออ่านแล้วเราเป็นคนที่สมบูรณ์ขึ้น ฉลาดขึ้น น่าจะเป็นสิ่งที่ดี
เวลาทำงานเขียน คุณวินทร์มองเรื่องการตลาดไปด้วยหรือเปล่า
ถ้าผมมองการตลาดไปด้วยโดยตรง ผมไม่มาทำงานเขียนหนังสือหรอกครับ ผมคิดว่ามีหลายอาชีพที่น่าจะทำเงินได้มากกว่ามาทำงานเขียน ทำหนังสือแต่ละเล่มนี่เหนื่อยนะครับ เหนื่อยทีเดียว หมายถึง ถ้าเราเทียบจำนวนชั่วโมงที่เราลงไป หารกับจนเงิน มีทีบางเล่มที่คุณได้รายได้ต่ำกว่ากรรมกรซะอีก คนที่มาเขียนหนังสือที่ผมรู้จักคือไม่มีใครหวังรวย ถ้าหวังรวยคงไม่มีใครมาทำตรงนั้น
แต่อย่างไรก็ตาม การตลาดมันคนละเรื่องกับศิลปะ เวลาเราเขียนหนังสือเราสวมหมวกของศิลปิน
แต่เวลาที่เราทำเสร็จออกมาแล้ว เราสวมหมวกนักการตลาด ทำอย่างไรให้ขายได้ด้วย แต่อันนี้เป็นข้อแม้ของนักเขียนประเทศนี้นะ ประเทศอื่นไม่ต้องมาคิดตรงนี้ เช่นนักเขียนต้องไปเซ็นชื่อกับผู้อ่าน เพื่อให้หนังสือมีความเคลื่อนไปได้ด้วย สำนักพิมพ์สามารถผลิตเล่มต่อไปได้ ไม่ขาดทุน เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เราไม่สามารถแยกการตลาดกับศิลปะออกไปได้ โดยสิ้นเชิง เพราะมันเป็นส่วนเกื้อหนุนกัน เพียงแต่เราจะไปเอาการตลาดมาเป็นโจทย์ในการเขียนไม่ได้ อย่างนั้นแล้วจะได้หนังสือชนิดเดียวกันทั้งตลาด
หนังสือหลายเล่มที่คุณวินทร์เขียนดูเหมือนจะต้องมีข้อมูลมาก คุณวินทร์ได้ข้อมูลมากขนาดนี้มาจากไหน
ทุกอย่างมันหามาได้ อะไรที่เราไม่รู้ เราเรียนรู้ได้เสมอ ถึงแม้วันนี้ผมไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์หรือวิธีการเล่นหุ้น ผมก็ต้องไปศึกษาจนกระทั้งผมรู้ เพราะฉะนั้น ผมเชื่อว่าผมเขียนได้ทุกอย่างได้ในโลกนี้นะ อยู่ที่ว่าผมจะเขียนรึเปล่า
แล้วอะไรทำให้คุณสนใจมาเขียนแนววิทยาศาสตร์ที่นับว่าเป็นแนวที่มีนักเขียนสนใจเขียนน้อยมาก
ผมชอบแนววิทยาศาสตร์มาแต่ไหนแต่ไร ตั้งแต่เด็กๆ ได้อ่านของคุณจันตรี ศิริบุญรอด ก็ชอบมากอยู่แล้ว ทุกครั้งที่อยู่กับมันก็มีความสุข พอโตขึ้นเริ่มจะเขียนหนังสือได้ ก็คิดว่าน่าจะลองดู
สำหรับผมแล้วนิยายวิทยาศาสตร์เป็นแนวที่เขียนแล้วมีความสุขที่สุด มันเป็นช่วงเวลาที่ผมสามารถปลดปล่อยความรู้สึกอิสระจากทุกอย่างได้ มันไม่มีกฎเกณฑ์ในโลกใดๆบังคับผมได้ ไม่มีอะไรมาบอกว่าสิ่งที่คุณเขียนถูกหรือผิด นิยายวิทยาศาสตร์ก้าวพ้นจากขอบเขตตรงๆได้หมด สนุกได้เต็มที่เป็นอิสระมาก มันไม่เหมือนนิยายอิงประวัติศาสตร์หรือสังคมซึ่งมันต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง
คิดว่ารางวัลต่างๆ มีผลกับงานเขียนบ้างหรือเปล่า
สำหรับนักเขียนใหม่ คิดว่ามีส่วนช่วยได้เยอะทีเดียว ต้องยอมรับว่าในบ้านเรา การมีนักเขียนเกิดขึ้นใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย เราอาจจะมีนักเขียนใหม่มาได้ทุกวัน แต่ถ้าจะให้อยู่รอดต่อไปในฐานะนักเขียนนี่ไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งที่ทำให้เค้าอยู่ได้คือหนังสือขายได้ และการที่หนังสือจะขายได้คือคนต้องรู้จักชื่อเขามาก่อน เพราะคนไทยไม่ชอบซื้อหนังสือของคนที่ไม่รู้จักชื่อ การได้รางวัลจึงเป็นใบผ่านทางอย่างหนึ่ง
ผมเองก็ถือว่าได้อานิสงส์มาจากรางวัลเยอะทีเดียว มันก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่ที่เหลือมันอยู่ที่ตัวคุณเอง ถึงคุณได้รางวัลมา 1 0 ตัว แต่ถ้าผลิตงานที่ไม่ดีออกไปเรื่อยๆ มันก็ตาย ในระยะยาวมันก็ไม่ได้อยู่ดีในรางวัลมันเพียงช่วยในระยะแรกที่ช่วยให้คนรู้จักคุณเร็วขึ้น
เดี๋ยวนี้เรามีเวทีมากขึ้น มีที่ทางนำเสนอผลงานมากขึ้น แต่ดูเหมือนงานส่วนใหญ่ที่ออกมาดูจะหนักไปทางนิยายรัก หรืองานตามกระแสเสียส่วนใหญ่
มันเป็นคนละเรื่องกัน การมีเวทีมากขึ้นมันเป็นสิ่งดี เพราะสมัยผมเขียนหนังสือไม่มีเวที ไม่มีนิตยสารมากขนาดนี้ เพราะฉะนั้นการมีเวทีมากขึ้นเป็นสิ่งที่ดีกับนักเขียน สามารถที่จะเลือกได้มากขึ้น
แต่ว่าการที่จะมาเขียนนิยายตามตลาด เช่นเห็นคนเขียนนิยายรักก็ลงไปเขียนตามตลาดด้วย อย่างนั้นก็แปลว่าคุณใช้การตลาดนำโจทย์ใน การเขียนหนังสือ ถ้าคุณเขียนนิยายรักเพราะคุณอยากเขียนจริงๆก็โอเค ไม่ว่าอะไร บางที่เราจะเห็นว่า พอมีกระแสสังคมไปทางไหนก็จะมีนักเขียนแห่ไปเขียนในแนวนั้นมากขึ้น ผมเพียงแต่ตั้งข้อสังเกตว่า การทำแบบนั้น โดยภาพรวมมันจะทำให้ตลาดมันเฝือ ไม่เกิดอะไรใหม่ โดยตัวนักเขียนเองก็จะถูกกลืนกับกระแสไปด้วย และกระแสที่มาเร็วก็มักจะไปเร็ว
มองบรรยากาศตลาดหนังสือบ้านเราเป็นอย่างไร
ตลาดหนังสือบ้านเราใหญ่นะ เพียงแต่ไม่หลากหลายเท่านั้นเอง ถ้าเป็นคนก็อวัยวะบางส่วนใหญ่กว่าปกติบางส่วนเล็กกว่าปกติ เช่นนิยายวิทยาศาสตร์บ้านเรา คนที่เขียนเป็นคนไทยน้อยมาก อย่างเข้าไปในร้านใหญ่ๆ ยังอาจจะเจอน้อยมาก หรืออาจไม่เจอ เพราะว่ามันไม่มีคนเขียน ไม่ใช่ว่าไม่มี แต่ในเมืองไทย มีไม่กี่คน สัก 5-6 คน ไม่เกิน 10 คนที่เขียนนิยายวิทยาศาสตร์ อาจจะน้อยกว่านั้นด้วยซ้ำไป ต่อประชากรขนาดนี้ถือว่าน้อยมาก ถ้าเทียบกับนิยายรัก ที่มีเป็นร้อยๆ คน หรืออย่างนิยายสืบสวนสอบสวนแนวฆาตกรรม ก็ถือว่าน้อยมากๆ มันยังมีช่องว่าง แต่ไม่มีคนลงไปก็ไม่รู้เพราะอะไร
แต่มีบางตลาดแน่นเสียยิ่งกว่าแน่น นั้นก็คือปรากฎการณ์ตลาดหนังสือบ้านเราที่แสดงว่าเราผลิตหนังสืออกมาไม่หลากหลายพอ เรายังไม่หลากหลายเท่าไหร่
ประสบความสำเร็จในประเทศมากขนาดนี้แล้ว คิดจะออกไปต่างประเทศไหม
คิดแต่ไม่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ จะใช้วิธีการแปลเป็นภาษาอังกฤษแทน ก็มีบางเล่มที่ทำไป เหตุผลไม่ได้ต้องการชื่อเสียงอะไรในต่างประเทศ แต่เป็นเหตุผลในทางเศรษฐกิจ ในฐานะของนักเขียนอาชีพ ถ้าเราสามารถที่จะส่งงานของเราออกไปได้ บางที่เราจะมีเม็ดเงินมาช่วยตัวเราเองมากขึ้น เพราะฉะนั้นประเด็นการส่งหนังสือ ของผมถือว่าช่วยตัวเองมากกว่า ไม่ได้ช่วยเหลือประเทศชาติ
ก็พยายามทำอยู่แต่ก็ยังไม่สำเร็จ เพราะว่าการโกอินเตอร์ไม่ใช่เรื่องง่ายขนาดนั้น
ตอนนี้คิดว่าตัวเองมีงานชิ้นมาสเตอร์พีชหรือยัง ถ้ายังคิดจะทำไหม
ผมไม่คิดในเรื่องมาสเตอร์พีช เพราะว่าถ้าคิดแบบนั้นมันดูเหมือนมีอีโก้สูงมากไปหน่อย
ผมทำงานแต่ละชื้นให้ดีทีสุดในมาตรฐานมี่ผมกำหนดไว้ งานแต่ละชิ้นผมมี ISO ของผมคือ I See Okay ถ้าผมเห็นว่ามันโอเคมันก็โอเค ซึ่งบางเล่มก็อยู่ใน ISO ระดับสูง บางเล่มก็อยู่ใน ISO ระดับล่างๆของผม แต่รวมๆคือมันจะอยู่ในเส้นนี้ ถ้ามันต่ำกว่าเส้นนี้ก็ไม่ออกมา เพราะถ้าคุณส่งงานที่ต่ำกว่า ISO ออกมา โอกาสตายในอนาคตมีสูง ผมไม่คิดฆ่าตัวตายเร็วอย่างนั้น
แต่ว่างานคุณต้องมีมาตรฐานในระดับหนึ่ง แต่ถ้าคิดว่างานชื้นใหม่ต้องดีกว่าชิ้นเก่า ชาตินี้เราจะไม่มีงานชิ้นใหม่ออกมาเลย เพราะมันเป็นไปไม่ได้มันฝืนธรรมชาติของมนุษย์ ที่จะทำอย่างนั้น บางคนทำงานชิ้นหนึ่งดีมากแล้วหวังว่าชิ้นต่อไปจะต้องดีกว่านั้น มันยากมากนะครับ
ถ้าเราไม่เกร็งในจุดนี้ คิดว่าทำงานที่ดีออกมาก็แล้วกัน จะดีมากดีน้อยอีกเรื่องหนึ่ง แต่ก็ยังดีอยู่ก็โอเค
อยากให้ฝากถึงนักเขียนใหม่ๆ ที่กำลังคิดจะก้าวมาบนถนนนักเขียน
การเป็นนักเขียนอาชีพเป็นอาชีพที่โดดเดียวอยู่กับตัวเองอยู่แล้ว เป็นอาชีพที่ผลตอบแทนไม่สูง เพราะฉะนั้นถ้าเราเลือกที่จะทำอาชีพนี้ เราก็ควรใช้ประโยชน์จากมันให้เต็มที่ คือทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำจริงๆ สื่อสัตย์กับมัน เขียนในสิ่งที่ตัวเองเชื่อและชอบ นั้นคือรางวัลในตัวของมันเอง เพราะถ้าเป็นรางวัลที่เป็นตัวเงินมันไม่ค่อยมีเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นรางวัลแบบนี้จะเป็นรางวัลทางทางจิตใจที่มันสูงกว่า คุณมีความสุขในสิ่งที่ตัวเองชอบ และเชื่อ
ในขณะเดียวกันผมก็พยายามชวนคนใหม่ๆให้เข้าไปในที่ๆไม่ค่อยมีใครเข้าไป เช่นนิยายวิทยาศาสตร์ ก็ พยายามเชื้อเชิญอยู่ทุกวัน ผมเองก็ไม่มีปัญญาเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ได้ตลอดไป ก็พยายามอยากจะเชื่อเชิญน้องๆ ให้เข้าไปให้มากขึ้น
"เอาใจเขามาใส่ใจเราคือศาสนาของผม"
"เอาใจเขามาใส่ใจเราคือศาสนาของผม"
ศาสนาด้วยความรักและความรู้
กับ วินทร์ เลียววาริณ
เรื่อง: ศศิ วัน
ภาพ: รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์
สานแสงอรุณ กรกฎาคม-สิงหาคม 2555
คนเราสามารถเป็นคนดีโดยไร้ศาสนาได้หรือไม่?” เป็นบทความชื่อนี้เองที่ดึงดูดเราจากหน้าเว็บไซต์ winbookclub.com ให้ไปพบปะกับร่างเป็นๆ ของผู้เขียนบทความและเจ้าของเว็บไซต์ดังกล่าว
วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนเจ้าของรางวัลซีไรต์สองสมัยจาก ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน (๒๕๔๐) และ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน (๒๕๔๒) ผู้มีผลงานรวมเรื่องสั้นเล่มล่าสุดชื่อ เส้นสมมุติ ซึ่งตั้งคำถามต่อบทบาทของเส้นแบ่งที่โดยสมมุติขึ้นมาเพื่อจำแนกมนุษย์ออกจากกัน ไม่ว่าจะเป็นพรมแดนทางประเทศ เชื้อชาติ หรือศาสนา
ในเรื่องสั้น กระจกสี เขาชวนให้ผู้อ่านได้ขบคิดว่า ใยศาสนาที่ควรจะดำรงบทบาทในการสานสัมพันธ์ของมนุษยชาติ กลับเป็นปัจจัยในการกีดขวางความรักเสียเอง
ในบทความ “คนเราสามารถเป็นคนดีโดยไร้ศาสนาได้หรือไม่?” เขาชวนคุยถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นว่า สามารถพัฒนาศีลธรรมขึ้นมาได้ไม่ต่างจากมนุษย์ ทั้งๆ ที่ไม่ต้องถูกปลูกฝังจากสังคมที่มีระบบศาสนา
เพียงแค่สัตว์ต่างๆ เหล่านั้นมีสายสัมพันธ์กับชีวิตอื่นบนโลก มันจึงรู้จักทำสิ่งที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่านั่นคือ “ความดี” ทำให้เราได้ยินข่าวปลาโลมาช่วยชีวิตคนกลางทะเล รวมถึงได้เห็นสัตว์อีกหลายชนิดที่รู้จักดูแลช่วยเหลือเผ่าพันธุ์ของตนเอง
“เป็นเรื่องที่คุยแล้วชวนถูกตีหัวได้ง่าย”
นักเขียนช่างคิด ช่างสงสัย และช่างสนใจไปเสียทุกเรื่องอย่างเขาเปรยขึ้น เมื่อเราตั้งท่าจะชวนคุยต่อยอดเรื่อง “ศาสนา” หนึ่งในหัวข้อที่ปรามกันไว้ว่า หยิบยกมาพูดเมื่อไรก็ชวนให้บาดหมางเมื่อนั้น
อย่างไรก็ตาม บทสนทนาระหว่างเรากับเขาว่าด้วยเรื่องดังกล่าวก็ถูกทำให้เกิดขึ้นด้วยความเชื่อ (อันประกอบไปด้วยเหตุผลอยู่ไม่น้อย) ว่า มันน่าจะนำผู้อ่านไปสู่การ “ตีหัวให้ตื่น” มากกว่า “ตีหัวให้แตก”
คุณมองว่าศาสนาเป็นเรื่องต้องห้ามหรือเป็นสิ่งที่ควรจะหยิบยกขึ้นมาพูด
ควรจะพูดอยู่แล้ว เพราะเราควรมีศาสนาด้วยความรู้ ไม่ใช่ด้วยความเชื่อ ถ้าเรานับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งตามครอบครัวของเรา เราก็ควรทำตามด้วยความรู้ หรืออย่างน้อยในช่วงหลังของชีวิตก็ควรจะศึกษา จนกระทั่งรู้และนับถือมัน ไม่ใช่นับถือตามพ่อแม่ แล้วทำตามความเคยชิน หรือทั้งหมู่บ้านนับถือศาสนานี้แล้วเราก็นับถือตาม เพราะถ้าไม่ทำแล้วจะรู้สึกเป็นแกะดำ มันก็ไม่น่าจะถูกต้อง
คุณเคยเจอภาวะแกะดำนั้นบ้างไหม
ไม่เคย เพราะรอบตัวผมเป็นพุทธไปหมด ประเทศไทยประกาศว่าเราเป็นพุทธ ทุกคนก็ต้องเป็นพุทธ พอเข้าโรงเรียนก็มีสวดมนต์ ซึ่งตอนนั้นไม่รู้เรื่องอะไรสักอย่าง กระทั่งโตขึ้นก็ได้ศึกษาจนเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร พอได้เจอศาสนาอื่นก็ไปศึกษาเรื่องศาสนาเปรียบเทียบ เราก็เริ่มเข้าใจ พอศึกษาลึกเข้าไปอีก ก็พบว่าก่อนหน้าที่จะมีศาสนาเป็นอย่างไร และทำไมเราต้องมีศาสนาอยู่บนโลกนี้ มันก็จะชัดเจนขึ้นว่าเราควรจะนับถือศาสนาอะไร หรือว่าไม่ควรเลย
ซึ่งคุณชัดเจนว่า...
ถ้าถามผมว่านับถือศาสนาอะไร ผมก็ตอบได้เลยว่าไม่มีอะไรเฉพาะเจาะจง
จากงานเขียนต่างๆ ดูเหมือนคุณจะสนใจหลากหลายความเชื่อ
ผมสนใจแนวคิดต่างๆ แต่ไม่ได้สนใจว่าสวดมนต์บทนี้แล้วจะได้ขึ้นสวรรค์ เพราะเรามองโลกและมนุษยชาติในภาพรวม ไม่ได้มองภาพใดภาพหนึ่ง เช่นว่าถ้าคุณนับถือศาสนานี้แล้วมีสิทธิ์ขึ้นสวรรค์ ถ้าไม่นับถือไม่มีสิทธิ์ ผมสนใจเรื่องการมองย้อนกลับไปว่า ก่อนที่จะมีศาสนาพุทธ คริสต์ หรือลัทธิอื่นๆ ทั้งหลาย มนุษย์เราเป็นมาอย่างไร และทำไมต้องมี มีแล้วทำไมหรือ และนี่ก็เป็นประเด็นที่ชวนถูกตีหัว (ยิ้ม)
ในความเห็นคุณ ทำไมคนเราต้องมีศาสนา
ศาสนาในมุมมองของผมก็เหมือนกฎหมาย กฎหมายเป็นการปราบ ศาสนาเป็นการปราม นั่นคือระบบที่เราสร้างขึ้นเพื่อให้เราอยู่รอดได้ สมมุติง่ายๆ ว่า ถ้าเราเกิดมาอยู่ตัวคนเดียวในโลก เราจะมีศาสนาไปทำไม เพราะคุณไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใครอยู่แล้ว แต่พอมีคนจำนวนมาก เป็นหมู่บ้าน ชุมชน เมือง หรือประเทศเมื่อไร ก็ต้องมีศาสนา ไม่งั้นคุณจะทำอะไรก็ได้ อย่างฆ่าคนตาย ฉะนั้นก็ต้องมีกฎหมายลงโทษเพื่อไม่ให้สังคมวุ่นวาย แต่ในบางเรื่องไม่จำเป็นต้องออกเป็นกฎหมาย มันออกเป็นกฎปรามได้ คือศาสนา สอนให้คนเป็นคนดีก่อน กันไว้ดีกว่าแก้ ถ้าคุณเป็นคนดี โอกาสที่คุณจะไปฆ่าคนตายก็คงจะน้อยลง แล้วถ้าคุณไม่ฆ่าคนตาย ไม่แย่งชิงกัน ประเทศหรือสังคมก็จะอยู่ได้ จะสงบขึ้น
แต่ถ้าเราดูว่า ประชากรบนโลกนี้มีเจ็ดพันล้านคน แล้วฆ่ากันตายทุกวัน บทบาทของศาสนาก็ไม่ได้เข้าไปอยู่ในจิตสำนึก หรือจิตวิญญาณของเราจริงๆ มันเป็นแค่เปลือกนอก เพราะจะเป็นไปได้อย่างไรที่คนคริสต์ คนพุทธ จำนวนหลายพันล้านคน ไปกระทำเรื่องแย่ๆ ได้ขนาดนี้ ไม่น่าเชื่อนะ คิดง่ายๆ ว่า คน ๓ ใน ๔ ของโลกมีศาสนา โลกก็น่าจะสงบมากกว่านี้ ไม่น่าจะเหมือนที่เป็นอยู่
เป็นเพราะต่างคนก็ต่างตีความศาสนาในมุมมองของตัวเองหรือเปล่า
ผมว่าเรามองศาสนาแค่เปลือกมากกว่า แต่ถ้าเรามองย้อนกลับไปหน่อยว่า กำเนิดศาสนาเป็นมาอย่างไร ก็จะชัดเจนและเข้าใจในบทบาทของมัน เราจะยอมรับได้สนิทใจว่ามันมีประโยชน์ แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งก็มีโทษ ถ้าคุณใช้มันเป็นเครื่องมือที่ผิด เรามีพระรวยๆ ขับรถเบนซ์ มีเงินฝากเป็นล้านๆ เยอะแยะไป เพราะนี่คือการใช้ศาสนาเป็นแค่เครื่องมือ เป็นแค่เปลือก ในการใช้หลอกคนที่เขาไม่รู้
คนสมัยนี้เริ่มตั้งคำถามกับศาสนามากขึ้น คุณมองว่ามันเกิดจากอะไร
เราเห็นภาพที่ปรากฏในสังคม ทั้งตะวันออก ตะวันตก มีคนใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในทางที่ผิด บางครั้งก็ใช้เป็นเครื่องมือของความความรุนแรง ใช้ฆ่ากันตายด้วยซ้ำไป ก็ทำให้เราต้องตั้งคำถามว่า มันคืออะไรกันแน่ แต่จริงๆ แล้วเราใช้ศาสนาเพื่อรักษาสังคมให้สงบ ฉะนั้นอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดเป้าหมายนั้นได้ ทำให้คนมีความโลภน้อยลง หรือมีจิตใจที่ดีต่อกันมากขึ้น ผมก็เห็นว่ามันยอมรับกันได้ แต่เมื่อใดก็ตามที่เราใช้มันเป็นเครื่องมือในการที่ไม่น่าจะถูกต้อง เช่น ใช้เป็นสัญญาว่าคุณจะได้โลกหน้าที่ดีกว่า ผมคิดว่ามันไปกันใหญ่แล้ว
ทุกวันนี้มีหลายคนที่ประกาศตนว่าไม่นับถือศาสนา คุณคิดเห็นอย่างไร
เราจะไม่นับถือหรือนับถือศาสนาก็ได้ คำว่าศาสนาเป็นแค่เปลือกเท่านั้นเอง แต่ถ้าเราไปยึดติดกับเปลือกที่ว่าฉันไม่มีศาสนานะ หรือฉันมีศาสนานะ มันก็เป็นการยึดติดทั้งคู่ การที่เราเป็นคนดี คนดีคือคนที่ไม่ทำให้สังคมแย่ลง ไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น นั่นคือคนดีตามที่ผมพูด การที่เราเป็นคนดี เราไม่ต้องไปติดยี่ห้อว่าเรานับถือพุทธ นับถือคริสต์ แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้แปลว่าการมีศาสนาจะเป็นสิ่งที่แย่ตรงไหน ถ้าคุณรู้ว่าคุณทำตามครรลองของแนวทางศาสนานั้น มันไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้าย เพราะโดยหลักการของมัน ก็มีไว้เพื่อให้สังคมดีขึ้น ทำให้จิตใจอ่อนโยนขึ้น ซึ่งจะมีหรือไม่มีศาสนา มันก็เป็นแค่เปลือก มันอยู่ที่การกระทำของเรามากกว่า ฉะนั้นผมเห็นว่า การกระทำทั้งสองฝ่ายมันสุดโต่งด้วยกันทั้งคู่
เวลาที่เราบอกว่าไม่มีศาสนา แท้จริงเราก็ยังต้องนับถืออะไรสักอย่างอยู่ดีหรือเปล่า
เวลาเราบอกว่าเราไม่มีศาสนา ไม่ได้แปลว่าเราไม่มี 'ศาสนา' แต่มันหมายถึงว่าเราไม่ยึดติดอยู่กับยี่ห้อพุทธ คริสต์ อิสลาม แต่การที่เราไม่ได้ยึดติดกับยี่ห้อ ก็ไม่ได้แปลว่าเราเป็นคนจิตใจเลวร้ายตรงไหน ฉะนั้นการที่มีคนบอกว่าไม่มีศาสนา ไม่ได้แปลว่าเขาเป็นคนเลวร้าย แต่แปลว่าเขาไม่ได้สังกัดค่ายเพลงค่ายไหน ก็แค่นั้นเอง
ทีนี้ถ้าสังคมยังตีภาพรวมว่าไม่มีศาสนาคือแย่ มันก็เป็นการตีความที่สุดโต่งไป เพราะศาสนาเป็นแค่ตรายี่ห้อเฉยๆ ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
การไม่มีศาสนาจะส่งผลต่อพิธีกรรมในชีวิตด้วยหรือเปล่า เช่น เมื่อเราตาย เราจะไปอย่างไร
พิธีกรรมเป็นแค่เปลือกเท่านั้นเอง ผมจำได้ว่าท่านพุทธทาสฯมรณภาพก็ไม่ได้มีพิธีกรรม ไม่มีการสวด ไม่มีอะไร ทั้งที่ท่านก็เป็นพุทธ ก็ไม่เห็นแปลกตรงไหนเลยถ้าไม่มีพิธีกรรม คนในพุทธก็ทำแบบหนึ่ง คนในคริสต์ก็ทำแบบหนึ่ง คนในอิสลามก็ทำแบบหนึ่ง แล้วถ้าทำไม่ถูกพิธีจะไม่ได้ขึ้นสวรรค์หรืออย่างไร ผมว่ามันเหลวไหล เป็นแค่เปลือก
คุณคิดอย่างไรกับการกล่าวว่าศาสนาเป็นเรื่องของอารมณ์มากกว่าเหตุผล
มันอยู่ที่ว่าคนพูดหมายความว่าอย่างไร ผมไม่อยากจะใช้คำว่าอารมณ์ อยากใช้คำว่าความเชื่อมากกว่า ซึ่งมันจะอยู่กับการปลูกฝังจากสภาพแวดล้อม อย่างเราถูกปลูกฝังตั้งแต่เด็กว่าพระพุทธเจ้าเป็นเทพที่ยิ่งใหญ่มาก ถ้าเราเจริญรอยตามก็น่าจะปลอดภัย อย่างคริสต์ก็บอกว่าพระเจ้านี่ยิ่งใหญ่มาก แค่เชื่อและมีศรัทธาก็รอดแล้ว
เราใช้ความเชื่อหรือศรัทธานำทางชีวิตของเรา ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร เพราะตอนจบถ้าคุณเป็นคนที่มีคุณภาพ มีจิตใจดีงาม ก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่ผมคิดว่าการดำเนินชีวิตแบบนั้น อาจจะไม่เข้าถึงแก่น ทำไมเราต้องเดินไปตามทิศทางนั้น มันเหมือนกับเราเชื่อว่ามันดี และบังเอิญออกมามันก็ดี เพราะว่าเส้นทางของศาสนามันก็ดีอยู่แล้ว แต่มันจะเข้าไม่ถึงแก่นว่า ทำไมเราถึงเลือกเส้นทางนั้น ด้วยการเข้าใจมันจริงๆ
คนจำนวนมากที่บอกว่าเป็นพุทธแล้วยังเชื่อในน้ำมนต์หรืออำนาจเหนือธรรมชาติบางอย่าง มันก็ประหลาดๆ เพราะมันไม่ตรงกันสิ่งที่พุทธสอนอยู่แล้ว
ทำไมเราจึงเลือกที่จะเชื่อในสิ่งที่อธิบายไม่ได้
คงเป็นธรรมชาติของคนที่แสวงหาความปลอดภัย ความมั่นคงในชีวิต มันก็คงโอเคถ้าการันตีว่ามีสวรรค์รอเราอยู่ หรือชาติหน้าเราจะดีกว่าเดิม เราก็รู้สึกสบายดีขึ้น ทำให้มั่นคงทางจิตใจ แต่ถ้าเราศึกษาลึกพอทั้งในทางศาสนาและวิทยาศาสตร์ เราก็จะพบว่าบางทีมันอาจจะไม่มีสิ่งที่เรียกว่าชาติหน้าก็ได้
เรื่องจำพวกสิ่งลึบลับเหนือธรรมชาติมีประโยชน์ไหม
มันก็เหมือนกับสิ่งที่เรียกว่ายาปลอม เวลาหลอกเด็กว่ากินน้ำเปล่านี่สิ กินแล้วจะหาย หรือเป่ามนต์ในน้ำเปล่า แล้วเด็กกินก็หาย ด้วยความเชื่อแบบนั้น มันก็อาจจะเวิร์กในระดับหนึ่ง แต่ถ้ามองในภาพรวม คุณก็จะเรียนรู้ศาสนาที่มีแต่ความเชื่อ หรือในเรื่องเหนือธรรมชาติ ซึ่งผมมองว่า ถ้าเรามีสติปัญญาพอ เราจะเข้าไปลึกกว่าสิ่งที่เราเห็นแค่เปลือก
อย่างเราพูดเรื่องปู่โสมเฝ้าทรัพย์ แล้วทำให้คนไม่กล้าเข้าไปขโมยสมบัติ
มันมีวิธีหลายวิธีที่จะทำให้สังคมสงบ การขู่ก็เป็นวิธีหนึ่ง การสร้างเรื่องต่างๆ ที่น่ากลัวเพื่อให้คนไม่กล้าทำ เช่นการตัดไม้ คุณเอาจีวรไปพันต้นไม้ ก็ทำให้คนไม่กล้าตัด หรือไปสร้างเรื่องสร้างราว เช่น ถ้าคุณตัดแล้วจะมีอันเป็นไปในสามวันเจ็ดวัน เขาก็จะไม่ตัด มันก็เป็นวิธีที่ดีในภาพรวมของสังคม แต่ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด เพราะเขาทำด้วยความเชื่อ ไม่ใช่ความรู้และความรัก เช่น ถ้าคุณรู้ว่าตัดป่าไปแล้วทั้งโลกจะเดือดร้อน คุณก็จะไม่ตัด เพราะคุณเข้าใจ ผมว่าวิธีนี้ยั่งยืนกว่า
พูดถึงเรื่องนี้ ก็จะโยงไปถึงประเด็นที่ว่า ศาสนาไม่ใช่แค่เรื่องที่คุณไม่ไปฆ่าคนอื่น หรือทำให้ใครเดือดร้อน แต่มันรวมไปถึงการไม่ทำให้โลกเดือดร้อน หรือทำให้ต้นไม้เดือดร้อน สภาพอากาศเดือดร้อน นี่น่าจะเป็นศาสนาที่เวิร์กกว่า เพราะว่าคุณมองในภาพรวมทั้งหมด คุณไม่ฆ่าคน แต่ถ้าคุณไปจับสัตว์มาเลี้ยงในกรง ผมคิดว่ามันก็บาปพอกัน อาจจะแย่กว่าด้วยซ้ำไป เพราะคุณเชื่อว่ามันไม่เป็นไร ฆ่าคนเป็นไร แต่ฆ่าสัตว์ไม่เป็นไร
ถ้าคนเรามีนิยามความดีต่างกัน จะมีความดีที่เป็นความดีจริงๆ ไหม
ผมไม่ทราบ เพราะถ้าศึกษาในทางพุทธหรือทางเซน สิ่งที่เราเรียกว่าความดีมันเป็นแค่มายาเท่านั้น เป็นสิ่งที่เราสมมุติ เป็นสิ่งสัมพัทธ์ที่เราจะนำมาเปรียบเทียบว่านาย ก. ดีกว่านาย ข.
ถ้าถามว่าความดีสัมบูรณ์เป็นอย่างไร ผมไม่ทราบ และอาจตั้งคำถามย้อนไปว่ามีจริงด้วยหรือ เพราะผมคิดว่ามันเป็นแค่มายา เป็นสิ่งที่เราสมมุติสร้างขึ้นมา อย่างที่บอกไปว่าถ้าคุณเป็นมนุษย์คนเดียวบนโลกนี้ คุณจะเอาความดีไปทำอะไร
คุณเขียนเรื่องการเอาใจเขามาใส่ใจเราอยู่บ่อยๆ นั่นคือความดีในนิยามของคุณหรือเปล่า
การเอาใจเขามาใส่ใจเราคือศาสนาของผม มันเป็นศาสนาเหมือนกัน คือการที่เราไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นมนุษย์ สัตว์ สิ่งของ เป็นต้นไม้ อากาศ ท้องฟ้า ลำธาร แม่น้ำ ก้อนหิน จะไม่ทำให้เขาเดือดร้อนเป็นพอ นั่นคือศาสนาง่ายๆ จบ
นั่นคือหลักของคุณวินทร์
ผมคิดว่านั่นคือศาสนาอย่างหนึ่ง คำว่าศาสนามันกว้าง คุณจะบอกว่าเราจะทำโน่นทำนี่ก็ได้ มันก็จะมีแนวทางชีวิต แต่ถ้าบอกว่าเราต้องการอยู่รอดในสังคม หรือบอกว่าเราเข้าใจโลกดีพอ เข้าใจโลกทั้งโลก ไม่ใช่แค่มนุษย์ เราจะพบว่าการที่จะให้มนุษย์อยู่ได้อย่างสงบสุขอย่างเดียวมันไม่พอ มันยังแคบไป มันควรจะให้มนุษย์กับสิ่งมีชีวิตทั้งมวลในโลกอยู่ได้ด้วย และไม่เฉพาะสิ่งมีชีวิต แต่รวมถึงสิ่งไร้ชีวิตด้วย คุณจะไปตัดป่าจนโลกร้อน หรือคุณใช้น้ำมันมากไป ผมคิดว่านี่คือการผิดหลัก 'ศาสนา' ถ้าเราตีความศาสนาในมุมกว้าง
งานเขียนของคุณหลายๆ ชิ้นสะท้อนความสนใจในวิทยาศาสตร์ คุณให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์หรือศาสนามากน้อยไปกว่ากันไหม
มันคนละประเด็นกัน วิทยาศาสตร์เป็นแค่เครื่องมือในการแสวงหาความรู้เท่านั้นเอง เป็นเครื่องมือให้เราเปิดหูเปิดตาว่าอะไรคือความจริง คือการค้นหาความจริงที่อยู่ข้างนอกโน่น ส่วนศาสนาคือเครื่องมือที่จะทำให้มนุษยชาติและสิ่งมีชีวิตทั้งมวลในโลกอยู่ได้ด้วยความสงบสุข
ทีนี้ถ้าเรามีความรู้มากพอ เราก็จะเข้าใจระบบศาสนาได้ดีขึ้น ว่าที่เป็นอยู่เป็นอย่างไร และมันควรจะเป็นอย่างไร อย่างสองพันปีที่แล้ว ถ้าทำให้ประเทศ ก ประเทศ ข หรือเมืองหนึ่งเมืองใดไม่รบพุ่งกัน มีความสงบสุข ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว แต่พอถึง พ.ศ. ที่เรามีความรู้มากขึ้น เรารู้ว่าถ้าเราใช้น้ำมันมากเกินไป เราตัดป่า เราใข้พลาสติกมากเกินไป มันทำให้โลกเดือดร้อน โลกกำลังเจ็บปวด น้ำแข็งละลายมากขึ้น น้ำจะท่วมโลก ทุกอย่างจะเดือดร้อนหมด ไม่ใช่เฉพาะแต่มนุษย์ กับความรู้แบบนี้ การให้คำจำกัดความกับศาสนามันควรจะกว้างกว่า เพราะว่าเรามีความรู้มากกว่าเดิม และบทบาทของศาสนาน่าจะกว้างกว่าแค่จะพาใครคนหนึ่งขึ้นสวรรค์ มันน่าจะเป็นว่าจะทำอย่างไรให้โลกนี้เป็นสวรรค์ในชีวิตนี้ ไม่ต้องรอให้ถึงโลกหน้า
นี่เป็นการคิดแบบอุดมคติเกินไปหรือเปล่า
อุดมคติไม่เสียหายตรงไหน ศาสนาก็คืออุดมคติ คุณไม่ให้มนุษย์ฆ่ากันตายก็ถือเป็นอุดมคติอยู่แล้ว ถ้าคุณรู้ในเรื่องวิทยาศาสตร์ ยีนในมนุษย์คือความรุนแรง มันต้องฆ่ากันอยู่แล้ว หลักฐานชัดเจนคือคนทั่วโลกที่เป็นศาสนิกชน ไม่ว่าศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ทำไมฆ่ากันตายยิ่งกว่าเดิม ศาสนาเป็นแค่ค่ายเพลงค่ายหนึ่งที่มีไว้เพื่อทำพิธีกรรมต่างๆ เพื่อการันตีว่าเมื่อฉันตายไปแล้วจะไปขึ้นสวรรค์
หากธรรมชาติของมนุษย์มีความรุนแรงอยู่ในตัว บทบาทของศาสนาคือการควบคุมธรรมชาตินั้นใช่ไหม
มันเป็นแค่เครื่องมือหนึ่งที่ใช้ปราม แต่การที่คุณบอกว่า การที่คุณรู้ศาสนาใดศาสนาหนึ่งแล้วสามารถเปลี่ยนคนที่รุนแรงเป็นคนที่ไม่รุนแรง มันออกจะไปไกลเกินไปหน่อย
เราพัฒนาจากมนุษย์ยุคก่อนที่ล่าสัตว์ ใช้ความรุนแรงตลอดเวลา มาเป็นมนุษย์เมืองที่สร้างอารยธรรมต่างๆ ระยะเวลาไม่ได้ยาวนานขนาดนั้น การเปลี่ยนยีนหรือความรุนแรงในสันดานมนุษย์ไม่ได้เปลี่ยนได้รวดเร็วขนาดนั้น ถ้าวันหนึ่งในอนาคตเราสามารถเข้าใจในจีโนม (genome) ของมนุษย์ทั้งหมด ถ้าเราสามารถกำจัดความรุนแรง และความคิดไม่ดีออกจากยีนไปได้ สมมุติว่ามันกำหนดด้วยยีนนะ ศาสนาก็จะหายไปจากโลก เพราะทารกเกิดมาเป็นคนดีหมดเลย เกิดมาไม่เคยคิดจะไปเหยียบสัตว์ตัวไหน ไม่คิดจะไปบี้มด ฆ่าคน หรือลักขโมย ทุกอย่างถูกฝังเป็นโปรแกรม ศาสนาก็จะหมดบทบาทไปโดยสิ้นเชิง เราจะเห็นว่าไม่มีอะไรที่มันถาวร
ถ้าทำได้ขนาดนั้น แปลว่าวิทยาศาสตร์จะชนะศาสนาหรือเปล่า
เปล่า เราพูดประเด็นนั้นไม่ได้ วิทยาศาสตร์เป็นแค่เครื่องมือ ไม่ได้เป็นตัวตนอะไรที่จะเปลี่ยน สิ่งที่จะเปลี่ยนคือมนุษย์เราทั้งสิ้น สมมุติว่าข้อแม้ของการใช้ชีวิตในโลกนี้เปลี่ยนไป ทุกสิ่งที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ก็จะเปลี่ยนไป สมมุติว่าข้อแม้ในอนาคตสักสองร้อยปีข้างหน้า ข้อแม้ของมนุษย์ที่เกิดมาคือมีความรุนแรง ศาสนาก็จะมีความจำเป็น มันเป็นเรื่องปกติธรรมดาอยู่แล้วว่าอะไรที่คุณไม่ใช้ มันก็จะหายไป
ถ้ามองแบบนั้น คุณก็จะเข้าใจบทบาทศาสนาได้ชัดเจนขึ้นว่า ศาสนามีไว้เพื่ออะไร เพื่อควบคุมสังคมให้มันดีขึ้นในช่วงเวลาที่มนุษย์เรายังจำเป็นต้องมีเครื่องมือเพื่อควบคุมในส่วนนี้ ไม่งั้นเราก็จะฆ่ากันตายหมด เผ่าพันธุ์มนุษย์จะสูญพันธุ์ไปอย่างแน่นอน แต่ถ้าวันหนึ่งเครื่องมือนี้ไม่จำเป็นแล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะมีไปทำไม ฉะนั้นการที่ไปยึดติดว่าศาสนาพุทธจะต้องอยู่ยืนยงไปชั่วฟ้าดินสลาย ก็เป็นความคิดที่ใช้ข้อมูลจำกัดในช่วงเวลานี้
คุณเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระพุทธเจ้าไหม
ผมเชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริง เพราะเราไม่น่าจะสามารถสร้างเรื่องโกหกได้กว้างขวางทั่วโลกขนาดนี้ แล้วอีกอย่างหนึ่ง ผมไม่คิดว่าอยู่ดีๆ จะมีใครสักคนหนึ่งที่สมองบื้อๆ สามารถคิดหลักธรรมแบบนี้ขึ้นมาได้ ตัวหลักธรรมมันบ่งบอกว่าจะต้องมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่คุณเรียกว่าพระพุทธเจ้าหรืออะไรก็ตาม บุคคลนั้นจะต้องมีความฉลาดเฉลียวสูงพอที่จะคิดอะไรออกมาแบบนี้ได้
คุณเชื่อในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าหรือเปล่า
ไม่เชื่อครับ ผมคิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระโดยสิ้นเชิง และเราก็ควรจะเลิกสอนเด็กในเรื่องอย่างนี้ได้แล้ว ที่ว่าพระพุทธเจ้าประสูติแล้วเดินได้ ๗ ก้าว คุณอย่าไปโกหกเด็กเลยนะ มันจะทำให้เสียเด็กหมด ก็สอนไปเลยว่ามันเป็นการที่คุณตีความเป็นอุปมาอุปไมย มันก็ยังพอรับได้
คุณว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าถูกบิดเบือนมาเรื่อยๆ ไหม
ทุกคำสอนในโลกนี้ถูกบิดเบือนตลอด บางทีถูกบิดเบือนด้วยเจตนาดี บางทีคนที่บิดเบือนคิดว่าตัวเองรู้ แต่ตัวเองไม่รู้จริง ไม่จำเป็นต้องถูกบิดเบือนโดยความคิดในเชิงลบเสมอไป
เป็นไปได้ไหมว่า พระไตรปิฎกจะเป็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่จริงที่สุดที่ถูกถ่ายทอดกันมา
ผมไม่เชื่อในเรื่องนั้น ผมคิดว่าไม่มีสิ่งประดิษฐ์หรือบันทึกใดๆ ที่จะแม่นยำขนาดนั้น เป็นไปไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเนื้อหามันผิดพลาด ผมเพียงแต่บอกว่า ทุกๆ เครื่องมือต้องมีจุดผิดพลาด รวมทั้งทุกๆ คัมภีร์ในโลกนี้ด้วย
ผมบอกแล้วว่านี่เป็นประเด็นที่ชวนคุยแล้วถูกตีหัวได้ง่าย (ยิ้ม) แต่ถ้าคุณลองมองข่าวในรอบปีที่ผ่านมา มีอะไรบางอย่างที่ถูกบิดเบือนได้ง่ายดาย เช่น เหตุการณ์ทางการเมือง คุณเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับสิ่งที่ข่าวรายงาน แล้วคุณจะบอกว่าสิ่งที่ข่าวรายงานถูกต้องด้วยหรือ มันต้องคิดไปไกลกว่านั้น อีกอย่างหนึ่งถ้าผมจำไม่ผิดคือ พระพุทธเจ้าทรงสอนเสมอให้ตั้งคำถามในสิ่งที่พระองค์ทรงสอน
ทำไมคุณจึงเลือกที่จะเชื่อว่า “การตั้งคำถามในสิ่งที่พระองค์ทรงสอน” เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ
นี่เป็นคำถามที่ดี แต่เราพูดถึงหลักการว่า มันมีหลายๆ เรื่องที่ฟังดูแล้วเป็นเรื่องที่ตรงกับหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามากที่สุด คือหลักที่ว่าด้วยเหตุและผล การสอนให้เราตั้งคำถามว่าสิ่งที่เขาพูดมาเป็นจริงหรือเปล่า มันสอดคล้องกัน
เมื่อสนใจพุทธศาสนา คุณศึกษาด้วยวิธีไหน อย่างไร ถ้าไม่ใช่จากการอ่านพระไตรปิฎก
ผมก็อ่านพระไตรปิฎกนะ แต่ผมไม่อ่านเพราะความเชื่อ อ่านไปก็คิดไป แล้วก็มีข้อมูลอย่างอื่นมาประกอบ อย่างข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จักรวาลวิทยา ซึ่งหลายคนบอกว่าไม่เกี่ยวอะไรกับศาสนา แต่ผมมองว่ามันเกี่ยวกันมากๆ เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นศาสตร์ที่ทำให้เราเข้าใจความเป็นมาว่า มนุษย์เกิดมาในโลกนี้ได้อย่างไร ถ้าเราไม่เข้าใจเรื่องนี้ คุณมีศาสนาไปก็เรียนได้แค่เปลือก เพราะคุณไม่เข้าใจว่าคุณมาอยู่ในโลกได้อย่างไร คุณจะเข้าใจคำว่าชาติหน้าได้อย่างไร ถ้าคุณไม่รู้ว่าชาติก่อน ณ วันที่คุณเกิด จักรวาลเกิด มันเกิดมาได้อย่างไร ฉะนั้นการศึกษาเรื่องจักรวาลวิทยาจึงสำคัญพอๆ กับศาสนา เราศึกษาได้หมด แต่ต้องตั้งคำถามเสมอว่าอะไรเป็นอะไร มีเหตุผลหรือไม่ มันก็จะทำให้เราเข้าใจสิ่งที่เราพูดถึงได้ดีขึ้น
ต่อให้พระไตรปิฎกหรือคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ถูกถ่ายทอดมาจนถึงทุกวันนี้มีเรื่องแต่งผสมอยู่บ้าง คุณคิดว่าเรื่องแต่งนั้นยังมีประโยชน์ไหม
มันเป็นแค่เครื่องมือ คุณจะหลอกเด็กว่ากินน้ำเปล่าแล้วจะรักษาโรคหายก็ไม่เป็นไร ถ้ามันตอบโจทย์ในภาพรวมคือทำให้โลกดีขึ้น แต่คุณจะสอนเด็กเหมือนกับเขาเป็นดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ หรือจะสอนเหมือนเขาอยู่เหนือน้ำขึ้นมาก็ได้ มันก็อยู่ที่ว่าเราจะสอนเด็กอย่างไร
โลกนี้มีดอกบัวอยู่หลายประเภท บางเรื่องก็เหมาะกับบัวบางประเภท เป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ทุกคนในโลกมีสติปัญญาเท่ากัน จะให้รู้เรื่องเหตุเรื่องผล ศึกษาทุกอย่าง มันยาก แต่ในช่วงเวลานี้ อะไรก็ตามที่ทำให้สังคมอยู่รอดได้ เราก็ควรจะทำ แม้ว่าบางเรื่องจะเป็นเรื่องที่เหลวไหล มันก็เป็นประโยชน์ต่อสังคมในภาพรวม เช่น ถ้าคุณถามว่าการไปบวชต้นไม้ดีหรือเปล่า ผมก็จะตอบว่าดี ถามว่าเชื่อไหม ผมตอบว่าไม่เชื่อ อย่างคุณไปสร้างเรื่องแต่งว่าตัดต้นไม้แล้วตายในสามวันเจ็ดวัน ถามว่าดีไหม ผมก็ว่าดี แต่ถามว่าในระยะยาวควรทำหรือเปล่า ก็ไม่ควรทำ แต่ในภาพรวมมันทำให้ต้นไม้อยู่รอดได้
ผมต้องการบอกว่า เราควรจะศึกษาศาสนาให้ลึกที่สุดเท่าที่สติปัญญาเรามี ให้ความรู้หรือข้อมูลทั้งหลาย ทั้งประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จักรวาลวิทยา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบ เพื่อที่จะเข้าใจว่า เราเกิดขึ้นมาในโลกนี้ได้อย่างไร เราจะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ได้อย่างไร และจะอยู่กับโลกภายนอกได้อย่างไร รวมทั้งอยู่กับสิ่งมีชีวิตทั้งหลายได้อย่างไร คุณควรจะมีความสันติสุขกับสิ่งที่คุณอยู่ด้วย มากกว่าแค่คุณจะทำอย่างไรให้อยู่รอดได้ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า หรือว่าชาติหน้าจะดีกว่าชาตินี้อย่างไร
ในฐานะนักเขียน คุณเชื่อในพลังของเรื่องแต่งมากน้อยแค่ไหน เช่นพลังในการเปลี่ยนแปลงสังคม
มันอยู่ที่ว่าเรื่องแต่งระดับไหน อยู่ที่ว่านักเขียนเขียนขึ้นมาเพื่ออะไร บางเรื่องก็แต่งเพื่อความเพลิดเพลิน บางเรื่องก็แต่งมาเพื่อสาระบางอย่าง ทีนี้ถ้าหากคนอ่านตาถึง หรือว่าอ่านเข้าใจ แล้วสามารถนำไปใช้ ผมก็ว่ามันเป็นประโยชน์ แต่ผมไม่ถือว่าเป็นหน้าที่ของนักเขียนที่จะเปลี่ยนสังคม คนที่จะเปลี่ยนสังคมคือคนทั่วไป นักเขียนถ้าเกิดว่ามีไอเดียดี มีความคิดมุ่งมั่นที่น่าจะเป็นประโยชน์ ก็น่าจะระบายออกมา แต่คนที่จะเปลี่ยนก็คือคนอ่านนั่นเอง
วรรณกรรมเป็นศาสนาได้ไหม
ออกจะเป็นการเบี่ยงความหมายของศาสนามากเกินไป แต่ก็ไม่ผิดอะไร สำหรับผม ความรวยก็เป็นศาสนาได้ มองทุกอย่างเป็นเงิน มันก็ได้ถ้าคุณจะใช้ศาสนาในบริบทแบบนั้น แต่คำว่าศาสนาที่เราเข้าใจ คือศาสนาที่ทำให้ทุกอย่างดีขึ้น ซึ่งไม่ใช่การทำให้ใครคนหนึ่งดีขึ้นในเรื่องกายภาพอย่างเดียว อย่างเช่นรวยขึ้น แต่คือการทำให้สังคมดีขึ้น ทีนี้วรรณกรรมก็มีส่วนช่วยพัฒนาความคิดอ่านของคนในระดับหนึ่ง แต่จะถึงขั้นเปลี่ยนเขาจากหน้ามือเป็นหลังมือ มันก็แล้วแต่คน เพราะบางคนอ่านหนังสือบางเรื่องก็อาจจะบรรลุธรรมได้เหมือนกัน
สำหรับผม วรรณกรรมคือข้อมูลตัวหนึ่ง มีหลายเรื่องที่เราอ่านแล้วมีความสงบ เหมือนเราอ่านหนังสือธรรมะ หรือทำให้เราเข้าใจโลกได้ดีขึ้น แต่ไม่ถึงกับเป็นศาสนานะ
คุณเคยบอกว่าไม่อยากพูดเรื่องส่วนตัว และคิดว่าชีวิตส่วนตัวของนักเขียนเป็นคนละเรื่องกับผลงาน เช่นคนไม่ดีก็อาจจะเขียนเรื่องที่ดีได้ มันเป็นไปได้จริงๆ หรือที่คนแบบหนึ่งจะเขียนเรื่องอีกแบบหนึ่งได้
เป็นไปได้สิครับ ทำไมจะเป็นไปไม่ได้ อย่างฆาตกรบางคนก็ยังรักลูกมากเลยนะ มันคนละโหมดกัน
ถ้าพระเทศน์ดี แต่วัตรปฏิบัติไม่ดี ถือว่าโอเคไหม
ผมไม่ได้บอกว่าโอเคนะ แต่ผมบอกว่าระวังให้ดี อย่าไปยึดติด สมมุติพระรูปหนึ่งถูกจับได้ว่าไปนอนกับสีกา ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่พระเทศน์ทั้งหมดนั้นไม่ดี มันไม่จำเป็นเสมอไป หน้าที่เทศน์ก็เทศน์ การไปมั่วสีกาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าไปยึดอย่างนั้น เราอาจจะเสียดายข้อมูลหลายๆ เรื่องที่ถูกต้องและดี ไม่ใช่ว่าผมเห็นด้วยว่าคุณเทศน์ดีแล้วสามารถไปนอนกับสีกาได้ แต่ว่ามีบางเรื่องที่พระเลวเทศน์ เป็นเรื่องดีที่เราสามารถนำไปใช้ได้ เรามองมันในฐานะข้อมูลหรือความรู้มากกว่า อย่าไปมองที่ตัวบุคคลมาก
วัตรปฏิบัตรที่ไม่งามของพระ จะมีส่วนทำให้พุทธศาสนาเสื่อมไหม
ไม่หรอก พระก็คือพระ เราต้องยอมรับว่าทุกวงการก็จะมีคนดีและคนไม่ดีอยู่แล้ว ฉะนั้นมันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพียงแต่ภาพที่เกิดขึ้นจะทำให้เรารู้สึกขัดใจหรือหงุดหงิดมากกว่าเดิม เพราะพระควรจะอยู่ในสถานะที่เข้าใจโลก หรือละทิ้งเรื่องต่างๆ ได้มากกว่าคนทั่วไป พอเราเห็นพระทำผิดจึงยอมรับได้ยากกว่า
คุณมองปรากฏการณ์ที่พระเข้ามาธุดงค์ในเมืองอย่างเอิกเกริกอย่างไรบ้าง
ไร้สาระ เพราะตอนเราเรียนเรื่องวันเข้าพรรษา ต้นไม้ต้นเดียวพระยังไม่ต้องการเหยียบให้ตายเลย พระก็ไม่ควรสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น
เรื่องนี้คงไม่ต้องวิจารณ์มากเพราะเราเห็นชัดเจนอยู่แล้ว เรายังยึดติดอยู่ที่เปลือกมาก อย่างจะบวชนาคก็ต้องประกาศว่าจะบวช ๑,๒๕๐ รูปบ้าง หมื่นรูปบ้าง ซึ่งผมเห็นว่ามันไร้สาระ จะบวช ๑-๒ รูปก็บวชไป ไม่เห็นต้องมีพิธีอะไรเป็นพิเศษ มันกลายเป็นว่าต้องบวชในเทศกาลนั้นเทศกาลนี้ แล้วต้องมาบวชเลขสวยๆ อย่าง ๙๙๙ รูป นั่นคือคุณกำลังสร้างเปลือกตัวใหม่ ซึ่งคนที่จะเป็นพระ ควรเป็นคนสุดท้ายในโลกที่จะสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา
หลักการพุทธไม่มีอะไรเลย จริงๆ แล้วง่ายมาก คือไม่เหยียบเท้าคนอื่น สร้างความรู้ให้มากที่สุด ยึดติดน้อยที่สุด คุณไปยึดติดกับตัวเลขหนึ่งหมื่นรูป ๙๙๙ รูป คุณไปยึดติดกับพิธีกรรม ต้องธุดงค์เข้าเมือง คุณสร้างพระพุทธรูป นั่นคือการยึดติดทั้งสิ้น
ถ้าจะให้เหตุผลว่า มันคือการสร้างแรงจูงใจให้คนหันมาสนใจศาสนาล่ะคะ
มันพูดได้ทั้งนั้น คุณจะให้ผมพูดว่า การเอาพระไปทำชั่ว แล้วให้พูดเป็นเรื่องดี ผมก็ทำได้ ผมก็เขียนเรื่องให้มันดีได้ เราเข้าใจว่ามันมีหลายเรื่องที่มีหลายตัวแปรมาก อย่างพระมีชื่อเสียงมากขึ้น คนก็จะเข้าหามากขึ้น มันเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว แต่คุณอย่าลืมว่าหลักการพุทธคือทำให้มันง่ายที่สุด มันชัดเจนอยู่แล้ว คือไม่ยึดติด อะไรก็ตามที่ยึดติด คุณลองดูเลยว่าเข้าข่ายยึดติดหรือเปล่า คุณต้องการสร้างวัดที่หรูหรา ฟุ่มเฟือย นั่นคือความยึดติดหรือเปล่า
ลัทธิหรือความเชื่อทางการเมืองเป็นศาสนาไหม
ถ้าคุณใช้คำว่าศาสนาในบริบทแบบนั้นก็ได้ คุณจะพูดว่าคอมมิวนิสต์เป็นศาสนาก็ได้ แต่คอมมิวนิสต์ก็ปฏิเสธคำว่าศาสนาในบริบทของศาสนานะ
ถ้าคุณเปลี่ยนลัทธิการเมืองเป็นความคลั่ง มันไม่ใช่สิ่งที่นำสังคมไปสู่ความสงบสุข แต่เป็นการสร้างความเชื่อโดยใช้ศรัทธา ซึ่งมันไม่ใช่เหตุผล ถ้าเราใช้คำว่าศาสนาจริงๆ มันก็จะไม่มียี่ห้อ ศาสนาไม่ควรจะมียี่ห้อ
คิดอย่างไรกับการที่โลกทุกวันนี้เกิดศาสนาหรือลัทธิแปลกๆ ขึ้นมา เช่น การนับถือสปาเกตตี้
ผมว่าเราใช้คำว่าศาสนากว้างไป เราอาจจะใช้คำว่า 'ความเชื่อ' มากกว่า ศาสนาคือการทำให้โลกดีขึ้น ถ้าคุณนับถือสปาเกตตี้แล้วทุกคนในโลกนี้สงบสุข ไม่ฆ่ากันเอง ก็ดีนะ ผมก็จะไปขอนับถือด้วยคน แต่กรณีนี้คงไม่เกี่ยว เป็นการล้อเลียนมากกว่า
ชาติเป็นศาสนาไหมคะ
ผมคิดว่าในประเทศไทยเป็นนะ
คิดอย่างไรกับการคลั่งชาติ
ผมว่าไร้สาระ ถ้าคุณมองในบริบทของสังคมตอนนี้ คุณก็จะคิดว่าโลกมีแค่นี้ แต่ถ้าคุณลองมองถอยกลับไปที่โลกประมาณหมื่นปีก่อน มันมีชาติที่ไหนในโลกนี้ ไม่มีเลยสักหนึ่งชาติ แล้วชาติมาจากไหนล่ะ ผมก็เลยพูดได้ว่าชาติคือมายาชนิดหนึ่ง ถ้าพูดให้มันเป็นภาษาชาวบ้าน คือมันเป็นสิ่งประดิษฐ์ชนิดหนึ่ง
ความเป็นชาติมีประโยชน์บ้างไหม
ตอบยาก เพราะวิวัฒนาการมันมาไกลพอสมควร หมู่บ้านแต่ละแห่งก็มีวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไป เขาก็ต้องพยายามรักษากลุ่มก้อนของเขา ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว ความเป็นชาตินั้นเกิดมาแบบนี้ แต่ความเป็นชาติที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมันกลายเป็นความคลั่งชาติไปแล้ว คิดว่าชาติเราดีกว่าชาติอื่น
ดูง่ายๆ ไม่ต้องดูไกลหรอก การแข่งฟุตบอลโลกหรือโอลิมปิกหรือกีฬาทั้งหลาย มันไม่ใช่กีฬาแล้ว มันคือความคลั่งชาติ ถ้าคุณมองว่าเป็นกีฬา คุณก็เอาธงของทุกชาติออกให้หมดสิ แล้วก็เลิกบรรเลงเพลงชาติ อย่างนั้นน่ะเรียกกว่ากีฬา แต่ตอนนี้มันเป็นอะไรก็ไม่รู้
นักกีฬาไม่ว่าชาติไหน จะเป็นสิงคโปร์ อเมริกา หรืออะไร ก็อิมพอร์ตนักกีฬาจีนทั้งนั้นแหละ เพราะมีคนเยอะ คุณเอานักกีฬาจีนที่เก่ง มาปักธงชาติว่าเป็นของอเมริกา เพื่ออะไรล่ะ เพื่อแสดงว่าอเมริกันเหนือกว่า สิงคโปร์เหนือกว่า เยอรมันเหนือกว่า ผมว่านี่มันเรื่องไร้สาระ พูดไปก็หาว่าผมไม่รักชาติอีก
บางครั้งมันจะมีอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เช่น นักมวยไทยได้เหรียญทอง พอเพลงชาติขึ้นเราจะรู้สึกซาบซึ้ง ทั้งๆ ที่ก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองคลั่งชาติ
มันเป็นธรรมชาติ เราจะรักพวกพ้องของเราอยู่แล้ว ถ้าให้คุณเชียร์ระหว่างทีมชาติไทยกับทีมอิสราเอล คุณจะเชียร์ทีมไหน มันอัตโนมัติอยู่แล้ว คุณก็จะต้องเชียร์ทีมที่คุณรู้จัก เพียงแต่มันไม่ควรไปไกลจนกระทั่งว่า มันครอบคลุมทุกระบบในโลกนี้ อย่างที่ผมเขียนในหนังสือ เส้นสมมุติ ว่า มันไม่ตลกหรือที่จะบอกว่าแกรนด์แคนยอนเป็นของอเมริกา แกรนด์แคนยอนเป็นของผมนะ เป็นของคุณด้วย ใครไปปักธงยึดตั้งแต่เมื่อไร
ถ้าจะถามว่าคิดแบบนี้อุดมคติมากเกินไปหรือเปล่า ผมก็จะตอบว่าคิดแบบอุดมคติแล้วผิดตรงไหน คุณจะให้ผมคิดแบบอุดมคติ หรือคุณจะยิงกันเหมือนเดิม คุณเลือกเอาแล้วกัน ว่าคุณจะเพ้อฝันแบบผม หรืออยู่แบบปัจจุบันที่ผมไม่เห็นว่าจะมีสาระอะไร
คิดอย่างไรกับการต้องยืนตรงเคารพธงชาติ และคนที่โดนตำหนิเมื่อไม่เคารพธงชาติ
มันเพียงแสดงว่าคนคนนั้นไม่รู้จักกาลเทศะ เราห้ามความคิดรักชาติหรือไม่รักชาติของคนไม่ได้ เวลาเพลงชาติขึ้น ผมยืน ผมดีใจที่เกิดประเทศนี้ ผมเกิดที่นี่และจะตายที่นี่ แต่ผมคิดว่ามันไม่จำเป็นต้องซาบซึ้งกับวีรกรรมของบรรพบุรุษในรูปแบบนี้ เรามองว่าแผ่นดินนี้ให้เราทุกอย่างมากมายอยู่แล้ว เราต้องตอบแทน แต่ไม่ใช่ด้วยความเชื่ออย่างนี้
ความเป็นชาติก็คล้ายเป็นเรื่องเตือนใจว่าเราอยู่ในประเทศนี้ มีคุณสมบัติแบบนี้ เช่น ประเทศไทยเคารพธงชาติสองเวลาหลังอาหาร ขณะที่ประเทศอื่นเขาเคารพเฉพาะในห้วงเวลาที่มีอะไรพิเศษ แต่ไม่ถึงกับต้องคลั่งว่าถ้าไม่ทำเคารพธงชาติวันละสองเวลาแล้วผิด เพราะประเพณีนี้เพิ่งเกิดมาไม่กี่สิบปีนี้เอง ในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพียงแต่ไม่มีใครกล้าลบแนวทางปฏิบัตินี้
เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าคนยืนตรงเคารพธงชาติไปเพื่ออะไร มันไม่ตลกหรือถ้าคุณยืนเคารพธงชาติในขณะที่คุณคุยกับเพื่อนหรือคุยโทรศัพท์ ถ้าคุณไปสัมภาษณ์คนที่ยืนตรงเคารพธงชาติ มีสักกี่คนที่รู้สึกทุกครั้งว่าหัวใจพองโต รู้สึกชื่นชมชาติ คุณรู้สึกแบบนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องยืนตรงเคารพธงชาติ มันเป็นแค่เปลือก นี่ไม่ได้แปลว่าเราไม่รักชาติ ถ้าคุณพูดอย่างนั้นก็ต้องกลับไปถามว่า คอร์รัปชั่นไม่ใช่การทรยศต่อชาติหรือ การที่คุณไม่ข้ามทางม้าลาย คุณทิ้งขยะบนท้องถนน มันไม่ทรยศต่อชาติหรือ เรากำลังทำลายประเทศอยู่ การที่คุณเสพยาเสพติด มันเป็นการทำลายทรัพยากรในประเทศ คุณไม่ได้ทรยศต่อชาติหรือ คำว่าชาติมันกว้างกว่านั้น
ในเอกสารราชการคุณระบุศาสนาไหม
ไม่ครับ ถ้าให้ระบุก็ขีดทิ้งไป ผมถือว่ามันเป็นการละลาบละล้วงอย่างมากที่จะมาถามว่าผมนับถือศาสนาอะไร ไม่ใช่เป็นสิทธิของใครที่จะมารู้ว่าผมนับถือศาสนาอะไร ไม่ได้หมายความว่าผมเป็นคนเลวชั่วช้าอะไรถ้าผมไม่ได้เป็นชาวพุทธร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือคริสต์ร้อยเปอร์เซ็นต์ และก็ไม่ได้แปลว่าผมไม่รู้เรื่องพุทธเรื่องคริสต์ เพียงแต่ผมไม่ติดยี่ห้อ เหมือนกับเรื่องชาติที่ผมไม่ได้ติดยี่ห้อ มันจะไม่ดีกว่าหรือถ้าเราไปอเมริกาได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า
ย้อนกลับไปคำถามแรกที่ว่าศาสนาอาจเป็นเรื่องต้องห้ามที่จะหยิบยกมาถกเกียง แต่เมื่อบทสนทนานี้ออกไป คุณคาดการณ์ถึงผลตอบรับอย่างไรบ้าง
ก็ไม่ว่าอะไร เพราะอาจจะไม่มีคนอ่านเลยก็ได้ หรือถ้ามีมา ผมก็ยินดีที่จะถกกันอยู่แล้ว เพราะว่าเราพูดตามเนื้อผ้า แล้วท้ายสุดต่างคนต่างก็หวังดีต่อสังคม คือสังคมจะได้ฉลาดขึ้น แล้วถ้าศาสนาใดที่ยังไม่สามารถรับคำวิจารณ์ได้ ศาสนานั้นอยู่รอดไม่นานหรอก เพราะมันมีแต่เปลือก สุดท้ายก็จะดับไปเอง ศาสนาที่จะอยู่นาน คือศาสนาที่ทนต่อคำวิจารณ์ สามารถยอมรับ และเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์
เมืองกับชนบท
สัมภาษณ์์นักศึกษา
สิงหาคม 2554
ในความคิดเห็นของคุณวินทร์ คิดว่าการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองนั้นมีข้อดีอย่างไร
เมืองไม่ว่าจะเป็นเมืองใหญ่หรือเมืองเล็ก เป็นพื้นที่เชื่อมต่อกิจกรรมต่างๆ นานาชนิดที่ชนบทไม่อาจทำได้ เช่น การจัดการเรื่องการเงิน, การตลาดของประเทศและระหว่างประเทศ, การศึกษาระดับสูง, ธุรกิจต่างๆ ที่ทำในชนบทไม่ได้, แหล่งบันเทิง, แหล่งอาหาร, โรงพยาบาลที่ให้บริการครบทุกด้าน ฯลฯ ดังนั้นโดยหน้าที่ใช้สอย เมืองก็มีข้อที่ชนบททำไม่ได้
ความเป็นเมืองยังหมายถึงวิถีชีวิตของคนที่อาศัยในเมือง ซึ่งมีคุณลักษณะที่ต่างจากชนบท เช่นการดูหนัง การช็อปปิ้ง บริโภคนิยม เป็นต้น หากปัจเจกชอบวิถีชีวิตแบบนี้ เมืองก็มีข้อดีเพราะรองรับการใช้ชีวิตแบบนี้
ในความคิดเห็นของคุณวินทร์ คิดว่าการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองนั้นมีข้อเสียอย่างไร
เนื่องจากเมืองเป็นศูนย์รวมทั้งธุรกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การบริการ ความบันเทิง ฯลฯ จึงเลี่ยงไม่พ้นที่มันเป็นศูนย์รวมของปัญหาต่างๆ ความแตกต่างระหว่างชนชั้น การแก่งแย่ง มลพิษ อาชญากรรม อบายมุข ขอทาน ความเห็นแก่ตัว การเอาเปรียบกัน ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับเมืองมากกว่าชนบท
และหากเลือกได้ คุณอยากจะใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหรือชนบท ยกตัวอย่างสถานที่ที่คุณอยากอาศัยอยู่
ทั้งเมืองและชนบทเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นการตั้งคำถามว่าเมืองดีกว่าชนบท หรือชนบทดีกว่าเมืองหรือไม่นั้น จึงไม่ใช่ประเด็น เพราะต่างก็มีหน้าที่ของมัน
สิ่งที่สังคมควรทำก็คือรักษาสมดุลของเมืองกับชนบท นั่นคือสร้างความเจริญและรายได้ในชนบทในระดับพอที่ทำให้คนชนบทไม่อพยพเข้าเมือง แต่ก็ไม่มากจนทำลายวิถีชีวิตแบบพอเพียง ขณะเดียวกันก็ไม่ปล่อยให้ความเจริญในเมืองมากจนทำให้ทุกอย่างกระจุกตัวอยู่ในเมือง ควรกระจายความเจริญออกไป เพื่อให้เมืองมีความเป็น 'ชนบท' หรือธรรมชาติมากพอให้คุณภาพชีวิตคนเมืองดีขึ้น
โดยส่วนตัวผมชอบความสบายแบบเมือง และวิถีชีวิตแบบชนบทผสมกัน!
ของฝากสำหรับนักอยากเขียน จาก วินทร์ เลียววาริณ
(บางท่อนจากเสวนาในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 15 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ห้อง Meeting Room 1 โดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2553)
"ผมคิดว่าระยะเวลาจะเป็นตัวพิสูจน์มากกว่า ผมจำได้งานเขียนของผมในช่วงแรก เป็นเรื่องสั้นแนวทดลอง จะมีนอ่านที่ชอบมากกับไม่ชอบมาก พออ่านคำวิจารณ์ บางครั้งก็ทำให้อยากเลิกเขียนหนังสือไปเลย แต่ถ้าเราเชื่อมั่นในสิ่งที่เราทำว่าเป็นตัวตนของเรา เราไม่ได้หลอกลวงใคร และเราก็ตั้งใจกับสิ่งที่เราทำจริงๆ ในท้ายที่สุดก็พบว่าเราอยู่ได้
ประเด็นต่อมาก็คือนักเขียนต้องสนุกกับงานที่เขียน เพราะถ้าเขียนเรื่องที่ไม่สนุก มันก็เป็นสิ่งที่ทรมานอยู่แล้วสำหรับตัวผู้เขียน เมื่อรายได้ไม่ดี แล้วยังเขียนงานไม่สนุกอีก ก็ไม่รู้จะทำไปทำไม เพราะฉะนั้นอย่างน้อยที่สุด คนเขียนต้องสนุกกับเรื่องที่ตนเองเขียน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรื่องที่เขียน สนุกหรือไม่สนุก คำตอบสั้นๆ ก็คือตัวผู้เขียนจะต้องสนุกก่อน
ทีนี้ประสบการณ์ของความสนุกก็ขึ้นอยู่กับระดับการฝึกฝนและระดับการอ่านของแต่ละคน ผมจำได้ว่าตั้งแต่เด็ก ผมชอบอ่านนวนิยายจีนกำลังภายในมาก และเมื่ออ่านแล้ว ผมยังเปรียบเทียบงานของกิมย้งกับนักเขียนคนอื่นๆ เพราะด้วยความสงสัยว่าทำไมวรรณกรรมของ 'กิมย้ง' จึงสนุกมาก ผมก็นั่งวิเคราะห์ว่าทำไมจึงสนุก
คือถ้าเราไม่มีความสามารถในการวิเคราะห์ว่าเพราะอะไรเรื่องนี้ถึงสนุก ก็ยากมากที่เราจะเป็นนักเขียนที่เขียนเรื่องให้สนุก เปรียบเหมือนกับเราไปนั่งรับประทานอาหารที่ร้านร้านหนึ่ง ซึ่งทำอาหารได้อร่อย แต่ถ้าเราไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าแม่ครัวผู้ปรุงอาหารได้ใส่อะไรลงไปบ้างจึงทำให้อาหารจานนั้นอร่อย เราก็คงไม่สามารถกลับมาทำอาหารให้อร่อยเท่ากับแม่ครัวคนนั้นทำได้
ผมชื่นชอบนวนิยายของคุณพนมเทียนมาก โดยเฉพาะเรื่อง เพชรพระอุมา ผมก็นั่งวิเคราะห์ว่าสนุกเพราะอะไร เรื่องนี้มีโครงสร้างของการประพันธ์อย่างไรจึงทำให้ผู้อ่านรู้สึกสนุกจนวางไม่ลง ตัวละครเด่นๆ มีบุคลิกลักษณะอย่างไร มีสีสันทำให้เรื่องสนุกอย่างไรบ้าง
สรุปว่าจากประสบการณ์การอ่านของผม ผมพยายามศึกษาและวิเคราะห์จากผลงานว่าทำไมเรื่องนั้นๆจึงให้อรรถรสที่สนุกแก่ผู้อ่าน คือถ้าเราผ่านการอ่านมามาก เราก็ย่อมจะพบเคล็ดลับของการเขียนเรื่องให้สนุก ประการต่อมา ผมคิดว่าคนเขียน ควรทำงานให้ใหม่สดเสมอ ไม่ควรซ้ำซากจำเจอยู่กับที่ตลอดเวลา นักเขียนควรมองหาโจทย์ใหม่ๆ หาโจทย์ที่ยากขึ้นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานแปลกใหม่ ถือเป็นการท้าทายตนเองด้วย สมองก็จะได้กระชุ่มกระชวย นักเขียนควรเป็น เทรนด์ เซ็ตเตอร์ (Trend Setter) ไม่ใช่เดินตามคนอื่นอย่างเดียว
อีกข้อหนึ่ง นักเขียนควรมีคุณสมบัติของการเป็นนักคิดด้วย คือไม่ใช่รอสิ่งที่เป็นข้อมูลชั้นสองที่ผู้อื่นพูดขึ้นมาหรือเล่าให้ฟัง เราควรจะคิดริเริ่มขึ้นมาก่อนได้ พูดง่ายๆ คือความคิดของนักเขียนควรเดินนำหน้านักอ่านสักสองสามก้าวเสมอ
รูปแบบกราฟฟิค อาร์ต ที่ใช้ตกแต่งคู่กับเรื่องราวที่ผมใช้ประกอบในผลงาน ไม่ได้รับประกันว่าคนอ่านจะสนุกไปกับเรื่องนั้นด้วย ในความคิดผม ถ้าเราเขียนให้เป็นนวนิยาย สาระในเรื่องอาจลดน้อยลง แต่จะสนุกกว่าเขียนให้เป็นงานวรรณกรรมที่ใส่สาระได้มาก แต่อ่านไม่สนุก และก่อนจบเรื่องในแต่ละบท ถ้าเราสามารถทิ้งปมให้ผู้อ่านอยากรู้ต่อได้ ก็จะทำให้เราเปิดฉากบทใหม่ได้ง่ายขึ้นด้วย
หรือในการกำหนดทิศทางของเรื่อง เราอาจจะคิดไว้หลายแบบหลายทาง แล้วค่อยๆพิจารณาดูว่าเรื่องไปทางไหนที่เรารู้สึกว่าอ่านแล้วเพลินที่สุด เราก็เลือกให้เรื่องดำเนินไปทางนั้น แต่ถ้าเราเขียนไปแบบไม่รู้ทิศทางของเรื่องเลย เขียนแบบปากกาพาไป เรื่องก็ย่อมไม่สนุก และอาจหลงทางได้ เพราะฉะนั้น เราต้องกำหนดโครงเรื่อง ทิศทางของเรื่องให้แม่นชัดเจน
สุดท้าย ผมคิดว่านักเขียนไม่ควรให้ยาพิษกับคนอ่านโดยไม่มีข้ออ้างใดๆ ทั้งสิ้น หรือจะอ้างว่านักเขียนคนอื่นก็ทำ ก็ไม่ควรที่จะอ้างอย่างนั้น โดยส่วนตัว อะไรก็ตามที่ทำให้คนอ่าน อ่านแล้วโง่ลง มันก็คือยาพิษทั้งนั้น ส่วนอะไรที่ทำให้คนอ่าน อ่านแล้วมีปัญญามากขึ้น มันก็คือยาเสริมกำลังในชีวิต"
จุก เบี้ยวสกุล เขียนถึง วินทร์ เลียววาริณ
จากคอลัมน์ ชีวิตการ์ตูน กรุงเทพธุรกิจ
โดย จุลศักดิ์ อมรเวช
การ์ตูนเล่มละบาท ของ วินทร์ เลียววาริณ
วินทร์ เลียววาริณ เป็นนักเขียนรางวัลซีไรต์ 2 ครั้ง ครั้งแรกปี 2540 จากเรื่อง ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ครั้งต่อมาปี 2542 จากรวมเรื่องสั้น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน ว่าอย่างนี้คงไม่มีใครเถียง
แต่ถ้าบอกว่า วินทร์ เลียววาริณ เป็นนักเขียนการ์ตูน บางคนคงไม่เชื่อ ยิ่งถ้าว่าวินทร์เป็นนักเขียนการ์ตูนเล่มละบาท ก็คงยิ่งไม่เชื่อกันไปใหญ่
ตอนแรกผมรู้จักคุณวินทร์ จากผลงานเรื่องสั้นบางเรื่องของเขา จนเมื่อช่วงหนึ่งของกลางปีที่แล้ว (พ.ศ. 2546) ผมจึงได้รับโทรศัพท์จากคุณวินทร์ โทร.มาขออนุญาตนำภาพลายเส้นจากนิยายภาพบางเรื่องของผมในอดีตไปตีพิมพ์ประกอบข้อเขียนของเขา ผมตอบอนุญาตในทันทีด้วยความยินดีและไม่คิดอะไร เพราะเคยทำอย่างนี้มาตลอด ทว่าผมนั้นได้ชื่อว่าเป็นรัฐมนตรีกระทรวงเจ้าท่า คือกว่าจะทำอะไรไว้สักเรื่องสักอย่างก็มักวางท่ามากเหลือเกิน แต่ก็มักจะท่าดีทีเหลวเสียทุกทีไป ดังนั้นผมจึงขอให้คุณวินทร์ทำหนังสือขออนุญาตมาสักฉบับก็แล้วกัน และไม่นานผมก็ได้รับจดหมายดังกล่าว
หลังจากวันนั้นวันหนึ่ง ซึ่งคงเป็นวันดีคืนดี ผมก็ได้รับหนังสือปกอ่อนเล่มหนาพอสมควร ขึ้นปกว่า วินทร์ เลียววาริณ เป็นหนังสือแนวหรรษารคดี ในหน้ารองปกมีลายมือคุณวินทร์ ความว่า แด่พี่จุก เบี้ยวสกุล ที่เคารพรัก ขอบคุณที่เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ครับ ลงลายมือ วินทร์ เลียววาริณ 12-9-2003
ในเล่มบทที่ว่าด้วย ชาร์ลส์ บรอนสัน VS ชาญ บ้านสั้น ข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึง "หลายคนเชื่อว่า เพชร สถาบัน ตั้งชื่อตัวละคร ชาญ บ้านสั้น ล้อเลียนชื่อดารา ชาร์ลส์ บรอนสัน ดังเช่นที่ จุก เบี้ยวสกุล (จุลศักดิ์ อมรเวช) ตั้งชื่อตัวละครในนิยายภาพของเขาว่า พร นิ้วแม่น (ล้อเลียนชื่อ พอล นิวแมน) ติ๊บ ปืนโต (ล้อเลียนชื่อ สตีฟ แมคควีน) และ กลินท์ อิทธิวุฒิ (ล้อเลียนชื่อ คลินท์ อีสท์วูด)" แล้วก็มีรูปวาดลายเส้นตัวละครล้อเลียนชื่อทั้งสามให้ดูหน้าด้วย ผมได้เห็นแล้วก็ตื่นเต้น และตื้นตันใจ โดยเฉพาะชื่อ กลินท์ อิทธิวุฒิ จากเรื่อง พรายสาวเจ้าเสน่ห์ ถามนักการ์ตูนรอบข้างผม นาทีนี้ไม่มีใครเคยรู้จักสักคน แต่คุณวินทร์รู้จักและมีรูปให้ดูด้วย
ท้ายเล่ม คุณวินทร์ขอบคุณใครต่อใครหลายคน รวมถึง "จุก เบี้ยวสกุล / จุลศักดิ์ อมรเวช ที่อนุญาตให้ตีพิมพ์นิยายภาพของท่าน อันเป็นผลงานที่ผมยึดเป็นตำราในการศึกษาวาดรูป" อ่านแล้วหัวใจพองโต (ความรู้สึกนี้ย่อมเกิดแก่ผมคนเดียว)ล่าสุดในงาน สุชาติมาเนีย ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ผมจึงได้ทักทายคุณวินทร์ เลียววาริณ ซึ่งกำลังเดินอยู่กับคุณเรืองเดช จันทรคีรี เป็นการพบกันโดยบังเอิญ เลยไม่มีเรื่องจะคุยกัน ในงานเดียวกันนี้ผมยังได้พบกับคุณเริงไชย พุทธาโร ตอนนั้นเราเดินสวนกัน คุณเริงไชยเพิ่งมาถึง ส่วนผมต้องปลีกตัวไปต่ออีกงานหนึ่ง คุณเริงไชยยื่นหนังสือให้เล่มหนึ่ง ผมก็รับไว้ เป็นหนังสือรูปเล่มสี่เหลี่ยมจัตรุรัส ชื่อ แล้ววันหนึ่งดอกไม้ก็บาน
ในเล่มเป็นงานเขียนคล้ายๆ ครั้งหนึ่งในชีวิตของบุคคลผู้มีชื่อเสียงหลายคน หนึ่งในนั้นคือ วินทร์ เลียววาริณ หลังจากอ่านแล้ว ถึงได้รู้ว่าคุณวินทร์เป็นนักอ่านนิยายภาพระดับ "เซียน"
"...ผมอ่านนิยายภาพมาตั้งแต่เล็ก เริ่มที่ เจ้าชายผมทอง ของ จุก เบี้ยวสกุล ตามมาด้วย สิงห์ดำ ของ ราช เลอสรวง เมื่อเห็นลายเส้นพู่กันของ จุลศักดิ์ อมรเวช (จุก เบี้ยวสกุล) ใน สาวน้อยอภินิหาร และ เลือดทมิฬ ที่ลงตีพิมพ์ในนิตยสารจักรวาล ผมก็ลุ่มหลงในนิยายภาพอย่างถอนตัวไม่ขึ้น"
และ
"งานของ จุก เบี้ยวสกุล มีมากมาย เช่น เจ้าชายผมทอง เขียนไว้กว่าห้าสิบเล่ม แนวเดียวกับเรื่องการผจญภัยในแผ่นดินนิรนาม เช่น อัศวินดาบดำ, พันมังกร, มังกรสามหัว ฯลฯ เขาเขียนได้หลายแนว เรื่องรักหวานแหวว เช่น เพื่อนแก้ว เรื่องตลก เช่น ผมชื่อเคน เรื่องแนวสยองขวัญ เช่น พรายสาวเจ้าเสน่ห์ และเรื่องเดินป่าของพนมเทียน เพชรพระอุมา ซึ่งวาดได้วิจิตรบรรจงมาก"
การอ่านคือการสั่งสมพลังอย่างหนึ่งสำหรับคนที่จะมาเป็นนักเขียนนักวาด ซึ่งมันคงเกิดแก่คุณวินทร์เช่นกัน วันหนึ่งเขาจึงนำนิยายภาพ ราชการลับใต้สมุทร* จากจินตนาการแนววิทยาศาสตร์ของเขาเองไปเสนอขายสำนักพิมพ์ สองแห่งแรกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง แห่งที่สามก็ปฏิเสธแต่มีข้อแม้ว่า ถ้าเขียนเรื่องผีมาจึงจะรับซื้อ
คุณวินทร์ปรึกษาหารือกับตัวเองนานเป็นเดือน กว่าจะได้ หมู่บ้านผีสิง* ออกมาเป็นเรื่องแรก ได้ค่าเรื่อง 400 บาท หลังจากนั้นก็เขียนก็ฝืนใจเขียนต่อมาอีกสามสี่เรื่อง ก็ตัดสินใจเลิกเดินบนเส้นทางสายนี้ เหตุผลของเขาสง่างามเหลือเกิน เขาว่าอย่างไรกรุณาอ่านเอาเองครับ ผมอยากให้เรื่องที่คุณวินทร์เขียนนี้เป็นเรื่อง "....." จริงๆ นะครับ
* นิยายภาพเรื่องนี้หาดูได้ในหนังสือ เดินไปให้สุดฝัน
วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนสองซีไรต์
เพลินพิศ ศรีบุรินทร์
Positioning Magazine ตุลาคม 2548
ยุคนี้หนังสือขายดีมักเป็นเรื่องเล่าของคนมีชื่อเสียง และดาราขวัญใจประชาชน จนกลายเป็นกระแสนิยมให้คนบันเทิงแห่ออกหนังสือเล่มกันมากขึ้น แต่จำเป็นต้องอาศัยจังหวะชื่อฮิตติดชาร์ตเท่านั้นหนังสือถึงขายได้
แตกต่างจากหนังสือแนววรรณกรรมที่มีรางวัลซีไรต์การันตี อย่างเช่นผลงานของนักเขียนสองซีไรต์ “วินทร์ เลียววาริณ” ที่หนังสือเกือบทุกเล่มขายดี เพราะผู้อ่านเชื่อมั่นใจคุณภาพ ซื้ออ่านแล้วไม่ผิดหวัง
วินทร์ยอมรับว่า รางวัลกลายเป็นดัชนีกระตุ้นยอดขายไปให้เพิ่มมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้มียอดขายเติบโต แบบก้าวกระโดด เพราะปัจจุบันคนอ่านหนังสือน้อยลง แต่หนังสือวรรณกรรมยังโชคดีที่มีกลุ่มคนอ่านที่เหนียวแน่น และเป็นตลาดเฉพาะใหญ่พอสมควร ส่งผลให้หนังสือวรรณกรรมคุณภาพยังขายได้
นั่นไม่ได้หมายความว่า นักเขียนวรรณกรรมทุกคนจะขายหนังสือได้จนร่ำรวย เพราะปัจจุบันคนอ่านหนังสือน้อยลง และมีหนังสือแนวใหม่ๆ ออกมาเป็นทางเลือกให้ผู้อ่านมากขึ้น แต่วรรณกรรมจะขายได้ในตลาดเฉพาะกลุ่มที่เป็นแฟนคลับ และเชื่อมั่นใจคุณภาพนักเขียนเป็นหลัก
“ที่ผ่านมานักเขียนกว่า 90% เป็นคนชอบอ่านหนังสือ และต้องอ่านแบบฮาร์ดคอร์ด้วย เพราะการอ่านจะช่วยตกผลึกความคิด เพิ่มทักษะการใช้ภาษา จนสามารถถ่ายทอดผลงานคุณภาพได้”
เพราะคนไม่ใช่ทุกคนจะเขียนหนังสือแล้วขายได้ หนังสือบางเล่มชื่อคนแต่งขายได้ บางเล่มขายตามกระแส แต่หนังสือวรรณกรรมที่ขายได้เกือบทุกเล่มเป็นหนังสือคุณภาพ สร้างความพึงพอใจให้คนอ่าน ติดตาม และอยากซื้อมาครอบครอง เพื่อหยิบขึ้นมาอ่านอีกครั้งยามว่าง
“หัวใจของนักเขียนไทย ควรจะจับกลุ่มผู้อ่านและตลาดให้ได้ และโฟกัสตลาดอยู่ตรงนั้น เพราะปัจจุบันตลาดนักอ่านอยู่เมืองไทยไม่แมสเหมือนต่างประเทศ แม้จะมีนักอ่านรุ่นใหม่ๆ เพิ่มขึ้น แต่ก็จะเพิ่มในตลาดเซ็กเมนต์ต่างๆ เพราะฉะนั้นนักเขียนรุ่นใหม่ๆ ควรจะจับตลาดนิชเป็นหลัก และสร้างผลงานให้เติบโตในตลาดนั้นๆ”
ทุกวันนี้วินทร์มีความสุขกับงานหนังสือแนววรรณกรรมที่เขารัก ควบคู่ไปกับการเปิดสำนักพิมพ์ 113 เพื่อพิมพ์หนังสือ รวมเล่มงานเขียนของเขาเอง ซึ่งปัจจุบันจะมีหนังสือตีพิมพ์เฉลี่ยปีละ 3-4 เล่ม เพื่อสร้างรายได้ที่ต่อเนื่องในฐานะนักเขียนมืออาชีพ
“อาชีพนักเขียนมีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากแขนงอื่นๆ ตรงที่ไม่มีอายุเป็นเกณฑ์กำหนดวัยเกษียณ ทำให้เราเขียนได้ทุกวัน และไม่มีมาตรฐานตายตัว ซึ่งนักเขียนเองจะต้องเป็นผู้กำหนด และแสวงหาข้อมูลใหม่ๆ ถ่ายทอดออกเป็นผลงานให้ผู้อ่านเสพวรรณกรรมได้อย่างมีความสุข”
นั่นเกิดจากความอยากแสดงความคิดเห็นในระดับสังคม แต่ไม่สามารถพูดหรือเล่าออกมาให้คนหมู่มากฟังได้ “วินทร์” เลือกแสดงออกในรูปแบบเรื่องสั้น เพื่อเป็นการระบายอารมณ์ และความคิดของเขาเองในช่วงแรก จนมีผลงานตีพิมพ์ชิ้นแรกชื่อ สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง (รวมเรื่องสั้น) ออกตีพิมพ์ในปี 2537 นับเป็นเรื่องสั้นที่เปลี่ยนชีวิตหนุ่มนักโฆษณาวัยสู่เส้นทางนักเขียนอย่างเต็มตัว
วินทร์เป็นหนุ่มชาวใต้เกิดที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาในปี 2499 หนึ่งในพี่น้องทั้งหมด 10 คนจากครอบครัวคนชั้นกลางเจ้าของร้านขายรองเท้า เริ่มเรียนชั้น ป. 1 - ม.ศ. 3 ที่บ้านเกิด ก่อนจะมาเรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนบดินทร์เดชา และเข้าเรียนปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนสำเร็จ แล้วเดินทางไปทำงานที่ประเทศสิงคโปร์เป็นเวลา 3-4 ปี
หลังจากนั้นปี 2526 เขาเดินทางไปใช้ชีวิตที่อเมริกา 2 ปี ในฐานะสถาปนิก นักตกแต่งภายใน และนักออกแบบกราฟิก ก่อนจะเลือกกลับมาใช้ชีวิตในเมืองไทย เพื่อเรียนต่อปริญญาโทด้านการตลาด ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วผันตัวเองไปทำงานด้านโฆษณา และเปิดฉากการเขียนหนังสือควบคู่กันไปด้วย ใน
วัยประมาณ 35 ปี จนรู้สึกชื่นชอบงานวรรณกรรม และออกมายึดอาชีพนักเขียนอาชีพในที่สุด
“เส้นทางชีวิตนักเขียนอาชีพ ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะอาชีพนี้ไม่ได้สร้างรายได้หวือหวา เพราะฉะนั้นผมจึงเลือกอยู่อย่างเรียบง่าย เพื่อให้อยู่ได้อย่างไม่ยากลำบาก และตั้งใจทำงานเขียนแนววรรณกรรมที่ผมรักออกมาให้ดีที่สุด เพราะผมทำงานนี้ด้วยใจ ผมจึงอยู่ในอาชีพนี้ได้นาน”
วินทร์ สร้างชื่อได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ครั้งแรกในปี 2540 จาก นวนิยายเรื่อง ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน และรวมเรื่องสั้น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน ในปี 2542
ตลอดเวลากว่า 10 ที่ผ่านมา วินทร์โลดแล่นอยู่ในสนามวรรณกรรมจนผลงานได้รับรางวัลมากมาย อาทิ สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง (เรื่องสั้นแนวหักมุม) รางวัลชมเชยจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ปี 2538, ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน (นวนิยาย) รางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ปี 2538 รางวัลซีไรต์ปี 2540 และรางวัลหนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน (อายุ 16-18 ปี) ในปี 2541-2542 เป็นต้น
มุมมองนักคิด
คอลัมน์ The Creative / มุมมองนักคิด
กรกฎาคม 2010
ถ้าจะให้คุณวินทร์บรรยายลักษณะตัวเองเป็นตัวละครในเรื่องสั้นสัก 1 ย่อหน้า จะบรรยายอย่างไร
โอ้โห! คงไม่สามารถบรรยายยาวเป็นย่อหน้าหรอกครับ บรรทัดเดียวยังยากเลย! อย่างเก่งก็ได้แค่วลีเดียวก็คือ 'เรียบง่าย' เพราะเป็นคนเรียบง่ายจืดชืดมาตั้งแต่เด็กจนโต
บางฉากบางตอนในมิติต่างๆ ของวินทร์ เลียววาริณ ในภาคสถาปนิก / ภาคนักโฆษณา / ภาคนักเขียน (ฉากหลังที่ประทับใจ / รันทด / ขบขัน / เสียดสี / ชัยชนะและความพ่ายแพ้) อาจจะเขียนเป็นลักษณะอย่างเช่น 50 ปีที่แล้วของวินทร์ / 40 ปี / 30 ปี / 20 ปี / 10 ปี
ผมเกิดในครอบครัวคนทำงานหนัก หาเช้ากินค่ำ ในต่างจังหวัด ในโลกที่ไม่มีสีสันอะไรนัก แต่โชคดีที่ได้เดินทางออกจากโลกเล็กๆ ใบนั้น เรียนต่อจนถึงขั้นมหาวิทยาลัย และไปทำงานและเรียนในต่างประเทศ มันเปิดหูเปิดตาเปิดโลกทรรศน์ออกกว้าง เปลี่ยนมุมมองอย่างมาก เห็นและเข้าใจความเป็นไปนอกโลกใบเล็กที่ผมเกิดมา นี่ทำให้โลกของผมเปลี่ยนไป
ผมโชคดีที่ได้เรียนและทำงานในสายทางที่รักคือศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม การวาดรูป การออกแบบ ไปจนถึงงานเขียนหนังสือ มันทำให้ทำให้รู้จักใช้จินตนาการ และทำให้ความคิดสร้างสรรค์ในตัวงอกเงยโดยปริยาย เป็นความคิดสร้างสรรค์นี่เองที่ทำให้มองโลกในแง่บวกมากขึ้น กล้ามองต่างมากขึ้น ผมว่านี่อาจเป็นข้อหนึ่งที่ทำให้โลกทรรศน์เปลี่ยนไปในทางที่กว้างขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับตัวเลขอายุนัก วัยเพียงแต่ทำให้มีประสบการณ์และความสุขุมมากขึ้น แต่ความคิดความอ่านนั้นไม่จำเป็นต้องขยายตัวตามวัย แต่โดยรวมแล้ว ผมพอใจกับระดับการเรียนรู้ ความเข้าใจชีวิตซึ่งพัฒนาขึ้นมากกว่าเมื่อยังเด็ก รู้สึกตัวว่าเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น เข้าใจจุดประสงค์และยินดีกับการดำรงอยู่ในโลกนี้มากขึ้น
บุคคล / สิ่งของ / แนวคิด / สถานที่ อะไรบ้างที่เกื้อหนุน กระตุ้นการคิดสร้างสรรค์ผลงาน + วิธีลับคมสมองตามแบบฉบับของคุณวินทร์ (ยกตัวอย่าง)
สิ่งแรกสุดก็คือการอ่านหนังสือ การอ่านหนังสือหลากหลายประเภทจำนวนมากมายเป็นการกักตุนเชืิ้อเพลิงแห่งความรู้ในตัว สิ่งต่อมาก็คือการเดินทาง การพบปะผู้คน ก็เป็นการเพิ่มเชื้อเพลิงทั้งความรู้และความเข้าใจโลกในคลังสมองมากขึ้น และท้ายสุดการครุ่นคิด วิเคราะห์ พิจารณาความเป็นไปด้วยตนเอง ทำให้เข้าใจและรู้จักนำเชื้อเพลิงเหล่านั้นมาแปลงเป็นปัญญา
พูดง่ายๆ คือสะสมข้อมูล, ย่อย แล้วจึงเข้าใจ
อะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคการคิดสร้างสรรค์ผลงาน (ยกตัวอย่างสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองด้วยค่ะ)
อุปสรรคของการสร้างสรรค์งานก็คือความคิดเดิมๆ หรือที่ฝรั่งเรียกว่า preconceived ideas ซึ่งรวมไปถึงค่านิยม ความเชื่อ ความชอบ ความเคยชินที่ฝังหัวมาตั้งแต่เด็ก ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อว่างานของนักเขียนรุ่นเก่าเป็นงานที่ดีเสมอ หรือภาษาของวัยรุ่นเป็นเรื่องแย่เสมอ ความเชื่อที่ฝั่งหัวแบบนี้อาจถูกต้องก็ได้ แต่ก็อาจเป็นอคติที่ทำให้หัวของเราไม่เปิดกว้างพอรับสิ่งใหม่ๆ นำไปสู่สิ่งกีดขวางทางความคิดสร้างสรรค์ ไม่กล้าทำอะไรใหม่ที่แหวกหรือลบกฎเดิม เป็นต้น
“โลกสร้างสรรค์นั้นแทบไม่มีอะไรที่เป็น original 100% แล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ 'ใหม่' เพราะความสดใหม่ก็มาจากวิวัฒนาการได้เหมือนกัน” รบกวนช่วยขยายความหน่อยค่ะ
ไอเดียต่างๆ ในโลกนี้เกิดมาจากการที่สมองคนครุ่นคิดขึ้นมา แต่เนื่องจากไม่มีใครในโลกเกิดมาพร้อมความรู้ความคิดฝังในหัวเป็นของตนเองเฉพาะตัว ความรู้ความคิดของทุกคนเป็นการสานต่อความรู้ความคิดของคนรุ่นก่อน สืบสานต่อกันมา
ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ไม่มีทางเกิดขึ้นมาลอยๆ ในโลก มันเป็นการสืบต่อความคิดหรืิอ 'วิวัฒนาการ' ความคิดของรถม้าและเกวียน ผสานกับเทคโนโลยีของคนที่คิดค้นเครื่องยนต์ เมื่อนำมารวมกันก็จะได้รถยนต์ และเมื่อพัฒนาต่อไป เช่นนำไปผสมกับเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ ก็จะได้รถยนต์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ดังนี้เป็นต้น น้อยครั้งมากที่มีการประดิษฐ์สิ่งที่เพิ่งมีเป็นครั้งแรกในโลก ดังนั้นจะเห็นว่าทุกสิ่งประดิษฐ์หรืองานสร้างสรรค์ก็มีความ 'ใหม่สด' ในช่วงเวลาของมัน และเป็นรากฐานของสิ่งประดิษฐ์หรืองานสร้างสรรค์ที่ใหม่ขึ้นอีกต่อไปเรื่อยๆ
ความคิดสร้างสรรค์เป็นพรสวรรค์หรือฝึกฝนกันได้ ของคุณวินทร์เองเป็นแบบไหน เล่าให้ฟังด้วยค่ะ
แน่นอนโลกมีคนที่มีสมองดีกว่าคนอื่นๆ แต่คงไร้ประโยชน์ที่เราจะพูดถึงอัจฉริยะกลุ่มเล็กๆ เพราะคนส่วนมากในโลกมีระดับสมองที่พอๆ กัน การเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมก็มีส่วนช่วยส่งเสริมหรือทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้มากพอกับสภาพสมองตามธรรมชาติ อาจบอกได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ครึ่งหนึ่งมาจากยีน อีกครึ่งหนึ่งมาจากการเลี้ยงดู การพัฒนา ของผมก็เป็นแบบ 50-50 อย่างนี้ครับ
ช่วยแจกแจงตารางชีวิตในแต่ละวัน เล่าบรรยากาศห้องทำงานของคุณวินทร์ และสิ่งที่ชีวิตประจำวันจะขาดไม่ได้
ชีวิตการทำงานของผมเรียบง่ายมาก ที่ทำงานก็เรียบง่ายมาก มีคอมพิวเตอร์สองตัว เครื่องพิมพ์หนึ่งตัว วันๆ ก็มักนั่งหน้าจอทำโน่นทำนี่ไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็นอน ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นหรือแตกต่างจากคนอื่น
งานในแนวไซไฟที่คุณวินทร์เขียนมีอะไรบ้าง ที่ภูมิใจที่สุดคือเล่มไหน เพราะอะไร
ช่วงยี่สิบปีนี้ ผมเขียนไซไฟจำนวนหนึ่ง เป็นเรื่องสั้นและนวนิยาย สำหรับเรื่องสั้นได้รวมเป็นชุด เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว ซึ่งมีสี่เล่ม ส่วนนวนิยายก็เช่น ผู้ชายคนที่ตามรักเธอทุกชาติ พิมพ์ครั้งที่ 85, อัฏฐสุตรา บางเล่มก็เป็นส่วนผสมของไซไฟกับตระกูลอื่น
ผมชอบงานไซไฟส่วนใหญ่ที่เขียนครับ เพราะเป็นการปลดปล่อยจินตนาการแบบไม่มีข้อจำกัด ไม่มีกฎกติกาใดๆ แต่ละเรื่องก็มีรสชาติของมันเอง
งานเขียนที่ใช้เวลานานที่สุดของคุณวินทร์คือเรื่องไหน เกิดอะไรขึ้น
คือเรื่อง ปีกแดง เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์การเมืองของโลกและประเทศไทย กินเวลาค้นคว้าข้อมูลและเขียนราวหกปี หนักหนาสาหัสเอาการ!
เวลาเขียนงานร่วมกับคนอื่น อย่างเช่น ปราบดา หยุ่น การทำงานต้องเป็นอย่างไร มีอาการเกรงใจ หรือสนุกอย่างไรบ้าง
นักเขียนที่ผมทำงานร่วมด้วยยาวนานที่สุดก็คือ ปราบดา หยุ่น ในชุด ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน เป็นการเขียนจดหมายคุยกันในเรื่องต่างๆ ครอบจักรวาล เขียนกันนานถึงแปดปีครับ แม้วัยจะต่างกัน แต่วิถีชีวิตของเรากลับคล้ายๆ กัน จึงไม่มีอะไรที่ต้องเกร็งหรือเครียด เป็นแปดปีที่สนุกดีครับ ได้เรียนรู้มุมมองของกันและกัน เปิดโลกทรรศน์ เป็นประสบการณ์ที่คุ้มเวลาครับ
รางวัลต่างๆ ที่ได้รับมีผลต่อคุณวินทร์และงานเขียนอย่างไร
รางวัลต่างๆ ส่งผลทางจิตใจมากกว่า นั่นคือรู้สึกดีที่มีคนมองเห็นคุณค่าของงานที่ทำไป อีกประการ รางวัลก็ทำให้ผมสามารถก้าวไปสู่สถานะนักเขียนอาชีพได้เร็วขึ้น แต่หลังจากนั้นรางวัลก็ช่วยอะไรไม่ได้แล้ว นักเขียนต้องพัฒนาตัวเองและรักษาคุณภาพผลงานเอาเอง
วินทร์ เลียววาริณ ในวันนี้ต่างจากวินทร์ในอดีตอย่างไร (นอกเหนือจากอายุที่เพิ่มขึ้น)
เข้าใจโลกมากขึ้นครับ
สิ่งที่อยากทำ แต่ยังไม่ได้ทำ
ยังอยากเขียนหนังสืออีกหลายแนวที่ยังไม่ได้ทำอย่างจริงจังครับ ยกตัวอย่างเรื่องผี นิยายกำลังภายใน งานเกี่ยวกับธรรมะและปรัชญา เป็นต้น
Creative Ingredients
1.ปกติดูหนังบ่อยแค่ไหน
ดูหนังทุกอาทิตย์ครับ ความจริงจะดูทุกวันก็ได้ การดูหนังเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ดูเพื่อผ่อนคลายสมองกับเพื่อรับแรงบันดาลใจใหม่ๆ แต่หนังคุณภาพที่เข้าฉายในบ้านเรามีน้อยเหลือเกิน ผมไม่ชอบดูหนังแผ่น ชอบเข้าโรงหนังมากกว่า
2. เพลงหรือวงดนตรีสุดโปรด
ผมฟังเพลง 'คนแก่' มากกว่าเพลงยุคใหม่ครับ ผมมักใช้เพลงเป็นฉากหลังเวลาทำงาน จึงไม่ชอบเพลงแรงๆ ที่รบกวนความคิด บ่อยครั้งจะฟังดนตรีบรรเลง ดนตรีคลาสสิก หรือเสียงน้ำไหล ทำให้จิตสงบขึ้นครับ
3. หนังสือ + นักเขียนในดวงใจ
สมัยเด็กผมอ่านหนังสือโดยติดตามงานของนักเขียนที่ชื่นชอบเสมอ เช่น พนมเทียน กิมย้ง โก้วเล้ง ฯลฯ แต่เมื่อโตขึ้นก็อ่านหนังสือโดยไม่ค่อยดูชื่อคนเขียนเท่าไร ว่ากันไปเป็นเรืื่องๆ ช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ แทบไม่ได้อ่านนิยายเลย แทบทั้งหมดเป็นสารคดีและตำรา ซึ่งไม่เน้นชื่อคนเขียน
4. เว็บไซต์ที่ขาดไม่ได้
น่าจะเป็นกูเกิลกระมังครับ อีกเว็บไซต์หนึ่งที่ต้องเข้าไปทุกวันก็คือ www.winbookclub.com ไปคุยกับเพื่อนนักอ่านครับ
สัมภาษณ์ Accy Today
หนังสือพิมพ์ Accy Today
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ 2554
1. คุณอาวินทร์คิดว่าการศึกษาในระดับอุดมศึกษาสำคัญต่อการดำรงชีวิตในสังคมไทยหรือไม่ อย่างไร?
การศึกษาไม่ว่าระดับใดก็สำคัญทั้งนั้น โดยหลักการ การศึกษาระดับอุดมศึกษาสำคัญมากเพราะเป็นการเรียนแบบผู้ใหญ่ ทำให้คนเป็นคนที่สมบูรณ์ ทั้งในด้านความรู้ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และจริยธรรม น่าเสียดายที่นักศึกษาจำนวนมากไม่รู้ว่าทั้งสามอย่างนี้ต้องไปด้วยกัน เราจึงเห็นภาพนักศึกษาที่เรียนแบบแค่ให้สอบผ่าน หรือขอแค่กระดาษแผ่นเดียว เมื่อจบแล้วก็ยุติการเรียนรู้ มัวแต่ยุ่งกับการหาเงินและค่านิยมอื่นๆ ในสังคม
2. ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยของคุณอาวินทร์ ให้น้ำหนักกับสิ่งใดมากที่สุด การเรียน กิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย หรือทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ ?
ในเมื่อโดยอุดมคติ การเรียนระดับมหาวิทยาลัยคือการเรียนแบบรู้รอบตัว ทั้งความรู้ในภาควิชาที่เรียนและความรู้ในเรื่องทั่วไปในโลก วิชาการและกิจกรรมก็สำคัญพอกัน ถ้าจะว่าไปแล้ว โอกาสในการเรียนจากตำรานั้นกระทำได้ตลอดชีวิต แต่การทำกิจกรรมหลายอย่างมีเฉพาะในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยเท่านั้น
ผมเชื่อว่าหากนักศึกษาเข้าใจว่าเขาหรือเธอมาทำอะไรในมหาวิทยาลัย เพื่อเป้าหมายอะไร ก็จะรู้จักหาทั้งความรู้และประสบการณ์ทางสังคมไปพร้อมๆ กัน จะทำให้มีวุฒิภาวะสูง และท้ายที่สุดก็เป็นประโยชน์ต่อสังคมในภาพรวม
3. เท่าที่ผมทราบมา คุณอาวินทร์จบปริญญาตรีด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทด้านการตลาด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ปัจจุบันคุณอามาทำงานด้านการเขียน แล้วคุณอาคิดว่า ได้นำความรู้ที่ได้จากการเรียนมาประยุกต์ใช้อะไรกับงานในปัจจุบัน ?
ความรู้ในแต่ละสายก็เป็นประโยชน์ต่องานในแต่ละช่วงชีวิต ประเด็นอยู่ที่ว่า เรารู้หรือไม่ว่าจะเรียนวิชาหนึ่งๆ ไปเพื่ออะไร เราไม่ควรยึดติดว่า เรียนอะไรมาก็ต้องทำงานในสายนั้นเสมอไป หรือถ้าเรียนมาทางสายวิทย์ ก็ไม่ควรไปเรียนในสายศิลป์ เป็นต้น เพราะการแสวงหาความรู้ไม่มีข้อจำกัดใดๆ ทั้งสิ้น และการแสวงหาความรู้ก็ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในห้องเรียน
4. ถ้าเลือกได้ คุณอาอยากย้อนเวลากลับไปทำงานเขียนตั้งแต่เรียนจบเลยหรือไม่?
ไม่ครับ เพราะการเขียนหนังสือโดยที่ไม่มีประสบการณ์ชีวิตกระทำได้ยากมาก
5. คุณอาเคยไปเรียนต่อในนิวยอร์ก และอเมริกา โดยไม่ต้องการปริญญา คุณอาช่วยให้เหตุผลหน่อยครับ ว่าทำไมคุณอาถึงไม่เอาปริญญา?
การเอาปริญญาหมายถึงการเรียนทั้งหลักสูตร ซึ่งมีหลายวิชาที่ผมรู้แล้ว และหลายวิชาที่ผมไม่ต้องการรู้ มหาวิทยาลัยเมืิองนอกเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปเรียนร่วมกับนักศึกษาได้ จึงเป็นโอกาสที่จะเรียนได้กว้างกว่า มากวิชากว่า และตรงตามจุดประสงค์ชีวิตของเรา
6. คุณอามีความคิดเห็นอย่างไรกับการที่นักศึกษาไทยหลายคนต้องเรียนในสิ่งที่ไม่ชอบ เช่น อยากเรียนศิลปะ แต่โดนบังคับให้เรียนแพทย์ หรือกระแสนิยมที่ว่า เด็กเรียนดี ก็ต้องเข้ามหาวิทยาลัยเด่น คณะดัง?
เป็นโศกนาฏกรรมอย่างหนึ่งครับ การเรียนสายวิชาที่ไม่ชอบยากนักที่จะได้คุณภาพ ต่อให้เรียนจบด้วยคะแนนเต็ม ก็ไม่มีทางที่จะประกอบอาชีพด้วยหัวใจ ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจว่า การเรียนและทำสิ่งที่รักจริงๆ ก็มีโอกาสที่จะทำเงินได้ดีไม่แพ้การเรียนจบจากคณะดังๆ
เขียนอย่างไรจึงอยู่ในใจนักอ่าน
เขียนอย่างไรจึงอยู่ในใจนักอ่าน
โดย 4 นักเขียนระดับชาติ จากผลโหวต “101 เล่มในดวงใจนักเขียนและนักอ่าน”
เรื่องโดย อภิชาติ โสภาพงศ์
หลายครั้งที่เราเคยเห็นการสัมภาษณ์ผู้อ่านหนังสือเกี่ยวกับนักเขียนในดวงใจว่า ทำไมถึงชอบนักเขียนท่านนั้น? ชอบ วินทร์ เลียววาริณ เพราะอะไร? ปลื้มผลงานชิ้นไหนของ ชาติ กอบจิตติ มากที่สุด? ฯลฯ เป็นเรื่องธรรมดาของเหล่านักเขียนชื่อดัง ที่แต่ละคนมักจะมีแฟนคลับเป็นของตนเอง แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า นักเขียนที่มีผลงานครองใจนักอ่านจำนวนมากนั้น เขามีเทคนิคการเขียนอย่างไร จึงจะทำให้คนอ่านอ่านจนวางหนังสือไม่ลง
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ร่วมกับแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และบริษัทซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) จัดเสวนา “เขียนอย่างไรจึงอยู่ในใจนักอ่าน” โดยเชิญนักเขียนชื่อดังระดับประเทศ ร่วมวงสนทนา ได้แก่ คุณฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ เจ้าของนามปากกา “พนมเทียน” และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ.2540, คุณชาติ กอบจิตติ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2547 และนักเขียนรางวัลซีไรต์ ปี 2524 และ 2536, คุณวินทร์ เลียววาริณ นักเขียนรางวัลซีไรต์ ปี 2540 และ 2542 ท่านสุดท้าย คุณงามพรรณ เวชชาชีวะ นักเขียนรางวัลซีไรต์ ปี 2549 พิธีกรดำเนินรายการโดยคุณคมสัน นันทจิต
วงเสวนาเปิดฉากด้วย “พนมเทียน” เจ้าของนวนิยายชื่อดัง อาทิ เพชรพระอุมา, ศิวาราตรี, เล็บครุฑ ฯลฯ ได้บอกเล่าถึงเคล็ดลับในการเขียนหนังสือว่า การเขียนหนังสือของผมมีหลักเกณฑ์ คือเขียนให้สนุก เมื่อเราคิดว่า เขียนสนุกแล้ว คนอ่านก็ต้องสนุกตามด้วย ผมใช้ประสบการณ์จากการศึกษาโลกรอบตัวที่ได้จากการอ่าน มาถ่ายทอดลงในงานเขียน ผมจะแฝงความมีมนุษยธรรม และสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านลงไปในงานเขียน หากเราเอาเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลักแล้ว ธรรมะต่างๆ เช่น คุณธรรม จริยธรรม ฯลฯ ก็จะตามมาเอง สิ่งที่ผมเขียนมากว่า 60 ปี ผมใช้ความรู้สึกที่ว่า อยากจะเขียน และใช้ความมานะพยายามในการแสวงหาความรู้รอบตัวต่างๆ ให้มากที่สุด นักเขียนต้องเป็นพหูสูต คือ เป็นผู้รู้ เรารู้จากการศึกษาโลกรอบตัว จากการอ่าน จากการถามผู้รู้ ยิ่งรู้มากเท่าไร บทประพันธ์ของเราก็จะยิ่งมีความลึก
“เราต้องวางพล็อตเรื่องก่อนเขียนทุกครั้ง เลือกจุดที่สนุกเข้ามาไว้เป็นจุดสำคัญก่อน แล้วความผูกพันของเรื่องต้องสมเหตุสมผล หากขาดซึ่งเหตุผล ข้อเท็จจริง ความตื่นเต้น ลีลาภาษา ความละเมียดละไม ผู้อ่านก็ไม่อยากติดตาม แทนที่จะเป็นบทประพันธ์ก็จะกลายเป็นเรียงความ บทความไปเลย อย่างเช่นในเรื่อง เพชรพระอุมา ผมต้องการให้มีการเชือดเฉือนกันระหว่าง รพินทร์ กับ แงซาย เราจะรู้ว่า จอมพรานรพินทร์มีความสามารถขนาดไหน ซึ่งมีตัวแงซายคอยเสริม เมื่อแงซายหักเหลี่ยม ชิงไหวพริบ แล้วรพินทร์แก้ตก นั่นคือความสามารถของรพินทร์ เนื้อเรื่องทุกอย่างผมวางพล็อตไว้ก่อนเรียบร้อย ไม่ใช่ตามปากกาพาไป” พนมเทียนกล่าว
คุณชาติ กอบจิตติ เจ้าของผลงานนิยายเรื่องดัง อาทิ คำพิพากษา, พันธุ์หมาบ้า ฯลฯ เผยเคล็ดลับการเขียนของตนเองว่า เวลาผมเขียนหนังสือก็ไม่ได้คิดว่า จะมีคนอ่านไหม ผมเขียนเพราะ อยากอ่าน และเชื่อว่าต้องมีคนชอบอ่านแนวเดียวกับผม หลักการทำงานของผมมีอยู่ 3 อย่าง คือ 1. ให้ความคิด เราคิดอะไรออกมาก็เขียนเล่าไป ซึ่งอาจมีการโต้ตอบ ขัดแย้งกัน 2. ต้องให้ความรู้ ซึ่งสำคัญมาก คนเขียนมีคนเดียวแต่คนอ่านมีหลายคน ผู้เขียนต้องรู้จริงจึงจะชี้นำคนอ่านได้ ถ้าคนเขียนโกหกคนอ่าน ก็จะไม่มีใครเชื่อถือ 3. ความบันเทิง ในแง่ของผมคือ ทำอย่างไรให้คนอ่านพลิกอ่านหน้าต่อหน้าโดยไม่หยุด ความบันเทิงไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องตลกขบขัน บางทีความเครียดก็เป็นความบันเทิงได้เหมือนกัน นักเขียนต้องอาศัยเทคนิคหลอกล่อให้คนอ่านติดตาม
“เมื่อลงมือเขียน ผมจะวางโครงเรื่อง ตัวละคร นิสัยตัวละคร ฯลฯ ก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เราไปถึงจุดหมายได้ แต่บางทีมันจะขาดอารมณ์ ตอนเขียนเรื่อง พันธุ์หมาบ้า ลงในนิตยสารลลนา ก็จะอาศัยเทคนิคของนักเขียนรุ่นพี่ อาทิการหยุดค้างชะงัก ให้ผู้อ่านอยากติดตาม และเวลาเขียนงานใหม่ ผมจะเขียนสิ่งที่ไม่เคยเขียน เหมือนเป็นนักเขียนคนใหม่ไปเลย การสร้างผลงานเปรียบเสมือนสร้างยักษ์ตนหนึ่งที่ค่อยๆ ใหญ่ขึ้น ถ้าเราเขียนไม่สำเร็จเหมือนกำลังโดนยักษ์ไล่กระทืบ ก็จะทุกข์ร้อนนอนไม่หลับ เมื่อไรที่เราล้มยักษ์ได้ ก็จะมีความสุข” ชาติ กอบจิตติ เล่าถึงมุมมองการเขียน
ส่วน คุณวินทร์ เลียววาริณ นักเขียนซีไรต์ จากเรื่อง ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน และ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน กล่าวว่า ผมตั้งเป้าการเขียนของผมทุกครั้ง ว่าต้องเป็นที่น่าจดจำของคนอ่าน มีนิยายจำนวนมากที่สนุกแต่ไม่ค่อยมีสาระ หรือบางเรื่องมีสาระแต่ไม่สนุก คิดว่าถ้าเราฝึกฝนได้ดีพอ เราจะได้เรื่องที่ทั้งสนุกและดีด้วย การคิดแบบนี้อาจเป็นการตั้งโจทย์ที่สูงเกินไป แต่ถ้าเราไม่ตั้งโจทย์ผลงานก็จะออกมาไม่ดีพอ ผมชอบเขียนในสิ่งที่ตนเองชอบ ไม่ใช่เพื่อตามตลาดต้องการ ผมคิดว่าผลงานที่ดีต้องพิสูจน์ด้วยกาลเวลา เมื่อผ่านไปหลายปีแล้วจะมีคนอ่านอยู่หรือไม่ นักเขียนต้องสนุกกับงาน อย่าคิดว่าเป็นเรื่องที่ทรมาน ประสบการณ์ของระดับความสนุกเกิดขึ้นจากการฝึกฝนจากการอ่านทั้งสิ้น ผมเคยอ่านหนังสือของนักเขียนหลายๆ ท่าน แล้วนำมาวิเคราะห์ว่าแต่ละเรื่องมันสนุกเพราะอะไร เราต้องจับเคล็ดของการเดินเรื่องให้ได้
“สิ่งที่เราเขียนต้องมีความสดใหม่ และควรเปลี่ยนโจทย์ที่ท้าทายต่อการเขียนเรื่อยๆ ไม่ควรหยุดอยู่กับที่ เช่น อาจเปลี่ยนแนวหรือประเภทการเขียนดูบ้าง ถ้าเราอยากให้คนอ่านเรื่องของเราจนจบ ต้องให้งานเขียนของเรา เป็นส่วนผสมระหว่างนิยาย และวรรณกรรม นักเขียนที่ดีควรเป็นนักคิด สามารถมองคาดการณ์ ต้องเดินนำหน้าคนอ่านอย่างน้อย 2 ก้าว แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรวางยาพิษให้คนอ่าน คือ เขียนอะไรก็ตามที่ทำให้คนอ่านอ่านแล้วโง่ลง ควรให้คนอ่านอ่านแล้วฉลาด เหมือนเป็นยาเสริมกำลัง” วินทร์ เลียววาริณ กล่าว
คุณวินทร์ ยังเผยเคล็ดลับการเขียนต่ออีกว่า เราเลือกได้ว่าจะเขียนให้สนุกหรือไม่สนุก การเขียนแบบใช้รูปแบบหวือหวาทำให้คนอ่านสะดุดตา รูปแบบมันเป็นแค่สไตล์การเขียน ไม่ได้รับประกันความสนุก บทประพันธ์จะมีอยู่ 2 ซีก คือ ซีกหนึ่งเป็นนิยายจ๋า อีกซีกเป็นวรรณกรรมจ๋า ถ้าคุณเน้นทางนิยายมากไป สาระต่างๆ ก็จะลดลงตามสเกล การเขียนให้สนุกนั้น ผมมองว่ามันอยู่ที่เซนส์ของนักเขียนมากกว่า ผมมักอ่านงานเขียนของท่านอื่นๆ แล้วอาจนำมาใช้ในงานของผม เช่น เรื่องอะไรที่แปลกๆ คนอ่านไม่เคยรู้มาก่อน อีกเทคนิคหนึ่งก็คือ Cliff-hanging ก่อนจะจบบท คือ แขวนเรื่องค้างไว้ นักเขียนต้องทำให้คนอ่านสงสัย เพื่อจะดึงให้อยากเปิดอ่านบทต่อไปเรื่อยๆ
ด้านคุณงามพรรณ เวชชาชีวะ ผู้แต่งนิยายเรื่อง ความสุขของกะทิ เล่าประสบการณ์เขียนหนังสือว่า เคยมีความฝันที่อยากจะเขียนแต่ไม่กล้า เลยเป็นแค่นักอ่าน ระหว่างที่อ่านไปก็มีความรู้สึกอยากเขียน แล้วก็ได้ลองเขียนขึ้นมา เวลาผ่านไปได้ทำงานแปลหนังสือนวนิยายต่างประเทศ ทำให้เราได้เรียนรู้จากนักเขียน รู้จักการแก้ปัญหา หลังจากที่เขียนหนังสือจนจบก็มีความสุข พอได้เป็นนักเขียนอาชีพก็มีคนส่งจดหมายมาชื่นชม ประหนึ่งว่าเราคือมิตรของเขา รู้สึกว่ามันเป็นเกียรติอย่างหนึ่งในการได้เขียนหนังสือ และทำให้เราต้องมีความรับผิดชอบที่จะเขียนไปเรื่อยๆ
“แต่ละครั้งที่เริ่มเขียนหนังสือ ดิฉันจะมีโครงเรื่องใหญ่ๆ เพื่อยึดเอาไว้ให้ไปถึงที่หมาย เนื้อเรื่องอาจมีนอกทางบ้าง โดยเฉพาะเมื่อตอนที่เขียนเรื่องความสุขของกะทิ ลองแบ่งออกเป็น 3 ฉาก 3 สถานที่ แบ่งเป็น 3 ภาคๆ ละ 9 บท ระหว่างการเดินทางของเนื้อเรื่องก็ไม่ได้มีบทตายตัว ดิฉันเขียนเพื่ออยากให้คนอ่านอยากรู้ สร้างความสงสัยเหมือนเป็นเชิงลึกลับ” คุณงามพรรณ กล่าวปิดท้าย
นับว่าเป็นโอกาสที่หาได้ยากยิ่งที่นักเขียนชื่อดังระดับประเทศ จะได้มาร่วมกันถ่ายทอดเคล็ดลับการเขียนที่ได้ใจผู้อ่านให้ได้รับฟังกัน ทุกคำพูดจากนักเขียนทั้ง 4 ท่าน น่าจะเป็นคัมภีร์เล่มสำคัญของผู้ที่อยากเขียนนิยาย วรรณกรรม หรือบทประพันธ์รูปแบบอื่นๆ หากแต่ท่านจะต้องรู้จักฝึกฝน หมั่นเรียนรู้ และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไว้เป็นทุน อาจจะมีผลงานเป็นหนึ่งใน 101 เล่มในดวงใจนักเขียนและนักอ่านในอนาคต
กรุงเทพธุรกิจสัมภาษณ์
กรุงเทพธุรกิจ
วันเสาร์ 21 สิงหาคม 2553
คงไม่ต้องสาธยายถึงความเป็น 'วินทร์ เลียววาริณ' บนหน้ากระดาษแห่งนี้ให้ยืดยาว เพราะนักอ่านแทบทุกคนต่างรู้จักกับผลงานของเขาเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อนักเขียนซีไรต์สองสมัยหันเขียนเรื่อง 'เซน' และ 'ไฮกุ' จึงน่าจะเป็นการเปิดโลกอีกใบให้กับคนอ่านที่สนใจเรื่องนี้ได้อยู่ไม่น้อย
บางคนอาจกำลังนึกไปว่านี่เป็นงานทดลองอย่างหนึ่งของนักเขียนมืออาชีพคนนี้ หรือไม่ แต่เขาเผยว่า... "มันค่อนข้างจะเข้ากับนิสัยส่วนตัวมากกว่า อาจจะเป็นกบฏหน่อยๆ แล้วก็ไม่ถึงกับตามกฎเกณฑ์มากเกินไป ขณะเดียวกันมันก็มีความเรียบง่ายของมัน"
มังกรเซน นำเสนอประวัติศาสตร์เซนผ่านประวัติและแนวคิดของปรมาจารย์เซนคนสำคัญระดับ 'มังกร' ตั้งแต่ท่านแรก คือพระโพธิธรรมในยุคแรกเริ่ม อาจารย์ในยุคกลางที่ไม่ค่อยมีคนกล่าวถึง ไปจนถึงอาจารย์เซนคนสำคัญของญี่ปุ่น และไล่มาจนถึงอาจารย์เซนในยุคปัจจุบัน เช่น ท่าน ติช นัท ฮันท์
สี่ฤดู, ทั้งชีวิต รวมบทกวีไฮกุโบราณซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางภาษาที่งดงามที่สุดอย่างหนึ่ง ของมนุษยชาติ มีรากเหง้าจากปรัชญาเซน ในญี่ปุ่นปัจจุบันมีกวีไฮกุสมัครเล่นนับล้านคน การเขียนไฮกุยังเป็นงานอดิเรกของคนทั่วโลกเพราะความเรียบง่ายลึกซึ้ง
>> ตอนนี้นอกจากเขียนหนังสือแล้วยังทำอะไรอีกบ้าง?
ผมเขียนหนังสืออย่างเดียว ทำเป็นอาชีพมาหลายปีแล้ว แต่การเขียนบทภาพยนตร์มันเป็นโปรเจคหรือว่าเป็นแค่น้ำจิ้มมากกว่า แต่ว่างานหลักก็คือเขียนหนังสืออยู่แล้วเพราะบทภาพยนตร์นานๆ มาที ตอนนี้ก็เขียนนิยาย เขียนบทความ เขียนเรื่องสั้นไปเรื่อยๆ แล้วแต่เห็นจังหวะเหมาะสม ก็เขียนเป็นเรื่องๆ ไป
>> ช่วงหลังหันมาเขียนเกี่ยวกับเรื่องเซนและไฮกุได้อย่างไร?
ผมสนใจมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เพียงแต่ว่ามันไม่มีโอกาสเขียน จนกระทั่งถึงจุดจุดหนึ่ง เมื่อมีข้อมูลมากพอก็ลองเขียนดู คือสนใจมาตั้งแต่ยังหนุ่มเพราะว่าลองอ่านดูแล้วมันแปลกดี ได้อ่านแล้วมันไม่ค่อยรู้เรื่องดี แปลกๆ ดี อยากจะรู้ ก็อ่านมาเรื่อยๆ สะสมมาเรื่อยๆ เมื่อถึงจุดจุดหนึ่งก็คิดว่าน่าจะมีข้อมูลมากพอที่จะเขียนได้ก็เขียน แต่ว่ายังไม่ถือว่าเป็นคนรู้เรื่องนี้ในระดับดีอะไร รู้พอจะถ่ายทอดให้คนอื่นไปอ่านต่อเท่านั้นเอง
เวลาเขียนมันก็เหมือนงานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นงานสายไหนก็ตามมันต้องทำรีเสิร์ชและมีคอนเซปต์ว่าจะเสนอเรื่องยังไง อะไรทำนองนี้
>> ปรัชญาเรื่องเซนมันมีความพิเศษกับตัวเองอย่างไร?
มันเป็นปรัชญาการใช้ชีวิตที่ผมคิดว่ามันเรียบง่ายดี และมันก็ตรงกับพุทธมากด้วย ขณะเดียวกันมันก็ไม่ค่อยมีความรุ่มร่ามของพิธีรีตองมากมาย ค่อนข้างจะง่ายๆ และไม่ได้มองแบบขนบเดิม มีวิธีการมองที่ผิดแผกออกไป อันนี้เป็นจุดเด่นที่ผมคิดว่ามันน่าสนใจ
>> แสดงว่ามันค่อนข้างจะเข้ากับงานแนวทดลองแบบ 'วินทร์ เลียววาริณ' หรือเปล่า?
มันค่อนข้างจะเข้ากับนิสัยส่วนตัวมากกว่า อาจจะเป็นกบฏหน่อยๆ แล้วก็ไม่ถึงกับตามกฎเกณฑ์มากเกินไป ขณะเดียวกันมันก็มีความเรียบง่ายของมัน มีอะไรของมัน แล้วมันก็ดูมีความลึกลับดีเหมือนกัน คือไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่
>> แล้วอย่างกวีไฮกุล่ะ?
ไฮกุเป็นโปรเจคที่ผมทดลองทำดู ในบ้านเราผมเชื่อว่ายังไม่เคยเห็นรวมบทกวีไฮกุที่มีบทกวีจำนวนมากพอ ส่วนมากจะเป็นกะปริบกะปรอยกัน หมายความว่าคนนั้นคนนี้โพสต์กันมาบ้าง เอามารวมๆ กันบ้าง คือไม่ถึงกับขนาดเป็นเล่มใหญ่ เลยคิดว่าน่าจะลองทำดูเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาด้วย และก็เพื่อแนะนำให้คนไทยรู้จักด้วยว่ามีบทกวีชนิดนี้อยู่ในโลก ถ้าชอบก็อาจจะไปอ่านต่อได้
เราก็พยายามรวมเอาบทกวีไฮกุโบราณที่ยังมีความไพเราะอยู่มารวมๆ กัน ผมเชื่อว่าเป็นโปรเจคคล้ายๆ กับตำราเสียมากกว่า คล้ายๆ กับรวมมาให้คนรู้ว่ามีบทกวีแบบนี้ ผมคิดว่าไฮกุก็มีคนไทยเขียนอยู่บ้าง แต่ไม่แพร่หลายเท่าไหร่ ถ้าเทียบกับฝรั่งผมเชื่อว่าฝั่งอาจจะเขียนมากกว่าคนไทยด้วยซ้ำ
>> เขียนนวนิยาย-เรื่องสั้นอยู่ดีๆ แต่ทำไมเปลี่ยนอารมณ์ไปเป็นไฮกุ?
ผมหาโปรเจคใหม่ๆ มาทำอยู่เสมอนะครับ ถ้ามีอะไรที่น่าสนใจผมก็ทำ ไม่ติดว่าจะต้องไปทำเป็นเรื่องสั้นหรือนวนิยายอย่างเดียว คือถ้าเกิดว่ามันน่าสนใจหรือน่าสนุกก็ลองทำดู มันก็ไม่เสียหายอะไร และไม่ได้เป็นการทดลองอะไร มันเป็นแค่การอยากจะทำหนังสือแบบนี้ออกมาสักเล่มหนึ่ง ถ้ามีหนังสือประเภทนี้อยู่ในตลาดมากมายอยู่แล้วผมก็คงไม่ทำ เหตุผลหนึ่งที่ทำเพราะว่ามันไม่มีหนังสือประเภทนี้ และผมคิดว่าน่าเสียดายมันน่าจะมีคนทำ
แต่ในเมื่อมันไม่มีคนทำ ผมก็ทำเองเสียเลย มันเป็นกวีที่ไม่ได้เป็นฉันทลักษณ์อะไร เพราะฉะนั้นผมก็คงทำได้บ้างในลักษณะถอดความ แต่ว่าถ้าให้ไปเขียนแบบฉันทลักษณ์ก็คงทำไม่ได้ ผมถือว่ามันเป็นสิ่งหนึ่งที่บ้านเราควรจะทำ เป็นหนึ่งในหลายๆ ประเภทที่บ้านเรายังขาดอยู่
>> เรื่องเซนหรือไฮกุจะเขียนหรือรวบรวมออกมาอีกไหม?
ไฮกุคงจะไม่ เพราะเข้าใจว่ารวบรวมมามากพอสมควรแล้ว แต่ว่าเซนยังไม่แน่ว่ามันจะมีมุมมองหรือว่าประเด็นอื่นที่น่าเขียนหรือเปล่า ประเด็นคือผมไม่ได้รู้จริงในเรื่องพวกนี้ ในระดับที่ผมจะเขียนเองได้ ที่ผ่านมาคล้ายๆ เก็บความมาเล่าให้ฟังมากกว่า เราทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดมากกว่าจะเป็นผู้คิด
>> ในฐานะที่เขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง'ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน'และ' ปีกแดง'คิดว่าสถานการณ์การเมืองจากยุคนั้นถึงยุคนี้มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง?
การเมืองปัจจุบันกับการเมืองเมื่อ 30 ปีที่แล้วมันก็ต่างกันแค่เปลือกนอกเท่านั้นเอง หมายถึงลูกเล่นลูกชนต่างๆ เปลี่ยนไป แต่ว่าเนื้อหาสาระของมันก็ยังเหมือนเดิม คือยังใช้การเมืองเป็นเครื่องเล่นอยู่ นักการเมืองมันก็เหมือนเดิม อาจจะเชี่ยวชาญมากกว่าเก่า แต่โดยสาระมันก็เหมือนเดิม แต่ว่าอันนี้ไม่ได้เป็นการมองโลกในแง่ร้ายนะ มองโลกตามความเป็นจริงว่ามันเป็นอย่างนี้ สิ่งที่เราต้องทำคือทุกคนต้องช่วยกันพัฒนาการเมืองให้มันไปข้างหน้าให้ได้ คือเราจะจมอยู่กับที่ไม่ได้
>> ขณะนี้เหมือนกับว่าแต่ละคนมองประชาธิปไตยแบบเข้าข้างตัวเอง?
ผมคิดว่าอย่างน้อยที่สุดมันเป็นระบอบที่ดีที่สุดที่เรามีในตอนนี้ ซึ่งเราก็ควรจะรักษาพัฒนาให้มันเหมาะสมที่สุดกับความเป็นอยู่ของเรา คือมันอาจจะไม่เป็นประชาธิปไตยในรูปแบบของตะวันตกเป๊ะๆ ก็ได้ แต่ว่าเราควรจะพัฒนาให้มันเข้ากับวิถีชีวิตของเราให้มันดีที่สุด คือสร้างความเสมอภาคกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คงไม่ได้เต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว แต่ถือเป็นเป้าหมายให้ทุกคนมีโอกาสได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
>> จากสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ในฐานะนักเขียนอยากจะนำเสนอประเด็นตรงนี้ออกมาเป็นนวนิยายบ้างไหม?
คือรูปแบบมันอาจจะเปลี่ยนไป ข่าวอาจจะเปลี่ยนไป แต่ว่าวาระมันก็เหมือนเดิม เราก็เห็นอยู่ว่าบริบททางการเมืองมันก็เดิมๆ ไม่ได้ต่างจากเมื่อ 30 ปีที่แล้วเท่าไหร่ เพียงแต่ว่าเทคโนโลยีหรือว่ารูปแบบมันอาจจะเปลี่ยนไปเท่านั้นเอง ผมมีโครงการจะเขียน แต่คงเป็นประวัติศาสตร์ในยุคเก่ามากกว่าในยุคปัจจุบัน อาจจะเป็นยุคสัก 40-50 ปีที่แล้ว ก็มีโครงการอยู่ แต่ว่ายังไม่เป็นรูปเป็นร่างอะไรชัดเจน หรือถอยไปสัก 100-200 ปีก็สนใจเหมือนกัน แต่มันยังไม่เป็นรูปเป็นร่างเหมือนกัน
แต่ว่าช่วงนี้กำลังเขียนเรื่องสั้นต่างๆ เพื่อจะรวมเป็นเล่ม ก็เขียนไป และมีนิยายประปราย ก็เขียนไป มันยังไม่ได้เป็นโปรเจคเป๊ะๆ ไม่ได้เป็นโปรเจคทีเดียว เพียงแต่ว่าค่อยๆ เก็บสะสมไปเพราะว่าปกติจะทำงานล่วงหน้า เป็นเรื่องสั้นเกี่ยวกับชีวิตคน เกี่ยวกับมนุษย์อะไรต่างๆ เหล่านี้ก็เขียนไปเรื่อยๆ เพราะผมทำงานล่วงหน้าเป็นปี จะเขียนหนังสือสะสมไป เขียนบทความบ้าง เรื่องสั้นบ้าง เขียนไปตามเวลาแต่วันที่อยากจะทำอะไร พอถึงเวลามันมีเรื่องมากพอก็ดูว่ามันจะรวมเล่มได้หรือเปล่า เล่นไปตามเรื่อง มันมีทั้งนิยายวิทยาศาสตร์ นิยายชีวิตคนธรรมดา และเรื่องทั่วไป แต่ว่าบทภาพยนตร์ก็ทำเป็นโปรเจคไป มันเป็นขนมมากกว่า ไม่ได้เป็นอาหารหลัก
>> แล้วช่วงนี้วางโปรเจคท์อะไรใหม่ๆ ไว้บ้าง?
ไม่ชัดเจนขนาดนั้น มันมีโครงการนั้นโครงการนี้ เช่น อยากจะเขียนนิยายไซ-ไฟ เรื่องเกี่ยวกับศาสนาด้วย อยากจะเขียนนิยายทางด้านนี้บ้าง แต่ว่ามันก็ยังไม่ชัดเจน ยังไม่ได้เป็นรูปเป็นร่าง มันมีหลายโครงการที่ผมอยากจะเขียน แต่ว่าบางเรื่องบางอย่างมันต้องใช้เวลาในการสะสมข้อมูลและสะสมความรู้ด้วย ที่จะรู้มากพอที่จะเขียนได้ อย่างนิยายไซ-ไฟก็เป็นหนึ่งในนั้น มันน่าเสียดายที่มันมีพื้นที่ในตลาดมากมายที่นักเขียนเข้าไปได้ แต่ไม่มีใครเข้าไป มันเป็นเรื่องน่าเสียดาย
ต้องยอมรับว่าผมเป็นคนทำงานค่อนข้างจับฉ่าย ชอบนั่นชอบนี่ เพราะไม่สามารถที่จะทำสายใดสายหนึ่งให้มันจริงจังไปเลย มันชอบหลายอย่าง
>> คิดจะเขียนนิยายไซ-ไฟกรณีคาดการณ์กันว่าจะเกิดน้ำท่วมหรือแผ่นดินไหวในกรุงเทพฯบ้างไหม?
ไม่เขียน เพราะข่าวแบบนี้มันก็ออกมาเรื่อยๆ อยู่แล้ว ผมมักจะมองอะไรที่มันเป็นประเด็นไกลไปมากกว่านั้น เช่นอีกหลายพันปีข้างหน้าหรือชีวิตนอกโลกอะไรทำนองนั้น ที่มันเป็นประเด็นที่ผมสนใจมาตั้งแต่เด็กมากกว่า อยากเขียนเป็นนิยายไซ-ไฟยาวๆ ก็รอจังหวะอยู่
>> การเป็นนักเขียนอาชีพซึ่งตั้งสำนักพิมพ์เอง เขียนเอง พิมพ์เอง และในแต่ละปีจะต้องออกหนังสือใหม่อย่างน้อยปีละปกสองปก ตรงนี้มันทำให้กดดันตัวเองเกินไปหรือเปล่า?
มันอยู่ที่ลักษณะการทำงานมากกว่า การทำงานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คือถ้าเราทำงานต่อเนื่องกันอยู่แล้วมันก็เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากเย็นอะไร นักเขียนรุ่นเก่าเขียนหนังสือปีละตั้ง 5-6 เล่มก็ยังทำได้เลย เพราะฉะนั้นมันไม่ได้เป็นสิ่งว่ากดดันลักษณะนั้น
ผมทำเป็นนิสัยไปแล้วคือทำงานทุกวัน
นิตยสารยูงทองสัมภาษณ์
นิตยสารยูงทอง
ฉบับที่ 45 กุมภาพันธ์ 2553
หากกล่าวถึงชื่อ “วินทร์ เลียววาริณ” คนส่วนใหญ่จะรู้จักเขาในฐานะของนักเขียนชื่อดังผู้มีสำนักพิมพ์เป็นของตัวเอง แต่วันนี้เราจะมาคุยกับ “วินทร์ เลียววาริณ” ในฐานะของผู้ที่เคยทำงานในวงการการออกแบบว่าเขามีความคิดเห็นและทัศนคติอย่างไรต่อการออกแบบ ซึ่งคำตอบที่เราได้มานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นมุมมองที่ใหม่และน่าสนใจ
“การออกแบบคือวิธีการหรือกระบวนการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้เกิดความงาม ไม่ว่าคุณจะทำงานศิลปะที่เป็นศิลปะจริงๆ หรือว่าจะเป็นงานทั่วไป คุณก็สามารถที่จะใช้การออกแบบทำให้งานนั้นถูกสร้างขึ้นมาได้
ยกตัวอย่างแม่ค้าขายขนมชั้น ขนมเตาไฟ คุณก็สามารถจะออกแบบของกินของคุณให้ดูมีคุณภาพมากขึ้น มันไม่จำเป็นต้องโบราณทำมาแบบไหนก็ต้องทำแบบนั้น ไม่ใช่ว่าโบราณทำมาไม่ดี แปลว่าเราสามารถที่จะปรับปรุง พัฒนา วิวัฒนาการต่อไปได้ โดยการออกแบบด้วยความคิดสร้างสรรค์ สมมุติจากตอนแรกทำขนมชั้นมี 10 ชั้น จะเพิ่มเป็น 20 ชั้นได้หรือเปล่า ทำเป็นรูปหอคอย หรือเป็นรูปอื่นแทนได้หรือไม่
การออกแบบจะทำให้สิ่งเดิมๆ มีการเปลี่ยนแปลง ดีขึ้นหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผมเชื่อว่า ถ้าคนเรียนรู้เรื่องศิลปะ การจัดองค์ประกอบ หรือว่ามีจิตวิญญาณของศิลปะมากขึ้น บ้านเมืองก็จะสวยงามมากขึ้น ยกตัวอย่างง่ายๆ ประเทศญี่ปุ่น แทบจะทุกวงการเลยจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการออกแบบ โดยที่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ไม่ว่าจะชงชา ทานซุป ทำขนม การออกแบบที่นำไปใช้กับชีวิตประจำวันมันมีคุณค่า มันทำให้เราเป็นคนที่มีความนุ่มนวลมากขึ้น”
เมื่อทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับการออกแบบด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ต้องเจองานออกแบบด้วยกันทั้งสิ้น แต่ในมุมมองของผู้ชายคนนี้ คงไม่มีงานออกแบบชิ้นไหนน่าสนใจเท่ากับการออกแบบมนุษย์
“งานออกแบบที่สนใจเป็นพิเศษ คงเป็นงานออกแบบมนุษย์ ผมสนใจว่าทำไมมนุษย์ต้องถูกออกมาเป็นมนุษย์อย่างนี้ มีสมอง มีสรีระแบบนี้ ชอบทำลายล้างธรรมชาติแบบนี้ เราไม่รู้ว่าธรรมชาติออกแบบมนุษย์ให้เป็นแบบนี้เองหรือเปล่า แต่เรารู้ว่าเพราะมันวิวัฒนาการมาแบบนี้ มันถึงเป็นมนุษย์เราแบบนี้เท่านั้นเอง ถ้าเรามองว่าธรรมชาติถูกออกแบบมาหรือเปล่า อันนี้ก็เป็นประเด็นใหญ่
เพราะมันจะมาสู่ประเด็นที่ว่า มีผู้สร้างซึ่งเป็นผู้ออกแบบอยู่ข้างบนหรือเปล่า ถ้ามีผู้สร้างจริงก็มีความเป็นไปได้ที่ธรรมชาติถูกออกแบบมาจริง แล้วมนุษย์เราก็ถูกออกแบบมาให้เป็นแบบนี้จริง แต่ถ้าไม่มีผู้สร้าง ทุกอย่างมันไหลไปตามสิ่งที่มันเป็นแบบนี้ ก็แปลว่าสรรพสิ่งในจักรวาลรวมทั้งมนุษย์เราก็เป็นผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นมา อาจจะเรียกว่าความบังเอิญก็ได้ มันเกิดขึ้นมาแบบนี้ แล้วก็พัฒนามาเป็นแบบนี้
ถ้าไดโนเสาร์ไม่ตายไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคนก็คงจะไม่ได้เกิดขึ้น เพราะโอกาสที่จะเกิดขึ้นมามีน้อยมาก มันต้องรอจนกระทั่งไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปหมดจนกระทั่งไม่มีอะไรอยู่แล้ว จึงเกิดพวกตระกูลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขึ้นมา แล้วก็พัฒนามาเรื่อยๆ จนกระทั่งนาทีสุดท้ายแล้วกำเนิดมาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง เป็นสายพันธุ์ใหม่ออกมา มันก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณเลือกมองแบบไหน”
ต่อข้อสงสัยที่ว่ามีผู้สร้างโลกคอยออกแบบธรรมชาติ ออกแบบมนุษย์ และออกแบบทุกสิ่งทุกอย่างหรือไม่ แม้จะเป็นคำถามที่หาคำตอบได้ยาก แต่คำตอบที่เราได้ฟังกลับเป็นเรื่องง่ายๆ ที่พวกเรานึกไม่ถึง
“ถ้าถามนักวิทยาศาสตร์สายฟิสิกส์หรือสายวิทยาศาสตร์หลายๆ สาย ว่าโลกถูกออกแบบมาหรือเปล่า คำตอบส่วนใหญ่เท่าที่ผมอ่านมาคือไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น เหตุผลก็เพราะว่า สมมุติว่าเรามองในมุมมองคนที่มาสร้างมนุษย์ มองในสเกลของจักรวาล จะเห็นว่ามันใหญ่โตมโหฬารเหลือเกิน โลกของเราเป็นแค่จุดธุลีเล็กๆ ในจักรวาล ถ้าคุณจะพูดถึงจำนวนเม็ดทรายทั้งหมดในโลก จำนวนเม็ดทรายยังน้อยกว่าจำนวนดวงดาว ดวงดาวที่หมายถึงในจักรวาลนี่ยังไม่รวมถึงดาวเคราะห์นะ เพราะฉะนั้นจำนวนมันจะมหาศาลขนาดไหน ระยะห่างระหว่างดาวแต่ละดวงก็ห่างไกลกันมหาศาล
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการเดินทางจากดวงอาทิตย์ของเราไปยังดวงอาทิตย์อื่น โดยเดินทางด้วยจรวดที่เร็วที่สุดของเรา เราอาจต้องใช้เวลาประมาณสักสิ้นโลกของเรา แต่ถ้าคุณเดินทางด้วยความเร็วแสง คุณก็ยังต้องใช้เวลาหลายปีอยู่ดี อย่างน้อยก็ 4-5 ปี ซึ่งมันยังไม่มีอะไรที่เดินทางได้ไวขนาดนั้น ข้อสังเกตคือ สมมติว่ามีสิ่งมีชีวิตใดชนิดหนึ่งที่มีปัญญามหาศาล สิ่งมีชีวิตนั้นจะต้องว่างงานพอที่จะมาสร้างหรือประดิษฐ์ธรรมชาติขึ้นมา อย่างที่เราเห็นด้วย
มันใช้เวลามากเกินไปที่ใครสักคนจะมาสร้างมนุษย์คนนึงบนโลกใบนี้จากจุดหนึ่ง ที่ไกลออกไป แล้วก็มาเฝ้าดูพฤติกรรมของคุณ มันวุ่นวายเกินไป ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ มีโอกาสแค่ไหนที่คุณจะไปที่ต้นไม้ต้นหนึ่ง ข้างบ้านหลังหนึ่ง ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในป่าแห่งหนึ่งบริเวณเชิงเขาเอเวอเรสต์เพื่อไปดูมดตัวหนึ่งที่อยู่ตรงนั้น มีโอกาสแค่ไหนที่คุณจะไปตรงนั้เพื่อจะเฝ้าสังเกตฝูงมดตรงนี้ ตัวนี้เดินจี้คนอื่นใช่มั้ย เราก็ลงโทษซะหน่อย ตัวนี้ไปทำอะไรไม่ดี ขี้เกียจใช่มั้ย เราก็ลงโทษเอาน้ำไปฉีดไปพ่นให้มันน้ำท่วมหน่อย คุณว่างงานขนาดนั้นเลยหรือ และยังมีฝูงมดอย่างนี้อีกจำนวนล้านกว่าฝูง
นี่เป็นแค่การเปรียบเทียบโอกาสที่จะมีสิ่งทรงภูมิปัญญาที่เป็นพระเจ้า หรือว่าเป็นผู้สร้าง เป็นพรหมลิขิต เป็นอะไรก็ตามที่มาทำเรื่องแบบนี้ มันอาจจะมีจริงๆ ก็ได้นะมนุษย์ต่างดาวที่ว่างงานจริงๆ จนมาทำแบบนี้ แต่ความน่าจะเป็นมันค่อนข้างต่ำ แล้วอีกอย่างหนึ่ง มันสามารถกำหนดได้ขนาดนั้นเชียวหรือว่าใน 65 ล้านปีที่แล้วจะต้องมีไดโนเสาร์สูญพันธุ์เป๊ะๆ จะต้องมีดาวอุกกาบาตขนาดยักษ์วิ่งมาจากจุดใดจุดหนึ่งในจักรวาลแล้วมาชนโลกพอดี แล้วก็ทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ แล้วผ่านไปอีกหลายล้านปี หลายสิบล้านปี ก็ค่อยๆ มีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นมา มันสามารถคุมได้ขนาดนั้นเชียวหรือ?”
ถึงแม้จะยังหาคำตอบไม่ได้ว่าชีวิตมนุษย์นั้นออกแบบได้หรือไม่ แต่ในความคิดของคุณวินทร์ก็ยังคงเชื่ออยู่ว่า ชีวิตมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ 'ควร' ออกแบบ
“คงไม่มีใครรู้ว่าชีวิตคนเราออกแบบได้หรือไม่ เพราะไม่มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ใดๆ มาวัดว่า มีพระเจ้าหรือเปล่า มีผู้สร้างหรือเปล่า มีคนที่จะมากำหนดชีวิตเราหรือเปล่า ชีวิตจะต้องโตที่ครอบครัวนี้ เรียนที่โรงเรียนนี้ หลังจากนั้นคุณก็ไปเรียนคณะนี้ จบมาก็ทำงานนี้ แต่งงานเมื่ออายุเท่านี้ ตายเมื่ออายุเท่านี้ ยังไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้
แต่ถ้ามองในมุมของการใช้ชีวิตแล้ว มันก็คือว่ามีสองทางที่เป็นไปได้ 1. มีผู้สร้างจริง คือมีผู้กำหนดชีวิตเราจริง หรือ 2. ไม่มี
ถ้าเป็นอันที่ 1 มีผู้สร้างจริง ก็คือมีผู้กำหนดชีวิตเราไว้แล้ว ฉะนั้นชีวิตทั้งหมดที่คุณเกิดมาก็คือไม่มีค่าอะไรเลยแม้แต่อย่างเดียว ไม่ว่าคุณจะทำดีหรือไม่ดี ก็เป็นแผนของคนที่อยู่ข้างบน หรือ 2 ถ้าคุณมองว่าไม่มีผู้สร้างจริง ก็แปลว่าทุกอย่างเป็นไปตามที่คุณสามารถกำหนดไปในแบบที่คุณทำได้ในจุดๆนึง คุณก็เลือกเอาแล้วกัน
แต่ในเมื่อเราไม่รู้ว่ามีหรือไม่มีคนกำหนดเรา ผมว่ามันปลอดภัยกว่าถ้าเราเลือกอันที่ 2 เพราะสมมติว่าถ้ามันไม่มีจริง อย่างน้อย เราก็ยังมีโอกาสดิ้นรนได้มากกว่า ซึ่งถ้าถามผมว่าชีวิตออกแบบได้หรือเปล่า ผมตอบว่าไม่รู้ แต่ถ้าถามว่าควรออกแบบรึเปล่า ตอบว่าควร
เราออกแบบในลักษณะที่ว่าตัวเราเองเป็นเจ้าของตัวเอง ทำทุกอย่างที่เราต้องการ เราต้องการให้ชีวิตเราเป็นสีส้ม สีแดง สีเขียวก็อยู่ที่ตัวเราเอง แต่แน่นอนว่ามันจะมีปัจจัยภายนอกเข้ามากระทบเรา ซึ่งทำให้เราอาจจะไม่ได้ในสิ่งที่เราต้องการ
ก็อยู่ที่ว่าคุณจะเลือกใช้ปรัชญาแบบไหนในการดำเนินชีวิต แต่ถ้าคุณเลือกแบบที่ 2 ผมว่าคุณประหยัดเวลาในการนอนดูอ่านตำราโหราศาสตร์ ไม่ต้องเสียเวลาไปอ่านหนังสือสะเดาะกรรมทั้งหลายประมาณร้อยเล่ม ไม่ต้องไปซื้อล็อตเตอรี่ คุณประหยัดเวลาไปอีกมหาศาลเลย”
ถ้าหากมองว่าชีวิตเป็นสิ่งที่เราควรออกแบบ และกำหนดด้วยตัวเราเอง เรื่องพรหมลิขิตก็น่าจะเป็นเรื่องที่ไร้สาระไม่ควรเชื่อ แต่คุณวินทร์กลับมองอีกมุมหนึ่ง นั่นคือ “เลือก” ที่จะไม่เชื่อ มากกว่าที่จะไม่เชื่อในพรหมลิขิต
“ผมไม่ได้ไม่เชื่อในพรหมลิขิต แต่ผมเลือกที่จะไม่เชื่อ ซึ่งไม่เหมือนกันนะ เพราะถ้าผมไม่เชื่อในพรหมลิขิตแสดงว่าผมรู้แล้วว่าพรหมลิขิตไม่มีจริง ทีนี้ผมไม่รู้ แต่ผมเลือกที่จะเชื่อแบบนั้น เกิดพรหมลิขิตไม่มีจริงขึ้นมา อย่างน้อยผมก็จะได้รู้สึกว่าผมทำดีที่สุดแล้วในชีวิต ผมเลือกทางที่ดีที่สุดแล้ว แต่ถ้าพรหมลิขิตมีจริง ผมก็ต้องมานั่งรอให้คนข้างบนตัดสินใจ เพราะฉะนั้นวันพรุ่งนี้ผมก็ต้องไปทำบุญ ซื้อล็อตเตอรี่เรื่อยเปื่อย แต่ถ้าผมกำหนดชีวิตผมเอง ผมก็สร้างล็อตเตอรี่ของผมเอง
อย่างเรื่อง 2012 วันสิ้นโลก ผมมองว่าเป็นเรื่องเหลวไหล ผ่านปี 2012 ไปแล้ว อาจจะมี 2020, 2052, 3000 พอปี 3000 ไปแล้วมันก็คงจะมี 3022 มีเหตุการณ์ที่บอกว่าโลกจะแตกตลอดเวลา แล้วเชื่อไหมว่าเมื่อผ่าน 2012 ไปแล้ว ก็จะมีคนค้นพบหลักฐานใหม่ๆ ของนอสตราดามุสออกมาเรื่อยๆ ว่าเมื่อปีเท่านั้นเท่านี้จะต้องเกิดอะไรขึ้น
สมมุติปีนี้มีเหตุการณ์อะไรร้ายแรงมากๆ เกิดขึ้นมา พอผ่านเหตุการณ์นั้นไปแล้วก็จะมีคนออกมาบอกว่านอสตราดามุสเคยทำนายไว้แล้วใน บทโน้นบทนี้ รับรองเลย แต่ไม่มีใครเคยบอกฟันธงเลยว่า นอสตราดามุสบอกเราว่าปี 2012 หรือปีหน้าจะเกิดเหตุการณ์ใดขึ้นมา เช่นจะมีดาวตกตกลงมาจากท้องฟ้าเป็นมุม 72 องศา ตกมาที่วิหารเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มีระเบิด มีคนตาย 52 คน แล้วจะมีบุคคลสำคัญตายอยู่ในนั้นด้วย คุณบอกมาแบบนั้นสิ ถึงจะเป็นวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าคุณมานั่งเดาว่า 72 องศาคืออะไรแล้วมานั่งทายหลังจากเกิดเหตุการณ์ มันก็ง่าย ถ้าแค่ทายเหตุการณ์ บางทีผมก็ทายได้ ไม่ยากเลย
แล้วสัญชาตญาณมนุษย์เราคือ เชื่อง่าย หลอกง่าย โดยเฉพาะคนไทย คนไทยจะมียีนพิเศษอันหนึ่งคือ เชื่อง่ายกว่าชาวบ้าน”
คุยกันถึงเรื่องการออกแบบชีวิตมนุษย์มาได้สักพักทำให้เราได้ทัศนคติและมุม มองใหม่ๆ เกี่ยวกับการออกแบบกันไปพอสมควร และเมื่อถามต่อถึงงานออกแบบที่คุณวินทร์อยากจะออกแบบขึ้นมาสักชิ้นหนึ่ง คำตอบที่ได้นั้นก็ทำให้พวกเราประทับใจ
“ถ้าให้เลือกออกแบบของสักชิ้นหนึ่ง ตอนนี้อยากออกแบบเครื่องมือที่ทำให้คนไทยเชื่ออะไรง่ายๆ น้อยลงหน่อย อาจจะเป็นตัวครอบหัวอันหนึ่ง พอคนใส่ไปแล้วใครพูดอะไรมาก็ไม่เชื่อ
ปัญหาเชื่ออะไรง่ายๆ เป็นปัญหาใหญ่มากครับ เพราะว่าถ้าคุณเชื่อโดยไม่คิด ก็แสดงว่าคุณกำลังดำเนินชีวิตด้วยความเชื่ออย่างเดียว ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมง่ายๆ ถ้าคนไทยส่วนใหญ่เชื่อว่า คุณสามารถกินยาชนิดหนึ่ง แล้วคุณสามารถลดความอ้วนได้เลย คุณก็ต้องสั่งซื้อยาจำนวนมหาศาล
แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คุณเลิกเชื่อเรื่องนี้ ถ้าคุณคิดว่าคุณอ้วนคุณก็ไปวิ่งออกกำลังกาย ออกกำลังกายบ่อยๆ เดี๋ยวพุงก็ยุบเอง ลองคิดดูว่าคุณจะประหยัดเงินแค่ไหน กับเฉพาะค่ายาตัวนั้นนะ ยังไม่พูดถึงยาตัวอื่น รวมกันแล้วผมคิดว่ามันมากพอที่จะทำให้ทุกคนในประเทศไม่ต้องเสียภาษีด้วยซ้ำไป
นี่ยังไม่พูดถึงความเชื่อในเรื่องอื่นๆ เช่น ความเชื่อเรื่องที่ทุกคนมีกรรม แล้วคุณจะสามารถลบล้างกรรมด้วยการทำพิธีต่างๆ พุทธพาณิชย์หลายๆ อย่าง พระเครื่องหลายๆ อย่าง ถ้าคุณไม่ได้เชื่อในจุดนี้เมื่อไหร่ คุณจะประหยัดเงินที่จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรคน ทุกอย่างที่ใช้ในการสร้างวัตถุเพื่อความเชื่อของคนได้อย่างมหาศาล เพราะฉะนั้นถึงได้บอกว่ามันสำคัญขนาดไหนที่จะติดอาวุธทางปัญญาให้กับคน เศรษฐกิจประเทศจะทะลุขึ้นไปเป็นอันดับหนึ่งของโลกได้เลย โดยที่คุณไม่ต้องทำอะไร”
เครื่องครอบหัวที่คุณวินทร์ต้องการจะออกแบบนั้นก็ถือได้ว่าเป็นอาวุธทางปัญญาที่น่าสนใจมากชิ้นหนึ่ง แต่ในทางปฏิบัติเจ้าเครื่องครอบหัวนี้คงจะประดิษฐ์ออกมาได้อย่างยากลำบาก คุณวินทร์จึงเสนอทางเลือกง่ายๆ ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันให้พวกเรา
“อาวุธทางปัญญาอย่างหนึ่งคือหนังสือ แต่ต้องเป็นหนังสือที่ดีด้วยนะ ความเชื่ออย่างหนึ่งของคนไทยคือเรามักจะเชื่อว่าหนังสือทุกเล่มเป็นของดี เป็นของสูง สมัยผมเรียน ทุกคนต้องกราบหนังสือก่อนเรียน ถ้าคุณเชื่ออย่างนั้นก็คือคุณมักจะคิดว่าสิ่งที่คนเขียน โดยเฉพาะถ้าคนเขียนเป็นบุคคลสำคัญ เป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นอะไรต่ออะไรทั้งหลาย เขียนเป็นหนังสือนั้นเป็นเรื่องจริง ถ้าเป็นแบบนี้อันตราย
ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่เขาเขียนแย่ไปหมด แต่ถ้าเชื่ออย่างนั้นตั้งแต่ต้น จะทำให้คนอ่านหนังสือโดยไม่คิด และคุณก็เชื่อ เขาพูดอะไรก็เชื่อ แล้วพอเป็นอย่างนั้นปุ๊บ ระยะยาวมันก็จะส่งผลเสียหายต่อทั้งระบบ แทนที่จะเอาทรัพยากรไปใช้ในทางที่สมควร มันก็ถูกนำไปใช้ในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา”
แม้ว่าวันนี้ เรายังไม่รู้ว่าผู้สร้างโลกมีอยู่จริงหรือไม่ แต่สิ่งหนึ่งที่เราได้จากคำพูดของคุณวินทร์ ทำให้เราฉุกคิดว่า...
ชีวิตเป็นของเรา ไม่ต้องรอให้โชคชะตาฟ้ามากำหนด ออกแบบเส้นทางชีวิตให้สวยงามที่สุด แล้วรีบเดินตามเส้นทางนั้นด้วยตัวของเราเอง
Science Fiction Not All About Aliens
SEA Write winning writer Win Lyovarin on what inspires his prodigious imagination.
By: ANCHALEE KONGRUT
Published: 6/04/2009 at 12:00 AM
Newspaper section: Outlook
When two-time SEA Write winner Win Lyovarin penned Tour Siam 4001, which is being published today in 'Outlook', concepts like "global warming", "ozone hole" and "desertification" were considered rather faraway issues. At the time, in the mid-1990s, the world was basking in the comfort of unlimited capitalist growth, mass consumption hailed as a sign of prosperity, and Win himself was working as a full-time creative director at an advertisement agency.
In Tour Siam 4001, Win paints Thailand in the next two millennia as an ecological catastrophe. By then the pristine forest of Huay Kha Kaeng, one of the country's largest, will have become a wasteland. The Chao Phraya River no longer exists, almost a quarter of once-arable land has been totally submerged under the sea, including the idyllic rock caves in the Andaman Sea that have already been blasted away to supply the cement-producing hub in Phangnga. The former capital, Bangkok, has turned into a chemical industry hub where residents have to wear anti-toxic-gas protection masks round the clock.
Win admitted he was way over the top in his imagination. "But anything can happen if all development goes unchecked as it does now," said Win, adding he wrote the story just to warn the public about possible environmental calamity. "Look at the effects of global warming, the dangerously high tidal movements, etc. These things are no longer derided as impossible," he said.
Call it a mockery of futuristic consumerism or even a precautionary tale of environmental destruction, but for Win, Tour Siam 4001 is first and foremost a piece of "sci-fi".
The labelling is eye-opening. But where are the laser-bleeping gadgets, translucent blob Martians or Darth Vader? Where are Captain Kirk and the USS Enterprise with pointy-eared crew?
To the question whether he considers himself a Trekkie (ardent fan of Star Trek, the popular sci-fi series), Win quips, "Actually I must confess I can't tolerate sci-fi stories that show aliens with two legs and a human face." According to Win, science fiction need not be solely about futuristic spaceships and galactic battles. His home/office is proof of that: There is not a single spaceship model or extraterrestrial alien figure to adorn the shelves. The pale yellow apartment walls are mostly decorated with drawings by Win himself - after graduation from Chulalongkorn University's Faculty of Architecture, he once worked as an interior designer.
But as a sci-fi writer, Win said he has sparks of inspiration from reading heavy academic tomes on medical progress, neurology, biotechnology, astrology and the environment. He also delves into the fields of philosophy and theology, seeing the interconnection between science and religious beliefs.
"Science fiction does not have to look futuristic. It could be about farming villages in the outback of Thailand. It could even address philosophical issues like in 2001: A Space Odyssey (by Arthur C. Clark), where you don't see a single alien. It could be about social or religious problems. Regardless of form, one essential aspect of every work of sci-fi is that the story must have some rational elements in it,"said Win, who as a youth fell in love with science fiction after reading Jantree Siriboonrod's stories in the now-defunct sci-fi magazine Wittaysart Mahadsajan (Magical Science).
Admitting his bent for defying rules, especially literary-wise (Tour Siam 4001, for example, reads more like a tourism brochure, albeit a sarcastic one), Win said his choice of narrative style could stem from his experiences in the advertisement industry where he worked for over a decade.
"Advertising is the art of telling the same old story but with a new way to say it. Indeed, there is nothing new under the sun, so you have to find new ways to present the same message,"he said.
Indeed, Win seems to be playful not only in his narrative styles but also in matters often taken for granted, like, say, the choice of paper and materials. Some of his books - published by his own publishing house - sometimes use a white font printed on black paper to highlight topsy-turvy ideas, or see-through paper for a story about political transparency. He even toyed with the idea of emulating the porous texture of bathroom tissue for a satirical story on Thai politicians (that would certainly be welcome!).
In almost two decades in the literary jungle, Win has earned several literary awards and has cultivated a sizeable group of fans, especially among the younger generation. His first SEA Write award, in 1997, came for a political-history novel entitled Prachatipatai Bon Sen Khanarn (Democracy, Shaken & Stirred). A collection of short stories, Sing Mee Cheewit Tee Riek War Khon (A Living Thing Called Human), won him the second SEA Write award two years later. He has experimented with a vast range of genres - besides sci-fi are mystery/detectives stories, travel documentaries, manuals on writing, inspirational self-help books, pictorial books and even screenplays (including the recent adventure film Puen Yai Jorm Salad, a fantasy account of the history of the southern Pattani state in the 16th century).
Currently, Win, 53, plans to work on another screenplay - this time a biopic of a certain well-known figure in Thai literary circles. Next, he will go back to writing science fiction, the genre he probably feels most comfortable with. Win said he does not yet have any particular plot in his head, just flashes of ideas, adding that he might do something about the phenomenon of the red versus yellow political polarisation.
Hmm... That just lets our imagination run wild. Sci-fi about Thai politics? Will there be aliens in the red and yellow camps? Hopefully, Win might do justice to both "tribes" by using special paper - the bathroom tissue type - to print the story.
เคล็ดสำคัญจาก วินทร์ เลียววาริณ
สร้างเรื่องแต่งอย่างสมจริง
จาก คอลัมน์ ของฝากนัก (อยาก) เขียน
เรื่อง พนิชา อิ่มสมบูรณ์
นิตยสาร ฅ.คน ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 (30) 7 เมษายน 2551
"เราอยากสร้างให้ตัวพ่อมีอาชีพปิ้งปลาหมึกขาย เราก็ต้องไปรีเสิร์ชว่าคนปิ้งปลาหมึกขายเขาทำอะไร อย่างไร ถ้าเป็นไปได้ก็ควรจะลองไปปิ้งปลาหมึกดู..."
การเมืองไทยอาจเป็นเรื่องน่าเบื่อ แต่นวนิยายที่ร้อยเรียงขึ้นโดยมีฉากหลังเป็นเหตุการณ์และบุคคลสำคัญทางการ เมืองของไทย ไล่ตั้งแต่ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 มาจนถึงสมัยพฤษภาทมิฬ กลับตรงกันข้าม
ตั้งแต่หน้าแรกจนหน้าสุดท้าย ของ ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน สองตัวละครสมมติอย่าง ร.ต.ต. ตุ้ย พันเข็ม นายตำรวจเปี่ยมอุดมการณ์ กับเสือย้อย อดีตนายทหารที่ต้องกลายเป็นโจร ต่างขับเคี่ยวคู่ขนานกันไปอย่างสมจริงเสียจนชวนให้คิดว่า หรือคนทั้งคู่จะมีตัวตนจริงในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย
"ในงานเขียน หากเราใส่ข้อมูลอย่างแน่นหนา และเป็นข้อมูลที่คนอ่านไม่ค่อยรู้ จะทำให้เรื่องมีสีสันมากขึ้น"
วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนเจ้าของผลงาน กล่าวถึงหลักการสำคัญที่เขาใช้เสมอในการทำงานเขียน ด้วยหลักการนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่งานเขียนของวินทร์มักจะดึงดูดความสนใจของคนอ่านได้ด้วย ข้อเท็จจริงที่นำมาใช้เพื่อเสริมรายละเอียดของพล็อตเรื่องที่เขาคิดขึ้น จนกลายเป็นเรื่องแต่งที่"สมจริง"
หนึ่งในผลงานของวินทร์ที่ได้รับการพูดถึงกันมากคือ ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน หนังสือรางวัลซีไรต์ประจำปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเบื้องหลังกว่าจะออกมาเป็นหนังสือเล่มนี้ วินทร์ต้องอ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่องการเมืองไทยที่รวมกันแล้วหนากว่า หนังสือนิยายของเขาหลายเท่านักหรืออย่างในการเขียนเรื่อง ปีกแดง นวนิยายเชิงการเมืองอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีโครงสร้างใกล้เคียงกับเล่มแรกนั้น นักเขียนหนุ่นใหญ่เล่าว่า เขาต้องอ่านตำราเกี่ยวกับการปกครองระบอบสังคมนิยมอย่างมหาศาล กว่าจะได้เป็นหนังสือนิยายความยาวห้าร้อยกว่าหน้า ที่มุ่งให้ความสนุกในการอ่านควบคู่ไปกับความรู้เกี่ยวกับการเกิดขึ้นและดับไปของลัทธิคอมมิวนิสต์
จากประสบการณ์ทำงานด้านสถาปัตยกรรมและด้านโฆษณา ก่อนจะมาเป็นนักเขียนมืออาชีพ ทำให้วินทร์ได้ข้อสรุปว่า การค้นคว้าข้อมูลเป็นพื้นฐานในการสร้างงานเขียนเชิงพาณิชยศิลป์ทุกประเภท ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงงานเขียนด้วย
"ก่อนจะเริ่มรีเสิร์ช ต้องดูก่อนว่าเราต้องการข้อมูลอะไรในการทำงานแต่ละชิ้น แล้วก็หาข้อมูลเรื่องนั้นๆ มาเพื่อจะนำมาย่อยเป็นเรื่อง แต่ท้ายที่สุดแล้วก็อยู่ที่ตัวเราว่าจะสร้างงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร ข้อมูลเป็นส่วนประกอบที่ทำให้งานมีความลึกขึ้น"
เมื่อไอเดียของคนเขียนคือหัวใจหลัก ในขณะที่ข้อมูลเป็นส่วนประกอบที่ช่วยเสริมคุณค่าและแต้มสีสันให้กับงาน ดังนั้น คำแนะนำจากนักเขียนมืออาชีพถึงนัก (อยาก) เขียนมือใหม่ก็คือ ควรคิดพล็อดเรื่องหรือโครงสร้างให้ชัดเจนก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นค่อยหาข้อมูลที่จำเป็นสำหรับโครงสร้างที่คิดไว้ ด้วยวิธีดังกล่าวทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการหาข้อมูลเกินจำเป็น อีกทั้งยังช่วยป้องกันการหลงทางหรืออาการเมาข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกับนักเขียนที่ยังอ่อนประสบการณ์และยังไม่ชำนาญเรื่องจัดการข้อมูล
"ไม่ได้แปลว่า ถ้ารู้ไม่จริงแล้วจะเขียนไม่ได้ ไม่รู้ก็เขียนได้ เพียงแต่งานที่ออกมา มันจะไม่มีกลิ่นของความเป็นจริงเท่าที่ควร"
"การวางโครงสร้างของเรื่องช่วยจำกัดขอบเขตข้อมูลที่เราต้องการหา แต่ในขณะเดียวกัน การอ่านเยอะๆ ก็ช่วยทำให้เรารู้ว่า เราควรจะไปในทิศทางไหน หรือมีทางใดที่น่าสนใจบ้าง"
"ยิ่งเราทำงานนานเข้า เราก็จะมีประสบการณ์ในการจัดการกับข้อมูล อ่านแล้วรู้ว่าข้อมูลส่วนไหนเป็นส่วนเกิน ส่วนไหนเอามาใช้ได้ มันจะค่อยๆ ฝึก ค่อยๆ รู้ไปเอง"
การเขียนนิยายเชิงประวัติศาสตร์ดูจะเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของงานเขียน ประเภทที่ผู้แต่งต้องค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้รายละเอียดและเหตุการณ์ในยุคที่ เขียนถึงนั้นไม่ขัดแย้งต่อความจริงที่เคยเกิด แต่หากว่ากันจริงๆ แล้ว ไม่เฉพาะแต่งานเขียนที่ผู้แต่งวาดภาพไว้ให้ตัวละครดำเนินชีวิตอยู่ยุค ปัจจุบันก็ต้องอาศัยการทำการบ้านอย่างหนักไม่แพ้กัน
"สมมุติว่าเราจะเขียนเรื่องของครอบครัวที่มีปัญหาชีวิต โดยในรายละเอียดของเรื่อง เราอยากสร้างให้ตัวพ่อมีอาชีพปิ้งปลาหมึกขาย เราก็ต้องไปรีเสิร์ชว่าคนปิ้งปลาหมึกขายเขาทำอะไร อย่างไร ถ้าเป็นไปได้ก็ควรจะลองไปปิ้งปลาหมึกดูเพื่อจะได้รู้ว่ามันมีอะไรบ้าง เพราะถ้าไม่ไปรีเสิร์ช ก็จะไม่สามารถใส่รายละเอียดเข้าไปให้เรื่องมันมีมิติขึ้นได้ เราก็จะได้แต่พูดลอยๆ ว่าขายปลาหมึก แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าปิ้งปลาหมึกต้องบดกี่ที ต้องหมุนกี่ครั้ง ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ ผสมน้ำจิ้มต้องทำอย่างไร คือเราไม่สามารถเขียนได้ละเอียดขนาดนั้น"
"ไม่ได้แปลว่า ถ้ารู้ไม่จริงแล้วจะเขียนไม่ได้นะ ไม่รู้ก็เขียนได้ เพียงแต่งานที่ออมา มันจะไม่มีกลิ่นของความเป็นจริงเท่าที่ควร"
แต่ใช่ว่าวิธีการค้นคว้าหาข้อมูลมาเป็นเครื่องปรุงเสริมรสชาติให้กับพล็อต เรื่องจะใช้ได้กับงานทุกประเภท เพราะงานบางแนวอย่างเช่นเรื่องสั้นหรือนิยายเกี่ยวกับอนาคตอีกพันปี หมื่นปีข้างหน้า ต่อให้ค้นคว้าจากตำราทุกเล่มในโลกก็ไม่มีเล่มไหนทำนายข้อมูลได้ถูกตรง ตามอนาคต จึงตกเป็นภาระของนักเขียนที่จะต้องจินตนาการขึ้นมาเอง
"ในกรณีนี้ สิ่งที่เราทำได้คือการใช้หัวใจของเราคิด ใช้หัวใจของเราสัมผัสว่า ความรู้สึกของคนในอีกหมื่นปีข้างหน้ามันน่าจะเป็นอย่างไร แตกต่างจากความรู้สึกของคนในสมัยนี้มากน้อยแค่ไหน เป็นวิธีการทำงานอีกแบบหนึ่ง คือใช้จินตนาการโดยคิดให้มันสมจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้" สำหรับ วินทร์ เลียววาริณ การเขียนหนังสือมีหลักในการสร้างสรรค์เช่นเดียวกับศิลปะในการวาดภาพที่ต้อง จัดองค์ประกอบของภาพให้ลงตัว และเลือกใช้โทนสีให้กลมกลืน
"ผมมักจะเปรียบเทียบการเขียนหนังสือเหมือนการวาดรูป ถ้าเราร่างด้วยดินสอมาก่อนว่าต้นไม้อยู่ตรงนี้ ภูเขาอยู่ตรงนั้น นกบินอยู่ทางนี้ กระท่อมตั้งอยู่ตรงนั้นเมื่อวาดทุกอย่างเป็นเอาต์ไลน์ชัดเจนแล้ว พอเรามาลงสี มาใส่รายละเอียดเพิ่มเติมเราก็จะรู้อยู่แล้วว่าภาพที่ออกมาจะเป็นประมาณไหน ไม่มากไปกว่านี้ ง่ายต่อการคุมให้ภาพออกมาตรงตามที่เราต้องการทั้งองค์ประกอบและโทน"
ในทางกลับกัน การเขียนโดยไม่อาศัยภาพร่างใดๆ ย่อมมีโอกาสสูงที่ภาพนั้นจะผิดเพี้ยนไปจากความตั้งใจในหนแรก
"ถ้าเราเขียนภาพโดยไม่มีภาพร่าง หรืออยากจะลงสีอะไรก็ลง เพนต์เอาตามใจ ดันไปเรื่อยๆ วิธีนี้ถ้ามีประสบการณ์หรือมโนภาพอยู่แล้วว่าต้องการให้ภาพหรือเรื่องที่ เขียนออกไปในทางไหน ก็พอจะวาดไปตามนั้นได้ แต่ถ้าเราไม่มีประสบการณ์โอกาสที่ภาพจะเละก็มีสูง เพราะว่าการลงสีไปเรื่อยๆ โดยไม่มีภาะที่ร่างไปก่อน มันก็อาจหลงทางได้"
"มือใหม่ก็น่าจะหัดวาดด้วยดินสอก่อน แล้วค่อยๆ ลงสีทีละส่วนจะปลอดภัยกว่า"
เขียนบทหนังแบบ วินทร์ เลียววาริณ
รายงานโดย : อัคร เกียรติอาจิณ
โพสต์ทูเดย์ วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551
น้อยคนที่จะไม่รู้จักผู้ชายคนนี้ “วินทร์ เลียววาริณ” ยิ่งถ้าคุณเป็นหนอนหนังสือประเภทนวนิยาย-เรื่องสั้นที่มีพล็อตเข้มข้นอิงการ เมือง-สังคม แน่นอน...คุณต้องประทับใจในผลงานของเขา จนอาจยกตำแหน่งนักเขียนในดวงใจให้อย่างไม่ยากเย็น
อาเพศกำสรวล, สมุดปกดำกับใบไม้แดง, ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน, เดือนช่วงดวงเด่นฟ้าดาดาว, สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน นี่คือผลงานช่วงแรกที่วินทร์มุมานะจรดปลายปากกาเขียนขึ้น เพื่อถ่ายทอดเหตุการณ์จริงผสมจินตนาการในแนวทางและลีลาถนัดของตัวเอง
งานเขียนของเขา 2 ใน 5 เล่ม สามารถคว้าซีไรท์ได้ถึง 2 สมัย จากนวนิยายกะเทาะเปลือกการเมือง ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ปี 2540 และปี 2542 กับรวมเรื่องสั้น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน ก็คว้ารางวัลเกียรติยศนี้อีกครั้ง
งานเขียนในช่วงหลังของวินทร์ก็ได้รับการต้อนรับจากแฟนๆ อย่างดีเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นบทความวิทยาศาสตร์ ปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล เรื่องเล่าเกี่ยวกับหนังและหนังสือนิยายข้างจอ นวนิยายฟิล์มนัวร์ที่เขาภูมิใจนำเสนอ (มากๆ) ฝนตกขึ้นฟ้า รวมทั้งผลงานดูโอที่เขียนจดหมายโต้ตอบกับ ปราบดา หยุ่น ชื่อว่า ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน โดยใช้เวลาเขียนกันเมามันถึง 4 ปีเต็ม (เริ่มตั้งแต่ปี 2545 จนถึง 2549 โดยเว้นวรรคไปในปี 2546) จากความต่อเนื่องในการทำงานสร้างสรรค์ ทำให้คณะกรรมการรางวัลศิลปาธรเห็นสมควรเลือก วินทร์เป็นหนึ่งศิลปินผู้มีผลงานดีเด่นสาขาวรรณกรรม ประจำปี 2549
ปัจจุบันวินทร์ยังคงคิดพล็อตเขียนงานอย่างสม่ำเสมอ ในขณะเดียวกันก็หันมารับจ๊อบใหม่ฐานะ “คนเขียนบทหนัง” ควบคู่ไปด้วย ผลงานการเขียนบทของ วินทร์ เลียววาริณ ที่กำลังจะออกสู่สายตาคนดูคือ หนังฟอร์มยักษ์แห่งปี ปืนใหญ่จอมสลัด ที่ นนทรีย์ นิมิบุตร นั่งแท่นผู้กำกับ เอก เอี่ยมชื่น ดูแลด้านออกแบบงานสร้าง แถมมีนักแสดงระดับเทพแถวหน้าของเมืองไทย สรพงษ์ ชาตรี, จารุณี สุขสวัสดิ์, เจษฎาภรณ์ ผลดี, อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม ร่วมประชันบท
23 ต.ค.นี้ อภิมหาโปรเจกต์ซึ่งวินทร์มีโอกาสโชว์ฝีมือเขียนบทเป็นครั้งแรกก็พร้อมให้ทุก คนพิสูจน์กัน แต่กว่าวันนั้นจะมาถึงไปฟังเจ้าตัวเล่าถึงการทำงานดีไหม สนุก หรือระทมแค่ไหน ที่สำคัญคือ อนาคตกับการเป็นคนเขียนบท เขายังหวังยึดทำต่ออยู่หรือไม่
เคยแต่เขียนนวนิยาย-เรื่องสั้น พอมาเขียนบทหนังต้องปรับวิธีคิด หรือวิธีทำงานอย่างไร
ไม่หรอกครับ เพราะงานเขียนของผมเองก็มีความใกล้เคียงกับบทหนังอยู่แล้ว เวลาจะเขียนนวนิยาย หรือเรื่องสั้นสักเรื่อง ผมมักสร้างพล็อตให้มีลักษณะเป็นบทหนัง ซึ่งอันนี้ได้จากการที่ผมเป็นคนชอบดูหนังและเคยเรียนทำหนังมาบ้าง เลยติดสไตล์การเล่าเรื่องแบบหนังมาโดยไม่รู้ตัวเหมือนกัน เช่น การตัดฉาก การต่อฉาก พอมาเขียนเป็นบทหนังก็ไม่ค่อยยากเท่าไหร่
จุดไหนของการเขียนบทหนังที่คิดว่ายาก
ความยากสำหรับผมคือการวางคอนเซปต์กับการปูเรื่อง ในหนังสือเราอาจจินตนาการได้ไม่จำกัด แต่ในหนังเนี่ยมันจะมีข้อแม้ตัวอื่นๆ เช่น ทำไม่ได้บ้าง หรือติดเรื่องของคอมพิวเตอร์กราฟฟิกบ้าง จุดนี้นี่ละเป็นอะไรที่ทำให้ยาก เพราะมันมาจำกัดจินตนาการของคนคิด แต่ว่าผมก็มีวิธีแก้คือ ตอนที่เขียนบท ผู้กำกับจะบอกว่าพี่เขียนเต็มที่เลยนะ คิดอะไรก็ให้เขียนไปให้หมด ทำได้ทำไม่ได้อีกเรื่องหนึ่งค่อยมาคุยกัน จินตนาการของผมเลยใส่มาแบบเต็มที่ แล้วค่อยมาปรับปรุงเอาทีหลัง ตรงไหนทำได้ทำไม่ได้ เพราะถ้าถูกกำหนดด้วยจำนวนเงิน ผมในฐานะคนเขียนบทก็คงไม่กล้าที่จะใส่จินตนาการ ซึ่งนั่นเป็นการสร้างความยากให้กับคนทำงานมากๆ
หลังจากที่ได้รับโจทย์หนังมา คุณมีวิธีทำงานอย่างไร
เริ่มจากหาข้อมูลก่อน จากนั้นก็เขียนแบบร่างแรก ส่งให้ผู้กำกับดู ผู้กำกับชอบไม่ชอบก็กลับมาแก้ไขใหม่อีกรอบ ทำแบบเนี้ยตลอดจนกว่าจะสรุป ซึ่งเป็นการทำงานแบบเป็นทีม จะมีตัวแปรเยอะที่ทำให้เกิดการแก้ไขบท ผมคิดว่าดีแล้ว แต่คนอื่นๆ อาจคิดว่ายังไม่ดี เช่น ไม่มีเงินพอ การตลาดไม่ได้ สำหรับผมถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะไม่ใช่การทำงานคนเดียว เพียงแต่ต้องยอมรับกติกานี้ให้ได้
ความท้าทายของหนังเรื่องนี้คืออะไร
ต้องทำเป็นจริงให้ได้ในเชิงการตลาด ผมคิดแค่นี้จริงๆ นะ ทำยังไงก็ได้ให้สิ่งที่คิดมาเป็นจริง คือเราสามารถฝันอะไรต่ออะไรได้ แต่ถ้าผลลัพธ์ออกมาหนังเจ๊ง ผมว่าผมก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อหน้าที่นี้ด้วย มันเหมือนเป็นการพบกันครึ่งทาง
ตัวหนังเองมีความน่าสนใจอย่างไร
ผมขอมองสองแง่นะ ในแง่ประวัติศาสตร์ คือการย้อนกลับไปดูรากเหง้าของเรื่องราวในอดีตเมื่อ 400 ปี จะได้เห็นการดำรงอยู่ของคนไทยและชนชาติต่างๆ อีกแง่หนึ่ง คือพัฒนาการของหนังไทยระดับหนึ่ง เป็นการสร้างเรื่องที่ไม่ได้อยู่ในกรอบเดิมๆ จากสิ่งที่เคยทำมา สร้างอะไรใหม่ๆ โดยออกจากวิธีคิดเดิมๆ ขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงความทันสมัยของเครื่องไม้เครื่องมือในการทำหนังยุค นี้ได้เหมือนกัน
“ปืนใหญ่จอมสลัด” มีพล็อตที่ให้กลิ่นอายความเป็นประวัติศาสตร์ของลังกา จะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนไทยที่ไม่เข้าใจภูมิหลังมาก่อนหรือเปล่า
ผมว่าหนังเรื่องนี้ไม่ควรดูในเชิงประวัติศาสตร์นะ เนื่องจากในอารมณ์ของหนังไม่ได้แสดงเนื้อหาด้านประวัติศาสตร์มากนัก ใครทำอะไรที่ไหนในบริบทการเมืองจะมีน้อยครับ แต่หนังจะเล่าว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วตัวเอกทำอะไรต่อละ เป็นหนังที่ดูสนุกมากกว่าจะเป็นหนังที่จะต้องย่อยข้อมูลต่างๆ ว่าทำไมต้องมีเหตุการณ์นี้ๆ เพราะผมเองก็ตั้งใจไม่ให้หนังออกมาสไตล์แบบนั้นอยู่แล้ว แฟนตาซี-แอ็กชัน ดูสนุกเพลิดเพลินครับ เพราะถ้าผมมัวแต่อธิบายประวัติศาสตร์หนังคงกร่อยแน่ๆ (หัวเราะ)
คุณเชื่อไหมว่าบทคือหัวใจสำคัญของหนัง
ใช่ครับ หนังที่ดีได้ต้องเริ่มจากได้บทที่ดีก่อน แล้วส่วนอื่นๆ ก็จะตามมา อย่างหนังหลายๆ เรื่องที่ไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งเพราะบทไม่ดี หนังไทยหรือหนังฝรั่งก็เจอปัญหาทำนองเดียวกัน สำหรับบ้านเราผมว่ายังขาดอะไรอีกเยอะแยะเลย ถ้าพูดถึงการเขียนบทผมว่าเป็นพื้นที่กว้างที่สามารถให้คนเข้ามาอีกเป็นร้อยๆ คน ผมเองก็ตอบไม่ได้นะว่าถ้าไม่เคยเขียนหนังสือมาก่อนจะทำได้เลยหรือเปล่า แต่ผมรู้สึกว่ามันเป็นงานที่ใกล้เคียงกันมาก เช่น การคิดพล็อต การเล่าเรื่อง หรือการใช้ภาษา ก็เหมือนทุกประการกับการเขียนหนังสืออยู่แล้ว ต่างกันแค่ผลลัพธ์เท่านั้น
แล้วคิดจะเอาดีกับการเขียนบทหนังต่อไหม
เป็นงานที่สนุกครับ ให้ประสบการณ์ใหม่ๆ แต่ผมก็ยังยืนยันว่าการเขียนหนังสือสนุกกว่า แต่ก็ไม่ได้ปิดกั้นตัวเอง อยู่ที่ว่ามีคนให้โอกาสไหม เพราะผมไม่ต้องการเขียนบทเพื่อเอาใจตลาด ถ้าดูจากตลาดหนังไทยตอนนี้ก็ไม่ใช่จะเข้าไปได้ง่ายๆ
การทำหนังละจะมีโอกาสเห็นผลงานคุณบ้างไหม
โอ้! คงจะยากครับ เพราะผมไม่คิดจะเอาดีด้านนี้ ผมชอบนะที่เห็นใครๆ ทำหนัง แต่ให้ทำ ไม่ดีกว่า เพราะการทำหนังมันไม่ใช่แค่ทำ มันคือการจัดการ มีการควบคุม การต่อรอง มีคนเยอะเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนตัวไม่ชอบอย่างนั้น ผมอยากทำอะไรที่เป็นส่วนตัวมากกว่า อารมณ์ศิลปินสูงน่ะครับ (หัวเราะ) เขียนงานหนึ่งเรื่องเสร็จก็ตีพิมพ์ให้คนอ่านก็จบแล้ว ให้มานั่งคุมคนเป็นงานที่ใหญ่เกินไป งานเขียนของคุณที่ได้รับรางวัลซีไรท์และรางวัลอื่นๆ มีคนมาขอซื้อไปทำหนังไหม
มีครับๆ (ยิ้ม) แต่ก็แค่พูดคุยกัน ยังไม่ถึงซื้อลิขสิทธิ์ เพราะงานเขียนของผมมันเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ อย่างประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ทำไม่ได้หรอก บ้านเมืองเรายังไม่พร้อมที่จะให้ทำหนังแบบนี้ หมายถึงว่าผมมองไปที่พอหนังทำเสร็จอาจโดนฟ้องร้องได้ หลายๆ เรื่องมีความประหลาดของพล็อตผสมอยู่ด้วย ซึ่งไม่เหมาะกับการทำหนังแน่ๆ ผมว่าสิ่งที่ยุ่งยากไม่ใช่การดัดแปลงเป็นบทหนังหรอก แต่มันคือการตลาด ถ้าทำออกมาแล้วขายไม่ได้น่าเป็นห่วงครับ หรือบางทีอาจยังไม่ถึงเวลาที่งานเขียนของผมจะกลายเป็นหนังก็ได้
ใครเป็นสาวกนักเขียนซีไรท์คนนี้ก็ไปให้กำลังใจเขาได้กับผลงานการเขียนบทหนัง เรื่องแรกในชีวิต ส่วนที่เฝ้ารองานเขียนเล่มใหม่ เจ้าตัวก็แง้มว่าถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ บุหงาปารี ซึ่งเป็นส่วนขยายของ ปืนใหญ่จอมสลัด น่าจะวางแผงไล่เลี่ยกัน อ่านก่อนดูหนังก็ได้ รับรองรู้ซึ้งถึงเรื่องราวอดีตแห่งลังกาสุกะอย่างแน่นอน
ปืนใหญ่จอมสลัด นสพ.สยามดารา
บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับภาพยนตร์ ปืนใหญ่จอมสลัด
นสพ.สยามดารา ฉบับวันที่ 11 กันยายน 2551
วินทร์ เลียววาริณ กับการเขียนบทหนัง ปืนใหญ่จอมสลัด
คงมีไม่บ่อยครั้งที่นักเขียนระดับรางวัลซีไรต์จะมาข้องเกี่ยวกับงานภาพยนตร์ แต่จะด้วยเหตุผลด้านความท้ายทาย หรือนิสัยส่วนตัวที่ชอบลองอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอของชายที่ชื่อ วินทร์ เลียววาริณ จึงทำให้ชื่อของเขาไปปรากฏอยู่ในฐานะผู้เขียนบทของภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์เรื่อง "ปืนใหญ่จอมสลัด" หนังทุนสร้างกว่า 200 ล้านบาทของบริษัทสหมงคลฟิล์มฯ ที่ระดมบรรดาหัวกระทิมาเกี่ยวข้องกับงานนี้จนเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่ง ปรากฏการณ์สำคัญบนแผ่นฟิล์ม ไม่ว่าจะเป็นผู้กำกับฯ นนทรีย์ นิมิบุตร นักออกแบบงานสร้าง เอก เอี่ยมชื่น และบรรดานักแสดงชั้นนำอีกคับจอ ซึ่งถ้าเปรียบกับทีมฟุตบอลก็คงไม่ต่างกับทีมที่รวมซูเปอร์สตาร์ไว้เต็มทีม อย่างไรก็ตามตำแหน่ง "คนเขียนบท" ที่นักเขียนรุ่นใหญ่ วินทร์ เลียววาริณ เป็นผู้ยึดตำแหน่งอยู่ถือว่าเป็นตัวสร้างสรรค์เกมที่จะต้องจับตามองไม่น้อย เลยทีเดียว
อะไรคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้คุณวินท์ตัดสินใจเขียนบทภาพยนตร์ "ปืนใหญ่จอมสลัด"
ผมคิดว่าโจทย์ข้อนี้มันท้าทายดี แล้วผมคิดว่าโอกาสแบบนี้มันไม่ค่อยมีที่ใครจะให้โจทย์ในลักษณะที่ว่าคิดอะไร ก็ได้ ฝันได้เต็มที่ เพราะว่าส่วนใหญ่มันจะมีเรื่องของงบประมาณเข้ามาเกี่ยว แม้จะฝันได้เต็มที่แต่ถ้างบประมาณไม่เท่าไหร่มันก็ไม่เต็มที่จริงๆ แต่สำหรับปืนใหญ่จอมสลัด คือ ขอให้ฝันออกมาก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงมาลองดูสิว่าเงินกับเทคโนโลยีไปถึงหรือเปล่า
ความต่างระหว่างการเขียนหนังสือ กับการเขียนบทภาพยนตร์
จะว่าไปแล้วมันก็ไม่ต่างกันสักเท่าไหร่นะ เพราะเวลาเราเขียนหนังสือมันก็ต้องมีโครงเรื่อง การเดินเรื่อง มีจังหวะจะโคนของมันอยู่แล้ว ส่วนหนังมันก็คล้ายๆ กัน คือวางโครงสร้าง วาง sequence ของเรื่อง โดยหลักการแล้วอาจจะไม่ต่างกัน แต่สำหรับหนังอาจจะไม่ต้องบรรยายอะไรมากมาย บางช่วงบางตอนอาจไม่ต้องใช้คำพูด เพราะมันมีภาษาภาพอยู่แล้ว นี่คงเป็นสิ่งแตกต่างกัน
หลังจากบทที่ออกมาแล้วต้องมีการปรับโดยนักเขียนบทภาพยนตร์อาชีพอีกหรือเปล่า
มันเป็นการทำงานกับทีมสร้าง เมื่อบทออกไปแล้วก็ต้องมีการมาศึกษาต่อว่ามีอะไรบางอย่างที่ต้องตัดทิ้งหรือว่าไม่เหมาะสมหรือเปล่า เพราะมันมีบางอย่างที่เขียนไปแล้วทำไม่ได้ หรือไม่เหมาะกับที่คิดเอาไว้
ได้ความรู้อะไรใหม่ๆ บ้างจากการเขียนบทครั้งนี้
มันมีอะไรหลายอย่างเหมือนกันที่ผมเองก็ไม่รู้มาก่อน เช่นประวัติศาตร์ทางรัฐมลายู ซึ่งเป็นรัฐทางภาคใต้ของเรา ก่อนหน้านี้ผมไม่รู้อะไรมาก่อนจนกระทั่งได้มาศึกษาถึงได้รู้รายอะเอียด เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยกับรัฐมลายูในอดีต และยังโยงไปถึงญี่ปุ่น จีน ฮอลันดา อังกฤษ ที่เริ่มเข้ามาในช่วงนั้นว่ามีบริบททางการเมืองยังไง เมื่อมองภาพรวมแล้วเราจึงเข้าใจตรงนั้นมากขึ้นว่ามันมีเรื่องของการค้า เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการแผ่ขยายอำนาจเข้ามากดดัน อย่างไรก็ตามในส่วนที่เป็นหนังเราจะไม่พูดเรื่องเหล่านี้ เพราะมันจะกลายเป็นประวัติศาสตร์มากเกินไป เราอยากจะให้มันเป็นนิยายแอคชั่น-แฟนตาซีมากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากฉากหลังของเรื่องมันเป็นประวัติศาสตร์ดังนั้น จึงต้องให้คนดูรู้ก่อนว่ามันมีอะไรเกิดขึ้นมาในช่วงเวลานั้น
แต่ผลงานที่ผ่านมาของ วินทร์ เลียววาริณ มักมีเรื่องของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อาทิ ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน
เรื่องนี้จริงๆ เขียนมาในเชิงการเมือง แต่เวอร์ชั่นที่เป็นภาพยนตร์จะเป็นเวอร์ชั่นที่เน้นความบันเทิงมากกว่าความ เป็นประวัติศาสตร์ แต่ในขณะเดียวกันมันจะมีเวอร์ชั่นของหนังสือออกมาด้วยพร้อมกัน ซึ่งเวอร์ชั่นที่เป็นหนังสือมันจะเป็นไปในลักษณะเดียวกับ ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ซึ่งประชาธิปไตยบนเส้นขนานเป็นยังไง ปืนใหญ่จอมสลัดเวอร์ชั่นหนังสือก็จะเป็นอย่างนั้นคือจะเน้นรายละเอียดของประ วัติศาตร์มากกว่า
ความเป็นแฟนตาซีกับวินทร์
คงต้องลองดูบ้าง (หัวเราะ) ก็คือมันโจทย์น่ะครับ คือผู้กำกับฯ (นนทรีย์ นิมิบุตร) เขาอยากจะสร้างหนังที่มันเว่อร์ๆ หน่อย แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเป็นเรียลลิสติก มีความเป็นประวัติศาสตร์อยู่ มันก็เลยกลายเป็นส่วนผสมแบบนี้
ถ้าพูดถึงหนังไทยที่เป็นแฟนตาซีแล้วถือว่ายังมีน้อย ยิ่งถ้าเปรียบเทียบกับหนังต่างประเทศแล้วยิ่งโดนวิจารณ์ในแง่ลบซะเป็นส่วน ใหญ่? ผมว่าปืนใหญ่จอมสลัดกับหนังแฟนตาซีของฮอลลีวู้ดมันไม่เหมือนกันนะ นี่มันเป็นแฟนตาซีที่อิงอยู่บนพื้นฐานของประวัติศาสตร์ แฟนตาซีในที่นี้มันไม่ใช่ในลักษณะมีพ่อมด-แม่มด หรือมนต์วิเศษ แบบในเดอะ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริง แต่พลังอำนาจต่างๆ ในเรื่องนี้มันมาจากการฝึกวิชา ถึงจะดูเหนือจริง แต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็นเรื่องที่สมจริง มันไม่ใช่คนบินได้แบบนึกอยากจะเหาะอยากจะดำน้ำก็ทำ ได้ แต่ในเรื่องนี้คนที่จะดำน้ำได้มันก็ต้องมาจากการฝึกวิชา มันจะเป็นในลักษณะของกำลังภายในมากกว่า
ได้ใส่ความเป็นวินทร์ลงไปในการเขียนบทครั้งนี้หรือเปล่า
ก็ไม่เชิงครับ เพราะว่าการทำงานแบบนี้มันเป็นในลักษณะของทีมเวิร์ค คือมันไม่ใช่งานของผมร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่มันเป็นงานที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน แม้ว่าผมจะอยู่ในฐานะของคนเขียนบทแต่จริงๆ แล้วมันก็เกิดจากการทำงานของหลายๆ คนมาทำงานพร้อมกันทีเดียว ซึ่งจะมีการปรับอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เข้ากับเรื่อง
ความกดดันจากความคาดหวังของแฟนๆ ในการเขียนบทภาพยนตร์ครั้งนี้
นั่นคงเป็นเรื่องของคนที่ตั้งความคาดหวังครับ เพราะว่าเวลาผมทำงานผมก็จะทำงานให้ดีที่สุดในส่วนของผม ผู้กำกับฯ ก็ทำดีในส่วนของผู้กำกับฯ ผู้สร้างฉากก็ทำดีที่สุดในส่วนของเขา แล้วก็เป็นส่วนผสมกัน ถ้ามันลงตัวได้ร้อยเปอร์เซ็นต์งานก็ออกมาดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้ามันลงตัวได้แค่ระดับปานกลาง มันก็ออกมาระดับปานกลาง แต่โดยรวมผมว่ามันก็น่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ผมไม่รู้จะเป็นการคิดเข้าข้างตัวเองหรือเปล่า แต่ผมรู้สึกแน่ๆ ว่าจะไม่เสียดายค่าตั๋วร้อยกว่าบาทเพื่อมาดูหนังเรื่องนี้
แล้วเราจะได้เห็นการเขียนบทภาพยนตร์ของ วินทร์ เลียววาริณ อีกครั้งหรือไม่
มันก็อยู่ที่ว่าหนังเรื่องนี้จะเจ๊งหรือเปล่า? (หัวเราะ) อันนี้พูดเล่นนะครับ คือมันอยู่ที่ว่าต่อไปมันจะมีโปรเจ็คท์ที่น่าสนใจหรือเปล่า เราต้องยอมรับว่าเราไม่ได้ทำหนังตลาด ถึงแม้ว่าจะเป็นหนังแมส แต่ก็ไม่ใช่หนังตลาด คือเราไม่คิดจะทำหนังอย่างนั้นอยู่แล้ว เราคิดจะทำหนังอะไรที่มันแปลกออกไปหรือมีมุมมองที่สนุก เพราะเราไม่คิดจะเอาดีด้านทำหนังอยู่แล้ว ฉะนั้นเราก็ขอทำสิ่งที่เราชอบจริงๆ ดีกว่า
Southern yarns weave a rich tapestry
by KONG RITHDEE
Bangkok Post : Realtime
Friday September 19, 2008
'Legends and history are difficult to tell apart," says Win Lyovarin, "especially in the matter of the South."
When the respected writer - winner of the SEA-Write award for Prachathipatai Bon Sen Kanan (Democracy, Shaken & Stirred) and Sing Mee Cheewit Tee Riak Wa Khon - was contacted by Nonzee Nimibutr to put together scraps of ideas about pirates, Pattani and sea gypsy sorcery, Win set out researching the history that's as vibrant as it is elusive.
He ploughed through the menagerie of characters like the 16th century Sultan Bahadur Shah and his princesses - Hijau, Biru, Ungu, and Kuning - and delved into their kingdom's relationship with Dutch traders, Japanese samurais, Siamese politicians and Javanese robbers, as well as the pirates roaming the gulf.
Win also took favourite folk legends, chiefly by looking into the story of Lim Ko Niew, the Chinese woman who arrived in Pattani to look for her brother, Lim Kium, and ended up committing tragic suicide. This local yarn is, in turn, entwined with the legend of the unfinish-able Krue Se Mosque, the perpetually half-built masjid, symbolic of the scarred South, that stands next to the Lim Ko Niew Shrine in Pattani.
"All the characters in Queens of Langkasuka are based on real people," Win said. "But I devised their adventures that didn't strictly adhere to history. It's all over-the-top. It follows very much the narrative of martial arts movies."
In Win's script, Queen Hijau of Langkasuka (Jarunee Suksawad) finds her kingdom being threatened by a rogue prince who gangs up with a band of callous pirates, led by Black Raven (Vinai Kraibutr), who's trying to salvage the Dutch-built Great Cannons from the depths of the ocean. The Queen - whose sisters are Biru and Ungu - searches her land for a Chinese cannon master named Lim Kium, who studied the art of weaponry from a Dutch master.
Lim Kium, meanwhile, lives in a sea gypsy village and bonds with Pari (Ananda Everingham), a gifted sorcerer who's training in Du-lum, the ancient discipline of the sea folk, which will allow him to communicate with fish. The story will then criss-cross with Master White Ray (Sorapong Chatree), the Yoda of Du-lum wizardry who battles with Black Ray, another Du-lum master who has gone over to the dark side.
"Du-lum is a real practice, too," the writer says. "The sea people have known it for centuries. And even though in the script, I stretch its power to the level of fantasy, Du-lum is an art, like kam lang pai nai in Chinese movies, that's based on reality.
"The difficult part, however, was when I tried to piece together the history of the South during that period," Win adds. "There are not many Thai books on the subject, and hardly any historical records at all. I had to rely on books written in English and I consulted with Thai experts about the South. It's nothing new, though, that we do not have proper resources for one to study our own history."
As his fans know, Win is a serious writer who sometimes juggles modernist edges with honest sentiments. His best books have both the philosophical vision and the delicate drama of human follies. In his first scriptwriting foray, however, Win realises that his job is simply one of the tools in the mighty machine of moviemaking, that it's impossible for him to control much once his words have been transformed into visuals. It's the trust he has in the director, and vice versa, that made the collaboration possible despite all the necessary limits.
Yet Win believes that his three years of research could blossom into something more than a two-hour fantasy movie. Next month Win will release a historical novel, an extension from the story in Queens of Langkasuka, called Bu-nga Pari.
All the details that didn't make it into the script, and all the sidebar characters that made the history of the South so vibrant, will be featured in the more liberal form of the book, with Pari, the sea gypsy in the movie, as the main protagonist.
"You could say that it's a historical lesson written as a novel," he says. "I didn't want to waste all the stories I got from the research. There are so many things worth telling, from the palace intrigues to the international conflicts between Pattani and other kingdoms. The mood will certainly be more historical than the film."
But still, a book can hardly be more popular than a movie. Bu-nga Pari looks to be a richer experience than Queens of Langkasuka, but it won't enjoy the same hype. "Indeed, people do not read more, even though the figures show that there are more and more books being published," says Win matter-of-factly. "It's not easy being a writer here, not years ago when I first became a full-time writer, and not even now."
Open 2549
สัมภาษณ์โดย ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา
กรกฎาคม 2549
ในช่วงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ผ่านมา คุณวินทร์ เลียววาริณ คุณโตมร ศุขปรีชา คุณปราบดา หยุ่น และผม มีโอกาสนั่งสนทนาและรับประทานอาหารกันในบ่ายวันหนึ่ง ชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่าที่หัวข้อสนทนาเราพัวพันอยู่กับเรื่องในแวดวงหนังสือ ทั้งเกี่ยวกับคนอ่าน หนังสือ งานเขียน และการบริหารกิจการสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก
โดยส่วนตัว ผมคิดว่าบทสนทนาเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านในวงกว้าง ทอดเวลาผ่านไปหลายเดือน ผมจึงถือโอกาสชวนคุณวินทร์ เลียววาริณ นักเขียนรางวัลซีไรต์สองสมัย เจ้าของสำนักพิมพ์ขนาดเล็กที่พิมพ์เฉพาะหนังสือของตนเองเป็นหลัก กลับมาจิบกาแฟและสนทนาอย่างเป็นการเป็นงานอีกครั้ง
และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่คุณวินทร์ ซึ่งใช้ชีวิตส่วนหนึ่งในสิงคโปร์ ยอมเดินทางเข้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน หลังจากที่ก่อนหน้าพยายามทำตัวให้อยู่ห่างมาโดยตลอด เราเลือกร้านกาแฟในร้านคิโนะคูนิยะเป็นสถานที่พูดคุย คุณวินทร์สั่งช็อกโกแลตร้อนกับแซนด์วิช ผมสั่งคาปูชิโน เมื่อเครื่องดื่มเริ่มทำหน้าที่และการถ่ายรูปง่ายๆ ด้วยกล้องดิจิตอลเล็กๆ จบลง บทสนทนาหลังถ้วยกาแฟก็เริ่มต้นขึ้น
ถึงวันนี้คุณลาออกจากการทำงานประจำมาเป็นนักเขียนอิสระนานเท่าไรแล้ว (ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2549)
3 ปี 7 เดือน กับ 4 วัน
ทำไมจึงจำได้
เพราะว่าผมเริ่มวันที่ 1 มกราคม เมื่อ 3 ปีเศษที่แล้ว
ทำไมวันนั้นจึงตัดสินใจที่จะไม่ทำงานประจำต่อ
ผมทำงานโฆษณามาประมาณ 16-17 ปี และก็มีส่วนในบริษัทด้วย พอถึงจุดหนึ่ง เราคิดว่าจะเลิกกิจการโฆษณา พอถึงจุดที่ตัดสินใจว่าจะเลิกกิจการโฆษณา เราก็มานั่งดูว่าจะทำอะไรต่อ ก็มีคนชวนไปเปิดบริษัทโฆษณาใหม่ เราก็คิดว่านี่อาจจะเป็นอีกทางหนึ่งที่เราน่าจะลองดูก็ได้ สมมติว่าถ้าไปเป็นนักเขียนอาชีพอย่างที่เราเคยอยากจะเป็นมาแต่ไหนแต่ไร ดูซิมันจะทำได้หรือเปล่า ขอลองดูซักตั้งก่อน ถ้าไม่ได้จริงๆ ก็อาจจะต้องกลับไปวงการโฆษณาอีกครั้งหนึ่ง นั่นก็คือจุดตัดสิน เลยปิดบริษัทเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม วันที่ 1 ผมก็เลยเป็นนักเขียนอาชีพ
การที่จะมาเป็นนักเขียนอาชีพ เราต้องเตรียมการอะไรบ้างนอกเหนือจากงานเขียนที่มีอยู่แล้ว
ผมคิดว่าสำหรับประเทศไทยเรา เราต้องเตรียมการนานทีเดียว คือเราอยู่ดีๆ จะเป็นนักเขียนอาชีพนี่ค่อนข้างจะยากในทางเศรษฐกิจ แต่ถ้าคุณต้องการเป็นนักเขียนอาชีพเพราะว่าพ่อคุณรวยมาก ก็โอเค มันก็เป็นได้ทุกวัน
แต่ถ้าต้องการเป็นนักเขียนอาชีพที่อยู่ได้ด้วยการเขียนหนังสือจริงๆ มันน่าจะใช้ระยะเวลาปูพื้นฐานมานาน คือหนึ่ง เราต้องสร้างงานที่มีคนอ่านในระดับหนึ่ง อย่างน้อยกลุ่มหนึ่ง และจะต้องสร้างชื่อของนักเขียนขึ้นมาในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งมันต้องใช้ระยะเวลา มันไม่สามารถที่จะเขียนหนังสือมาหนึ่งปี แล้วก็เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง ทุกคนรู้จัก ทิศทางของการเขียนวรรณกรรมบ้านเราไม่ได้เป็นอย่างนั้น มันต้องเขียน... ผมคิดว่าน่าจะสิบปีขึ้นไป
คือถ้าคิดจะเขียนหนังสือในแนวแบบนี้เพื่อจะเป็นอาชีพ ผมคิดว่าน่าจะสิบปีขึ้นไป ให้ชื่อของนักเขียนเป็นที่รู้จักในกลุ่มคนอ่าน และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมีงานเขียนออกมาอย่างสม่ำเสมอ ให้เขารู้ว่าเรายังไม่ตาย
ถ้าทำอย่างนี้ได้ ผมคิดว่ามันก็อยู่ได้ เพราะกลุ่มนักอ่านวรรณกรรมบ้านเรามีประมาณซัก 10,000 คน คิดว่าตัวเลขนี้คงประมาณซัก 20 ปีได้แล้ว แต่ตัวเลขที่ active จริงๆ อาจจะไม่ถึงหมื่น มันแล้วแต่หนังสือ เพราะคนที่อ่านหนังสือวรรณกรรม ที่ยินดีจะควักเงินซื้อถ้าหนังสือดี ผมคิดว่า 10,000 คนน่าจะได้ แต่คนที่เป็นขาประจำจริงๆ อาจจะไม่ถึง
10,000 คนต้องซื้อเท่าไหร่เราถึงจะอยู่ได้ สามพันหรือห้าพัน ต้องระดับไหนจึงจะทำให้นักเขียนคนหนึ่งยืนระยะอยู่ได้
สามพันก็อยู่ยากอยู่แล้ว มันควรจะมากกว่านั้น วิธีการที่ผมทำก็คือ ในเมื่อเราอาศัยหนังสือต่อเล่มไม่ได้ เราก็ต้องอาศัยปริมาณเข้าว่า เพราะถ้าหากนักเขียนมีหนังสืออยู่ในมือมากกว่า 10 เล่มขึ้นไป โอกาสที่จะอยู่ได้มันก็สูงกว่าคนที่มีหนังสืออยู่ในมือประมาณ 1-2 เล่ม อย่างที่พี่ชาติ กอบจิตติ ปูทางมา ถ้าเรามีหนังสืออยู่ซัก 12 เล่ม เราพิมพ์ใหม่ปีละครั้ง เราก็อยู่ได้ในลักษณะที่ว่าเดือนละเล่ม เราก็เก็บตรงนั้นไป แต่ถ้าประเภทเขียนปีละเล่ม แล้วก็จะอยู่ได้ ผมว่ายากมากๆ ทุกวันนี้ผมทำงานปีละประมาณ 2-4 เล่ม เพื่อให้อยู่ได้
ซึ่งมันอาจบังคับให้เราต้องผลิตงานที่เน้นปริมาณด้วยหรือเปล่า
ไม่ ผมถือเป็นกฎของตัวเองว่าจะไม่ทำงานในเชิงปริมาณถ้าหากว่าคุณภาพไม่ได้ คือถ้าผมทำงานปริมาณได้ คุณภาพต้องไปด้วยกันกับปริมาณ ผมจะไม่ยอมเลย เพราะว่าการที่คุณทำงานห่วยออกมาชิ้นเดียวเท่านั้นเอง คุณฆ่างานของคุณที่เหลือหมดเลยทันที มันเร็วมาก นี่คือหลักตลาดธรรมดา คุณทำงานอย่างนั้นไม่ได้
เมื่อมาลองเป็นนักเขียนอาชีพช่วงเวลาหนึ่ง ผมก็มองเห็นว่ามันก็เป็นไปได้ที่จะทำได้ในปริมาณงานประมาณปีละ 3-4 เล่ม เพราะถ้าคุณทำงานอย่างที่ผมทำ คือผมทำงานเหมือนกับไปทำงานในบริษัทเลย ผมทำงานตั้งแต่เช้าถึงเย็น มี over time ด้วย ผมทำงาน 7 วัน ไม่มีวันหยุด
เพราะฉะนั้นด้วยปริมาณเวลาแบบนี้ ผมคิดว่าคุณทำงาน 3-5 เล่มได้อยู่แล้ว ถ้าหากคุณไม่ขี้เกียจ คุณสามารถทำได้ ถ้าเราดูตัวอย่างนักเขียนอื่นๆ ที่ทำงานแบบมืออาชีพ อย่างเช่นคุณกฤษณา อโศกสิน คุณทมยันตี เขาก็มีงานมากกว่านี้อยู่แล้ว แล้วเขาทำอย่างนี้มาตั้ง 20-30 ปี ไปดูเมืองนอก อย่างเช่น ไอแซก อาซิมอฟ เขาเขียนปีละ 10 เล่ม และเป็นหนังสือที่หนากว่าที่เราเขียนอีก
ถ้าเขาทำได้ ผมคิดว่าเราก็ทำได้ ถ้าหากเรามีวินัยในการทำงานและมีการจัดระเบียบตัวเองให้ดีพอ มันทำได้ เพราะผมไม่เชื่อในเรื่องที่ว่าจะต้องมีอารมณ์ก่อนจะเขียน
ปัญหาของนักเขียนอาชีพอยู่ตรงไหน
ปัญหาของนักเขียนอาชีพน่าจะอยู่ที่การตลาดมากกว่า คือการผลิตหนังสือนี่เป็นปัญหาของนักเขียน ว่าคุณจะผลิตหนังสือได้ดีและต่อเนื่องตลอดไปหรือเปล่า นั่นเป็นปัญหาของนักเขียน ไม่มีใครช่วยคุณได้ แต่ปัญหาของการอยู่รอดนี่เป็นปัญหาในเชิงเศรษฐกิจ คือทำอย่างไรจึงจะทำให้หนังสือที่เขียนไปแล้วมันขายได้ จุดนี้เป็นจุดที่ยาก เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าคนอ่านในบ้านเรามีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับสัดส่วน ประชากร และยอดพิมพ์ของเราก็น้อยเมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากร เราไม่มีวัฒนธรรมการอ่านวรรณกรรม
เพราะฉะนั้นนี่เป็นโจทย์ที่ยากมากที่จะทำให้นักเขียนอยู่รอดได้ในเชิง เศรษฐกิจ มันจะต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ มาช่วย ทั้งในเชิงการตลาดและในเชิงอื่นๆ ถ้าพูดถึงเรื่องการตลาด นักเขียนส่วนใหญ่ก็จะเบ้หน้าอยู่แล้ว คือไม่สนใจ มันไม่ใช่หน้าที่ที่นักเขียนจำเป็นจะต้องทำเรื่องแบบนี้ แต่ว่าถ้าต้องการอยู่รอดในเมืองไทย ก็อาจจะต้องทำบ้าง
ด้วยความเป็นนักเขียนอาชีพ แต่ต้องทำสำนักพิมพ์เอง คือต้องมารับภาระทางด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งด้านการตลาด อะไรคือปัญหาหลักๆ ของการเหยียบเรือสองแคมอย่างนี้
ผมไม่คิดว่ามันเป็นการเหยียบเรือสองแคม ที่ผมเปิดสำนักพิมพ์นี่ก็มาจากไอเดียที่พี่ชาติกอบจิตติ เสนอให้ทำ เขาบอกว่านักเขียนควรจะรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง ถ้าเราสามารถที่จะเปิดสำนักพิมพ์เพื่อดูแลงานของเรา ถ้าเกิดเล่มนั้นขายได้มาก เราก็จะได้เงินมากขึ้นมาหน่อย คือเราดูแลผลประโยชน์ตัวเอง ไม่มีใครมาโกงเราหรือว่ามาทำอะไรกับเรา เราทำในสิ่งที่เราต้องการเพียงอย่างเดียว
เพราะฉะนั้นนี่ก็เป็นด้านดีอีกด้านหนึ่งของการมีสำนักพิมพ์ของตัวเองที่จะมา ดูแลในส่วนนี้ คือถ้าเราขยันหน่อย เราก็ได้เงินเยอะหน่อย แต่ว่าข้อที่ยากก็คือ เราต้องไปจัดการเรื่องบัญชี การตลาด มันก็ไม่ถึงกับยากมาก เพราะว่าเราผลิตหนังสือของตัวเอง เราไม่ได้ผลิตหนังสือให้คนอื่น เพราะฉะนั้น เราก็ดูแลแค่ตัวเราเองปีละไม่กี่ครั้ง มันก็ยังเป็นสิ่งที่ทำได้อยู่ ไม่ใช่สิ่งที่ยากจนเกินไปที่จะทำ
อะไรคือสิ่งที่ต้องเผชิญหลังจากตัดสินใจออกมาเป็นนักเขียนอาชีพเต็มตัว อะไรเป็นความทุกข์ใหญ่หลวงของการเป็นนักเขียนอาชีพที่มีสำนักพิมพ์เป็นของตัวเอง
ผมคิดว่ามันอาจจะเป็นความรู้สึกไม่มั่นคงในวิชาชีพ เราไม่รู้ว่าเราจะมีไอเดียดีๆ ออกมาได้ตลอดเวลาหรือเปล่า และเราจะสามารถผลิตหนังสือออกมามากพอที่จะทำให้เราอยู่รอดได้ตลอดไปหรือ เปล่า ผมกลัวอย่างเดียวก็คือผมจะเจ็บป่วย และไม่สามารถที่จะเขียนหนังสือได้ อย่างนั้นจะเดือดร้อน คือมันไม่มีอะไรที่จะไปช่วยเราตรงนั้นได้เลย
เพราะฉะนั้นมันจึงต้องมานั่งป้องกันไว้ก่อนทุกอย่าง อย่างการเขียนหนังสือ เราก็พยายามที่จะเขียนหนังสือล่วงหน้า ผมเขียนหนังสือล่วงหน้าเป็นเวลาหนึ่งปี เพื่อจะเผื่อเวลาว่าถ้าผมเจ็บป่วยไปในช่วงเวลานี้ ปีหน้าผมก็ยังมีงานออกมา ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามรักษาร่างกายตัวเองให้มีสุขภาพดี เพื่อที่จะทำงานต่อไปได้ เพราะฉะนั้น มันเหมือนกับเปลี่ยนวิถีชีวิตเราไปส่วนหนึ่งด้วยเหมือนกัน เราต้องดูแลตัวเราเอง ขณะเดียวกันเราก็ต้องระวัง การใช้จ่ายต่างๆ ก็ต้องระวัง ไม่ใช่ฟุ่มเฟือยไปทุกอย่างเหมือนกับสมัยที่คุณทำงานประจำ
รายจ่ายส่วนใหญ่หมดไปกับอะไรครับ
รายจ่ายก็คือค่ากินอยู่ธรรมดา ปกติชีวิตนักเขียนมันก็สมถะอยู่แล้ว ผมเองก็ยิ่งสมถะยิ่งกว่านั้นอีก
อะไรคือความฟุ่มเฟือยของนักเขียนอย่าง วินทร์ เลียววาริณ
ผมเป็นคนที่ไม่มีความฟุ่มเฟือย เพราะว่าผมไม่ใช้สินค้าแบรนด์แนม ไม่ใช่เพราะว่าไม่มีเงินใช้ แต่ไม่ชอบจริงๆ รถราก็ไม่สนใจ ดูไปดูมาก็ไม่มีอะไรที่ทำให้เราอยากจะใช้เงินมากมาย มันเป็นภาระทางครอบครัวมากกว่า จะใช้จ่ายเงินส่วนใหญ่ไปทางนั้น
นักเขียนส่วนใหญ่หมดเงินไปกับการซื้อหนังสือ
ผมไม่คิดว่าการซื้อหนังสือเป็นการใช้จ่าย ผมมองว่าการซื้อหนังสือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง เพราะว่าเวลาเขียนหนังสือหนึ่งเล่ม เราต้องการข้อมูล ส่วนนั้นเป็นเงินที่เราลงทุนไป เมื่อเราได้รายได้จากการเขียนหนังสือเล่มนั้นมา มันก็คุมรายจ่ายตรงส่วนนั้นไป
เพราะฉะนั้นเวลาซื้อหนังสือสำหรับ research ผมจะซื้อเต็มที่เท่าที่ผมจะซื้อได้ เพื่อที่จะทำงานให้มันสำเร็จลุล่วงไป ไม่ได้ดูว่ามันเป็นของฟุ่มเฟือยอะไร
ปกติซื้อหนังสือประเภทไหนอ่านบ้าง
ก็ซื้อหนังสือทั่วๆ ไป ในเมืองไทยก็อ่านนิตยสารบางฉบับ อ่านหนังสือทั่วๆ ไปที่เราคิดว่ามันมีประเด็นอะไรที่น่าสนใจ เราก็เก็บเอาไว้ หนังสือฝรั่งก็จะอ่านหนังสือวิชาการค่อนข้างมาก ก็เดินดู เล่มไหนที่น่าสนใจก็ซื้อมาลองอ่านดู
วันหนึ่งคุณอ่านหนังสือกี่ชั่วโมง
วันหนึ่งอ่านหนังสือทั้งทำงานและอ่านหนังสือส่วนตัวก็ประมาณสักสองชั่วโมงน่าจะได้
ใช้เวลาช่วงไหนอ่านหนังสือ
ก็ทั้งวัน คือบางช่วงเราต้องค้นคว้า ก็เป็นช่วงเวลาที่เราอ่านไปแล้วก็นั่งเขียนไป ส่วนช่วงเวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาที่เราอ่านเพื่อตัวเอง เป็นการอ่านหนังสือที่ตัวเองอยากจะอ่าน ไม่ใช่หนังสือที่จะต้องอ่าน
นักเขียนบางคนเขียนหนังสือตอนดึกๆ ได้ดี บางคืนต้องตื่นเช้ามาเขียน คุณมีเวลาที่เหมาะสมในการสร้างสรรค์หรือเปล่า
เวลาดีของผมน่าจะเป็นเวลาเช้าตรู่ คือเวลาที่ตื่นนอนขึ้นมาแล้วก็เขียนหนังสือ สมองมันจะสดชื่น เพราะฉะนั้น ไอเดียต่างๆ ที่ออกมามักจะเป็นเวลาเช้า ส่วนช่วงบ่ายจะเป็นการทำงานให้มันลุล่วงไปมากกว่า แต่ว่าจริงๆ แล้วผมก็ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาอยู่แล้ว คือฝึกตัวเองให้ทำอย่างนั้นมานาน
มีช่วงอายุที่รู้สึกว่าเราคิดได้ดีหรือเปล่า คือบางคนตอนหนุ่มๆ เขียนได้ดี บางคนพอเริ่มสูงวัย ประสบการณ์ชีวิตเยอะขึ้นกลับเขียนหนังสือได้ดีขึ้น
ผมไม่แน่ใจว่าอายุมากขึ้นมันจะดีขึ้นหรือว่าจะแย่ลง เพียงแต่หวังว่ามันจะดีขึ้น แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีปัญหาเรื่องนี้ คือความคิดความอ่านมันก็ยังไปได้อยู่ ตราบใดที่เราไม่มีอะไรมารบกวนจิตใจ และร่างกายอยู่ในสภาพโอเค มันก็จะเขียนได้ มีความคิดออกมาเสมอ
หลายๆ ปีที่ออกมาทำธุรกิจหนังสือเอง คุณเห็นอะไรเป็นปัญหาใหญ่ๆ ของตลาดหนังสือไทยบ้าง
บ้านเราไม่มีวัฒนธรรมการอ่าน เพราะฉะนั้นการอ่านหนังสือแต่ละเล่มบางทีมันก็เป็นเรื่องของแฟชั่นไป เช่น หนังสือที่ขายดีส่วนใหญ่ก็จะขายดีเพราะว่ากระแสสังคมมันพาไป มันไม่ใช่เพราะว่าคนมีนิสัยรักการอ่านแล้วเดินเข้าไปในร้านหนังสือเพื่อจะ พลิกดูหนังสือที่น่าสนใจ หรือเดินเข้าร้านหนังสือทุกๆ อาทิตย์
นักอ่านที่เป็นกลุ่มวรรณกรรมจริงๆ มันก็มี แต่ว่ากลุ่มนั้นก็ยังเล็ก เพราะฉะนั้นสิ่งที่นักเขียนอาชีพทำก็คือ อันดับแรก จะทำอย่างไรให้คนอ่านรู้ว่ามีตัวตนของเราและมีหนังสือที่เราเขียนอยู่ ในส่วนนี้ที่ผมลองทำก็อย่างเช่น ทุกครั้งที่มีหนังสือใหม่ออกมา เราก็จะส่งหนังสือไปตามสื่อ แล้วก็หวังว่าสื่อจะช่วยตีพิมพ์หรือช่วยโปรโมตหนังสือให้ แต่ในทางปฏิบัติมันก็แทบจะไม่มีผลอะไรเลย เพราะว่าหนังสือที่ออกใหม่มันวันละ 30 ปก โอกาสที่เราจะได้ลงสื่อและมีคนรู้จักมันน้อยมาก เพราะฉะนั้นเราก็ต้องหาทางอื่น
ผมคิดว่าถ้าเราสามารถที่จะสร้างตัวเราเองให้เป็นนักเขียนที่มีคุณภาพ เสมอต้นเสมอปลาย นั่นเป็นจุดหนึ่งที่เขาเรียกว่าเป็นการตลาดในระยะยาว คือคนอ่านเขาจะมาหาหนังสือของคุณเอง โดยที่คุณไม่ต้องไปลงสื่อมากมายอะไร
ในบ้านเรา ผมคิดว่าถ้าเราจะอยู่ได้ เราต้องจับกลุ่มนักอ่านของเราให้ชัดเจนว่ากลุ่มไหนที่อ่านหนังสือของเรา คือเราไม่ต้องหวังใหญ่โตอะไร โอกาสที่นักเขียนจะรวยจากประเทศนี้ค่อนข้างจะยากอยู่แล้ว เราเพียงแต่รักษาฐานนักอ่านของเราให้มั่นคงที่สุด คือเราไม่ทรยศกับนักอ่านกลุ่มนี้ เราเขียนในสิ่งที่เราคิดว่าดีที่สุด เราให้เขาในสิ่งที่ดีที่สุด ในราคาที่เหมาะสมที่สุด และรักษากลุ่มนักอ่านนี้ให้มั่นคงสุดชีวิต
ถ้าทำอย่างนั้นได้ ผมก็คิดว่าคุณอยู่ได้ มีนักเขียนในต่างประเทศหลายคนทีเดียวที่เขาทำแบบนี้ ก็คือทุกๆ ปีเขาจะออกหนังสือมาในเดือนใดเดือนหนึ่ง คล้ายๆ กับเป็นยี่ห้อไปเลยว่าถ้าเดือนนี้ล่ะก็หวังได้เลยว่าจะมีหนังสือเล่มใหม่ของ นักเขียนคนนี้ออกมา คือถ้าสม่ำเสมอขนาดที่คนรู้ว่าจะต้องมีอะไรออกมาในเดือนนี้ ก็จะมีคนติดตาม มันก็อยู่ได้ในระดับหนึ่ง
เว็บไซต์ช่วยอะไรได้บ้างในเชิงการตลาด
เว็บไซต์เป็นการสื่อสารระหว่างคนเขียนกับคนอ่าน ผมไม่แน่ใจว่ามันจะช่วยในเรื่องการตลาดมากน้อยแค่ไหน แต่ผมคิดว่ามันก็อาจจะช่วยเปิดโลกให้คนใหม่ๆ ที่ไม่เคยอ่านหนังสือของเราให้เข้ามาลองดูก็ได้ เป็นการทดลองเท่านั้นเอง ผมไม่แน่ใจว่ามันจะพอไปได้หรือเปล่า เพราะที่ผ่านมามันก็เป็นแค่สังคมเล็กๆ สังคมหนึ่งที่คนที่รักหนังสือมาคุยกัน แต่ถ้าพูดถึงการซื้อขายหนังสือในเว็บ มันก็ยังไม่ได้ผลในเชิงเศรษฐกิจ
วันหนึ่งใช้เวลากี่ชั่วโมงในการคุยกับคนที่เขียนกระทู้เข้ามาในเว็บ
ตอนนี้ผมใช้เวลาประมาณสองชั่วโมงต่อวัน จากเดิมที่ใช้เวลา 10-15 นาที
เพราะอะไร ทำไมมันจึงเพิ่มขึ้น
เพราะเราต้องเขียนบทความลงในเว็บไซต์เป็นประจำทุกอาทิตย์ สลับกับการตอบคำถามคนที่เขียนเข้ามา และต้องอ่านอีกว่ามีอะไรเกิดขึ้นในโลกวรรณกรรมในวันนั้นๆ มันก็เป็นเวลาที่ถือว่าเป็นการพักผ่อนของเรา คือพูดคุยกับคนอื่น เพราะว่าเราเขียนหนังสืออยู่ที่บ้านคนเดียวก็เหมือนอยู่ในคุก คือไม่เจอใครเลย เพราะฉะนั้นการที่ไปสื่อสารกับคนอื่นก็เป็นการปลดปล่อยอารมณ์อย่างหนึ่งเหมือนกัน
นักเขียนบางคนชอบเดินทาง คุณเป็นคนที่ชอบเดินทางหรือเปล่า
ผมเคยชอบเดินทาง แต่พออายุมากขึ้นก็เริ่มจะรักความสบายมากกว่า ถ้าเดินทางก็คงเป็นการเดินทางแบบที่มันสบายหน่อย ไม่ค่อยชอบทรมานตัวเองเท่าไหร่ตอนนี้ ประเภทที่ไปเดินป่า ไปนอนกลางดินกินกลางทราย ก็คงจะลดน้อยลงเมื่อเทียบกับสมัยก่อน แต่ว่าการหาข้อมูลก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นในรูปแบบของการเดินทางเสมอไป คือเราก็พยายามอ่านหรือคุยกับคนอยู่ตลอดเวลาว่ามีอะไรเกิดขึ้นในโลกบ้าง อ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษทุกวัน วันละสองสามฉบับ ตามข่าวต่างประเทศตลอดเวลา
แสดงว่าประสบการณ์ตรงอาจไม่จำเป็นเสมอไปสำหรับการสร้างสรรค์งาน
จะพูดอย่างนั้นก็ได้ มีคนพูดในประเด็นนี้มานานแล้วว่าประสบการณ์ตรงจำเป็นแค่ไหน ผมคิดว่าประสบการณ์ตรงถ้ามีก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ในฐานะนักเขียนอาชีพ บางทีเราไม่สามารถที่จะได้ประสบการณ์ตรงตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ผมต้องการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่เป็นอนาคตกาล ผมก็คงไม่สามารถที่จะหาประสบการณ์ตรงเพื่อจะเป็นพื้นฐานในการเขียนนิยาย เรื่องนั้นได้ มันเป็นอะไรบางอย่างที่เราต้องศึกษาผ่านปัจจัยอย่างอื่น
ผมเพียงแต่คิดว่านักเขียนน่าจะมีความสามารถที่จะรับรู้หรือเรียนรู้ ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณมากกว่า คือเข้าใจความเป็นไปของมนุษย์ เข้าใจโลกชัดเจนขึ้น ถ้ามุมมองต่อโลกและสังคมมันชัดเจน ผมคิดว่าก็น่าจะเขียนหนังสือได้ดีในระดับหนึ่ง คือมันเขียนเพื่อความเข้าใจด้วย ที่เหลือมันเป็นจินตนาการที่เราใส่เข้าไปในหนังสือ
แต่งานเขียนในลักษณะวรรณกรรม ถ้าขาดประสบการณ์ตรงในบางแง่มุม มันจะทำให้จิตวิญญาณของงานเขียนมันลดทอนลงไปบ้างหรือเปล่า
อันนี้มีส่วนจริง เพราะถ้าคุณให้ผมเขียนเรื่องที่เกิดขึ้นในภาคใต้บ้านเราตอนนี้ โอกาสที่ผมจะเขียนได้ดีคงจะยากกว่าคนที่เจอประสบการณ์โดยตรง แต่นั่นไม่ได้แปลว่าผมไม่สามารถเขียนเรื่องแนวนี้ได้เลย เพราะผมคิดว่าประสบการณ์ทางชีวิต ทางอารมณ์ ทางสังคม มันสามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ชีวิตของเราที่อยู่ในเมืองหลวง การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาตลอดเวลา มันก็เป็นส่วนที่จะช่วยทดแทนประสบการณ์ตรงที่เราอาจจะไม่เจอ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเราค้นคว้าได้ลึกพอ มันก็ยังพอช่วยทดแทนได้บ้าง
ส่วนใหญ่คุณทำอย่างไร ค้นคว้าหรือพยายามเลี่ยงที่จะไม่เขียนอะไรที่มันอยู่นอกลู่ของวิถีชีวิต
ผมไม่ได้มีกฎว่าจะเขียนในเรื่องที่ตัวเองไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์จริง เพียงแต่ถ้าอยากจะเขียนในประเด็นนั้น ผมก็ต้องค้นคว้าหนัก แต่ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าจะไม่เขียนเรื่องที่เราไม่รู้จริงๆ เพราะอย่างที่ผมพูดในหนังสือบางเล่ม คือบางครั้งผมเขียนเพราะว่าผมไม่รู้ และผมก็ใช้การเขียนเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง
ในชั่วโมงนี้ อะไรคือความท้าทายในเชิงงานเขียนของคุณ
ตอนนี้สิ่งที่ทำอยู่ก็คือ ผมจะทำงานในโจทย์ที่ตัวเองสนใจและชอบ ความท้าทายคือทำมันให้สำเร็จออกมาให้ได้ โจทย์นี้เป็นโจทย์ที่บางทีมันลอยขึ้นมาในอากาศ เป็นโจทย์อะไรบางอย่างที่ฟังดูเป็นไปไม่ได้ หรือว่าเป็นสิ่งที่มันบ้า หรืออะไรซักอย่าง และผมก็จะลองดู นี่คือความสนุกของการเขียน
คือผมคิดว่าถ้าผมต้องมานั่งเขียนหนังสือ หากินกับการเขียนหนังสือแล้ว ผมควรจะสามารถกำหนดประเด็นที่ผมอยากจะเขียน เป็นประเด็นที่ผมรู้สึกสนุกกับมัน ไหนๆ ต้องทรมานตัวเองนั่งเขียนตั้งแต่เช้าถึงเย็น ก็ควรจะเขียนในสิ่งที่ผมอยากจะเขียน
ในรุ่นของคุณ ดูเหมือนจะเป็นช่วงที่วงการวรรณกรรมหรือวงการนักเขียนไทยมีคุณผุดขึ้นมาคน เดียว มันเหมือนไม่มีแวดวงในช่วงนั้นรองรับอยู่ คุณรู้สึกอย่างไร
ผมไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนเดียวที่ผุดขึ้นมาในเพื่อนพ้องในรุ่นเดียวกัน มันอยู่ที่ว่านักเขียนแต่ละคนเขามีวิถีชีวิตอย่างไร และเขาจะมีเป้าหมายในอาชีพนักเขียนอย่างไร เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จำเป็นจะต้องเขียนหนังสือปีละสามสี่เล่มอย่างที่ผมทำ แต่เขาก็มีความสุขกับการเขียนหนังสือวันละเล็กวันละน้อยของเขาเหมือนกัน ซึ่งเราจะบอกว่าเขาไม่ผุดขึ้นมาก็ไม่ใช่ เพราะว่าเขาก็มีตัวตนของเขาในอีกรูปแบบหนึ่ง
ผมเพียงแต่คิดว่าผมอยากจะได้ทั้งเงินทั้งกล่อง พูดง่ายๆ คือเขียนงานที่ดีที่สุดเท่าที่ผมทำได้ ผมอยากจะอยู่ได้จากอาชีพนี้ และถ้าเป็นไปได้ ผมอยากจะรวยจากอาชีพนี้ได้ด้วยซ้ำไป ซึ่งยังดูรางเลือนอยู่ในตอนนี้ ผมคิดว่าถ้าผมทำงานได้ดีมากๆ ผมก็ควรจะรวยได้จากสิ่งที่ผมทำไม่ใช่หรือ ก็เหมือนกับเราทำขนมอร่อยๆ ขึ้นมาซักยี่ห้อหนึ่ง เราก็ควรจะรวยได้
อะไรคือความทะเยอทะยานสูงสุดของการเป็นนักเขียนอาชีพในประเทศไทย
จริงๆ แล้วผมไม่ได้คิดไกลถึงขนาดนั้น ทุกวันนี้ถ้าอยู่รอดไปอีกสักหนึ่งปีก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว ถ้าพูดถึงนาทีนี้ ผมก็ถือว่าประสบความสำเร็จทีเดียวที่สามารถอยู่รอดมาได้เกือบสี่ปีแล้ว คือในวันแรกที่เป็นนักเขียนอาชีพ ผมไม่คิดว่าจะมาได้ไกลขนาดนี้ ไม่แน่ใจเลยว่าจะอยู่รอดได้หรือเปล่า
อะไรทำให้ยืนระยะอยู่ได้นานขนาดนี้
ผมคิดว่าการทำงานหนักเป็นเรื่องหนึ่ง และการวางแผนการทำงานอย่างรอบคอบก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เราทำงานอย่างมีวินัยอย่างสูง ซึ่งผมคิดว่าวินัยเป็นคนละเรื่องกับความคิดสร้างสรรค์ ผมคิดว่า ถึงแม้ว่าเราจะมีวินัยสูงสุดก็มีความคิดสร้างสรรค์ได้ มันคนละเรื่องกัน
ถ้านับจากเริ่มเขียนงานลงตีพิมพ์จนถึงทุกวันนี้ เป็นเวลาประมาณกี่ปีแล้ว
ก็น่าแปลกนะ ปีนี้เป็นปีที่ผมบังเอิญมานั่งคำนวณดูว่าผมเขียนหนังสือมานานเท่าไหร่แล้ว ปรากฏว่าปีนี้เป็นปีที่ 20 ที่ผมเขียนหนังสือแล้ว ผมเริ่มเขียนตอนที่ผมกลับมาจากต่างประเทศในปี 2529 ก็ครบยี่สิบปีพอดี
20 ปีของการเขียนหนังสือจนออกมาเป็นนักเขียนอาชีพ ทำสำนักพิมพ์ของตัวเอง เห็นความเปลี่ยนแปลงของวงการวรรณกรรมและวงการธุรกิจหนังสือในเมืองไทยอย่างไรบ้าง
วงการธุรกิจเกี่ยวกับหนังสือมันขยายตัวมากขึ้น แต่ว่านั่นไม่ได้แปลว่าคุณภาพของนักอ่านดีขึ้น ไม่ได้แปลว่าเรามีวัฒนธรรมการอ่านที่น่าพอใจ หนังสือที่มันมีมากขึ้นทุกวันนี้ มันเป็นธุรกิจล้วนๆ เรียกว่า 95 เปอร์เซ็นต์เป็นธุรกิจก็ว่าได้ คือหนังสือเพื่อปัญญาจริงๆ หรือว่าคนที่ทำงานด้วยจิตวิญญาณของคนทำหนังสือจริงๆ นี่ผมคิดว่ายังมีน้อยอยู่ ผมคิดว่าเราควรจะมีนโยบายของรัฐที่จะทำให้คนบ้านเรามีวัฒนธรรมการอ่านที่ดีกว่านี้
แล้วในวงการวรรณกรรมหรือวงการนักเขียนบ้านเรา
วงการนักเขียนก็ไม่ต่างจากยี่สิบปีที่แล้วเท่าไหร่ มันก็ยังคล้ายๆ เดิมอยู่ เรามีนักเขียนหน้าใหม่ขึ้นมาจำนวนมาก และก็มีแนวการเขียนใหม่ขึ้นมามากพอสมควร แต่ผมก็คิดว่ายังไม่กว้างพอ ยังไม่หลากหลายพอ คือถ้าเราดูหนังสือแต่ละแนวในบ้านเรา ถือว่ายังแคบอยู่ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าผมบอกว่าผมจะไปอ่านหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์ที่เขียนโดยคนไทย คุณสามารถไปดูได้เลยว่ามันหาได้น้อยมาก คือคนที่เขียนนิยายวิทยาศาสตร์จริงๆ จังๆ ในเมืองไทยนี่ ผมคิดว่าอาจจะมีน้อยกว่าสิบคน หรืออาจจะน้อยกว่าห้าคนด้วยซ้ำไป ยังไม่ต้องพูดถึงแนวอื่น เช่น แนวสืบสวนสอบสวน หรือแนวปรัชญา หรือแนวที่เป็นวิทยาศาสตร์เพื่อประชาชน ถือว่าน้อยมาก
ดูเหมือนว่าทุกคนจะเฮไปทำงานจุดใดจุดหนึ่งกันเสียมากกว่า ทั้งๆ ที่ยังมีพื้นที่ให้เราลงไปเหยียบอีกมากมาย
ในรอบ 10-20 ปีที่ผ่านมา มีปรากฏการณ์ใดๆ หรือไม่ที่ดูจะเป็นความหวังหรือเป็นมิติใหม่ให้กับวงการวรรณกรรมหรือวงการนักเขียนบ้านเราได้
ผมคิดว่าการที่เรามีค่ายใหญ่ๆ ลงมามากขึ้น มีร้านหนังสือมากขึ้น มันก็เป็นปรากฏการณ์ที่ถ้าจะพูดไปแล้วก็ดี คือแทนที่จะเอาเงินไปลงทุนในธุรกิจอื่น แต่เอามาลงทุนในร้านหนังสือ มันก็เป็นธุรกิจที่ดี เป็นการเปิดตลาด แต่ถ้าถามว่าดีพอที่จะทำให้เราพอใจได้หรือเปล่า ก็ยัง มันยังไม่ถึงขนาดว่าจะเห็นปรากฏการณ์ใดที่เรารู้สึกว่ามันดีมาก
อีกปรากฏการณ์หนึ่งที่น่าสนใจคือ ปรากฏการณ์ที่มีหนังสือแปลจากต่างประเทศเข้ามาในบ้านเราจำนวนมาก ผมมองว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ดี คือผมคิดว่ามันเป็นการบีบบังคับให้นักเขียนบ้านเราต้องทำงานหนักขึ้น ชอบหรือไม่ชอบเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่ามันมาแล้ว และเราต้องทำเพื่อจะทำให้เราอยู่รอดได้ในประเทศ
อีกจุดหนึ่งก็คือ ผมคิดว่ามันน่าจะทำให้เราสามารถที่จะมองโลกที่เป็นโลกจริงๆ คือแปลว่าสังคมมันกว้างขึ้น โลกาภิวัตน์มันอยู่ในอากาศอยู่แล้ว สิ่งที่นักเขียนมอง มันดูเหมือนจะเป็น global เป็น scale ขนาดใหญ่มากขึ้น แปลว่าเวลาเราเขียนหนังสือในวันนี้ เราต้องคิดเลยว่าเราไม่ได้เขียนหนังสือให้เฉพาะคนไทย 5,000-10,000 คนอ่าน มันมีความเป็นไปได้ว่าเราเขียนหนังสือให้คนทั้งโลกอ่านด้วยซ้ำไป มันอาจจะเป็นทิศทางที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคตก็ได้ ณ วันนี้อาจจะเห็นไม่ชัดเจน
แสดงว่าวันนี้นักเขียนไทยไม่ได้แข่งกับตัวเอง และก็ไม่ได้แข่งกับนักเขียนไทยเท่านั้นอีกต่อไปแล้ว
แนวโน้มมันเป็นอย่างนั้น แต่ในความเป็นจริงก็คือ ผมคิดว่าเราก็ยังทำงานเพื่อตัวเราเองอยู่
กระแสการเปิดเสรีทางวรรณกรรมที่มาพร้อมกับโลกาภิวัตน์ มันจะทำให้วิธีการเขียนของนักเขียนที่อยู่ในท้องถิ่นเปลี่ยนไปหรือเปล่า
ข้อนี้ผมไม่แน่ใจ แต่โดยส่วนตัวผมไม่คิดว่าเราควรจะเปลี่ยนไปเพราะสังคม หมายถึงเปลี่ยนไปเพื่อจะเอาใจตลาดต่างประเทศ หรือเปลี่ยนไปเพื่ออะไรซักอย่าง ผมคิดว่าเราก็ยังคงสามารถสะท้อนปัญหาสังคมบ้านเราหรือวัฒนธรรมประเพณีของเรา ได้เหมือนเดิม เพียงแต่ว่าตลาดมันอาจจะกว้างขึ้นกว่าเดิมเท่านั้นเอง
นักเขียนไทยชอบบ่นกันว่าคนอ่านวรรณกรรมน้อยลง แต่ส่วนใหญ่มักจะวิจารณ์หรือวิเคราะห์กันไปว่าเป็นเพราะว่าคนให้ความสนใจ วรรณกรรมน้อยลง คือไปมองที่ภายนอก ไม่ได้มองที่งานเขียน แต่การวิจารณ์อีกด้านหนึ่งก็คือ นักเขียนส่วนหนึ่งก็ปรับตัวไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม คุณมองความสัมพันธ์นี้อย่างไร
ผมคิดว่ามันน่าจะเป็นกรณีหลังมากกว่าที่นักเขียนอาจจะปรับตัวไม่ทันกับสังคม คือมันดูเหลือเชื่อเกินไปที่ประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี แต่จำนวนนักอ่านน้อยลง ขณะที่ร้านหนังสือเพิ่มขึ้น ตลาดสิ่งพิมพ์ขยายตัวขึ้น มันดูแย้งกัน
ผมคิดว่าเรื่องนี้ต้องอาศัยหลายๆ ฝ่ายมาช่วยเหลือกัน ตั้งแต่นโยบายรัฐถึงเอกชน คือถ้าเรามองเรื่องนี้เป็นเรื่องของการตลาดเหมือนกับสินค้าอื่นๆ มันเป็นหน้าที่ของผู้เล่นรายใหญ่ที่จะช่วยขยายตลาด คือเราไม่ควรที่จะมาแบ่งเค้กก้อนเดียวกัน แย่งกันจะเป็นจะตาย เราควรจะขยายเค้กก้อนนั้นให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แปลว่านโยบายของรัฐก็ควรจะขยายนักอ่านให้มากขึ้น ไม่ว่าคุณจะบีบบังคับให้ห้องสมุดซื้อหนังสือเข้าไปให้เต็มที่ที่สุด หรือสร้างวัฒนธรรมการอ่านผ่านอะไรซักอย่างหนึ่ง เพื่อจะขยายจำนวนคนอ่านให้มากขึ้น
แต่ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทำอย่างนั้นหรือเปล่า เปล่า เพราะเราก็เห็นว่านโยบายรัฐไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ชัดเจนขนาดนั้น ครูบาอาจารย์ก็ไม่ได้อ่านหนังสือมากมายขนาดนั้น และหนังสือที่ผู้ใหญ่ในปัจจุบันแนะนำก็เป็นหนังสือในแนว how to มากกว่าในแนวอื่นๆ คือเราไม่ได้แนะนำให้คนอ่านหนังสือในแนวที่หลากหลายมากขึ้น นักเรียนจำนวนมากไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีหนังสือประเภทนี้อยู่ในโลก
เพราะฉะนั้นนี่จึงเป็นจุดที่เราต้องขยายเค้กก้อนนี้ให้มันใหญ่ขึ้น ส่วนหน้าที่ของนักเขียนก็คือ ทำอย่างไรให้เค้กมันมีรสชาติดีที่สุดเท่านั้นเอง ไม่ใช่หน้าที่ของนักเขียนที่จะต้องมาขยายตลาด ไม่ใช่หน้าที่ของผมที่จะต้องมาขยายตลาด
วัฒนธรรมการอ่านสร้างกันอย่างไร
ข้อนี้ผมตอบไม่ได้จริงๆ เมื่อสี่สิบปีที่แล้วมันอาจจะสร้างง่ายมากกว่านี้หลายสิบเท่า เพราะว่าตอนนี้มีสื่อต่างๆ อยู่ในบ้านเราเยอะแยะไปหมด มีอินเทอร์เน็ต มีโรงหนังเพิ่มขึ้นมาไม่รู้กี่สิบกี่ร้อยโรง มีสื่อต่างๆ ที่แย่งความสำคัญของหนังสือไป เพราะฉะนั้นการสร้างวัฒนธรรมการอ่านนี่ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายเลย
ผมคิดว่ามันควรจะเริ่มจากครอบครัวเป็นอันดับแรก แต่ปัญหาหลักก็คือ ทำอย่างไรถ้าหากพ่อแม่ไม่อ่านหนังสือ เพราะว่าถ้าพ่อแม่ไม่อ่านหนังสือ โอกาสที่ลูกจะอ่านหนังสือก็ยากมาก ถ้าพ่อแม่เดินเข้าห้างแล้วไม่เดินเข้าร้านหนังสือ โอกาสที่ลูกจะเดินเข้าร้านหนังสือก็ยากเหมือนกัน เพราะฉะนั้นสิ่งนี้มันต้องปลูกฝังตั้งแต่ระดับเล็กๆ ซึ่งเรื่องนี้ก็อย่างที่ว่า มันเกี่ยวกับนโยบายระดับสูง
คุณใช้ชีวิตส่วนหนึ่งในสิงคโปร์ วิธีการสร้างวัฒนธรรมการอ่านของเขาเป็นอย่างไร
ที่ผมพูดเรื่องนโยบายรัฐก็เพราะผมเห็นตัวอย่างจากสิงคโปร์ มันชัดเจนมาก สิงคโปร์เป็นประเทศซึ่งเน้นปัญญา เพราะเขาไม่มีทรัพยากร มันจึงจำเป็นต้องเน้นปัญญา สิงคโปร์เป็นประเทศที่เน้นในเรื่องเทคโนโลยี แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ทำไมประเทศที่เน้นเทคโนโลยีและเน้นปัญญาเขาจึงสร้างห้องสมุดใหญ่โตมโหฬาร มีหนังสือมากมายมหาศาล ห้องสมุดติดแอร์ฯ มีสวนหย่อมอยู่ในห้องสมุด คุณยืมหนังสือจากห้องสมุดแห่งหนึ่ง คุณสามารถนำไปคืนได้ที่ห้องสมุดอีกแห่งหนึ่ง และลักษณะของการเน้นให้ประชาชนอ่านหนังสือมันทำงานอย่างเต็มที่ ทำไม ก็แสดงว่าเขาเห็นประโยชน์ของมันอย่างชัดเจนว่าหนังสือเป็นแหล่งภูมิปัญญา อย่างหนึ่ง นอกเหนือจากสื่ออื่นๆ
จุดนี้เป็นนโยบายระดับสูง คือถ้าเราสามารถสร้างคนหรือประชาชนให้มีวัฒนธรรมการอ่านที่ดีพอ อ่านหนังสืออย่างหลากหลายพอ เราจะได้สังคมที่มีคุณภาพดีขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่อาจจะไม่ได้ในวันนี้ นั่นคือสิ่งที่อาจจะไม่เกิดขึ้นในบ้านเรา เพราะว่านโยบายต่างๆ ในบ้านเราจะเป็นนโยบายระยะสั้น คือถ้าเขารู้ว่าการทำให้ประชาชนอ่านหนังสือมากขึ้น ส่งผลให้สังคมดีขึ้นในอีกยี่สิบปีข้างหน้า ก็ไม่มีใครสนใจที่จะทำ เพราะว่ามันไม่ได้คะแนนเสียงจากการทำแบบนี้ มันไม่เห็นผลลัพธ์ทันทีทันควันอย่างที่ต้องการ สู้เอาเงินไปโปรยให้ชาวบ้านในวันเลือกตั้งไม่ได้ อย่างนั้นดูจะดีกว่า
เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน การสร้างห้องสมุดจำนวนมากยังไม่พอ มันต้องเติมหนังสือให้เต็มห้องสมุดด้วย ไม่ใช่แค่ว่ามีห้องสมุดมากแล้วเป็นสัญลักษณ์ว่าประเทศเจริญแล้ว เปล่า ไปดูหนังสือในห้องสมุดก็เก่ามาก บรรณารักษ์จะเขียนจดหมายมาหาผมอยู่เป็นประจำเพื่อจะขอหนังสือ
โดยคิดว่าหนังสือนั้นเราได้มาฟรี
คือผมก็อยากจะให้ แต่ว่าผมก็ไม่มีปัญญาที่จะให้ได้มาก
คุณก็เลยคิดทำโครงการห้องสมุด โครงการห้องสมุดของคุณเป็นอย่างไร
ผมทำโครงการชื่อ เติมหัวใจใส่ห้องสมุด เป็นโครงการที่จะบริจาคหนังสือใหม่เอี่ยมเข้าห้องสมุด เพราะหนังสือที่บริจาคเข้าห้องสมุดในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือเก่า นอกจากนี้เราเห็นว่าหนังสือที่พิมพ์ในบ้านเราส่วนใหญ่พิมพ์ในจำนวนน้อย เช่น 3,000 เล่ม 5,000 เล่ม ซึ่งกระจายอยู่แถวเมืองหลวงก็หมดแล้ว โอกาสที่คนในต่างจังหวัดไกลๆ ซึ่งถึงแม้จะมีเงิน แต่ก็หาซื้อหนังสือยาก เราก็คิดว่าถ้าสามารถที่จะเอาหนังสือใหม่เอี่ยมที่คนในเมืองหลวงได้อ่านส่ง ไปยังหัวเมือง โดยที่เขาสามารถอ่านได้ในเวลาเดียวกัน และเป็นหนังสือใหม่เอี่ยมในเดือนนั้นเลย มันก็น่าจะเป็นการช่วยส่งเสริมปัญญาในระยะยาวได้
เราทำมาสี่ปีแล้ว บริจาคหนังสือไปก็หลายล้านบาท วิธีการทำงานที่ผมทำก็คือ ทุกครั้งที่พิมพ์หนังสือใหม่หรือหนังสือที่เราคิดว่าน่าจะบริจาคให้ห้องสมุด เราจะพิมพ์หนังสือมากกว่าเดิม อาจจะเป็นเท่าหนึ่ง และหนังสือส่วนที่เกินมาเราจะหาสปอนเซอร์มารับภาระตรงส่วนนี้ในราคาต้นทุน คือไม่คิดค่าใดๆ ทั้งสิ้น ต้นทุนล้วนๆ แล้วให้กระทรวงศึกษาฯนำหนังสือเล่มนี้ส่งต่อเข้าห้องสมุดทั่วประเทศ
ก็มีสปอนเซอร์ที่ไม่หวังกำไรมากมายอะไรมาช่วยกัน รายละหมื่น สองหมื่น สามหมื่น แล้วก็รวมๆ กัน ได้เงินเท่าไหร่ก็ทำเท่านั้นไป ก็เป็นสิ่งที่คิดว่าน่าจะทำต่อเนื่องไปถ้ามีปัญญาที่จะหาสปอนเซอร์มาช่วยตรง ส่วนนี้
นักเรียนต่างจังหวัดไกลๆ เขียนจดหมายมาขอบคุณก็มี บอกว่าเขาได้อ่านหนังสือแล้วก็รู้สึกชอบ เราก็รู้สึกดีไปด้วย เพราะเราก็โตมาจากห้องสมุดแบบนี้ เห็นคุณค่าของห้องสมุดเต็มที่ว่าที่เราได้ดีจนทุกวันนี้ก็เพราะเราเข้าห้อง สมุดตั้งแต่เด็ก อ่านหนังสือมามากมายก็เพราะห้องสมุด ไม่เคยซื้อหนังสือเลย อ่านฟรีจากห้องสมุดตั้งแต่เด็ก เลยคิดว่าถ้าสามารถทำมันได้ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี
ทุกวันนี้เข้าห้องสมุดบ้างไหม
ไม่ค่อยได้เข้าเท่าไหร่
เพราะอะไร
ไม่ค่อยมีหนังสือให้อ่าน ยกเว้นหนังสือในห้องสมุดตามมหาวิทยาลัย ซึ่งเรื่องนี้พูดไปแล้วก็น่าขำ เพราะว่ามีห้องสมุดแห่งหนึ่งในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นห้องสมุดที่ดีมาก มีหนังสือใหม่เอี่ยมมากมาย และครูบาอาจารย์ก็ซื้อหนังสือใหม่มาให้ตลอด แต่อาจารย์ท่านหนึ่งมาบ่นกับผมว่า ปัญหาก็คือนักศึกษาไม่อ่าน นักศึกษาเข้าห้องสมุดเพื่อทำรายงานอย่างเดียว แต่หนังสือใหม่ๆ นี่เขาไม่สนใจที่จะอ่าน นี่เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย คือผมเพียงแต่คาดหวังว่าระดับนักศึกษาน่าจะรู้เรื่องนี้ดีกว่าเด็กบ้านนอก ที่ไม่มีโอกาสได้อ่านหนังสือ แสดงว่าวัฒนธรรมการอ่านของเรานี่ล้มเหลวตั้งแต่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย
ถ้าวัฒนธรรมการอ่านยังเป็นแบบนี้ อีกสิบปีข้างหน้า เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่พัฒนาวัฒนธรรมการอ่านได้อย่างเข้มแข็ง คุณเห็นอะไรในอนาคต
ผมไม่เห็นอะไรในอนาคต คือความว่างเปล่า สิ่งที่ผมเห็นทุกวันนี้ ผมเห็นแต่ความเจริญในระดับเปลือกทั้งสิ้น เทคโนโลยีใหม่เอี่ยมล่าสุดที่ต่างประเทศมี เราก็มีในเวลาข้ามวัน เรามีหมด เรามีโรงหนังชั้นดี เรามีเครื่องเสียงชั้นดี เรามีโฮมเธียเตอร์ เรามีทุกอย่างซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เราซื้อมาทั้งนั้น เราแทบจะไม่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เราสร้างขึ้นมา
เราจะสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างไร เราจะสร้างความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างไร ถ้าสภาพสังคมไม่ได้ทำให้เราคิด เราต้องคิดและสร้างมันขึ้นมา ไม่ใช่รับอย่างเดียว แต่เราไม่มีส่วนนี้ ซึ่งส่วนนี้ผมคิดว่าเป็นอันตรายในอนาคต คือจะเรียกว่าเราเป็นทาสต่างประเทศก็ได้ เรามีมือถือรุ่นล่าสุด มีรถยนต์รุ่นล่าสุด แต่มันไม่ได้พิสูจน์อะไรเลยว่าเรามีอะไรดีกว่าเขา
กรุงเทพฯมีบรรยากาศหรือสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดการคิดได้ดีหรือเปล่า
ผมคิดว่าคงไม่เกี่ยวกับสถานที่ โดยส่วนตัวผมคิดว่ามันอยู่ในหัวของเรามากกว่า คือถ้าเราเติบโตมาในการศึกษาแบบที่สอนให้เราคิด ไม่ว่าเราอยู่ที่ไหน เราก็สามารถที่จะสร้างสรรค์อะไรออกมาได้อยู่แล้ว
อะไรที่ทำให้เราคิดน้อย อากาศร้อน รถติด หรือว่านักการเมือง
มันก็เป็นข้ออ้างที่ดีนะ ผมคิดว่าเวลาเราจะไม่ทำอะไรนี่เราก็มีข้ออ้างเสมอ และทุกอย่างก็ฟังดูมีเหตุผลทั้งสิ้น
หลายเดือนมานี้ได้อ่านหนังสืออะไรดีๆ บ้าง
ในช่วงหลังผมจะอ่านหนังสือแนววิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ หรือปรัชญามากกว่า ก็มีหลายเล่มเหมือนกัน นึกไม่ออกทันที มันเหมือนกับว่าวัยเราใกล้ฝั่งเข้าไปทุกที เพราะฉะนั้นเราจะหาหนังสือในแนวที่เราไม่เคยเรียนรู้มาก่อน ที่ไม่เคยสอนในโรงเรียน เราอยากจะรู้ในหลายๆ เรื่องก่อนที่เราจะตาย
เรื่องอย่างวิทยาศาสตร์ เรื่องเกี่ยวกับพันธุกรรมศาสตร์ หรือเรื่องดาราศาสตร์ เป็นสิ่งที่เราอยากจะรู้ตั้งแต่เด็กๆ แล้ว แต่เราไม่มีโอกาสรู้ในระดับลึก ก็คิดว่าอยากจะรู้มันก่อน ส่วนนิยายเราคิดว่าอ่านมามากพอแล้ว ก็พอรู้ว่าเรื่องมันเป็นอย่างไร ก็เลยอ่านน้อยลงมาก
แสดงว่าเมื่อเราสูงวัยขึ้น ความสนใจของเราจะเคลื่อนจากความเป็น fiction มาสู่ non-fiction มากขึ้น
มันแล้วแต่คนมากกว่า เพราะผู้ใหญ่จำนวนมากก็อ่านแต่ fiction ตลอดเวลา ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดอะไร ผมเพียงแต่คิดว่ามันมีอะไรหลายๆ อย่างที่น่าสนใจ ซึ่งมันน่าเสียดายที่เราไม่รู้มัน
จุดนี้เป็นจุดที่น่าเสียดาย เพราะถ้าเราดูร้านหนังสือในต่างประเทศ เราจะเห็นหนังสือในแนวนี้เยอะทีเดียว ประเภทที่เป็นวิทยาศาสตร์เพื่อประชาชน ซึ่งไม่ได้อ่านยาก เป็นเรื่องที่คนทั่วไปอ่านได้ บ้านเราแทบจะไม่มีเลย ที่น่าเศร้าก็คือ บ้านเรามีหนังสือแปลท่วมบ้านท่วมเมือง แต่ว่าหนังสือในแนวนี้ก็มีน้อย ไม่ค่อยมีคนแปล หนังสือประเภทที่สอนให้เรามีปัญญา ใช้ความคิด ไม่ใช่ความเชื่อ
เป็นเรื่องรสนิยมในการเลือกงานของสำนักพิมพ์หรือเปล่า
ผมไม่คิดว่าเป็นเรื่องรสนิยม ผมคิดว่าเป็นเรื่องธุรกิจ คือถ้าเราทำงานเพื่อหวังผลกำไรสูงสุด มันก็ไม่ต้องพูดอะไรแล้ว ก็คือจบแค่นั้น แต่ก็ยังดีที่มีสำนักพิมพ์หลายแห่งที่ยังมีความสมดุลในจุดนี้อยู่ คือพิมพ์งานที่มันขายได้ ขณะเดียวกันก็ยังพิมพ์งานที่สร้างปัญญาด้วย แต่ก็ยังถือว่าน้อย
เรื่องอย่างนี้มันต้องช่วยกัน สำนักพิมพ์ก็ต้องช่วยกัน เช่น เรื่องราคาหนังสือก็ควรจะทำให้... คือไม่ใช่กำไรสูงสุด กำไรแต่พอเพียง และก็ช่วยๆ กัน คนอ่านก็จะเพิ่มขึ้นมาเอง เพราะมีคนอ่านจำนวนมากมาพูดกับผมว่า เขามีความรู้สึกว่าหนังสือบ้านเรามันแพง แทบทั้งนั้นเลย ไม่มีใครบอกเลยว่าหนังสือบ้านเราราคาถูก
โดยความเป็นจริง ในฐานะคนทำหนังสือ ราคาหนังสือแพงหรือเปล่า
เรื่องนี้น่าสนใจ เพราะเราต้องแยกแยะสองคำนี้ให้ออก คือหนังสือราคาแพงกับหนังสือราคาสูง หนังสือราคาแพงไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือที่ราคา 300-400 บาท เพราะว่าหนังสือราคาแพงบางเล่มราคาแค่ 50 บาท ผมก็รู้สึกว่ามันแพงมาก มันควรจะเป็นบาทเดียว ไม่ใช่ 50 บาท ขณะเดียวกันหนังสือบางเล่มราคา 350 บาท ผมรู้สึกว่ามันถูก เพราะว่าคุณค่าที่มันให้ มันคุ้มกับ 350 บาทนั้น
ถ้าเราไม่สามารถที่จะแยกแยะให้ออกว่าอะไรคือหนังสือราคาแพง อะไรคือหนังสือราคาสูง เราก็จะตกเป็นเหยื่อของสำนักพิมพ์ได้ง่ายดาย เช่น บางเล่มไม่จำเป็นต้องพิมพ์สี่สี แต่ก็สามารถสื่อสารได้ อย่างนี้ผมถือว่าแพง เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปทำอะไรหวือหวาขนาดนั้น
เวลาทำหนังสือออกมา คุณมีวิธีการตั้งราคาอย่างไรให้เป็นหนังสือที่ราคาไม่แพง
หลักการตั้งราคาหนังสือในวิชาการตลาดที่ผมเรียนมามีสองอย่างคือ หนึ่ง ตั้งราคาหนังสือตามราคาทุน บวกกำไรเข้าไป หรือสอง ตั้งราคาหนังสือตามคุณค่าของหนังสือที่ควรจะเป็น ผมตั้งแบบแรก คือทุนมาเท่าไหร่ผมก็บวกไปเท่าที่ผมจะอยู่ได้ ก็จบ ซึ่งมันไม่ควรทำอย่างนั้นในบางกรณี แต่ผมคิดว่ามันก็ยุติธรรมที่สุดแล้ว คือสำหรับผม ผมอยู่ได้ นักอ่านซื้อได้ ก็โอเค จบ
ผมเห็นใจนะ หนังสือบางเล่ม 150 บาท หลายคนควักเงินซื้อลำบากมาก เราเห็นใจ แต่ว่าเราถูกกำหนดโดยปัจจัยต่างๆ มากมายเหลือเกิน เช่น ราคาทุนซึ่งมันสูงเหลือเกิน เราก็ทำอะไรไม่ได้ หรือบางครั้งเราต้องการพิมพ์หนังสือใหม่ ราคาทุนก็ขึ้นไปอีกแล้ว มันก็จำเป็นต้องบวกเพิ่มอีก 10 บาทบ้าง 20 บาทบ้าง ซึ่งบางทีนักอ่านก็รู้สึกว่าเราเอาเปรียบเขา แต่จริงๆ แล้วเราก็พยายามเหลือเกินที่จะทำให้ราคามันถูก มีหนังสือบางเล่มที่ผมพิมพ์แล้วขาดทุนด้วยซ้ำไป
ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ร้านหนังสือไม่ค่อยวางหนังสือของเรา แก้ปัญหานี้อย่างไร
ผมไม่ได้แก้ เพราะผมไม่คิดว่ามันจะมีทางแก้อะไรมากมาย เพราะร้านหนังสือก็ต้องหวังกำไรอยู่แล้ว จะไปขายหนังสือที่มันไม่มีคนซื้อทำไม จะโทษเขาก็ไม่ได้ พูดง่ายๆ ก็คือถ้าคุณเป็นเจ้าของร้านหนังสือ คุณก็อาจจะทำอย่างเดียวกัน แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งผมไม่รู้ว่าจะมีวิธีแก้อย่างไร สิ่งที่ผมคิดว่ามันน่าจะเป็นไปได้ก็คือ การหาสื่อทางอื่นที่จะช่วยทำให้เราขจัดปัญหานี้ออกไป ยกตัวอย่างเช่น การใช้อินเทอร์เน็ต หรือการให้ความรู้แก่คนอ่านว่ามีหนังสือประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือให้รายละเอียดของหนังสือ แล้วก็ดึงคนอ่านให้ไปที่ร้านหนังสือเพื่อจะหาหนังสือเล่มนั้น ก็อาจจะเป็นทางที่จะช่วยได้ แต่ช่วยได้มากน้อยแค่ไหนก็ไม่ทราบเหมือนกัน
งานสัปดาห์หนังสือช่วยได้หรือเปล่า
นั่นคือที่มาของงานสัปดาห์หนังสือ ทำไมสำนักพิมพ์เล็กๆ จึงต้องวิ่งไปที่งานสัปดาห์หนังสือ ก็เพราะว่าบางทีขายหนังสือทั้งปีเขาอยู่ไม่ได้จริงๆ งานสัปดาห์หนังสือจึงเป็นงานที่จะช่วยทำให้เขาอยู่ได้ทั้งปี สำนักพิมพ์บางแห่งอยู่ได้เพราะงานสัปดาห์หนังสือที่จัดปีละสองครั้งเท่านั้น มันไม่ใช่เรื่องดีในระยะยาว แต่มันก็ต้องเป็นอย่างนี้อีกพักใหญ่
แสดงว่ากลไกตลาดเป็นตัวกำหนดรูปแบบของงานสัปดาห์หนังสือ ทำให้ทุกคนต้องแห่ไปที่นั่น แล้วสำนักพิมพ์ก็ลดราคาลงมา
ผมไม่รู้จะเรียกมันว่าเป็นวงจรอุบาทว์ได้หรือเปล่า แต่มันก็เป็นอย่างนั้น ผมมองว่างานสัปดาห์หนังสือแบบนี้ไม่ใช่สัญญาณที่ดี เพราะมันทำให้ร้านหนังสือตายได้ แต่ขณะเดียวกันเราก็ต้องเห็นใจสำนักพิมพ์เล็กๆ ที่อยู่ไม่ได้ด้วย ถ้าเขาไม่มีงานสัปดาห์หนังสือแบบนี้ เขาก็อยู่ไม่ได้จริงๆ เพราะว่าร้านหนังสือไม่ยอมวางหนังสือของเขา หรือไม่สามารถที่จะวางหนังสือของเขาได้
นี่เป็นสิ่งที่โทษใครไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเพราะกลไกมันเป็นอย่างนั้น ผมเพียงแต่หวังว่าในอนาคตเราจะสามารถแก้ปัญหาส่วนนี้ได้ เช่น ร้านหนังสืออาจจะกระจายหนังสือได้ดีกว่านี้ หรือมีวิธีการสั่งซื้อหนังสือที่ดีกว่านี้ เช่น ผ่านอินเทอร์เน็ตหรือผ่านอะไรซักอย่างหนึ่งที่ง่ายกว่านี้
ปริมาณร้านหนังสือหรือพื้นที่ภายในร้านหนังสือมีน้อยเกินไปหรือเปล่า
ปริมาณร้านหนังสือไม่ถือว่าน้อย ปริมาณพื้นที่ในร้านหนังสือ หลายร้านก็ไม่ถือว่าน้อย แต่ปัญหาก็คือ หนังสือมันเพิ่มขึ้นทุกวัน พอหนังสือเพิ่มขึ้น ปริมาณหนังสือที่วางก็ต้องลดน้อยลงไปอยู่แล้ว วิธีแก้ก็คือ เขาก็จะโชว์หนังสือที่สันปก เพราะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และจำนวนที่เขาเก็บสต็อกไว้ก็น้อย ปกละ 1-2 เล่ม ผมก็ไม่รู้จะทำยังไง เพราะทุกครั้งที่ผมไปร้านหนังสือ แล้วเห็นหนังสือที่โชว์สันปก ซึ่งก็มีอยู่แค่ 1-2 เล่ม ผมก็รู้สึกหดหู่ทุกครั้ง หลังๆ ก็เลยไม่ค่อยอยากจะเข้าไปดูเท่าไหร่
ไปร้านหนังสือล่าสุดเห็นหนังสือตัวเองหรือเปล่า
ไปล่าสุดนี่ไม่เห็นหนังสือตัวเอง ทั้งๆ ที่เป็นร้านใหญ่ด้วย รู้สึกหดหู่มาก คือไม่เฉพาะไม่เห็นหนังสือตัวเองนะ แต่หนังสือวรรณกรรมอื่นๆ ผมก็ไม่ค่อยเห็นเหมือนกัน ก็เลยถอนหายใจ ไม่รู้จะทำยังไง
ถ้าสถานการณ์ยังเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ คิดว่าการเป็นนักเขียนอาชีพ แล้วก็ทำสำนักพิมพ์ของตัวเอง จะยืนระยะสู้กับกระแสตลาดได้ไหม
ผมตอบไม่ได้ และก็ไม่รู้จริงๆ สิ่งที่ทำได้ก็คือ ผมยังเชื่อว่างานที่ดีมันจะขายตัวเองได้ หรือยี่ห้อที่ดีจะขายตัวเองได้ วันหนึ่งข้างหน้ามีความเป็นไปได้ว่าผมอาจจะขายหนังสือผ่านเว็บไซต์อย่าง เดียวก็ได้ ถ้าผมอยู่ด้วยร้านหนังสือไม่ได้จริงๆ แล้วดูซิว่ามันจะอยู่ได้ไหม ถ้าไม่ได้ก็คงไปทำอาชีพอื่น
ฉะนั้น โมเดลอย่างที่คุณทำอยู่ คือเขียนหนังสือเอง ทำสำนักพิมพ์เอง มันยังจะเป็นทางเลือกให้กับนักเขียนไทยต่อไปได้หรือไม่
มันยังเป็นทางเลือก แต่ว่ามันเป็นทางเลือกที่คนที่กระโดดลงมาทำต้องทำใจนิดหนึ่งว่า หนึ่ง คุณจะต้องทำงานหนักมหาศาล และสอง มันมีความเสี่ยงในตัวมันเองเหมือนกัน
มันจะจบที่รุ่นของคุณหรือเปล่า
ผมหวังว่าไม่เป็นอย่างนั้น ผมหวังว่านะ หมายถึงในส่วนลึกผมหวังว่าวันหนึ่งรัฐบาลจะออกมาบอกว่าจะให้ซื้อหนังสือ วรรณกรรมของนักเขียนทุกคนเข้าห้องสมุด ทุกครั้งการันตีไว้ 10,000 เล่มเป็นอย่างน้อย เพราะผมเชื่อว่าห้องสมุดในประเทศเรา 10,000 เล่มก็ยังไม่พอ ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ทำได้ และก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ขอมากเกินไป นั่นเป็นทางเดียวที่เราจะสามารถสร้างสรรค์ปัญญาเข้าสู่สังคมบ้านเรา คือให้นักเขียนอยู่ได้เพื่อจะผลิตหนังสือดีๆ ออกมา
เราบ่นเรื่องนี้กันเยอะ ในที่สุดเราก็แก้ปัญหาโดยการตั้งรางวัลขึ้นมา บ้านเรามีรางวัลวรรณกรรมมากมาย คุณมองเรื่องนี้อย่างไร
ผมคิดว่ารางวัลก็เป็นแค่สีสันของวรรณกรรม คือถ้าถามผมว่าดีหรือไม่ดี ผมก็มองในด้านดีมากกว่าด้านไม่ดี ไม่ใช่เพราะผมได้รางวัลมาก่อน แต่ผมคิดว่าวงการวรรณกรรมบ้านเรามันจืดชืดอยู่แล้ว ไม่มีสีสันเลย เพราะฉะนั้นการมีรางวัล อย่างน้อยช่วยกระตุ้นให้คนเดินเข้าร้านหนังสือซักปีละครั้งเพื่อจะหยิบ หนังสือที่ได้รางวัลซีไรต์ก็ยังดี ก็อาจจะยังมีโอกาสที่เขาจะเหลือบไปเห็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งแล้วซื้อก็ได้
ถ้ารางวัลมีผลต่อการตลาดอย่างนี้ แสดงว่านักเขียนที่ได้รางวัลอย่างซีไรต์ก็ยังต้องส่งงานเข้าประกวดอยู่เรื่อยๆ
ไม่จำเป็น คือรางวัลมันไม่สามารถจะแจกได้มากมายขนาดนั้น ปีหนึ่งอย่างมากก็ได้แค่สิบเล่ม ไม่เกินยี่สิบเล่ม ผมคิดว่ารางวัลทั้งประเทศคงมีไม่มากขนาดนั้น ซึ่งถ้าเทียบกับจำนวนหนังสือที่มีอยู่ในท้องตลาดต่อปีก็ยังไม่พออยู่ดี รางวัลไม่ได้ช่วยอะไร และรางวัลก็ไม่ได้การันตีคุณภาพของงานเขียนหรือนักเขียนคนนั้นเลย นี่คือสัจธรรม
ซีไรต์เปลี่ยนแปลงชีวิตคุณไปเยอะหรือเปล่า
ก็เปลี่ยนแปลงไปมาก คือมันทำให้เรากลายเป็นนักเขียนอาชีพได้เร็วกว่าที่เราคิดฝันไว้ ถ้าจะพูดไป ซีไรต์มันก็คือโปรโมชั่นช่วยนักเขียนในทางหนึ่ง ทำให้คนรู้จัก อย่างน้อยก็รู้จักว่านักเขียนคนนี้มีอยู่ในโลกนี้ แต่ส่วนที่เหลือเป็นหน้าที่ของนักเขียนที่จะต้องทำงานหนักเพื่อจะรักษาความ ทรงจำอันนั้นให้ได้ในสายตาของผู้บริโภค ว่าเขายังจำชื่อนักเขียนคนนี้ได้ เพราะว่านักเขียนคนนี้ยังมีงานออกมาให้เขาได้อ่านอยู่ และถ้าเขาพอใจในงานเขียนนั้น นักเขียนก็คงอยู่ได้
ผมคุยกับคุณวานิช จรุงกิจอนันต์ เมื่อเดือนที่แล้ว คล้ายๆ กับว่าการได้รางวัลซีไรต์ในยุคของแกเป็นเหมือนกับการขึ้นถึงจุดสูงสุดแล้วใน เชิงวิชาชีพ หลังจากนั้นเลยไม่ค่อยมีงาน ในกรณีของคุณ การได้รางวัลซีไรต์มีผลกับคุณภาพงานเขียนหรือแรงบันดาลใจที่จะลงมือเขียนงาน ต่อไปหรือเปล่า
ถ้าถามผมจริงๆ ก็คือไม่มี คือในยุคแรกๆ ที่ผมได้รางวัล ผมค่อนข้างจะเกร็ง อย่างเช่นรางวัลช่อการะเกด ผมมีความรู้สึกว่าอยากจะทำงานชิ้นใหม่ให้มันดีกว่าชิ้นเก่า ถ้าเป็นไปได้สักสองเท่า แต่ในความเป็นจริงคือทำไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่มีมนุษย์คนไหนที่สามารถทำงานในแบบนั้นได้ การเกร็งนี่ทำให้งานเรายิ่งไปกันใหญ่ คือไม่เป็นผลดีกับตัวเองเลย พอผ่านมาระยะหนึ่ง ผมปล่อยวางตรงนี้ได้ มันรู้สึกสบายใจขึ้นเยอะ คือแปลว่าเราไม่รู้สึกว่ารางวัลเป็นสิ่งที่กำหนดวิถีการเขียนงานของเราอีก ต่อไป
การทำงานศิลปะ ไม่ว่าสายไหนก็ตาม ผลผลิตมันย่อมที่จะมีขึ้นมีลงอยู่แล้ว ตามอารมณ์ ตามสภาพร่างกาย ตามสภาพสังคมเศรษฐกิจของเขาในช่วงเวลานั้น เพราะฉะนั้นบางงานก็ดีมากหน่อย บางงานก็ดีน้อยหน่อย สิ่งที่เราต้องทำก็คือ ทำอย่างไรจึงจะรักษามาตรฐาน ISO ของนักเขียน ก็คือให้อยู่ในคุณภาพที่รับได้ อยู่ในสภาพที่ดี ISO ในที่นี้ก็คือ I See Okay คือผมเห็นว่ามันโอเค ก็คือถ้างานไม่ดี เราก็ไม่ปล่อยออกไป อย่างนั้นจึงจะทำให้เราอยู่ได้ในระยะยาว
รางวัลซีไรต์ในบ้านเรามันช่วยทำให้ชื่อนักเขียนเป็นที่รู้จักของคนเท่านั้นเอง ที่เหลือเป็นหน้าที่ของนักเขียนที่จะรักษามันไว้ และถ้าเราไม่เกร็งกับตัวรางวัล ก็แปลว่ามันไม่มีผลอะไร เราก็สามารถผลิตงานด้วยความสบายใจ เรารู้ว่าชิ้นนี้มันอยู่ในระดับที่โอเค ชิ้นนี้รู้สึกพอใจมากๆ ชิ้นนี้พอไปได้ แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ขายได้ ในระดับที่ไม่ทำลายงานตัวเอง การทำงานก็เป็นแบบนั้น
ในช่วงเวลาที่ภาวะจิตใจอยู่ในช่วงขาลง มีวิธีการกอบกู้ตัวเองให้กลับมาทำงานต่อไปได้อย่างไร
ทุกวันนี้ก็ทำงานแบบผ่อนคลายหน่อย ไม่เครียด พยายามจะไม่เครียดกับงานเขียน พยายามจะใช้งานเขียนเป็นการพักผ่อน หรือทำงานแบบไม่ทำงาน คือทำงานแล้วสนุกกับมัน ผมคิดว่าการเลือกประเด็นของเรื่องที่จะเขียนในแต่ละครั้ง ถ้าเราเลือกเพราะเราชอบ เราสนุก โอกาสที่จะเครียดกับงานมันมีน้อย มันจะไปเครียดกับอย่างอื่นมากกว่า เช่น สิ้นเดือนแล้ว ยอดหนังสือไม่ขึ้น อย่างนั้นอาจจะเครียดกว่าหน่อย
ทุกวันนี้ยังมีอะไรที่เป็นความตื่นเต้นของชีวิตบ้าง
ทุกวันนี้รู้สึกมันเหมือนกับว่าเข้าที่ดีพอสมควรในระดับหนึ่ง คือเราก็ทำงานไปในแต่ละวัน ไม่ได้คิดอะไรมาก เช้าตื่นขึ้นมาก็ทำงาน ค่ำก็ทำงาน ถ้าอินกับงานหน่อยก็อาจจะอยู่ถึงดึก ถามว่าพอใจหรือเปล่า ก็ถือว่าพอใจในสิ่งที่เป็นมา
ไม่ต้องแสวงหาความตื่นเต้นอะไรมากมาย
ไม่ ชีวิตผมไม่ค่อยน่าตื่นเต้นอยู่แล้ว
มองวิทย์ด้วยจิตศิลป์
มองวิทย์ด้วยจิตศิลป์ เปิดทัศนะวิทยาศาสตร์ วินทร์ เลียววาริณ
จาก วารสารเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุ
มกราคม-มีนาคม 2548
Q : อยากทราบแรงดลใจที่ทำให้สนใจหรือเขียนเรื่องทางด้านวิทยาศาสตร์ อย่างเช่นที่ลงในมติชนสุดสัปดาห์ หรือเรื่องอื่นๆ
ผมรู้สึกสนุกกับการเรียนวิทยาศาสตร์มาแต่ไหนแต่ไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากออกจากรั้วโรงเรียนไปแล้ว หาหนังสืออ่านเอง ในช่วงหนึ่งของชีวิต ผมมักตั้งคำถามเชิงปรัชญาเพื่อหาความหมายของชีวิต และพบว่าวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือที่ใกล้เคียงที่สุดที่สามารถทำให้เราเข้าใจมนุษยชาติดีขึ้น แม้ไม่ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดตอนนี้ วิทยาศาสตร์นั้นกว้างมาก เมื่อศึกษาวิทยาศาสตร์คู่กับศาสนา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ จักรวาลวิทยา จะทำให้เห็นภาพต่างๆ ชัดขึ้นมา
ผมรู้สึกว่าเรื่องทางด้านวิทยาศาสตร์มันไม่ค่อยมีคนทำเลย เหมือนกับว่าถ้าคุณไม่ทำ มันก็ไม่มีใครทำ เลยลองมาเขียนทางด้านนี้ดูดีกว่า คือคนที่เขียนเรื่องประเภทแนววรรณกรรมเพื่อสังคม มีคนทำเยอะอยู่แล้ว ไม่ต้องไปแข่งกับเขาก็ได้ หมายถึงว่ามันพออยู่แล้ว อย่างเพื่อนนักเขียน เราก็ถามว่าทำไมไม่เขียนนิยายไซไฟ (science fiction : Sci-Fi) บ้าง เขาบอกว่ากลัวกัน
Q : อันนี้เป็นเพราะอะไร
ผมว่าอาจเป็นเพราะคำว่า วิทยาศาสตร์ ฟังดูน่ากลัว การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์อาจต้องรู้มากรึเปล่า แต่ผมคิดว่าไม่จำเป็น อาจเขียนเป็นซอฟต์ฟิกชั่นก็ได้ ก็น้อยนะครับ ถ้าเรามองไปรอบตัว คนเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ไม่ถึง 10 คนในเมืองไทย อาจจะไม่ถึง 5 ด้วย ผมว่ามันน้อยเสียจนน่าเกลียด บางทีเขียนไปหนึ่งเล่มแล้วหายไปหลายปี อย่างผมเป็นต้น ก็หายไปหลายปี แต่จริงๆ ก็อยากจะเขียนอยู่ มันติดโปรเจคท์อื่น ก็เลยคิดว่าน่าจะหันมาทิศทางนี้ดีกว่า เพราะมันน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าเรื่องประเภทเริงรมย์ต่างๆ เพราะใครๆ ก็เขียนได้ มันมีคนทำเยอะอยู่แล้ว
Q : แต่ถ้ามองกลับกัน คนที่เขียนเรื่องนี้อย่างน้อยๆ ก็ต้องมีความสนใจก่อน ความรู้ก็ต้องพอมี
ความรู้มันรีเสิร์ซ (research) ได้ เราไม่จำเป็นที่จะต้องเขียนแบบอาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก (Arthur C. Clarke) เราเขียนแบบซอฟท์ ไซไฟก็ได้ แค่มีจินตนาการแล้วก็เขียนไป ตรงนี้น่าจะช่วยปลูกฝังเด็กให้สนใจ หรือให้พัฒนาความคิดและจินตนาการ ซึ่งตรงนี้เรายังขาดอยู่ ความรู้มันหาไม่ยาก แต่จินตนาการต้องปลูกฝังกัน
Q : ในบทความหลายบทความ คุณวินทร์พาดพิงถึง ฟิสิกส์ ควอนตัม (quantum physics) และทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ บ่อยครั้งทั้งสอง เรื่องนี้เป็นเรื่องโปรดหรือเปล่าครับ และถ้าใช่ ทำไม? เช่น ในคอลัมน์คุ้ยขยะหาฝัน วันที่ 3 ตุลาคม ก็พาดพิงถึง Heisenberg's Uncertainty Principle และในเรื่องความยาวของหนึ่งวินาที ใน winbookclub.com ก็พูดถึงเต็มๆ เป็นต้น
ผมเรียนฟิสิกส์มาในโรงเรียน แต่ยอมรับว่าไม่สนุก เพราะต้องท่องจำแต่สูตร จนเมื่อโตขึ้นมาหาหนังสืออ่านเอง พบว่าฟิสิกส์เป็นเรื่องสนุกทีเดียว หากรู้ว่าจะนำมาใช้อย่างไร เหตุที่สนใจควอนตัม ฟิสิกส์ เพราะผมสนใจเรื่องจักรวาลวิทยา ดาราศาสตร์ ทางเดียวที่จะเข้าใจจักรวาลในเชิงปรัชญาก็คือจากฟิสิกส์เท่านั้น แม้แต่การศึกษาศาสนาเปรียบเทียบก็ไม่สามารถหาคำตอบเกี่ยวกับจักรวาลได้
Q : ช่วงนี้ว่ากันว่านิยายวิทยาศาสตร์เริ่มกลับมาใหม่ เมื่อเทียบกับยุคทองตั้งแต่ช่วงแรกของคุณจันตรี ศิริบุญรอด และก็อีกยุคหนึ่งของมิติที่ 4 ที่ขึ้นมาสักพักหนึ่งแล้วก็หายไปนานเลย
มันก็เป็นเรื่องเดิม ฉบับเดิม ที่ผมเคยอ่านมาเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เช่น เรื่อง The Cave of Steel หรือ ชุด Foundation (หนังสือชุด สถาบันสถาปนา) ของ ไอแซค อสิมอฟ (Isaac Asimov) ก็เป็นเรื่องเดิมเอามาพิมพ์ใหม่ มันแทบจะไม่มีอะไรใหม่ ๆ ออกมา มันยังน้อยอยู่ เมื่อเทียบกับ 20 ปีที่ผ่านมา พัฒนาการแทบจะศูนย์ คือมีการนำมาพิมพ์ใหม่เพราะกระแสจากต่างประเทศมันขึ้นมา อย่างแฮรี่ พอตเตอร์ เพราะฉะนั้นหนังสือวิทยาศาสตร์ก็เข้ามาด้วย แต่มันเป็นการพิมพ์ซ้ำมากกว่า อย่างหนังสือชุด สถาบันสถาปนา ก็แปลมา 20-30 ปีแล้ว แต่ก็ถือว่าดี อย่างน้อยก็ยังมี แต่ถ้าเทียบความเข้มข้นยังสู้สมัยวิศวะจุฬาฯ เขาทำกันยังไม่ได้ อันนั้นยังมีความต่อเนื่องออกมาเยอะแยะเลย นิยายวิทยาศาสตร์เมืองนอกมันมีมหาศาลเลย นี่พูดเฉพาะนิยายนะ ยังไม่พูดถึงเรื่องแนววิทยาศาสตร์ที่คนทั่วไปอ่านเลย ถือว่ายังห่างไกลมากๆ
Q : นิยายวิทยาศาสตร์เป็นดัชนีชี้วัดลักษณะของสังคมได้ในแง่ใดบ้าง? จำนวนและคุณภาพของนิยายวิทยาศาสตร์ที่เขียนโดยคนไทย เป็นตัวสะท้อนภูมิปัญญาของสังคมไทยได้บ้างหรือไม่? อย่างไร?
นิยายวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการของเด็กในประเทศ เรื่องน่าเศร้าคือประเทศเราขาดทั้งคนอ่านและคนเขียน ขาดอย่างมากๆ สังคมเราไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงโดยปราศจากทั้งความรู้และ จินตนาการ แต่เมื่อมองภาพรวมของการศึกษาของเรา พบว่าเราไม่ค่อยได้เสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการคิดออกนอกกล่องเท่าที่ควร นิยายวิทยาศาสตร์ช่วยตรงนี้ได้ ผมเองก็โตมากับนิยายวิทยาศาสตร์ และเห็นประโยชน์ของมันอย่างใหญ่หลวง ช่วยพัฒนาสมองของเราจริงๆ
Q : กรณีที่เนชั่นบุ๊คส์ เขาจัดกิจกรรมประกวดขึ้นมาแล้วบอกว่ากระแสเรื่องทางวิทยาศาสตร์เริ่มกลับมา แล้วนี่เขาวัดจากอะไรครับ จากยอดขาย หรืออะไร
จากยอดขายหนังสือคงจะส่วนหนึ่ง ถ้ามันเคลื่อนไปทางนี้ แต่ผมไม่คิดว่ายอดมันจะเทียบกับหนังสือในเชิง แฮรี พอตเตอร์ พวกนั้น เพราะยอดมันผิดกันมากๆ
Q : ก่อนหน้านี้คุณวินทร์เคยเขียนนิยายวิทยาศาสตร์เล่มหนึ่งคือ เดือนช่วง ดวงเด่นฟ้า ดาดาว เหมือนกัน
ช่วงนั้นผมเขียนลง Update อยู่เรื่อยๆ ก็อยากจะทำต่อ ความจริงมีพล็อตเยอะแยะรออยู่แล้ว แต่ยังไม่มีโอกาสนั่งลงทำจริงๆ จังๆ ที่จริงปีสองปีที่ผ่านมาก็เขียนนิยายวิทยาศาสตร์ไว้บ้าง หวังไว้ว่าคงไม่เกิน 2 ปี จะมีออกมาอีก อย่างเรื่องที่เขียนลงมติชนสุดสัปดาห์ ปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล ก็เป็นบทความทางวิทยาศาสตร์ เมืองไทยเราขาดในส่วนนี้ ขาดมากๆ ด้วย ก็คิดว่าน่าจะทำ
Q : กรณีของ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน จะนิยามยังไงครับ
เป็นการมองโลกในมุมมองของจักรวาล คือเรามองปัญหาของสังคมซึ่งเป็นปัญหาย่อยของโลกเราเนี่ย เช่น เรามองว่าทำไมคนถึงต้องฆ่ากันมากขนาดนี้ มีคนข่มขืนกันขนาดนี้ ทีนี้ถ้าเรามองด้วยสายตาของนักจิตวิทยาหรือสังคมศาสตร์ โอเค เราจะเห็นว่าสังคมไม่ดี สังคมเหลวไหล ถ้าหากว่าเรามองด้วยมุมมองอีกมุมมองหนึ่ง ที่เป็นมุมมองของเรื่องกำเนิดชีวิต คือในมุมมองของจักรวาลที่กว้างไกล ถอยออกไปเรื่อยๆ
อย่างนี้เราอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องของยีนก็ได้ เราโทษเขาไม่ได้ มันอยู่ในตัวของเขาเอง เราอาจจะทำให้นักสังคมศาสตร์เห็นว่ามันไม่ใช่ เพราะว่ามันยอมรับกันไม่ได้ โอเควิธีที่ทำให้เขาเห็นด้วย คือการเอาข้อเท็จจริง (fact) ทางวิทยาศาสตร์มาคุยกัน นั่นคือเหตุผลที่บทความบางอัน มันมีวิทยาศาสตร์เข้ามาเจือ เพราะว่ามันเป็นทางเดียวที่จะอธิบายให้รู้ว่า ทำไมการที่เราจะรู้ความเป็นไปของโลก ของสังคม กำเนิดของศาสนา ปรัชญาทั้งหลายในโลกนี้
จริงๆ มันก็มองไกลไปกว่านั้น คือถ้าไม่ถอยตัวมามองถึงต้นกำเนิดของจักรวาลมันไม่มีทางที่จะมาเข้าใจใน ประเด็นย่อยเหล่านี้ เพราะทุกคนเกิดมาก็บอกว่าผมเป็นพุทธ ผมเป็นอิสลาม แต่เราไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วศาสนาจำเป็นรึเปล่า เราไม่กล้าถามด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ถอยกลับมาดูในต้นกำเนิด เราก็ไม่กล้าที่จะคิด ที่จะเข้าใจ ทีนี้พอถอยออกมา ก็เห็นบางปัญหาชัดขึ้นกว่าเดิม บางทการที่ผิวขาวผิวดำทะเลาะกันมันเป็นเรื่องไร้สาระ เพราะจริงๆ ผิวขาวผิวดำมันก็มาจากผิวเดียวกันนั่นแหละ มันค่อยๆ เปลี่ยนไปในเวลาไม่กี่หมื่นไม่กี่แสนปี เราพยายามอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ พอดูแล้วเราเห็นปัญหาชัดขึ้นกว่าการมองปัญหาจากมุมล่าง ลองไปมองจากข้างบนดูซิ ว่าภาพกว้างขึ้นมันเป็นอย่างไร พอเข้าใจปุ๊บ ก็โอเค
ถ้ามองอย่างนี้ปุ๊บเราก็เห็นว่าวิวัฒนาการของคนมีมาเรื่อยๆ จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีวิวัฒนาการมากกว่าสัตว์เลื้อยคลานมีสมองที่ซับ ซ้อนมากขึ้นจนถึงระดับหนึ่งที่จะมีความรู้สึก ความรัก และพัฒนาต่อไปเป็นเรื่องของศาสนาปรัชญาทั้งหลาย ทุกอย่างมันเหมือนกับว่ามีทิศทางของมันมาค่อนข้างจะชัด เพราะฉะนั้นเรื่องความเชื่อเรื่องพระเจ้านี้ เราสร้างขึ้นมาเองรึเปล่า หรือว่ามันมีจริงๆ เพราะฉะนั้นทางเดียวก็คือต้องมาคุยกันด้วยข้อมูลที่เรามีกันใน พ.ศ.นี้ ข้อสำคัญก็คือว่าสังคมไทยเราไม่คุยกันด้วยข้อมูลอย่างนี้ เราว่ากันด้วยความเชื่อกันก่อน เอะอะอะไรก็บอกว่าไม่เชื่ออย่าลบหลู่ มันก็ไม่กล้าคิดอะไร
Q : คุณวินทร์พัฒนาหลักคิดนี้ขึ้นมาได้อย่างไร
คือคิดอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่สมัยหนุ่มๆ แล้วว่า คนมาจากไหน เกิดขึ้นมาเพราะอะไร ทำไมต้องมีศาสนา ก็ไม่มีคำตอบ แต่มาจากการอ่านวิชาการต่างๆ พอไปศึกษาดาราศาสตร์ จักรวาลวิทยา ศึกษาฟิสิกส์ ต่างๆ มาศึกษาชีววิทยาใหม่ เคมีใหม่ มาเรียนใหม่แบบที่ไม่ได้เรียนในห้องเรียน ก็เริ่มเห็นภาพแล้วว่า คนก็เป็นธาตุจากดวงดาวส่วนหนึ่งประกอบกันขึ้นมา มันทำให้เข้าใจหลายอย่างชัดขึ้น นี่ก็เป็นวิธีมองโลกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด แต่อย่างน้อยก็ทำให้ผมเข้าใจตัวเองมากขึ้น
Q : ได้รับอิทธิพลจากนักคิดคนไหนมากที่สุด
ก็มีอย่าง คาร์ล เซเกน (Carl Sagan) หรือ อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก ที่ทำให้เราตั้งคำถาม อย่าง อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก บอกว่า เราไม่มีวันเข้าใจศาสนา หากว่าเราไม่เรียนเรื่องศาสนาเปรียบเทียบ แต่ถ้าเปรียบเทียบแค่ศาสนาบนโลกนี้มันก็ไม่มีทางเข้าใจอะไรเหมือนกัน เราต้องเข้าใจว่าถ้าเราเรียนมากไปกว่านั้น เช่น มีศาสนาสำหรับตัวอะมีบารึเปล่า สำหรับไวรัสรึเปล่า คอมพิวเตอร์มีศาสนามั้ย เราศึกษาแค่ศาสนาเปรียบเทียบของมนุษย์มันยังไม่พอ ดูว่าสัตว์มีมั้ย อย่างปลาโลมา เป็นต้น มุมมองนี้เราไม่เคยมองเลย มันทำให้เราคิดต่อว่า เป็นไปได้ มีเหตุผล อย่างเราพูดถึงความรักที่พ่อแม่มีกับลูกว่ามันเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ แต่บางทีอาจจะไม่ยิ่งใหญ่ก็ได้ มันเป็นแค่ธรรมชาติ สร้างมาเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์เผ่าพันธุ์นี้นั่นเองเพราะฉะนั้นถ้าเรามอง มุมนี้ ผมว่าหลายคนก็บอกว่ารับไม่ได้
มุมมองเหล่านี้ มันต้องกล้าตั้งคำถามว่า ศาสดาก็ผิดได้ มนุษย์ก็ผิดได้ เมื่อผิดก็มานั่งดู โอเคมันก็ทำให้เราเข้าใจดีขึ้น ทีนี้ถึงบอกว่ามันจำเป็นที่จะต้องเรียนวิทยาศาสตร์ในแง่ดี ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ที่เข้าไปในห้องเรียนแล้วบอกว่า โซเดียมคือ Na อะไรอย่างงี้ มันไม่ได้อะไรขึ้นมาเลยแม้แต่นิดเดียว มันเป็นการเรียนที่สูญเปล่า ผมเรียนได้คะแนนดี แต่ไม่เข้าใจ แต่พอผมมาอ่านใหม่ ผมว่าฟิสิกส์มันมีอะไรน่าสนใจกว่าเรื่องแรงที่เรียนอยู่ในห้องเรียน สนุกกว่า เพราะเรารู้ว่าจะค้นหาอะไร แม้กระทั่งการเรียนเรื่องควอนตัม รู้สึกว่ามันมีอะไรที่ตอบคำถามเรื่องพระเจ้าด้วยซ้ำไป แม้ว่าจะยังไม่เข้าใจทั้งหมด แต่ทำให้เราคิดเรื่องบางอย่างในมุมมองวิทยาศาสตร์ ซึ่งมันอาจจะไม่ถูกก็ได้
ผมไม่เคยได้ยินเรื่องควอนตัมเลยจนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว มันหายไปไหน ทำไมผมไม่รู้มาก่อน หรือว่าทำไมไม่มีใครสอนผมว่ามนุษย์เราประกอบด้วยธาตุเคมีเช่นเดียวกับธาตุ เคมีที่มีอยู่ในจักรวาล ไม่มีใครสอน มีแต่บอกว่า มนุษย์เกิดมาเป็นสัตว์ประเสริฐ หมาเป็นสัตว์เดรัจฉาน แบ่งแยกเรียบร้อย
Q : ที่ว่าไม่สอนนี่ หมายถึงภาพการศึกษาของไทยหรือฝรั่ง
ผมไม่แน่ใจฝรั่งแต่ผมว่าของเราเรียนเพื่อจบปริญญา แล้วถือว่าสุดยอดในชีวิตแล้ว ผมว่ามันไร้สาระ เพราะทุกวันนี้ผมยังเรียนอยู่เลย ผมเคยอ่านเจอนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลชาวไต้หวัน เขาไปพูดที่สิงคโปร์ บอกว่า ในการแข่งขันโอลิมปิก เด็กทางเอเชียถือว่ากินขาด ได้รางวัลเหรียญทองชนะหมด อเมริกาอยู่ในอับดับบ๊วยๆ แต่ทำไมไม่มีคนเอเชียได้รางวัลโนเบลทางวิทยาศาสตร์เลย? ไม่มีเลยสักคน คนที่ได้รางวัลทางวิทยาศาสตร์ของเอเชียมี แต่ไปโตที่อเมริกา ทำไม? ก็แสดงว่าวิธีการเรียนของเราผิดแน่ๆ ถ้าเราคิดว่ารางวัลโนเบลเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ นะ เราจะไม่มีทางได้รางวัลโนเบลเลยในชาตินี้ รวมถึงประเทศแถบเอเชียนี้ด้วย ถ้ายังเรียนกันด้วยวิธีนี้ ทำไมไม่มองออกไปนอกกล่องว่ามีทางอื่นอีกมั๊ย หรือฝันอะไรบ้าๆ หมายถึงการเรียนรู้ทุกอย่าง คือคุณได้ปริญญามาแต่ไม่มีความสุขแล้วมันมีประโยชน์อะไร
Q : มีบ่อยครั้งที่ข่าวหรือข้อมูลในหน้าหนังสือพิมพ์เป็นเรื่องที่ฟังเผินๆ เหมือนวิทยาศาสตร์ แต่จริงๆ ไม่ใช่เพราะเป็นแค่วิทยาศาสตร์เทียม (pseudo-science) เช่น น้ำวิเศษยืดอายุคนดื่มได้ ส่วนหลายข่าวก็เป็นไสยศาสตร์แบบจังๆ จึงอยากทราบความคิดเห็นในประเด็นเรื่องวิทยาศาสตร์เทียม และไสยศาสตร์นี้ด้วยครับว่า ข่าวประเภทนี้ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยของเราอย่างไรบ้าง
ไสยศาสตร์และวิทยาศาสตร์เทียมส่งผลร้ายต่อสังคมพอๆ กัน บางทีวิทยาศาสตร์เทียมอาจร้ายกาจกว่าด้วยซ้ำ เพราะคนทั่วไปคิดว่ามันเป็นวิทยาศาสตร์ เวลานี้บ้านเมืองของเราท่วมไปด้วยขยะยาพิษทางปัญญาที่เกิดจากวิทยาศาสตร์ เทียมและไสยศาสตร์ ด้วยปัญญาที่เอ่ยเป็นแต่ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ และสื่อที่กระหน่ำแต่การสร้างความเชื่อใหม่ๆ รองรับด้วยการตลาด หากเราไม่สามารถเติม น้ำดี วิทยาศาสตร์แท้เข้าไปในหัวของประชาชนให้มากที่สุด เราก็ยังไม่ไปไหน และแก้ปัญหาด้วยทางลัดอยู่เรื่อย ลองคิดดูว่าเม็ดเงินที่เราเสียไปอย่างเปล่าประโยชน์กับฮวงจุ้ย การดูดวง การขับไล่ความชั่วร้าย ฯลฯ เป็นเงินมากเพียงไร เงินเหล่านี้นำไปพัฒนาชาติและคนได้มหาศาล
Q : สื่อสารมวลชนที่ให้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ในบ้านเรา ได้แก่ นิตยสาร (เช่น UpDATE), รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ และคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ มีคุณภาพเป็นอย่างไร? และควรมีพัฒนาการไปในทิศทางใด นั่นคือ สื่อวิทยาศาสตร์ของบ้านเราในความฝันของคุณวินทร์ เป็นอย่างไร?
หนังสือด้านวิทยาศาสตร์ในบ้านเรานั้นไม่เลวหรอกครับ เพียงแต่น้อยไปหน่อยเท่านั้นเอง สิ่งที่ผมฝันอยากเห็นคือ การสามารถนำวิทยาศาสตร์มาใช้แก้ปัญหามากกว่านี้ รายการโทรทัศน์ปัญญาอ่อนถูกแทนที่ด้วยรายการที่เป็นวิทยาศาสตร์กว่านี้ แม้แต่รายการที่ตอบปัญหาความรู้ต่างๆ (ที่ดีกว่าเรื่องไร้สาระทั่วไป) ก็ยังเป็นการฝึกการใช้ความจำมากกว่าการใช้ความคิด อยากเห็นสื่อทำเรื่องที่เกี่ยวกับจินตนาการมากขึ้นครับ
Q : ไอสไตน์บอกว่าจินตนาการสำคัญกว่าความรู้ ในขณะที่เอดิสันบอกว่า 99% มาจากหยาดเหงื่อ อีก 1% มาจากความเป็นอัจฉริยะ คุณวินทร์คิดว่าอย่างไร
ประเด็นของเอดิสันคือ จะบอกว่าอย่าได้แต่ฝัน ให้ทำจริงๆ ด้วย ให้ลงมือทำ เอดิสันเป็นคนที่ช่างฝันอยู่แล้ว เพียงบอกว่าให้ลงมือ จินตนาการทำให้โลกไปข้างหน้า แต่ความรู้อะไรต่างๆ มันทำให้คุณมีชีวิตที่สบาย แต่มันไม่ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งเท่านั้นเอง
Q : ในนิยายเรื่อง เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว คุณวินทร์เขียนถึงสุนทรภู่ด้วย คุณวินทร์สนใจวรรณกรรมไทยอยู่แล้ว หรือสนใจสุนทรภู่ที่เขามีแนวคิดทันสมัย หรือสนใจเรื่องอื่นๆ ด้วย
บังเอิญมันมาเจอกัน แต่สุนทรภู่เป็นคนน่านับถือมาก เป็นคนที่มีแนวคิดทันสมัย น่านับถือตรงที่ว่าเขามีจินตนาการสูงมาก คิดไกล ถ้าในสมัยนี้ อยู่เมืองนอกก็รวยไปแล้ว ไม่ต้องมาติดคุกเขียนนิยายขาย
Q : แรงจูงใจอะไรที่ทำให้คุณวินทร์หันมาเขียนหนังสือ
ผมกลับมาจากต่างประเทศ ดูในร้านหนังสือแล้วก็คล้ายๆ กับว่าไม่มีอะไรให้อ่าน เลยเขียนขึ้นมาอ่านเอง แต่ไม่ได้คิดจะไปตีพิมพ์ที่ไหน เพราะไม่รู้เรื่องอะไรเลย เขียนเรื่องประเภทแนวหักมุม อยู่ดีๆ ก็ระบายอารมณ์ เขียนๆ ไปพอได้ตีพิมพ์เรื่องหนึ่งก็ เอ๊ะ! ไม่เลวนี่ คือเจอด้วยความบังเอิญด้วย เพราะปกติเขียนเสร็จผมก็จะใส่ไว้ในลิ้นชัก ไม่ให้ใครดู มีวันหนึ่งไม่รู้นึกอะไรขึ้นมา ก็ส่งไป แล้ววันหนึ่งไปเจอในร้านหนังสือว่าได้ลง หลังจากนั้นก็รีบเขียนเป็นการใหญ่ แต่เขียนเล่นสนุกๆ ไม่ได้ลงที่ไหน
ตอนเด็กๆ ผมเคยเขียนการ์ตูนขาย เป็นนิยายภาพ การ์ตูนเล่มละบาท ขายตามโรงพิมพ์ คือเห็นเขาเขียน ก็อยากจะเขียนมั่ง อายุยังไม่ถึงยี่สิบ ประมาณ 17-18 ปี เริ่มต้นผมเขียนเป็นนิยายวิทยาศาสตร์นะ การ์ตูนคล้ายเรื่อง แฟลช กอร์ดอน (Flash Gordon) พวกโรงพิมพ์เห็นก็ตกใจ อะไรเนี่ยน้อง ไปเขียนเรื่องผีมา เราก็อยากได้ลง ก็ไปเขียนเรื่องผีห่วยๆ สองสามเรื่อง ตอนหลังก็เลิกเขียน มันตามตลาด จริงๆ อยากเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ วาดเรื่องว่าเดินทางด้วยยานอวกาศไปดวงดาว ไปโน่นไปนี่ แต่ไม่มีใครซื้อ
สัมภาษณ์ 6 นักเขียนไซไฟ
นานาทรรศนะกับนิยายวิทยาศาสตร์
จากคอลัมน์ ทอล์ก ไทม์
UPDATE ฉบับที่ 151 มีนาคม 2543
บทสัมภาษณ์ ณัฐ ศาสตร์ส่องวิทย์ / พิชิต อิทธิศานต์ / วินทร์ เลียววาริณ / นิรันศักดิ์ บุญจันทร์ / นพดล เวชสวัสดิ์ / วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์
นิยายคือโลกแห่งจินตนาการ แต่จินตนาการบางส่วนก็หยิบออกมา จากชีวิตจริงที่พบเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
หากนิยายทั่วไปคือโลกแห่งจินตนาการในความหมายนี้ นิยายวิทยาศาสตร์ก็คงจะหมายถึง จินตนาการที่หลุดไปจากโลกของ ความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง และการหลุดไปจากความเป็นจริงโดยสิ้นเชิงนี้เอง กลายเป็นของชอบของคนกลุ่มหนึ่ง และอาจกลายเป็นแรงบันดาลใจอันสำคัญ ของบางคนในจำนวนนั้น ให้พวกเขาทำมากกว่าการเป็นเพียงนักอ่าน นิยายวิทยาศาสตร์ แต่พวกเขาได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์ อุทิศเวลาส่วนหนึ่งให้แก่นิยายวิทยาศาสตร์ด้วยการเขียน การแปล และการทำหน้าที่บรรณาธิการ ทำให้จินตนาการหลุดโลกของ นิยายวิทยาศาสตร์ ยังคงโลดแล่นอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายมาจนถึงทุกวันนี้
ณัฐ ศาสตร์ส่องวิทย์ (รศ.ดร.วิชัย เชิดชีวศาสตร์)
อดีตบรรณาธิการวารสารโลกวิทยาศาสตร์ บรรณาธิการแปลนวนิยายวิทยาศาสตร์ นักเขียนเรื่องสั้นเจ้าของผลงานรวมเรื่องสั้น ผู้สืบทอด ที่ได้เข้ารอบสุดท้ายการประกวด หนังสือรางวัลซีไรท์ปี 2536 เจ้าของนามปากกา ณัฐ ศาสตร์ส่องวิทย์ ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Update : เมื่อพูดถึงนิยายวิทยาศาสตร์ อาจารย์นึกถึงอะไร
รศ.ดร.วิชัย : นึกถึงวรรณกรรมที่ให้ความรู้สึกเร้าใจในจินตนาการ เป็นเรื่องในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
Update : อาจารย์คิดว่านิยายวิทยาศาสตร์ ให้อะไรกับตัวอาจารย์บ้าง
รศ.ดร.วิชัย : อันที่หนึ่งคือมันตอบสนองความอยากได้สัมผัส ตรงนั้นมันได้ เพราะนิยายอื่นๆ ไม่สามารถให้ความรู้สึกตื่นตา ตื่นใจเท่านิยายวิทยาศาสตร์ อันที่สองคือมันเป็นสิ่งที่เราสามารถ จะประสานจินตนาการของเราไปกันได้ด้วยดี เพราะเราเป็นคนที่ชอบ มองอนาคต แล้วมันก็เข้ามาสอดคล้องได้ แล้วเราก็พบว่านิยายวิทยาศาสตร์ หลายๆ เรื่องในระยะหลังเป็นจินตนาการที่มีความเป็นจริงเข้ามาแทนที่
Update : อาจารย์คิดว่านิยายวิทยาศาสตร์ให้อะไรกับสังคม
รศ.ดร.วิชัย : อันที่หนึ่งคือ มันเป็นทางเลือกหนึ่งในการเสพวรรณกรรม คือจริงๆ แล้วเนี่ยพัฒนาการของวัยรุ่นในยุโรป อเมริกา เขาจะอ่านนิยาย วิทยาศาสตร์กันเป็นบ้าเป็นหลังเลย ก่อนที่เขาจะโตขึ้นไปอ่านเล่มอื่น ตรงนี้เองที่เป็นประโยชน์ช่วยให้ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กพวกนี้เกิดได้เร็ว และเด็กจะมีจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ ทำอะไรในเชิงประดิษฐกรรมได้ดีกว่าเด็กเอเชีย บ้านเรายังขาดตรงนี้ น่าเสียดายเหมือนกัน
Update : ทุกวันนี้อาจารย์ยังติดตามนิยายวิทยาศาสตร์อยู่บ้างหรือไม่
รศ.ดร.วิชัย : นิยายวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ๆ ผมว่าเป็นอะไรที่ไปในทาง คอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก แต่นิยายวิทยาศาสตร์รุ่นเก่าๆ จะออกแนวคลาสสิก ซึ่งผมชอบแนวเก่ามากกว่า อย่างแนวพวกโลกอนาคต แนวของพัฒนาการหุ่นยนต์ อาซิมอฟนี่ได้เลย อย่างคลาร์กก็จะเกี่ยวกับการเดินทางออกไปนอกโลก ก็ได้ทั้งนั้น ปัจจุบันเรามองโอกาสความเป็นจริงก็ใกล้เข้ามาเยอะเหมือนกัน
Update : อาจารย์คิดว่านิยายวิทยาศาสตร์ในบ้านเราเป็นอย่างไร
รศ.ดร.วิชัย : ต้องเข้าใจว่าพื้นฐานสังคมไทยไม่ใช่สังคมวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้นตรงนี้เราอ่อน อ่อนในแง่วัฒนธรรม พออ่อนในแง่นี้ คนที่มาทำนิยายวิทยาศาสตร์เป็นคนที่เป็นชนกลุ่มน้อย อันนี้เป็นปัญหาใหญ่เลย ถามว่าถ้าจะทำจริงๆ จังๆ แล้วคนไทยทำได้มั้ย ผมว่าได้นะ คนไทยอย่างสมเถา เขาก็ทำได้ นักเขียนไทยๆ อย่างคุณวินทร์ พยายามทำอะไรออกมา นั่นก็ได้ระดับหนึ่ง โดยส่วนตัวแล้วผมว่าเราที่มีพื้นวิทยาศาสตร์พอ เราก็ทำแบบฝรั่งได้
Update : นิยายวิทยาศาสตร์หรือนักเขียนที่อาจารย์ประทับใจคือใคร รศ.ดร.วิชัย : ถ้าเป็นของคลาร์ก ผมชอบ 2001 : A Space Odyssey ค่อนข้างเป็นปรัชญาที่ลึกมาก ปัจจุบันเล่มนี้ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 10 นิยายคลาสสิกของโลกนะ ของอาซิมอฟนี่ผมชอบเรื่องของ การจินตนาการเรื่องของการพัฒนาหุ่นยนต์ขึ้นมาใช้สังคมมนุษย์ ซึ่งถือว่าวันหนึ่งข้างหน้ามันก็เป็นไปได้ และในปีนี้ก็เริ่มเห็นแล้ว เริ่มมีสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นหุ่นยนต์จำหน่ายอย่างเป็นทางการแล้ว
พิชิต อิทธิศานต์
อดีตบรรณาธิการนิตยสารมิติที่ 4 ยุคฟื้นคืนชีพ
Update : เมื่อพูดถึงนิยายวิทยาศาสตร์ คุณนึกถึงอะไร
พิชิต : นึกถึงงานสร้างสรรค์แนวจินตนาการ ที่โลดแล่นอยู่นอกหน้ากระดาษ เช่น ศิลปะแนวไซ-ไฟ เทคนิคพิเศษ เบื้องหลังภาพยนตร์ นึกถึงนักประดิษฐ์ ที่ได้แรงบันดาลใจจากการอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ และสำหรับตัวเองก็คงต้อง นึกถึงช่วงเวลาที่มีค่าที่สุดช่วงหนึ่งที่ได้ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการวารสาร มิติที่ 4 วารสารเพื่อจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
Update : คิดว่านิยายวิทยาศาสตร์ให้อะไรกับตัวคุณพิชิตบ้าง
พิชิต : ผมก็คงไม่ต่างจากคนที่จบมาจากสายวิทยาศาสตร์ ที่อาจดูแข็งและ เคร่งกับข้อมูลเหตุผลที่อยู่ในกรอบ นิยายวิทยาศาสตร์ทำให้ผมมีช่วงเวลา ที่หลุดนอกกรอบและค้นหาตัวตนได้แจ่มชัดขึ้น กล้าจะเป็นขบถกับบางสิ่ง กล้าจะทดลองกับแนวทางเดินของชีวิตที่ไม่จำเจ
Update : คิดว่านิยายวิทยาศาสตร์ให้อะไรกับสังคม
พิชิต : ถ้าคุณเคยเห็นอาการของคนที่อ่านนิยายวิทยาศาสตร์จบใหม่ๆ อ่านด้วยความครุ่นคิดคำนึง จนร้อง อ๋อ ร้องเอ้อ เหมือนอาการรู้แจ้งเล็กๆ หลังคร่ำหวอดอยู่ในห้องแสงสนธยากับคัมภีร์นิยายวิทยาศาสตร์ ช่วงเวลา ที่ดื่มด่ำกับแนวคิดของผู้เขียน ผมว่าช่วงนี้ เอนดอร์ฟินต้องหลั่งออกมาแน่นอน คนเหล่านี้จะมองโลกและชีวิตนี้เปลี่ยนไป ทั้งสร้างสรรค์และมีความหวัง ผมว่าแค่นี้สังคมก็ได้เยอะแล้ว
Update : ทุกวันนี้คุณยังติดตามนิยายวิทยาศาสตร์อยู่บ้างหรือเปล่า
พิชิต : ช่วงนี้ต้องติดตามนิยายวิทยาศาสตร์ใกล้ชิดเป็นพิเศษ เพราะกำลัง ทำงานวิจัยให้กับ สกว. อยู่ชิ้นหนึ่ง เรื่อง หนังสือดีวิทยาศาสตร์ที่ร่วมกับนักคิด นักเขียน บรรณาธิการ ทั้งอดีตและปัจจุบัน ที่คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงหนังสือ วิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าของประเทศ จุดประสงค์ของการทำวิจัยเพื่อค้นหา หนังสือดีวิทยาศาสตร์ที่เขียนโดยคนไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปี พ.ศ. 2536 โดยเฉพาะหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์ที่ดีๆ ขนาดที่มีอิทธิพลให้คนในยุค หนึ่งหันมาให้ความสนใจอาชีพนักวิทยาศาสตร์ และประสบความสำเร็จ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอยู่ในปัจจุบันหลายท่าน
Update : คิดว่านิยายวิทยาศาสตร์ใน บ้านเราใขณะนี้เป็นอย่างไร
พิชิต : เหมือนภูเขาไฟใต้น้ำ ผู้คนส่วนมากรับรู้ว่า นิยายวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องดี มันคุกรุ่นอยู่ภายใน แต่ไม่มีอะไรหวือหวา การเคลื่อนตัวมีเพียงเล็กน้อย ก็ทำได้เพียงระลอกคลื่นกระทบฝั่ง หากต้องการจุดกระแสนิยายวิทยาศาสตร์ ต้องหาผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาจุดกระตุ้นภูเขาไฟลูกนี้ให้ระเบิดพวยพุ่งเป็น น้ำพุกลางสมุทร บรรดาแมกม่าอย่างพวกผมก็คงจะแซ่ซ้องสรรเสริญ
Update : นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่คุณประทับใจคือใคร
พิชิต : จันตรี ศิริบุญรอด ประทับใจในประวัติชีวิต ความเป็นคนสู้ชีวิต พยายามใช้วิชาความรู้ในการเขียนหนังสือ ทำหนังสือ หาเลี้ยงชีวิตตัวเอง และครอบครัว ช่วงที่ทำมิติที่ 4 ฉบับพิเศษ ผมมีโอกาสไปสืบค้นประวัติ ทำนองย้อนรอยชีวิตของคุณจันตรี และเพื่อนๆ ของคุณจันตรี ได้พบบรรยากาศเก่าๆ ของคนทำหนังสือ ได้สอบทานประวัติของคุณจันตรี จากคำบอกเล่าที่หลากหลาย จนปะติดปะต่อเป็นเรื่องจำได้ว่าต้องลุยน้ำท่วม ให้บุรุษไปรษณีย์พากันลุยสวน ไปจนพบบ้านของภรรยาคุณจันตรี และค่อยๆ ไล่หาอดีตของนักเขียนนิยาย และการ์ตูนในยุคบุกเบิกของไทย สนุกและประทับใจมาก
นพดล เวชสวัสดิ์
นักแปลอิสระ ผู้มีผลงานแปลมากมาย รวมทั้งนิยายวิทยาศาสตร์
Update : เมื่อพูดถึงนิยายวิทยาศาสตร์ คุณนพดลนึกถึงอะไร?
นพดล : พระอภัยมณี นิยายวิทยาศาสตร์ที่น่าจะเรียกว่าสุดยอดของโลก เพราะเป็นเรื่องเดียวที่เขียนเป็นกลอนทั้งเล่ม เสนอแนวคิดแปลกใหม่ที่ ครอบคลุมทั้งโลกวิทยาศาสตร์และแฟนตาซี... ในสังคมและยุคสมัยที่แทบจะไม่มีความรู้พื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์เสียเลย
Update : คิดว่านิยายวิทยาศาสตร์ให้ อะไรกับตัวคุณบ้าง
นพดล : ให้ความคิด การลำดับเรียงความคิดจากเหตุมาหาผล เปิดจินตนาการ ให้กว้างไกลไร้ขีดจำกัด
Update : คุณคิดว่านิยายวิทยาศาสตร์ให้อะไรกับสังคม
นพดล : ไม่ให้อะไรเลยถ้าไม่หยิบมาอ่าน ถ้าได้อ่านกันเสียบ้าง สังคมก็น่าจะมีเหตุมีผลมากกว่านี้
Update : ทุกวันนี้ คุณนพดลยังติดตามนิยายวิทยาศาสตร์หรือไม่? มากน้อยอย่างไร และมีความคิดอย่างไร?
นพดล : ยังอ่านอยู่นะครับ แต่แปลน้อยกว่าเดิมมาก ยังไม่เจอเรื่องถูกใจ อยากจะคัดเรื่องที่เข้มข้นจริงๆ เพื่อแบ่งปันกับผู้อ่าน
Update : คิดว่าแวดวงนิยายวิทยาศาสตร์บ้านเราเป็นอย่างไร?
นพดล : ระยะนี้ดูจะซบเซาไปหน่อย อาจเป็นเพราะพิษทางเศรษฐกิจก็เป็นได้ ในเมื่อท้องยังหิว สมองก็ไม่แล่นเท่าไหร่ เวลาส่วนใหญ่คงเป็นการหา อาหารใส่ปากใส่ท้องมากกว่าจะใช้ความคิดสร้างสรรค์
Update : นิยายวิทยาศาสตร์หรือนักเขียนนิยายที่คุณชอบคือ เรื่องใด ใคร เพราะเหตุใด
นพดล : อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก ชอบเกือบทุกเรื่อง เหตุผลหรือ? คลาร์กเป็นนักเขียนลุ่มลึก ล้ำยุค นักเขียนซีเรียสที่เปี่ยมด้วยอารมณ์ขัน
วินทร์ เลียววาริณ
นักเขียนซีไรท์จากผลงานนวนิยาย ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน และจากรวมเรื่องสั้น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน อีกทั้งยังมีผลงาน รวมเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์อีก 1 เล่ม คือ เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว
Update : เมื่อพูดถึงนิยายวิทยาศาสตร์ คุณนึกถึงอะไร
วินทร์ : แรกๆ ก็จะนึกถึงพวกอวกาศ ยานอวกาศ และอะไรที่เกี่ยวกับดวงดาวทั้งหลาย ค่อนข้างจะอัตโนมัติเลย แต่จริงๆ แล้วมันไม่จำเป็น
Update : คิดว่านิยายวิทยาศาสตร์ให้อะไรกับตัวคุณบ้าง
วินทร์ : ให้มุมมองชีวิตในแง่ที่กว้าง เพราะเป็นการมองโลก มองจักรวาล ในมุมที่กว้างออกไป เป็นในเชิงจินตนาการ มองดูแล้วจะรู้สึกว่าตัวเองเล็กนิดเดียว เมื่อเทียบกับความยิ่งใหญ่ของโลกภายนอกทั้งหมด มันทำให้เราถ่อมตัว มันเป็นเรื่องของความรู้สึก ที่ว่ามันมีอะไรที่น่าพิศวงอยู่อีกมากมายใน โลกข้างนอก มันให้ความรู้สึกตัวเราเองไม่มีอะไรมากมาย ก็ค่อนข้างจะ คล้ายกับปรัชญาทางศาสนาพุทธว่า ทุกอย่างเป็นอะไรที่เป็นอนัตตา ไม่จีรังยั่งยืน แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
Update : คุณคิดว่านิยายวิทยาศาสตร์ให้อะไรกับสังคม
วินทร์ : ผมว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมโดยเฉพาะเทคโนโลยีต่างๆ ใน พ.ศ. นี้ จริงๆ แล้วเป็นผลจากนิยายวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน เรือดำน้ำ ไมโครเวฟ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มันก็มาจาก นิยายวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น มันเริ่มมาจากจินตนาการ ความกล้าที่จะจินตนาการ แล้วก็การดิ้นรนที่จะทำให้จินตนาการนั้นเป็นผลสำเร็จออกมา
Update : ทุกวันนี้คุณยังติดตามนิยายวิทยาศาสตร์อยู่บ้างหรือไม่
วินทร์ : ติดตาม แต่ผมก็เห็นแต่ของต่างประเทศ ของไทยไม่ค่อยเห็นเท่าไหร่ ซึ่งของต่างประเทศเขากระโดดไปไกล การมองของเขาเป็นอีกขั้น มองถึงเรื่องจิตกับคอมพิวเตอร์ เป็นไซเบอร์สเปซ ก็ถือว่าก้าวไปไกลมาก ถ้าเทียบกับอาซิมอฟ หรือคลาร์กเขียน แต่ก็ต้องเข้าใจว่าเป็นพัฒนาการของมัน แต่มันก็ไม่จำเป็นว่านิยายวิทยาศาสตร์จะต้องก้าวไปไกลกว่าโลกความจริงเสมอ คือนิยายวิทยาศาสตร์สามารถทำให้เราจินตนาการในโลกต่างๆ ได้ มองความเป็นไปได้ในอนาคต แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันไม่ได้แปลว่า มันจะใช้ อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตไม่ได้ มันไม่จำเป็น แต่มันเป็นการบุกเบิกคิดค้น หาแนวทางใหม่ๆ หรือหาสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นบนโลก
Update : คุณคิดว่านิยายวิทยาศาสตร์ในบ้านเราเป็นอย่างไร
วินทร์ : ผมว่ายังค่อนข้างจะล้าหลัง นี่พูดกันตรงๆ มันไม่ได้แปลว่าเราขาดคนที่กล้าคิด แต่ว่าเราขาดคนมาเขียน ขาดไปเยอะ ปริมาณมีน้อยมากๆ มันเป็นสิ่งที่น่าเสียดายว่ามันขาดไป
Update : นิยายวิทยาศาสตร์ หรือนักเขียนที่คุณประทับใจคือใคร
วินทร์ : ของไทยก็คือคุณจันตรี ที่เป็นคนจุดประกายที่ทำให้เกิด ความสนใจในแนวนี้ อย่างของต่างประเทศก็อซิมอฟ กับ อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก ก็มีบทบาทมากในความคิดของผม
นิรันศักดิ์ บุญจันทร์
นักเขียนเรื่องสั้นที่เป็นที่รู้จักกัน ดีอีกคนหนึ่งในแวดวงวรรณกรรม ผลงานนิยายวิทยาศาสตร์เชิงสังคม 2 เล่ม ของเขาคือ คืนแห่งความพินาศ และ คำวิงวอนของมนุษยชาติ เล่มหลังนี้ได้รับรางวัลชมเชยจาก คณะกรรมการงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติด้วย ปัจจุบันเขาเป็น บรรณาธิการฝ่ายจุดประกายวรรณกรรม หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Update : เมื่อพูดถึงนิยายวิทยาศาสตร์คุณนึกถึงอะไร
นิรันศักดิ์ : นึกถึงจินตนาการของมนุษย์ เป็นจินตนาการที่ไม่มีการสิ้นสุด จินตนาการเหล่านั้นอาจจะไม่มีเหตุผลเลยก็ได้ ในขณะเดียวกันมันสามารถ จุดประกายความคิดของมนุษย์เราให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นได้ อย่างเช่นยุคหนึ่ง ของจูลส์ เวิร์น พูดถึงเรื่องเรือดำน้ำ เฮลิคอปเตอร์ อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก พูดถึงเรื่อง ดาวเทียม คอมพิวเตอร์ อาซิมอฟพูดถึงหุ่นยนต์ คือช่วงที่เขาคิดจินตนาการขึ้น มันอาจจะไม่มีเหตุผลเลยก็ได้ เป็นความคิดล้วนๆ เป็นความฝันของมนุษย์ แต่สิ่งเหล่านี้มันก็เป็นจุดเริ่มต้นทำให้สิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นมา อันนี้คือ สิ่งที่ผมมองในความเป็นนิยายวิทยาศาสตร์
Update : คิดว่านิยายวิทยาศาสตร์ให้ อะไรกับตัวคุณบ้าง
นิรันศักดิ์ : ทำให้ผมจินตนาการไปอีกมิติหนึ่ง นอกเหนือจากที่ผมได้เห็น อะไรๆ อยู่ทุกวัน ภาพที่เราเห็นทุกวันมันเป็นเหมือนภาพเรียลลิสติก ซึ่งเราก็ เผชิญกับมันอยู่แล้ว แต่ถ้าสมมติว่าอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ปุ๊บ มันทำให้เราเกิด ความคิดไปอีกห้วงเวลาหนึ่งอีกกาลเวลาหนึ่ง อีกมิติหนึ่งแล้วก็เป็นอีกบรรยากาศหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากบรรยากาศที่เราเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน มีนิยายวิทยาศาสตร์ หลายเรื่องที่เวลาอ่านแล้ว มันทำให้เรารู้สึกว่าเกิดความคิดไปอีกห้วงเวลาหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับดาราศาสตร์หรือเรื่องเกี่ยวกับจานบินหรือมนุษย์ ต่างดาว หรือแม้กระทั่งวิทยาศาสตร์สังคม ผลพวงต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ที่มันเกิดขึ้น ทั้งในแง่ดีและในแง่ลบ จะทำให้เราเกิดความคิดไปในอีกด้านหนึ่ง ผมว่าก็อาจจะ เป็นบางส่วน ที่อาจเป็นโดยบังเอิญ คือบางทีมันก็ช่วยกระตุกความคิดเราได้ อย่างกรณีเกี่ยวกับเรือนกระจก เราอ่านแล้วพอเราจะเผาพลาสติก เราก็เริ่มนึก คือเรื่องเหล่านี้มันช่วยกระตุกความคิดของเรา หรืออย่างคืนหนึ่ง เราเห็นฝนดาวตก มันก็ทำให้เราคิดต่อไปว่า ปรากฏการณ์อย่างนี้ในกาแล็กซีอื่น มันแปลว่าอะไร อย่างเราเห็นฝนดาวตกเนี่ย ดาวดวงนั้นที่มันใหญ่มาก เข้ามาชนโลก อะไรจะเกิดขึ้น อันนี้จะทำให้เราเกิดความคิดไปอีกด้านหนึ่ง
Update : คุณคิดว่านิยายวิทยาศาสตร์ให้อะไรกับสังคม
นิรันศักดิ์ : ผมว่าประโยชน์ของมันคือกระตุ้นเตือนความคิดของมนุษย์ นอกจากนี้ยังจุดประกายความคิด สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นบนโลก ไม่ว่าจะเครื่องแฟกซ์ โทรศัพท์ ดาวเทียม เฮลิคอปเตอร์ เรือดำน้ำ จรวด ทุกอย่างเหล่านี้มันอยู่ในนิยายวิทยาศาสตร์มาก่อนทั้งนั้น แม้กระทั่ง อินเทอร์เน็ตทุกวันนี้ก็มีในนิยายวิทยาศาสตร์ทั้งหมดนะ ส่วนดีของ นิยายวิทยาศาสตร์คือทำให้เกิดความคิด เช่น The fly นี่คือสุดยอดของ ความคิดมนุษย์ ที่ทุกวันนี้มนุษย์ก็ยังคิดกันอยู่ ถ้าเราทำสำเร็จจะทำลาย ระบบคมนาคมทั้งหมดในโลก คิดดูสิว่ามันยิ่งใหญ่ขนาดไหน ทุกวันนี้ก็ยังคิดอยู่ มนุษย์คิดจึงเกิดนิยาย และทุกวันนี้ก็ทำไปได้ ส่วนหนึ่งแล้ว เช่น การส่งแผ่นกระดาษ ส่งภาพ ตอนนี้ก็ส่งภาพเคลื่อนไหว ได้แล้ว ทีนี้จะทำยังไงให้ส่งสิ่งมีชีวิตได้ นั่นคือผลดี อีกอย่างหนึ่งคือ สิ่งที่นิยายวิทยาศาสตร์ต้องการมากที่สุดคือเอาชนะความตาย ทุกวันนี้ ก็มีวิธีการโคลนนิ่ง ตอนนี้ก็เริ่มเอาระบบแช่แข็งมาใช้ นี่เกิดจาก นิยายวิทยาศาสตร์ ผมว่านิยายวิทยาศาสตร์ จะประเภทไหนก็แล้วแต่ ทั้งที่ใช้จินตนาการเป็นหลักหรือเหตุผลเป็นหลัก ผมว่าอย่างน้อยๆ มันจะทำให้มนุษย์เกิดจินตนาการและความคิด แต่มันก็มีบางส่วนนะ ที่นิยายวิทยาศาสตร์จะทำให้เราเกิดความคิดแผลงๆ อีก เช่น ระเบิดนิวเคลียร์ อาวุธเชื้อโรค หรืออาจไปสร้างระบบโจรกรรม สุดแล้วแต่จะเอาไปใช้ มันก็มีทั้งสองด้าน ด้านดีด้านร้าย
Update : ทุกวันนี้คุณยังติดตามนิยายวิทยาศาสตร์อยู่บ้างหรือไม่
นิรันศักดิ์ : ก็ยังอ่านอยู่ ของต่างประเทศผมว่าตอนนี้ความตื่นเต้นเร้าใจ มีน้อยกว่ายุคก่อน ส่วนของไทยก็แผ่วลงไปเยอะ คือขึ้นกับคนเขียนด้วย แม้ว่าจะมีคนสนใจจะเขียน แต่มันก็ขาดอะไรไปเยอะ โดยเฉพาะพล็อต นิยายวิทยาศาสตร์เนี่ยมันยากที่ว่าคุณสร้างสิ่งที่ไม่มีให้มันมี ต้องกระตุ้น ความสนใจหรือโน้มน้าวจิตใจคนอ่านให้เชื่อตาม อีกอย่างคือ การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์จะต้องสร้างบรรยากาศเป็นมิติของ นิยายวิทยาศาสตร์จริงๆ ออกมา มันค่อนข้างลำบาก ของไทยมีนักเขียน ที่เขียนอยู่ แต่ความโดดเด่นจนเปรี้ยงปร้างยังไม่มี แล้วอีกอย่างคือการเลือก แง่มุมที่มาเขียน บางเรื่องก็ไกลตัวเกินไป แล้วนิยายวิทยาศาสตร์ไม่จำเป็น ต้องไปใช้ทฤษฎีหลักของวิทยาศาสตร์ คุณอาจจะใช้สิ่งแวดล้อมก็ได้ สะท้อนภาพตรงไหนก็ได้ โดยเฉพาะสังคมเมือง เราสามารถสร้าง เป็นบรรยากาศหรือฉากที่เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ได้ แต่ก็ต้องขึ้นกับ ความสามารถของคนเขียนด้วยอย่างที่ผมบอก นิยายวิทยาศาสตร์มัน ต้องโน้มน้าวจิตใจคนอ่านค่อนข้างเยอะ
Update : นักเขียนหรือนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องที่คุณประทับใจคือเรื่องใด
นิรันศักดิ์ : มี 2001 เรื่องหนึ่ง อีกเรื่องเป็นของ จูลส์ เวิร์น ผมจำชื่อไม่ได้ซะแล้ว จูลส์ เวิร์นส์นี่อาจจะเป็นนิยายโบราณไปนิดหนึ่ง แต่เราดูความคิดในช่วงนั้น ของอซิมอฟผมก็ชอบบางเรื่อง อีกเรื่องหนึ่งคือ ฟาห์เรนไฮต์ 451 ของ เรย์ แบรดบิวรี จริงๆ ก็มีนักเขียนเรื่องสั้นคนอื่นๆ อีกหลายคนที่ชอบ แต่จำชื่อไม่ค่อยได้
ผศ.วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์
นักเขียนอีกคนหนึ่งที่มีผลงานเขียนเรื่องทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 28 เล่ม ที่เป็นนวนิยายเช่น เด็กหลอดแก้ว พิจิก มัชฌิม ดีเอ็นเอ พยับดาว ฯลฯ และล่าสุดที่กำลังจะเป็นเล่มคือ นวนิยายเกี่ยวกับการโคลนนิง เรื่อง กลมนุสส์ ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ
Update : เมื่อพูดถึงนิยายวิทยาศาสตร์ อาจารย์นึกถึงอะไร
ผศ.วีรวัฒน์ : นึกถึงนิยายที่มีสาระของวิทยาศาสตร์แฝงอยู่ และนึกถึงจินตนาการ บางครั้งก็ความลึกลับ
Update : อาจารย์คิดว่านิยายวิทยาศาสตร์ให้อะไรกับตัวอาจารย์บ้าง
ผศ.วีรวัฒน์ : ให้จินตนาการ ให้โลกส่วนตัว รวมถึงการมองอนาคตว่าน่าจะ มีแนวโน้มไปในทิศทางใดบ้าง ถ้าอ่านนิยายวิทยาศาสตร์เนี่ย มันจะไม่อยู่ กับที่และสามารถคิดก้าวไกลออกไปได้เรื่อยๆ ผมก็ได้ใช้มาสร้างจินตนาการ คิดอะไรได้สนุกๆ คิดถึงการวางพล็อตเรื่องสนุก รวมทั้งมีความกระชับในตัวเรื่อง
Update : อาจารย์คิดว่านิยายวิทยาศาสตร์ให้อะไรกับสังคม
ผศ.วีรวัฒน์ : ถ้าสังคมนั้นอ่านนิยายวิทยาศาสตร์นะครับ สังคมนั้นจะเป็น สังคมที่ไม่ยึดติดหรือหลงอยู่กับความงมงายไสยศาสตร์ หรือรวมไปถึง ความเชื่อในสิ่งที่ไม่มีวิทยาศาสตร์เป็นเหตุผลรองรับ นิยายวิทยาศาสตร์เนี่ย สร้างจินตนาการ รวมไปถึงเราสามารถทำจินตนาการที่เราสร้างขึ้นในอากาศ ให้เป็นเรื่องจริงได้
Update : ทุกวันนี้อาจารย์ยังติดตามนิยายวิทยาศาสตร์อยู่หรือไม่ คิดว่าเป็นอย่างไร
ผศ.วีรวัฒน์ : ติดตามในปริมาณที่ค่อนข้างมากนะครับ นิยายวิทยาศาสตร์ ที่ผมติดตามอย่างเช่น ของไมเคิล มัวร์ค็อค นิยายเหล่านี้ก็พัฒนาไปเรื่อยๆ แล้วไกลออกไปจากจินตนาการเดิมๆ ไม่วนอยู่กับที่ และมีสีสัน มีตัวละคร ที่แปลกมากขึ้น รวมไปถึงมีการเสนอแนวคิดที่โลกอนาคตน่าจะเป็นอย่างนั้น ได้ชัดเจนขึ้น มีพื้นฐานอยู่บนความเป็นไปได้ในอนาคต อาจเป็น 100 ปี 1,000 ปี หรือ 2,000 ปี เรื่องในนิยายวิทยาศาสตร์หลายๆ อันก็กำลังเกิดขึ้นจริง เช่น นาโนเทคโนโลยี ที่เป็นอุปกรณ์หุ่นยนต์ขนาดจิ๋ว ซึ่งเดิมเคยมีอยู่ ในนิยายวิทยาศาสตร์เท่านั้น เดี๋ยวนี้นักวิทยาศาสตร์ก็กำลังสร้าง เชื่อว่าอีกไม่นาน เราจะมีการผ่าตัดเซลล์มะเร็ง เซลล์เนื้องอก โดยอาศัยหุ่นยนต์ขนาดจิ๋วฉีดเข้าไป
Update : อาจารย์คิดว่าแวดวงนิยายวิทยาศาสตร์ในบ้านเราเป็นอย่างไร
ผศ.วีรวัฒน์ : เงียบเหงาครับ น่าสงสาร โตช้า เพราะคนไทยไม่มีวัฒนธรรม การอ่านหนังสือ โดยเฉพาะการอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาสาระเยอะๆ หรือรวมไปถึงเรื่องของความเป็นแฟนตาซี จินตนาการ คนไทยไม่ชอบ ระหว่างนิยายวิทยาศาสตร์กับนิยายพาฝัน นิยายวิทยาศาสตร์ขายได้น้อยกว่า ดูเงียบเหงากว่า
Update : นิยายหรือนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่อาจารย์ชอบคือใคร
ผศ.วีรวัฒน์ : ไมเคิล มัวร์ค็อค ครับ และ อซิมอฟ เขาเขียนเก่งครับ สามารถจินตนาการเรื่องอนาคตได้ชัดเจน ทำให้เราเห็นภาพพจน์ได้ชัดเจน รวมไปถึงภาษาที่เขาใช้เป็นภาษาวิทยาศาสตร์ แต่ว่าผมคิดว่าคนที่ไม่ได้เรียนมาทางสายวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจได้
Book Variety โลกหนังสือ 2544-2545
สัมภาษณ์ วินทร์ เลียววาริณ
โดย สุระวงศ์ ศรีษะ
รายการ Book Variety โลกหนังสือ ราว 2544-2545
คุณผู้ชมเคยถามตัวเองมั้ยคะว่า ใครคือนักเขียนในดวงใจของคุณผู้ชม คำตอบก็คงจะแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่ดิฉันเชื่อว่า ชื่อ วินทร์ เลียววาริณ คงจะเป็นชื่อที่นักอ่านหลาย ๆ ท่านคงจะนึกถึงค่ะ เพราะเป็นนักเขียนที่มีผลงานมากมาย และหลากหลายสไตล์ วันนี้จึงเป็นวันดีอีกวันหนึ่งค่ะที่แฟน ๆ ของคุณวินทร์ จะได้รู้จักตัวตนของเค้าให้มากยิ่งขึ้นค่ะ
คุณผู้ชมคะ ตอนนี้ดิฉันนั่งอยู่กับนักเขียนที่เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จมากที่สุดคน หนึ่งของบ้านเราก็ว่าได้ค่ะ ไม่ใช่เพราะรางวี่รางวัลที่เขาได้มานะค่ะ แต่เป็นเพราะคุณภาพของงานเขียนที่มีความโดดเด่น แปลกใหม่และพัฒนาอยู่เสมอ เขาทำแบบนั้นได้ยังไงนะค่ะ แฟนๆ ที่เป็นนักอ่านและนักอยากเขียน คงอยากจะทราบคำตอบแล้วใช่มั๊ยค่ะ แต่คงจะไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้ดีไปกว่าตัวตนของเค้าเองนะค่ะ คุณวินทร์ เลียววาริณ
พิธีกร : สวัสดีค่ะ
วินทร์ : สวัสดีครับ
พิธีกร : ต้องถามถึงกลยุทธ์ในการพัฒนางานเขียนของตัวคุณวินทร์ล่ะค่ะว่า ตรงนี้มีวิธีการทำอย่างไรบ้างคะ
วินทร์ : อันดับแรก ผมคิดว่ามันอยู่ที่การปลดปล่อยใจหรือความคิดของเราให้เป็นอิสระก่อน คือถ้าเราเป็นอิสระทางความคิดเมื่อไหร่ เราจะมีความคิดใหม่ๆ หรือว่าได้ idea ใหม่ๆ ขึ้นมาตลอดเวลา อันนี้เป็นจุดสำคัญของการเขียนหนังสือ เราจะต้องทำตัวให้ฟรีไว้ก่อน คือไม่ได้อยู่ในกฎเกณฑ์เดิมๆ เสมอไป แต่ว่าเราต้องศึกษาวิธีการเขียนหนังสือเขียนยังไงด้วย รู้หลักการของการเขียน แต่ว่าเวลาทำงานจริง เราควรจะลืมกฎเกณฑ์นั้นชั่วคราว แล้วก็ลองคิดดูซิว่า มีหนทางใหม่ๆ ที่จะเสนอแนวความคิดแปลกใหม่ออกมาได้หรือเปล่า นั่นคือวิธีในการเขียนหนังสือแบบสร้างสรรค์
พิธีกร : แฟนๆ หลายคนก็คงจะเคยได้อ่านผลงานของคุณวินทร์ นะค่ะ แล้วก็จะรู้สึกและสามารถสัมผัสได้ว่า งานเขียนของคุณวินทร์ จะเป็นแนวทดลอง คุณวินทร์ทำตรงนั้นได้อย่างไร ว่าทดลองเขียนงานแบบนี้ งานสไตล์ใหม่ๆ ขึ้นมา
วินทร์ : อาจจะเป็นเพราะว่าโดยส่วนตัวเป็นคนที่ขี้เบื่อง่ายก็ได้ ก็เลยอยากทำอะไรที่มันไม่เหมือนเดิม คือพอทำอะไรที่ซ้ำแนวเดิม ก็รู้สึกเบื่อ ก็เลยหาอะไรใหม่ๆ ทำตลอดเวลา แต่ผมคิดว่ามันมีเนื้อหาหรือมีแนวเรื่องให้เขียนอีกเยอะแยะในเมืองไทยเรา เพราะว่าเรายังขาดนักเขียนอีกหลายประเภทมากเลย
พิธีกร : แล้วที่ผ่านมา คุณวินทร์ได้เขียนแนวไหนหรือแบบไหนมาบ้างแล้วค่ะ
วินทร์ : ก็เขียนแนววรรณกรรม แนววิทยาศาสตร์ แนวประวัติศาสตร์ แล้วก็แนวหัสคดี อะไรทำนองนี้ แต่ก็ยังมีอีกหลายแนวที่ยังไม่ได้เขียน
พิธีกร : ทั้งหมดนี้เป็นงานเขียนแนวที่ตัวเองชอบหมดเลย ถนัดหมดเลยหรือเปล่าคะ
วินทร์ : ส่วนใหญ่ก็ชอบ ก็เลยลองเขียนดู คือมันคล้ายๆ เป็นการตั้งโจทย์ให้ตัวเองว่า ก็อยากจะทดสอบว่าตัวเองเขียนแบบนี้ได้ไหม เขียนแบบนั้นได้ไหม อีกอย่างคือเราชอบด้วย เพราะว่าสมัยเด็กอ่านหนังสือเยอะ แล้วก็ชอบอะไรต่างๆ เสร็จแล้วเราก็น่าจะตั้งความคิดเอาไว้ในใจว่า เออ ! ไม่เลวนะ ลองเขียนดู เพราะรู้สึกสนุกกับมัน อันดับแรกคือรู้สึกสนุกกับการเขียนก็เลยเขียนออกมา ไม่ใช่เพราะว่าอยากจะทดสอบอย่างเดียวว่าเราทำได้ทุกอย่าง แต่จริงๆ ก็อยากจะเขียนอีกหลายๆ แนว อย่างแนวนักสืบ แนวสยองขวัญ แนวผี แนวรัก อะไรอย่างนี้
พิธีกร : เป็นเพราะความสนุกก็อยากจะถ่ายทอดออกมานะค่ะ แล้วเพราะอะไรค่ะ ทำไมคุณวินทร์ถึงกล้าที่จะเขียนงานเขียนแนวทดลองหรืองานเขียนแบบใหม่ๆ ออกมา ทั้งๆ ที่นักเขียนหลายๆ คนในบ้านเราอาจจะยังไม่กล้า
วินทร์ : ผมคิดว่าส่วนใหญ่นักเขียนในเมืองไทยชอบทดลองตลอดเวลา แต่ลักษณะการทดลองอาจจะไม่เหมือนกับสิ่งที่ผมทดลองเท่านั้นเอง
พิธีกร : มีความแตกต่างกันอย่างไงค่ะ
วินทร์ : สิ่งที่ผมทดลองในยุคหนึ่ง อาจจะไปทางทดลองแบบรูปแบบซะมากกว่า คือหน้าตาที่มันออกมา ดูมันแปลก แต่จริงๆ แล้วโดยความเป็นนักเขียนของคนทั่วไป ถ้าเกิดเขาทดลองวิ่งหนีจากตัวเองเสมอไปอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผมทำจะออกไปทางเชิงรูปแบบคือมีลูกเล่น มีการใช้ภาพ มีการใช้กราฟิค มีการใช้ตัวหนังสือมาช่วยในการทดลองเท่านั้นเอง
พิธีกร : ก็เลยทำให้งานเขียนของคุณวินทร์แตกต่างจากของคนอื่นๆ อยู่ ต้องบอกว่าแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด
วินทร์ : ดูแตกต่าง
พิธีกร : ต้องบอกว่าแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ในการผลิตงานของคุณวินทร์ ออกมาแต่ละเล่มน่ะ มีวิธีการยังไงบ้างค่ะ
วินทร์ : มันอยู่ที่แนวความคิดของช่วงเวลานั้นๆ ส่วนใหญ่แล้ว ถ้าสังเกตจะเห็นได้ว่ามันจะออกมาเป็นชุด ภาษาอังกฤษเรียก concept มันจะมีไอเดียรวบยอดอันหนึ่งที่ว่าเหมือน concept ของหนังสือเล่มนั้น เช่นมันอาจจะเรื่องเกี่ยวกับชีวิต บางอันอาจจะเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ อะไรทำนองนี้ มันจะเป็นชุดเป็น concept รวมของชุดนั้นๆ ไป มันทำให้หนังสือมีเอกภาพมากขึ้นและชัดเจนมากขึ้น
พิธีกร : ที่ผ่านมา งานเขียนชิ้นไหนค่ะ ที่เรียกว่ายากที่สุด
วินทร์ : มันยากคนละแบบ เพราะว่าถ้ายากในการทำงานก็ต้องเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ ซึ่งต้องใช้เวลาในการรีเสิร์ช งานค่อนข้างมากในส่วนนี้ แต่นิยายเชิงอื่นก็ยากอีกแบบหนึ่ง บางทีเรื่องในแนววิทยาศาสตร์ก็ต้องอ่านข้อมูลมากพอสมควร แต่เรื่องการเขียนหักมุมนี่ ดูเผินๆ อาจง่าย แต่ยากเหมือนกัน เพราะว่ามันต้องคิดพล็อตว่า ทำยังไงถึงจะหักมุมได้สนุก แล้วก็มีความหมายด้วย ไม่ได้เป็นส่วนเกิน อะไรทำนองนี้ มันก็ยากคนละแบบ
พิธีกร : แต่เชื่อว่า คนอ่านหลายๆ คนรวมทั้งตัวดิฉันเองด้วย รู้สึกว่างานเขียนแนวหักมุมนี่ ไม่ง่ายเลย ยากมากเลย
วินทร์ : ยากครับ ยาก
พิธีกร : พออ่านไปแล้ว จะรู้สึกว่าคิดได้ยังไง ขึ้นต้นอาจจะเป็นเรื่องหนึ่ง ลงท้ายเป็นเรื่องหนึ่ง
วินทร์ : เพราะว่าลักษณะเรื่องแนวหักมุม คือเรื่องที่คนอ่านรู้อยู่แล้วว่า มันจะต้องหักมุม เพราะหวังคาดหวังแล้วว่าจะต้องหักมุม เพราะฉะนั้นต้องหักซ้อนให้คนอ่านอีกรอบหนึ่ง เราต้องเล่นกับคนอ่าน สมมุติว่าคนอ่านเค้าคาดไว้อย่างนี้ เราก็ต้องหักไปอีกแบบหนึ่ง อะไรทำนองนี้
พิธีกร : ต้องคิดหลายตลบนะ
วินทร์ : ใช่ คิดหลายตลบ
พิธีกร : โดยความคิดส่วนตัวของคุณวินทร์เองนี่ คิดว่าหนังสือที่ดีควรจะมีองค์ประกอบอะไรบ้างคะ
วินทร์ : ผมแบ่งเป็นสองส่วน อันดับแรกคือสนุก อันดับสองคือมีสาระ แล้วก็วิธีการนำเสนอต้องลงตัว เพราะฉะนั้นมันจะต้องให้อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างน้อยที่สุดมันจะต้องให้ความสนุก หรือความบันเทิง เพราะผมคิดว่า ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะอ่านหนังสือ แล้วต้องทรมานอ่าน อ่านแล้วจะหลับเอา เป็นความทรมาน เพราะหนังสือลักษณะแบบนี้ไม่ใช่ตำราเรียน ถึงแม้ตำราเรียนก็ยังสามารถทำให้สนุกได้ เพราะฉะนั้นอย่างน้อยที่สุดก็ต้องสนุก ขณะเดียวกันมันก็ควรจะให้แง่คิดหรือสาระอะไรบางอย่างที่จะทำให้คนอ่านไปคิด ต่อได้ เราไม่ได้บอกเขาหมด แต่เราชี้บางประเด็นบางจุดที่เขาฉุกคิดมาเอง แล้วให้เขาคิดต่อเอาเอง เพราะถ้าทำยังงั้นได้ค่อนข้างจะสมบูรณ์ในหนังสือเล่มหนึ่ง
พิธีกร : แล้วคิดว่างานเขียนของคุณวินทร์เอง มีองค์ประกอบทั้งสามอย่างนี่ ค่อนข้างจะครบถ้วนไหมคะ
วินทร์ : ผมไม่แน่ใจว่าได้ทุกเรื่องทุกเล่มหรือเปล่า แต่ว่าวิธีการทำงานนี่ ตั้งใจว่าจะเป็นอย่างนั้น มันเป็นการทำงานมากกว่าบรรทัดฐาน ส่วนจะสำเร็จหรือไม่นั้นอยู่ที่คนอ่านว่า จะว่าอะไรหรือเปล่า
พิธีกร : อันนั้น ต้องให้คนอ่านตัดสินใช่ไหมค่ะ ตอนนี้นอกเหนือจากบทบาทในการเป็นนักเขียนแล้วเนี่ยะ คุณวินทร์ยังมีสำนักพิมพ์เองด้วย
วินทร์ : ครับ
พิธีกร : การมีสำนักพิมพ์เองนี่ ตรงนี้มันทำให้การทำงานของคุณวินทร์ ง่ายหรือยากขึ้น ยังไงบ้างค่ะ
วินทร์ : อันดับแรก ผมไม่ได้อยากมีสำนักพิมพ์เอง แต่ที่มีสำนักพิมพ์เอง เพราะว่ามันจำเป็นต้องมี เพื่อจะรองรับในการทำงานของเราเองให้คล่องตัวมากขึ้น ขณะเดียวกันมันเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง คือถ้าเราทำงานไปแล้ว ถ้าเกิดว่าผลลัพธ์มันดีมากๆ เราก็ได้รายรับตอบแทนมากขึ้นกว่าการรับเปอร์เซ็นต์จากนักเขียนธรรมดา แต่โดยปกติแล้ว รายได้นักเขียน มันแค่ 10% การรับเปอร์เซ็นต์ ค่อนข้างจะน้อย มันเป็นการลงทุนโดยใช้ตัวเองเป็นหลักว่า ถ้าเกิดมันขายได้ดี เราก็ได้มากขึ้น ขณะเดียวกันมันจะให้ความคล่องตัว คือเราสามารถจะทำอะไรก็ได้ที่เราต้องการ มีอิสระทุกอย่าง ตั้งแต่เขียนหนังสือจนกระทั่งออกแบบปก แล้วก็ทุกอย่าง
พิธีกร : สามารถที่จะควบคุมได้ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย
วินทร์ : เราก็ไม่ได้แคร์ในเรื่องระบบมากมาย ผมอยากจะทำหนังสือในราคาที่ค่อนข้างสมเหตุสมผล ไม่สูงจนเกินไป
พิธีกร : เอ๊ะ! ถ้าอย่างนี้แล้ว คุณวินทร์ให้ความสำคัญกับในเรื่องของการตลาดมากน้อยแค่ไหนค่ะ
วินทร์ : ให้ความสำคัญมากพอสมควร เพราะว่าเวลาที่เราเขียนหนังสือ มันเป็นศิลปะ แต่พอออกมาเป็นเล่ม มันคือการตลาดอยู่แล้ว
พิธีกร : มันเป็นเรื่องของธุรกิจไปแล้ว
วินทร์ : เราก็พยายามทำให้มันขายให้ได้ คือว่าเราเขียนหนังสือให้ดีที่สุดเท่าที่เราสามารถทำได้ ขณะเดียวกันเราก็พยายามทำให้มันขายให้ได้ด้วย เพื่อให้นักเขียนอยู่รอดด้วย เพราะว่าถ้านักเขียนอยู่ไม่ได้ ก็ไม่มีหนังสืออีกต่อไป มันเป็นวงจรอย่างนี้ล่ะครับ
พิธีกร : แต่ยังไงก็ตาม คุณวินทร์ก็ยังมีความตั้งมั่นว่า จะให้หนังสือออกไปถึงผู้บริโภค ในราคาที่สมเหตุสมผลยังงั้น ใช่ไหมคะ
วินทร์ : ตั้งใจไว้อย่างนั้นตลอด
พิธีกร : จากการที่คุณวินทร์เคยอยู่ในวงการโฆษณามาก่อน ตรงนี้ได้เอาเข้ามาช่วยในเรื่องของการทำงานด้านหนังสือด้วยไหม
วินทร์ : ช่วยได้มากทีเดียว เพราะว่าในเรื่องของรูปหีบห่อของหนังสือ ปกหรือข้างใน การออกแบบก็ช่วยได้ ทำให้หนังสือน่าอ่านมากขึ้น นั่นคือบางท่านอาจจะอ่านมากขึ้น ก็ช่วยได้มาก แต่ว่าบางครั้งการที่เราจัดหน้าทุกอย่าง เราสามารถที่จะช่วยตัดทอนบางหน้าที่ไม่มีความจำเป็นออกไป ทำให้หนังสือบางลง เราก็ทำได้ โดยที่ไม่ต้องมีข้อจำกัดอื่น เพราะว่าเราสามารถที่จะคุมเองได้หมด
พิธีกร : ฟังดูค่อนข้างจะครบวงจร แล้วก็ดูสมบูรณ์แบบ คิดว่าผลิตเอง ออกแบบเอง วาง lay out เอง ส่งโรงพิมพ์ อะไรต่อมิอะไรเองแล้ว ยังดูแลเรื่องการตลาดเอง คือค่อนข้างจะสมบูรณ์ คือน้อยคนนักที่จะสามารถทำได้ครบถ้วน
วินทร์ : มันเป็นข้อแม้ทางอาชีพนักเขียนในเมืองไทย คือถ้าอยากจะเป็นนักเขียนอาชีพ ก็ต้องพยายามที่จะสร้างฐาน หรือว่าพยายามทำตัวเองให้อยู่รอดให้ได้ด้วย นอกเหนือจากการทำงานศิลปะแล้ว ยังพยายามทำตัวให้อยู่รอด ถ้าอยากจะทำงานในระยะยาวต้องทำอย่างนี้ ความจริงก็ไม่อยากจะจับเรื่องการขายอะไรเอง แต่บางทีก็หนีไม่พ้น ต้องทำ
พิธีกร : แล้วพอมีงานหลาย ๆ อย่างเข้ามาหยั่งนี้ ทำให้ตัวเองยุ่งขึ้นไหมคะ
วินทร์ : ยุ่ง แต่มันก็สนุกดี ก็ต้องแบ่งเวลาให้เป็น จริงๆ แล้วก็ไม่ได้ทำตลาดอะไรมากมาย เพราะว่าปีหนึ่งๆ ก็มีหนังสือออกมาสัก 2 เล่ม มันก็ทำสักครั้งสองครั้ง ก็เท่านั้นเอง
พิธีกร : เท่าที่ทราบมา ก็จะมีนักเขียนหลายๆ ท่านที่เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง หรือได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ ก็จะมีครูที่เป็นแบบครูของตัวเองในดวงใจ แล้วโดยส่วนตัวของคุณวินทร์เองนี่ มีครูของการเป็นนักเขียนบ้างไหมค่ะ
วินทร์ : มาก ๆ ครับ คือผมเริ่มต้นจากการอ่านหนังสือมาก่อน เพราะฉะนั้นหนังสือที่ผมอ่านแต่ละเล่ม มันเป็นข้อมูลที่เข้าไปอยู่ในหัวโดยปริยาย แล้วก็วิธีการเขียนของนักเขียนชั้นครูในอดีต ก็จะเป็นครูไปโดยปริยาย ผมมักจะเอาหนังสือในอดีต ของเก่า ๆ มาอ่านดูว่า เขาเขียนได้ดีเพราะอะไร มาวิเคราะห์ดูว่าเขาใช้ภาษายังไง เราก็พยายามที่จะมาเรียน เลียนแบบในช่วงต้นว่า เขาเขียนอย่างนี้นะ หลังจากนี้ก็หาแนวทางของตัวเราเอง วิธีหัดเริ่มการเขียนก็ใช้วิธีนี้
พิธีกร : นั่นก็คือครูที่เป็นหนังสือ แล้วครูที่เป็นตัวคนน่ะ มีไหมคะ
วินทร์ : ไม่ ผมเรียนจากผลงานมากกว่าตัวคน ก็มีหนังสือของนักเขียนเยอะแยะ ก็มีของ อาจินต์ ปัญจพรรค์, มนัส จรรยงค์ ของนักเขียนหลายๆ ท่าน เราก็เรียนรู้ทั้งไทยและอังกฤษ พยายามจะเรียนรู้ว่า เขาเขียนยังไงถึงจะดี พอเราจับหนังสือเล่มหนึ่ง เราอ่านแล้ว เรารู้สึกชอบ เราก็พยายามวิเคราะห์ออกมาว่า เราชอบเพราะอะไร มันดีเพราะอะไร ถ้าเราสามารถวิเคราะห์ออกมาได้ ก็เท่ากับว่าเราได้เรียนรู้อะไรบางอย่างแล้ว
พิธีกร : คงต้องขอย้อนกลับไปอดีตนิดหนึ่ง ตอนที่คุณวินทร์นึกอยากจะเป็นนักเขียน ตอนนั้นตั้งแต่เมื่อไหร่คะ
วินทร์ : จริงๆ แล้ว ไม่ได้คิดว่าตัวเองมีความสามารถที่จะเขียนหนังสือนะครับ คือชอบอ่านอย่างเดียว มันประมาณสัก 15 ปีที่แล้ว คิดว่าประมาณนั้น ที่เริ่มลงมือเขียนหนังสือ แล้วก็มันอาจจะเกิดจากความเบื่อที่จะอ่านหนังสือเดิม ๆ เพราะว่าดูจากในตลาดก็ไม่ได้ถึงกับมีอะไรใหม่มากเท่าไหร่ ที่นี้เมื่อไม่มีสิ่งที่เราอยากจะอ่านเท่าไหร่ เพราะอ่านมาเยอะพอสมควรแล้ว ก็เลยลอง ๆ เขียนดู
พิธีกร : เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ตอนนั้นคุณวินทร์ทำอะไรอยู่คะ
วินทร์ : ตอนนั้นก็เพิ่งกลับจากเมืองไทยใหม่ๆ หลังจากที่ผมไปเรียนต่างประเทศ ก็มาเริ่มทำงานโฆษณา ช่วงเวลานั้นอาจจะยังไฟแรงอยู่ ค่อนข้างจะว่าง ก็เลยเอาเวลามาเขียนหนังสือ
พิธีกร : แล้วตอนนี้คิดว่าตัวเองประสบความสำเร็จบนเส้นทางของการเป็นนักเขียนหรือยังคะ
วินทร์ : ในระดับหนึ่ง ถือว่ามาได้ไกลกว่าที่คิดไว้ตั้งแต่ตอนแรก
พิธีกร : แล้วตอนแรกที่คิดไว้ คิดไว้แค่ไหนคะ
วินทร์ : คิดเล่นๆ ว่า แล้วเขียนหนังสือใส่เข้าไปในลิ้นชักไม่ได้ กะที่จะเอาไปทำอะไร
พิธีกร : เก็บไว้อ่านเองน่ะหรือคะ
วินทร์ : ครับ ลองเขียนดูเฉยๆ หลังจากนั้นก็พอมันได้ตีพิมพ์ แล้วเราก็รู้สึกมีไฟอะไรบางอย่างที่ว่า เราอยากจะเขียนต่อไป แล้วก็อยากจะตีพิมพ์ออกมา
พิธีกร : แล้วตอนนี้โครงการที่ทำหนังสือด้านต่างๆ เล่มอื่นๆ อีกนี่ มีอยู่ในหัวตลอดเวลา
วินทร์ : มีเยอะแยะเลย
พิธีกร : พอจะแย้มพรายให้บรรดาแฟน ๆ นักอ่านได้ทราบบ้างไหมค่ะ
วินทร์ : ก็อยากจะเขียนนิยายวิทยาศาสตร์แบบไทยๆ ที่กำลังเขียนค้างอยู่ ทั้งหนังสือในแนวบทความ พวกปรัชญา พวกวิทยาศาสตร์ ก็กำลังเขียนอยู่ เรื่องพวกนักสืบ สอบสวน ก็กำลังเขียนอยู่ เขียนทีละหลายๆ โครงการพร้อมกัน
พิธีกร : ตอนนี้เรียกได้ว่ามีหลายเล่มมากทีเดียวนะคะ แฟนๆ ก็คงจะได้ติดตามงานเขียนของผู้ชายคุณภาพคนนี้นะคะ แล้ววันนี้ค่ะ คำตอบทั้งหมดของคุณวินทร์ ก็คงจะเป็นบทสรุปที่ดีที่สุดของความเป็นตัวตนของเขานะค่ะ อย่างไรก็ตาม คุณผู้ชมและก็แฟนๆ นักอ่านทั้งหลายสามารถที่จะติดตามแนวคิดและก็มุมมองที่ลึกซึ้งที่เขามีต่อ ชีวิตและสังคมได้จากงานเขียนของเขาค่ะ วันนี้ต้องขอขอบคุณ คุณวินทร์ เลียววาริณ เป็นอย่างสูงค่ะ ที่ได้ให้เกียรติเรานะค่ะ มาพูดคุยกันถึงที่พักค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
วินทร์ : ยินดีครับ
นิตยสารไรเตอร์ ฉบับกันยายน 2540
วินทร์ เลียววาริณ ซีไรต์ หมายเลข 19
จาก : นิตยสารไรเตอร์
ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 กันยายน 2540
หลังจากประกาศรางวัลแล้ว มีนิตยสารติดต่อขอเรื่องหรือสัญญาว่าจะเขียนให้ใครบ้าง
วินทร์ : ไม่ได้สัญญาใครเลย เพียงแต่บอกว่า เขียนได้ก็จะเขียนให้ ซีไรต์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตผมถึงขนาดว่าต้องรีบเขียนอะไรออกมา
ถ้าอย่างนั้นความหมายของคำว่า นักเขียนอาชีพ ที่คุณพูดถึงคืออะไร ที่บอกว่าซีไรต์ทำให้เป็นนักเขียนอาชีพได้เร็วขึ้น ไม่ได้หมายถึงว่าตอนนี้ถึงเวลาแล้วหรอกหรือ
วินทร์ : ไม่ ความหมายของผมไปเกี่ยวอยู่กับคำว่า “มืออาชีพ” ด้วย เพื่องานดีและก็เงินดีด้วย ทั้งกล่องทั้งเงินซึ่งมาพร้อมกัน หากผมคิดถึงเรื่องเงินอย่างเดียว ผมไม่เขียนวรรณกรรมแบบนี้ให้เสียเวลาหรอก ไปเขียนเรื่องอ่านเล่นดีกว่า ได้เงินแล้วก็ไม่โดนวิจารณ์ เขียนตามสบาย ผิดๆ ถูกๆ ไม่มีใครสนใจ
อย่างซีไรต์รุ่นพี่บางคน พอได้รางวัลมาก็เหมือนกับเป็นโรงงานผลิตต้นฉบ้บเลย...
วินทร์ : ผมว่าไม่ดีหรอก เป็นการฆ่าตัวตายเปล่าๆ รางวัลไม่ได้การันตีผลงาน อาจจะการันตีชื่อเสียงในช่วงหนึ่ง แต่ถ้าคุณไม่รักษาคุณภาพไว้มันก็ไปเหมือนกัน
ช่วงนี้อาจเจอคำพูดที่บาดใจ เช่นว่า หนังสือซีไรต์ขายดีก็จริง แต่ไม่แน่ว่าจะมีคนอ่าน บางคนก็ซื้อเก็บไว้ตามกระแส เหมือนเป็นแฟชั่น หรือไม่ก็ครูบาอาจารย์บังคับให้นักเรียนต้องซื้อ ซีไรต์ไม่ได้เป็นตราประทับคุณภาพที่แท้จริง....
วินทร์ : ผมก็ไม่ได้คิดอะไรกับซีไรต์มากไปกว่าเป็นส่วนโปรโมทหนังสืออย่างหนึ่ง คือต้องยอมรับว่าหนังสือเป็นสินค้าตัวหนึ่ง คุณเขียนหนังสือก็เพื่อจะขาย ถ้าไม่ต้องการขายก็คงไม่จำเป็นต้องตีพิมพ์ มันเป็นเรื่องการตลาด 100% ซึ่งบางคนก็มีทัศนะว่าการตลาดเป็นเรื่องของทุนนิยม เป็นความเลวร้าย แต่ลืมไปว่าเรากำลังขายสิ่งดีๆ สิ่งหนึ่ง แล้วมันเสียหายตรงไหน หากว่ามันจะเกิดขายได้แบบถล่มทลาย สำคัญที่วิธีการต่างหาก ซึ่งการใช้รางวัลมาโปรโมท มันก็เป็นวิธีการอย่างหนึ่ง ผมมองไม่เห็นว่าจะมีส่วนเสียหายตรงไหน เป็นการพัฒนาการของการอ่านหนังสือในเมืองไทยด้วยซ้ำ ถึงจุดหนึ่งแล้วคนอาจจะอ่านหนังสือโดยที่ไม่สนใจกับรางวัล แต่กว่าจะถึงจุดนั้นได้ก็ต้องเริ่มจากจุดนี้ก่อน
มีบางคนบอกว่า งานเขียนที่ดีไม่จำเป็นต้องขายดี
วินทร์ :ใช่ สินค้าดีที่ขายไม่ออกก็มีเยอะแยะไป ขณะเดียวกันหนังสือที่ขายดีก็ใช่ว่าจะเป็นงานที่ดีเสมอไป ขึ้นอยู่กับกระบวนการทางการตลาด คือกลวิธีทางการขาย คุณสามารถขายให้ตรงกลุ่มที่คุณต้องการหรือเปล่า คำว่า ตลาด เป็นสิ่งที่กว้างมาก มีการแบ่งเป็นกลุ่มออกไปที่เรียกกันว่า กลุ่มเป้าหมาย ในทางโฆษณาก็ต้องหาจุดคุณสมบัติของตัวสินค้าตัวหนึ่งซึ่งเหมาะกับคนแค่กลุ่มหนึ่งเท่านั้นเอง อย่าไปคิดรวมหรือหวังว่าจะให้คนทั้งหมดมาใช้ มาสนใจ เป็นไปไม่ได้ที่คุณจะเขียนหนังสือให้คนทั้งหกสิบล้านมาอ่าน มันต้องเจาะเฉพาะกลุ่ม หาวิธีที่จะสื่อสารหรือโปรโมชั่นให้เขารู้ว่าหนังสือของคุณเหมาะกับกลุ่ม ส่วนจะเป็นกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่นั่น ก็อยู่ที่สินค้าของคุณ
ในทางการเขียนหนังสือแล้ว การตลาดหรือโปรโมชั่นมีความจำเป็นหรือสำคัญมากน้อยขนาดไหน
วินทร์ : ผมคิดว่าถ้าคุณจับตัวเองถูกจุดที่ภาษาการตลาดเรียกว่า โพสิชันนิ่ง (Positioning) คือวางตำแหน่งของคุณให้ถูกจุด คุณก็อยู่ได้ เหมือนกับที่ชาติ กอบจิตติอยู่ได้ด้วยกลุ่มของเขา ซึ่งกลุ่มของชาติอาจไม่อ่านหนังสือของโน้ต กลุ่มของโน้ตก็อาจไม่อ่านนิยายแนวละครทีวี กลุ่มแบบนี้มีอยู่จริง และทั้งโน้ตทั้งชาติก็จับจุดของเขาถูกว่าเขายืนอยู่ตรงนั้น ทำอะไรก็เพื่อกลุ่มตรงนั้น ฉะนั้นคนที่อ่านก็ยังคงอ่านของเขาอย่างต่อเนื่อง พูดถึงการตลาดก็นับว่าเขาสำเร็จ ซึ่งถ้าอาศัยการโฆษณาเข้าไปเสริม ก็อาจมีกลุ่มคนอ่านของพวกเขาเพิ่มขึ้นเป็นล้านๆ คนก็ได้
ถึงอย่างไรผมก็เชื่อว่าการโปรโมทหนังสือไม่ใช่สิ่งเสียหาย เรามีปัญหาอยู่ว่า เมื่อพูดถึงวิธีคิดแบบนักโฆษณา หลายคนก็มองว่าเป็นสิ่งไม่ดี เป็นกลวิธีของทุนนิยม จริงๆ แล้วเราอยู่ในโลกของทุนนิยมหรือเปล่า ถ้าใช่มันก็ต้องโฆษณา เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของทุนนิยม หนีไม่พ้น แต่จะทำยังไงให้การโฆษณาอยู่ในระบบที่ควบคุมได้ มีจรรยาบรรณ เท่านั้นเอง
แน่นอนว่าเราเลี่ยงสังคมทุนนิยมไม่ได้ เป็นระบบที่เราเลือกที่จะอยู่ เพราะแม้ไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุด แต่ก็เป็นระบบที่เลวน้อยที่สุด ในปัจจุบันถ้าให้คุณเลือกระหว่างทุนนิยมกับคอมมิวนิสต์ คุณจะเอาแบบไหน... ผมว่าถึงยังไงเราก็ต้องเลือกไอ้ที่เป็นอยู่นี้ จะไปหวังถึงสังคมที่สมบูรณ์คงไม่ได้ มันไม่มี และเมื่อโฆษณาคืออาวุธของสังคมทุนนิยม แล้วทำไมเราถึงจะใช้ในการโฆษณาสิ่งดีๆ เช่นหนังสือไม่ได้ ในเมื่อทุกวันนี้มีการใช้การโฆษณาในสิ่งไม่ดีเยอะแยะไป
หมายถึงว่า นอกจากคุณจะคิดเรื่องเขียนหนังสือให้ดีแล้ว ยังต้องคิดเรื่องหนังสือของตัวเองต้องขายได้ด้วย
วินทร์ : เปล่า! ผมไม่เคยคิดเลย เพราะผมเขียนหนังสือไม่ได้หวังให้มันเป็นเบสต์ เซลเลอร์ ผมเขียนเพื่อเอาใจตัวเองต่างหาก เขียนในสิ่งที่ตัวเองอยากอ่าน และเชื่อว่ามีคนส่วนหนึ่งอยากที่จะอ่านอะไรแบบนี้ แต่ไม่มีใครเขียนให้เขาอ่าน
มีบางคนบอกว่าเขาเขียนหนังสือโดยไม่หวังยอดขาย หวังแค่ให้มันดี ตัวคุณเองหมายความตามนั้นหรือเปล่า
วินทร์ : ผมเพียงแต่เขียนในสิ่งที่ผมชอบ เพราะในโลกนี้ไม่มีอะไรดีและไม่ดีโดยแท้จริง หนังสือก็เหมือนกัน แนวการเขียนควรจะมีหลายแนวในตลาด เพื่อเปิดโอกาสให้คนเสพได้เลือกมากขึ้น ซึ่งก็แปลว่าตลาดหนังสือขยาย ส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่าเป็นการดีที่โน้ตเขียนหนังสือแนวตลกของเขา ขณะที่คนเขียนแนวซีเรียสก็เขียนกันไป บู๊ล้างผลาญก็เขียนไป แนวน้ำเน่าก็เขียนไป แต่รวมๆ แล้วทำให้ตลาดหนังสือมีความหลากหลาย พอหลากหลายแล้วมันก็โตขึ้นเอง ถ้ามัวแต่คิดว่าเรื่องที่ดีต้องแบบนั้นแบบนี้ แบบโน้นไม่ได้ มันต้องอ่านยากเหมือนดอสโตเยฟสกี ผมว่ามันก็ไม่ไหว มีคนอ่านดอสโตเยฟสกีจบสักกี่คน ขืนบังค้บให้เขาต้องอ่านแต่อย่างนั้นบางทีเขาอาจไม่อ่านไปเลย ดูทีวี. ดูวิดีโอดีกว่า
ผมอาจคิดเรื่องการขายบ้างเหมือนกัน แต่ก็คิดในฐานะที่ว่า นักเขียนนั้นนอกจากจะเขียนในสิ่งที่ตัวเองชอบแล้ว ยังต้องรับผิดชอบต่อชีวิตตัวเองด้วย คือต้องขายได้ด้วย คุณจะมีชีวิตแบบกินเกลือก็ได้ แต่ว่ามันยากมาก เพราะถ้าคุณไม่มีรายได้เลี้ยงตัว ต้องอดๆ อยากๆ ท้องที่หิวจะผลิตงานดีๆ ออกมาได้ยังไง
อาจมีบางคนแย้งคุณว่า ภาวะอดอยากต่างหากที่ทำให้นักเขียนค้นเจอเรื่องดีๆ นักเขียนต่างประเทศก็มีหลายคนที่เผชิญกับชีวิตลำบาก
วินทร์ : ผมว่าไม่จำเป็นเลย นักเขียนที่อยู่ในคฤหาสน์ก็เขียนวรรณกรรมเพื่อชีวิตได้ ถ้าเขาศึกษามากพอ มันผิดตรงไหน
เขียนได้ แต่อาจจะไม่ลึกซึ้ง
วินทร์ : โอเค คุณอาจลำบากมาก่อนจึงจะสะท้อนความรู้สึกนั้นออกมาได้ แต่คุณไม่จำเป็นต้องยากจนตลอดเวลาเพื่อจะเขียนอะไรแบบนั้น ไม่จำเป็น ผมมองว่าถ้าคุณเคยยากจนมาก่อน แล้วคุณเกิดร่ำรวยขึ้นมานี่ คุณอาจผลิตงานเลอเลิศขึ้นมาก็ได้ เพราะร่างกายคุณแข็งแรงกว่า สมองคุณ ความคิดคุณก็แล่น งานมาสเตอร์พีชอาจจะออกมาในจังหวะแบบนี้
ถามตรง ๆ ในการเขียนหนังสือ คุณคิดอยากมีชื่อเสียงหรือไม่
วินทร์ : ไม่ โดยนิสัยส่วนตัวผมเป็นคนเก็บตัวตั้งแต่เด็ก เก็บตัวมากๆ ด้วย ถึงนาทีนี้ผมรู้สึกว่าผมจะเปิดตัวออกไปมากจนเกินควรแล้ว มากกว่าที่ผมจะจินตนาการไปถึงได้ (หัวเราะ)
อย่างแต่ก่อน จะให้ผมไปพูดในที่ชุมชน ผมพูดไม่ได้ ถ้าอยู่ในชั้นเรียน อาจารย์ถาม ใครมีความเห็นอะไรบ้าง ผมจะเป็นคนสุดท้าย... คือเป็นนักเรียนสมัยเก่า หลบอยู่หลังชั้น ถ้าอาจารย์ถาม จะนั่งก้มหน้าตลอด ผมชอบที่จะอยู่เงียบๆ มากกว่า แต่บังเอิญ เข้าใจว่าสถานการณ์การตลาดกับหนังสือในเมืองไทย สองสิ่งนี้ควรจะไปด้วยกัน
เป็นความเข้าใจ...
วินทร์ : ผมทำความเข้าใจเงื่อนไขตรงนี้ บางครั้งก็ฝืนตัวเองเหมือนกัน แต่เพื่อเห็นแก่อนาคตว่า ถ้าอยากจะเขียนหนังสือและให้ขายได้ ก็ต้องยอมเปิดตัวเองออกไป สองสามปีมานี้ผมก็ยอมเปิดตัวเพราะเหตุผลนี้ เข้าใจว่าต้องทำ
โดยลึกๆ แล้วพอใจที่จะอยู่ในมุมสงบของตนเอง
วินทร์ : ใช่ ผมมีความสุขมากเวลาอยู่คนเดียวเงียบๆ แล้วนั่งคิดเพ้อฝันไปตามเรื่องตามราว
ถ้างั้นซีไรต์ก็ต้องมีผลกระทบกับชีวิตคุณค่อนข้างมาก อย่างน้อยที่เห็นๆ ก็คือต่อการเรียน
วินทร์ : หลังประกาศซีไรต์ผมคิดไปตั้งกี่ครั้งแล้วนี่ เรื่องว่าจะดร็อป เพราะซีไรต์นี้เลยจะทำให้ตกวิชานี้ (หัวเราะ)
ตอนประกาศหกเล่มสุดท้าย หาของคนอื่นมาอ่านบ้างไหม
วินทร์ : ไม่ได้อ่าน ช่วงหลังๆ ผมไม่มีเวลาอ่านเลย ใช้เวลากระเบียดกระเสียรมาก แม้แต่เวลาที่แบ่งให้การเขียนหนังสือก็น้อยลงไปมาก บางวันก็มีให้แค่สิบ-ยี่สิบนาที่
หรือคิดว่าได้ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะปีที่แล้วก็เข้ารอบไปเหมือนกัน
วินทร์ : ปีที่แล้วต่างหากที่ผมได้เรียนรู้อะไรตั้งหลายอย่าง เพราะเขามีการคอมเมนต์ มีวิจารณ์ของทุกคน บรรยากาศคึกคักกว่าครั้งนี้
ถ้าเกิดประกาศเป็นคนอื่น....
วินทร์ : ผมไม่คิดว่าจะเข้ารอบหกเล่มด้วยซ้ำไป ไม่คิดว่านิยายโลดโผนแบบนี้จะเข้าถึงซีไรต์ มันมีหลายอย่างที่คล้ายกับของคุณวศิษฐ์ เดชกุญชรด้วยซ้ำ
ได้คิดวิเคราะห์ไหมว่า อะไรทำให้เล่มนี้กลายเป็นซีไรต์
วินทร์ : ไม่ ผมขี้เกียจวิเคราะห์ คิดเอาว่าเป็นจังหวะหลายๆ อย่างรวม ๆ กัน
ในเรื่องสั้น หมึกหยดสุดท้าย ซึ่งถือเป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกที่ ผ่านเกิด จากบก.สุชาติ สวัสดิ์ศรี (ตีพิมพ์ใน ช่อปาริชาติ) คุณเองได้กระแนะกระแหนรางวัลนี้....
วินทร์ : จริง ๆ แล้ว ไม่ได้กระแนะกระแหนรางวัล แต่กระแนะกระแหนผลลัพธ์จากการหวังพึ่งรางวัล หรือการใช้รางว้ลเป็นตัวแปรในการสร้างชื่อทางการเขียนหนังสือ ซึ่งพุ่งไปที่เรื่องทางการตลาดมากกว่า
เรื่องนั้นก็เริ่มด้วยการทดลอง มีการใช้รูปแบบสัมภาษณ์นักเขียน
วินทร์ : เป็นลูกเล่นอันหนึ่ง ถือเป็นลูกแรกๆ ที่จะหาดูว่ามีวิธีไหนที่เราจะนำเสนอเรื่องของเราออกไป ผมเข้าใจว่าเหตุผลที่มาของการคิดแนวทดลองมากมาย ก็เพราะว่าในช่วงแรกที่เขียนนั้นภาษาของผมไม่ดีเอาเสียเลย จะเดินเรื่องแบบธรรมดาค่อนข้างยากสำหรับผม ก็เลยใช้เครื่องมือที่ตัวเองถนัด คือกำลังทำในวงการโฆษณาอยู่ด้วย ทุกๆ วันก็ได้คิดอะไรใหม่ๆ ออกไป เลยดึงตัวนั้นมาใช้
หมึกหยดสุดท้าย ผมเขียนก่อนที่จะรู้จัก ช่อการะเกด หรือ ช่อปาริชาติ เขียนไปตามความคิดที่อยากจะทำแนวทดลอง และเมื่อลองส่งไปให้คุณสุชาติ ก็เป็นเรื่องที่โดนแก้เยอะมาก ต้นฉบับที่ส่งกลับมานี่แดงเถือกเลย คือเติมเรื่องบางส่วนให้เหมาะสมขึ้น รวมทั้งภาษาที่ตอนนั้นยังห่วยอยู่มาก ผมก็ได้ถือเป็นแบบเรียน
คุณมีงานเขียนชิ้นแรกคือ ไฟ เป็นเรื่องสั้นลงตีพิมพ์ในนิตยสาร อิมเมจ แต่ดูเหมือนว่าหลังจากนั้นคุณจะพิสมัยสนาม ช่อการะเกด เป็นพิเศษ มีศรัทธาเฉพาะตัวกับ บก.สุชาติหรือ
วินทร์ : ไม่ ผมเพิ่งได้ยินชื่อสุชาติก็ตอนกลับมาเมืองไทย จากช่อการะเกดนี่แหละ คือตอนที่กลับมาใหม่ๆ มันมีเวลาว่างมาก สมองมันวิ่งไปวิ่งมา เลยขยับปากกาเขียนเรื่องเพื่อไม่ให้ว่าง แล้วคราวนี้เรื่องที่ผมเขียนก็เอาสนุก เป็นหักมุม ตื่นเต้น มากกว่าจะเป็นวรรณกรรมแท้ๆ ซึ่งพอลองไปพลิกหนังสือหาสนามดู มันไม่มีสนามแบบเรื่องของผมเลย มีที่เฉียดๆ ก็อย่าง มติชนและอิมเมจ ทดลองส่งไป แล้วอีกที่คือ ช่อการะเกด เพราะเห็นในหนังสือเขาบอกว่ายินดีเปิดกว้าง พอ หมึกหยดสุดท้าย ได้ลง เรื่องหลังนี่ โลกีย-นิพพาน ถือว่าผมเขียนแรง บก.ที่น่าจะรับได้ที่สุดคือคุณสุชาติ เป็นการทดสอบ บก.ซึ่งก็โอเค. เลยเจาะจงว่าถ้าเป็นเรื่องแรงๆ หนักๆ ก็จะส่งให้แก
เรื่องนั้นเป็นการวิพากษ์วิจารณ์วงการศาสนาพุทธ ในขณะที่คุณเองเพิ่งกลับมาถึงเมืองไทยใหม่ๆ หรือว่าติดตามข่าวคราวทำนองนี้มาก่อน
วินทร์ : มันมีพระเฮงซวยที่เกิดเป็นข่าวอยู่เรื่อย อ่านๆ ไปแล้วน่าเบื่อมาก แล้วเคยเจอพระอ่านหนังสือ มิถุนา ที่สนามหลวง เป็นพระนะ แต่นั่งอ่านเฉยเลย ผมอยากจะ- อย่าหาว่าบาปเลย อยากจะตรงเข้าไปตบกะโหลกสักที เป็นพระเป็นเจ้าอยู่ในที่สาธารณะ ทำไมทำอย่างนี้ แล้วก็มีอีกหลายๆ เรื่องประดังเข้ามา โดยเฉพาะเวลาไปเจอป้ายว่าทำหลวงพ่อต่างๆ ออกมาขาย หรือโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์ เลยเขียนเรื่องนี้ออกมาประชดแรงๆ เอาพระมาเทียบกับเซ็กซ์เสียเลย
ที่มีเสียงชื่นชมกันมากคือเรื่อง น้ำสองสาย ที่เอาเด็กชายใหม่ รักหมู่มาเล่าใหม่ ลำดับที่มาของเรื่องนี้เป็นมาอย่างไร
วินทร์ : เรื่องนี้มีภาพเหตุการณ์ในอดีตอยู่บ้าง คือทางใต้เขาจะมีประเพณีชักพระ คล้ายๆ เป็นแบ็คกราวด์ของเรื่องแต่ตัวเรื่องคือแสดงความตัดกันระหว่างวัฒนธรรมเก่า-ใหม่ คือตอนนั้นพวกพิซซา แม็คโดนัลด์ เบอเกอร์คิงเข้ามาแล้ว จะมีส่วนหนึ่งที่ต่อต้าน บอกว่าเป็นสิ่งเลวร้ายมาก คือเห็นอะไรใหม่ๆ ออกมาก็จะบอกว่าไม่ได้ไว้ก่อน
ที่นี้ผมมีความเห็นในทำนองกลับกัน คือผมไม่ได้บอกว่ารับได้หรือไม่ได้ แต่เห็นว่ามันเป็นกระแสชีวิต ที่ต้องเดินไปอยู่แล้ว เราต้องยอมรับว่าโลกนี้กว้างขึ้น ติดต่อกันง่ายขึ้น เป็นโกลเบิลไลเซชั่น (Globalisation) ซึ่งจะต้องเป็นไปอย่างนี้อยู่แล้ว ถ้าคุณยังอยู่ในโลกนี้นะ ยกเว้นคุณจะย้ายไปอยู่ดาวอังคารก็อีกเรื่อง ฉะนั้นโอกาสที่คุณจะกินแม็คโดนัลด์มันมีสูง ถ้าเราจะใช้ค่านิยมเก่าๆ ในการวัดว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดี ผมไม่แน่ใจว่าจะเป็นความยุติธรรม
เรื่องนี้มีจุดเด่นอยู่ที่การใช้ภาษา
วินทร์ : ก็คิดอยู่นานเหมือนกันว่าจะทำอย่างไรถึงจะพรีเซ็นต์ให้เห็นถึงความตัดกันของสองย ุดออกมาได้ แต่พอนึกถึงภาษาก็ปิ๊งขึ้นมาทันทีในเซ็คชั่นที่เป็นสมัยก่อน ก็ใช้ภาษาใหม่ ที่เป็นสมัยใหม่ก็เลือกใช้ภาษาเก่า
คือสมัยนั้นเป็นสมัยรัฐนิยม เขาตัดอักษรไทยออกไปหลายตัวมาก แล้วทุกคนก็ต้องเคารพกฎกติกา ต้องรักชาติ เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย ทีนี้ถ้ามาเทียบกับปัจจุบัน ชาตินิยมในยุคนั้นมาเจอตอนนี้เข้าต้องเป็นลมตายแน่ๆ เพราะตอนนี้เห็นฟาสต์ฟูดเต็มไปหมดเลย
เรื่องแบบนี้ผมคิดว่าเราจะมองในแง่ผิด มันก็ผิด จะมองให้ถูกมันก็ถูก แล้วแต่มุมมอง
เรื่องนี้นับว่าโดดเด่นและสมบูรณ์ แต่แปลกที่ไม่ได้รางวัลอะไร กลับไปได้ช่อการะเกดยอดนิยมจาก โลกสามใบของ ราษฎร์ เอกเทศ
วินทร์ : ผมก็งงๆ (หัวเราะ) เรื่องนั้นถ้าจะว่าเด่น ก็เด่นที่รูปแบบ ผมค่อนข้างแน่ใจว่าไม่มีใครเคยใช้มาก่อน
การค้นคิดทดลองรูปแบบใหม่ๆ แต่ละครั้งกลัวหรือกังวลไหมว่ามันจะไปซ้ำกับที่เคยมีอยู่ก่อนแล้ว
วินทร์ : คือพัฒนาการของหนังสือและศิลปะ จริงๆ แล้วไม่มีอะไรใหม่ อะไรก็ตามที่เราคิดมักจะมีคนคิดมาก่อน เพียงแต่เราไม่รู้ เพราะสมองของคนเรามีกระบวนที่ไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ บางทีไอเดียมันจะออกมาซ้ำกัน จนน่าแปลกใจ ก็ถือว่าโอเค ถ้ามันชัดเจนเกินไปเราก็ต้องถอย เพราะเขาเขียนมาก่อน ต้องให้เครดิตเขา ถ้าเรารู้เราก็จะถอยแล้วไปหาแนวใหม่ เช่นเดียวกัน หลายไอเดียที่ผมคิดไปแล้วมีคนอื่นคิดเหมือนกัน แต่โชคดีที่ผมได้ตีพิมพ์ก่อน เขาก็ต้องถอยให้ตามเงื่อนไขของจังหวะเวลา ฉะนั้นเวลามาวิจารณ์ว่าใครลอกใครนี่ตอบยากมาก ต้องดูที่เจตนาว่าตั้งใจจะลอกหรือเปล่า วิธีการคิดต่างๆ อาจซ้ำกันได้ อย่างในงานโฆษณาจะเจออยู่เรื่อยๆ บางทีไอเดียจะเหมือนกันเลย ไม่น่าเชื่อ แต่การมีองค์ประกอบเหมือนกันก็ไม่ได้แปลว่าเป็นเรื่องเดียวกัน
แสดงว่าจำเป็นต้องอ่านมากๆ เพื่อจะได้รู้ว่า ใครเคยใช้รูปแบบที่เราคิดจะใช้แล้วบ้าง
วินทร์ : ผมไม่แน่ใจ ระยะหลังๆ ผมกลับคิดอีกอย่าง การอ่านมากผมกลัวว่าจะเป็นการรับไอเดียบางไอเดียเข้ามา และฝังอยู่ในใจ แล้วหลงคิดว่าเป็นของเราเอง สิ่งนี้มันเกิดขึ้นได้ อันตรายมาก บางครั้งมันเข้าไปแล้วผสมกับไอเดียเก่าของเรา หลอมเป็นไอเดียใหม่ขึ้นมา แต่ก็ยังมีรากฐานไอเดียของคนอื่นอยู่ เขียนไปแล้วนึกดีใจว่าเราคิดไอเดียนี้ขื้นมาได้อย่างไร แต่พอเวลาผ่านไปได้ระยะหนึ่ง จะคุ้นๆ ว่าไอ้นี้ได้มาจากไหนนะ ที่ไหนได้ เป็นของคนอื่น
หลายปีที่ผ่านมาผมแทบจะไม่ได้อ่านเรื่องของคนอื่น ทำสมองให้ว่างแล้วจับจากอากาศดีกว่า ผมเรียกว่าพลังการคิดจากอากาศ ไอเดียแปลกๆ ใหม่ๆ นี่เราสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาโดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีหลักการ ซึ่งเป็นวิธีที่ฝรั่งเขาใช้ บางครั้งอาจจะซ้ำกับคนอื่น อย่างที่บอกว่าคนเรามีโอกาสคิดซ้ำกันได้ แต่ก็ถือว่าปลอดภัยกว่า
นักเขียนส่วนใหญ่จะเอาชีวิตจริงของตัวเองหรือที่ได้สัมผัสมาผสมกับจินตนาการ แต่ของคุณรู้สึกจะเน้นไปที่จินตนาการ มีเรื่องไหนที่มีสัดส่วนเรื่องจริงอยู่มากกว่าเรื่องแต่งบ้าง
วินทร์ : เรื่องแต่งมากกว่าทั้งนั้น ทั้งหมดเป็นจินตนาการ บางทีเกิดจากสิ่งที่เราอ่านตอนเด็กๆ มาหลอมรวมกัน ได้แนวคิดใหม่ๆ ออกมา แต่จริงๆ แล้วประสบการณ์ในชีวิตมันติดอยู่กับตัวเราอยู่แล้ว คือพฤติกรรมโดยพื้นฐานของคนนี่ค่อนข้างจะเหมือนกัน มีแต่รายละเอียดของเรื่องราวเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป เวลาเขียนผมจะใช้ประสบการณ์ส่วนตัวในฐานะประสบการณ์ทางจิตใจ แต่ด้านข้างนอกนี่ผมไม่มี ก็ต้อไปรีเสิร์ช (research) เอา
ประสบการณ์ชีวิตไม่จำเป็นสำหรับการเขียน....
วินทร์ : สำหรับคนอื่นอาจจะจำเป็น แต่สำหรับผมแล้วถือว่าน้อย เพราะชีวิตที่ผ่านมาก็จะเรียบๆ ไม่มีอะไรหวือหวาเท่าไหร่ ผมจึงอาศัยการจินตนาการมากกว่า อย่างเขียนเรื่องแนวประวัติศาสตร์ ก็ไม่จำเป็นว่าต้องอยู่ในเหตุการณ์จริงถึงจะเขียนได้ เพียงแต่เราเอาประสบการณ์ของเราที่เกี่ยวข้องกับคนที่อยู่ด้วยกันมาผสานกับข้อมูลประวัติศาสตร์ผสานกับจินตนาการ เราสามารถทำมันได้
เรื่องสั้นอีกเรื่องหนึ่งที่ถือว่าโดดเด่น คือ ปทานุกรมแห่งชีวิต มีขั้นตอนการคิดอย่างไร
วินทร์ : เรื่องนี้มาพร้อมๆ กันระหว่างรูปแบบและเนื้อหา คิดว่าจะพรีเซ็นต์คนกรุงเทพฯ ออกมาอย่างไร ที่นี้มีคำว่า dictionary เข้ามา อย่างไรไม่ทราบ ก็คิดว่าเป็นไปได้ไหมที่จะพรีเซ็นต์ออกมาให้เป็นอย่างนั้นเลย ทั้งเรื่องเป็นคำศัพท์ ให้ภาพคนชั้นกลางออกมาให้ได้
สำหรับคุณวินทร์แล้ว คำนิยามของกรุงเทพฯ คืออะไร
วินทร์ : ความจริงในเรื่องสั้นเรื่องนั้นเป็นการแสดงความเห็นของคนเขียนไว้ค่อนข้างจะชัดเ จน ผมไม่ชอบกรุงเทพฯ ไม่รู้ทำไม ไม่รู้สึกว่าเป็นบ้านเท่าไหร่
แต่ที่หาดใหญ่บ้านคุณ ก็วุ่นวายไม่น้อยไปกว่ากรุงเทพฯสักเท่าไหร่
วินทร์ : แต่ถึงอย่างไรมันก็เป็นที่เกิด... หรืออย่างเวลาผมไปต่างจังหวัดบางจังหวัด ผมยังรู้สึกว่ามันเป็นบ้านของผมมากกว่าเลย แต่กับกรุงเทพฯยังไงก็ยังรู้สึกว่ามาอยู่ชั่วคราว ผมไม่ขอตายที่นี่
กรุงเทพฯ เลวขนาดนั้นเชียวหรือ
วินทร์ : อาจไม่ก็ได้ แต่ผมไม่ชอบชีวิตพลุกพล่านแบบนี้ เมืองในฝันของผม น่าจะเป็นเมืองที่สะอาด อากาศดี ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส ผมไม่ชอบในสเกลใหญ่ของกรุงเทพฯ อยากได้เมืองที่เล็กกว่านี้หน่อย และชีวิตไม่ต้องรีบร้อน
นั่นดูเหมือนจะเป็นความฝันของคนชั้นกลางในกรุงเทพฯแทบทุกคน
วินทร์ : ใช่ ผมก็เป็นคนชั้นกลางไง
คุณวิพากษ์คนชั้นกลางผ่านโทรศัพท์มือถือ เรียกมันว่า สากกะเบือ ในขณะที่คุณเองก็ใช้มันในชีวิตประจำวัน
วินทร์ : สำหรับผม เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ดีถ้าเรารู้จักใช้มัน ก็เหมือนที่ผมใช้คอมพิวเตอร์ในการเขียนหนังสือ โทรศ้พท์มือถือนี่มีประโยชน์มากเลยในการใช้งาน ยิ่งเฉพาะในกรุงเทพฯ
แต่ผมไม่ได้ใช้มือถือแบบ เดินเข้าไปในร้านอาหาร แล้วก็พูดๆๆๆ คือถ้าคุณใช้ในฐานะแฟชั่นเมื่อไหร่ คุณก็เป็นทาสมันทันที คุณขับรถคุณก็ยกมือถือขึ้นมา แทนที่จะไปซื้อแฮนด์ เซ็ทติง (Hand Setting) ซึ่งจะปลอดภัยมากกว่า ก็ไม่ทำ เลือกที่จะโชว์ว่านี่โทรศัพท์มือถือ แต่ตอนนี้คงไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่ เพราะราคามันถูกลงแล้ว ตอนสมัยแรกๆ เห็นแล้วรำคาญตามาก
ผมจำเป็นต้องมีมือถือ เพราะจำเป็นต้องใช้งานติดต่อธุรกิจ ทำให้งานดีขึ้น เร็วขึ้น แต่ก็พยายามเก็บไว้ ไม่ถือโชว์ บางคนไม่มีมารยาท ไปที่ไหนก็พยายามให้ได้พูดมือถือ ผมว่าช่วงแรกๆ ม้นเป็นค่านิยมเสียเกินครึ่ง ไม่ใช่เฉพาะมือถืออย่างเดียว บัตรเครดิต บัตรสารพัด ซึ่งเรากลายเป็นทาสของมันไปแล้ว แม้กระทั่งรถยนต์ก็เถอะ ติดที่ยี่ห้อ ติดที่สารพัดสารพัน แทนที่จะใช้มันเป็นพาหนะช่วยพาเราไปสู่จุดหมาย หรืออย่างกระเป๋าหลุยส์ วิตตอง คือถ้าคุณใช้เพราะมันเป็นหนังแท้ ทนทาน ใช้ได้นาน นั่นถือเป็นประโยชน์ หรือหน้าที่ในทางใช้สอย แต่ถ้าเพื่อการโชว์เมื่อไหร่ เป็นทาสมันทันที แสดงว่าในตัวคุณไม่มีอะไรเลย ไม่มีอะไรดี ถึงต้องเอาอะไรที่คุณคิดว่าดีมาประดับ ถ้าเอากระเป๋าใบนั้นออกเสียเมื่อไหร่ ตัวคุณก็ไม่มีคุณค่า เป็นอย่างนั้นหรือเปล่า
คุณบอกว่าในชีวิตคุณเวลาต้องกระเบียดกระเสียรมาก เช่นนั้นคุณมีเวลาสำหรับคิดเรื่องงานเขียนอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นพล็อตเรื่อง รูปแบบ วิธีการ
วินทร์ : ผมคิดได้ทุกเวลา ไม่เลือกว่าจะเป็นเวลาทำงาน แต่ไม่ได้หมายถึงไม่ทำงานนะ อย่างสมมุติขณะผมทำงานโฆษณาไป เกิดมีอะไรโยงมาสู่เรื่องสั้นได้ ผมก็จดไว้เลย จดใส่มือนี่แหละ แล้วทำงานต่อ ในทางกลับกัน บางทีกำลังเขียนเรื่องสั้น มีไอเดียบางอย่างที่ผุดขึ้นมาและน่าเอาไปใช้ในโฆษณา ผมก็จดไว้เป็นไอเดียโฆษณา
ต้องใช้ประโยชน์จากสมองให้มากที่สุด เพราะจุดสำคัญของการทำงานอยู่ที่หน้าที่รับผิดชอบ ถ้าคุณทำงานออกมาตรงเวลา ทุกอย่างก็โอเค ไม่ใช่อยู่ที่ว่าคุณจะเอาเวลาในออฟฟิศมาคิดเรื่องสั้นไม่ได้ หรือเวลาที่บ้านคิดงานโฆษณาไม่ได้
ในเล่ม เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว คุณบอกไว้ในคำนำว่าอ่านเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ของทั่วโลก แต่ที่มีบุญคุณทางการอ่านคือ จันตรี ศิริบุญรอด ทำไมถึงไม่เป็น ไอแซ็ค อาซิมอฟ หรือ อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก
วินทร์ : เพราะว่าผมอ่านงานของจันตรีมาก่อนตั้งแต่สมัยเด็ก ของนักเขียนฝรั่งเพิ่งมาอ่านตอนเรียนมัธยมนี่เอง แม้จะเห็นว่าเขาไปไกลกว่าเราหลายขั้น แต่เชื่อว่างานของจันตรีต่างหากที่จุดประกายให้ เป็นพื้นฐานของจินตนาการในวัยเด็ก โตขึ้นแล้วมันก็แปรเป็นความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของทุกอย่าง ถ้าผมไม่ได้อ่านงานของจันตรีตอนนั้น ผมอาจจะไม่ได้เป็นนักเขียนก็ได้
แต่เมื่อถึงเรื่องสั้นแนวหักมุม กลับกลายเป็น โอ. เฮนรี แทนที่จะเป็นอาจินต์ ปัญจพรรค์
วินทร์ : ผมศึกษาจาก โอ. เฮนรี ถือว่าเขาเป็นอาจารย์ แล้วชีวิตเขาก็น่าสนใจนะ เข้าใจว่าไปทำเรื่องร้ายๆ ไว้เยอะ แล้วหนีไปต่างประเทศ แล้วกลับมาเพราะเมียกำลังจะตายหรือไงนี่ เลยโดนจับเข้าคุก ฟังดูซึ้งนะ ช่วงอยู่ในคุกก็ได้รู้จักคนเยอะแยะ อ่านเรื่องของเขามีหลายเรื่องที่ซาบซึ้งใจมาก แล้วทุกเรื่องก็หักมุมหมด
อีกคนที่คุณบอกไว้ว่าถือเป็นอาจารย์คือ ปกรณ์ ปิ่นเฉลียว
วินทร์ : อ่านตั้งแต่เด็กเหมือนกัน รู้สึกจะอ่านของคนนี้เยอะสุดด้วยซ้ำ ทำให้เดี๋ยวนี้ก็ยังติดบางอย่างมา คือมีคนถามว่าผมมีอะไรกับตำรวจหรือเปล่า เห็นใช้ตัวละครเป็นตำรวจอยู่เรื่อย ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะตัวละครตำรวจมันไปกันได้กับเรื่องในแนวตื่นเต้น
แม้กระทั่งใน ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ก็ใช้ตำรวจเดินเรื่องอีก
วินทร์ : อันนี้จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องสืบสวนสอบสวนก็คงหนีไม่พ้นตำรวจ คือถ้าคุณอ่านนิยายในแนวนี้ คุณอาจจะเพ้อฝันว่าตัวเองเป็นฮีโร่อย่างนั้นบ้าง
ในการเขียนเรื่องนี้ งานที่หนักที่สุดของคุณ น่าจะเป็นในขั้นเก็บข้อมูล
วินทร์ : ใช่ ผมต้องอ่านหนังสือเยอะมาก ใช้เวลาไปหลายเดือนเหมือนกัน เล่มแรกๆ ที่อ่านคือ เบื้องหลังประชาธิปไตย ของ สมาคมนักข่าว อ่านไปแล้วก็งง ไม่รู้เรื่องเลย เพราะเราเกิดไม่ทันเหตุการณ์นั้นอยู่แล้ว ก็ได้แต่จดประเด็นที่น่าสนใจไว้ แล้วก็ไปอ่านเล่มอื่น คราวนี้มันก็จะมีบางประเด็นที่ซ้ำๆ กัน ซึ่งเมื่อซ้ำกันมากๆ เข้านี่ ก็จะเป็นประเด็นที่ลึกจะเห็นภาพว่าในช่วงนั้นจริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้น
คุณเคยบอกว่าเริ่มแรกอยากที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ดูเล่นๆ ไม่ได้คิดจะเขียนเป็นนวนิยายเลย
วินทร์ : ใช่ คืออยากจะรู้ประวัติศาสตร์การเมืองบ้าง แต่พออ่านไปๆ เจอตอนกบฏแมนฮัตตัน กบฎบวรเดช ตาลุกเลย มันเป็นไปได้ยังไง เหมือนกับในหนังเลย และที่แปลกใจมากคือไม่เคยอ่านเจอในตำราเรียน เลยคิดว่าน่าจะทำเป็นนิยาย อย่างน้อยก็เป็นการเซอร์เวย์ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างทางการเมืองของเรา
เป็นนักศึกษาที่อยู่ทันเหตุการณ์เดือนตุลา มีแรงขับจากเหตุการณ์นั้นทำให้คิดเขียนเรื่องนี้หรือเปล่า
วินทร์ : ไม่ได้มีส่วนจากตรงนั้น 14 ตุลาฯ ผมอยู่ ม.ศ. 4 หรือ 6 ตุลาฯ ผมก็อยู่ปี 2 แต่ไม่ได้ไปเดินขบวนกับเขา มีพี่ๆ ผมที่ไป และมีเพื่อนที่หนีเข้าป่า
คิดว่าแรงขับมาจากการอ่านข้อมูลต่างๆ คิดว่านี่เป็นเรื่องที่คนอื่นๆ น่าจะรับรู้ โดยวิธีที่ทำให้มันง่ายเข้า เป็นนิยายหรือเรื่องสั้นแทนที่จะนอนเฉยอยู่ในรูปสารคดี
กับข้อมูลมากมายแบบนี้ ต่อการวางโครงเรื่องในสไตล์ของคุณแล้วยากลำบากขนาดไหน
วินทร์ : ผมจะดูว่าในข้อมูลทั้งหมดมีอะไรบ้างที่สำคัญ แล้วเอาแต่ละเหตุการณ์มาร้อยเข้าด้วยกัน ทีนี้ปัญหาว่าจะพรีเซ็นต์อย่างไรให้เป็นกลาง ก็เลยต้องสร้างตัวละครขึ้นมาทั้งสองฝ่ายให้คานกัน นั่นคือที่มาของเรื่องคร่าวๆ
ทั้งๆ ที่โดยข้อมูลแล้วเป็นนวนิยาย แต่ทำไมถึงต้องทำแต่ละบทออกมาเป็นเรื่องสั้น แล้วถึงค่อยร้อยต่อกันให้เป็นนวนิยายอีกที
วินทร์ : ขึ้นอยู่กับกลวิธีการเดินเรื่อง ผมชอบทดลอง ไม่ชอบอะไรที่เรียบๆ เลยคิดว่าแต่ละบทแต่ละเหตุการณ์ควรมีพล็อตที่เป็นเอกเทศ คิดวิธีเดินเรื่องแต่ละบทขึ้นมา ซึ่งโดยวิธีนี้จะเขียนบทไหนก่อนก็ได้ แล้วค่อยนำมาตัดต่อ แบบนี้ทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น คุมโทนเรื่องได้ง่าย อย่างที่เขียนไปตอนแรกก็ยังไม่มีเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ทีนี้พอเกิดเหตุการณ์ขึ้น มันก็ถือเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญทางการเมือง ก็จำเป็นต้องใส่เข้าไป คราวนี้อายุตัวละครก็ต้องเปลี่ยนเพื่อให้มารับกับเหตุการณ์นี้ อะไรต่างๆ ในเรื่องก็ต้องเปลี่ยนใหม่หมดเลย ซึ่งถ้าเขียนอย่างนวนิยายธรรมดาคงจะลำบากน่าดูในการปรับเปลี่ยนแบบนี้
ไม่ได้เป็นเพราะว่าที่เลือกเขียนแยกที่เป็นเรื่องสั้น เพราะความถนัดทางเรื่องสั้นมากกว่า
วินทร์ : นั่นก็ส่วนหนึ่ง ผมมีความคิดส่วนตัวว่า เราเริ่มเขียนนิยายเรื่องแรกมันไม่ใช่ของง่าย ใช่ว่าจะคุมอะไรต่างๆ ได้ง่าย จึงต้องค่อยๆ เคลียร์จากเรื่องสั้นไปก่อน หลังจากเรื่องนี้ผ่านไป ผมคงมั่นใจมากขึ้นที่จะเขียนเรื่องยาวจริงๆ
ได้ข่าวว่าก่อนหน้านี้ ก็เคยมีที่ธรรมศาสตร์เอาไปประกอบการเรียน
วินทร์ : เมื่อปีที่แล้วนี่เอง ซึ่งมีเชิญผมไปพูดคุยกับนักศึกษาด้วย เขาก็ให้ความสนใจกันมากพอสมควร คืออาจจะเพราะเขาเกิดไม่ทันยุคขบวนการนักศึกษาเฟื่องฟู เลยไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการเมืองในอดีตมากนัก เมื่อมาอ่านในนิยายก็พลอยสนุก แต่ก็มีที่ติดปัญหา ไม่รู้ว่าตรงไหนเป็นเรื่องจริงตรงไหนเป็นเรื่องแต่ง แล้วก็มีที่เป็นประโยชน์กับผมก็คือ เมื่อเขาต้องทำรายงาน ก็เลยหาจุดอ่อนบางอย่างเจอ ผมจดไว้แล้วเอามาแก้ไขในฉบับพิมพ์ครั้งที่ห้า
มีอะไรบ้างที่พวกเขาค้นพบว่าคุณผิดพลาด
วินทร์ : เป็นส่วนรายละเอียดปลีกย่อยเสียมากกว่า เช่นข้อมูลคลาดเคลื่อนระหว่างบทหนึ่งกับอีกบทหนึ่ง ซึ่งมันคลาดเคลื่อนในขั้นตอนที่ผมขัดเกลา คือผมทำงานในเครื่องคอมพิวเตอร์ บางทีบทนี้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว แต่ลืมแก้ในอีกบทหนึ่ง
บรรณาธิการไม่ได้มีส่วนช่วยตรงนี้หรือ
วินทร์ : ขาดบรรณาธิการที่จะมาตรวจ หมายถึงบรรณาธิการที่จะแก้ไขให้เรามโหฬารอย่างคุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี อย่างเรื่องที่ว่าพระอาราธนาศีลที่เขาว่ากัน อันนั้นผมไม่รู้จริงๆ ก็ต้องขอขอบคุณ และจะแก้ไขในการพิมพ์ครั้งต่อไป
เริ่มมีบทวิจารณ์ที่บอกว่า งานของคุณเป็นการเขียนแบบกว้างๆ ขาดความลึก ตรงนี้จะปฏิเสธไหม
วินทร์ : ผมว่าเป็นลักษณะหนึ่งของงานเขียนแนวทดลอง เหมือนที่คุณสุชาติบอกไว้ว่าแนวทดลองจะเป็นเรื่องที่กว้าง แต่ไม่ลึก ซึ่งถ้าเป็นแนวปกติจะเน้นที่ความลึกมากกว่า เพราะมันชี้ขาดกันตรงนั้น ถ้าคุณไปดูหนังสือช่อปาริชาติ จะเห็นคาแรคเตอร์ของแนวทดลองที่เป็นแบบนี้แทบทั้งนั้น
ฉากบางฉากในเรื่องนี้น่าจะมีความสะเทือนใจสูง แต่กลับไม่เป็นแบบนั้น เช่น ฉากที่ลูกชายของเสือย้อยโดน ตชด. ยิง หรือตอนประหารครูวัน
วินทร์ : อย่างที่บอกว่าสำหรับเรื่องนี้ไม่ได้เน้นการเจาะลึกลงไปภายใน จะมองความสัมพันธ์ระหว่างคนกับการเมืองมากกว่า เนื่องจากเรื่องมันกว้างมาก ตั้งหกสิบปี เป็นไปไม่ได้ที่จะเจาะลงไปว่าคุณรู้สึกอย่างไรในเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์
เลยเหมือนหนังที่เพนกล้องผ่าน
วินทร์ : ตั้งใจตั้งแต่แรกว่าจะไม่ลงลึก สังเกตว่าจะไม่รู้ว่าพ่อแม่ครอบครัวของตัวละครเป็นอย่างไร ไม่เจาะอุปนิสัยตัวละคร ตั้งใจจะให้เหตุการณ์เป็นพระเอก ไม่ใช่ตัวละครเป็นพระเอก ตัวละครเป็นเพียงส่วนประกอบที่ทำให้เหตุการณ์มันร้อยต่อเข้ากันได้เท่านั้นเอง
หมายถึงไม่เชื่อเรื่องที่ว่า วรรณกรรมต้องสร้างจุดสะเทือนใจให้เกิดขึ้นแก่ผู้อ่าน การให้เพียงภาพปรากฏดูเหมือนไม่ต่างจากบทความ รายงาน หรือสารคดี
วินทร์ : ผมไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ให้คำจำกัดความแบบนั้นนะ ในสายตาของผม คำจำกัดความทั้งหลายเกิดจากคน มานิยามว่าเรื่องสั้นต้องเป็นแบบนั้น นิยายต้องแบบนี้ สารคดีก็อีกแบบหนึ่ง แล้วถ้าเอามารวมกันล่ะ จะเรียกว่าอะไร
ผมทำงานโดยไม่แคร์ว่ามันจะเป็นอะไร ตั้งไว้เพียงว่า แล้วคุณว่ามันดีหรือเปล่าล่ะ ถ้าดีก็จบ ไม่จำเป็นต้องไปแยกแยะว่ามันจะเป็นเรื่องสั้นเรื่องยาวหรืออะไร ผมติดใจครั้งหนึ่งที่วงดิอิมพอสสิเบิลส์เคยไปเล่นเมืองนอกสมัยโน้น กลับมาบอกว่าทางยุโรปเขาไม่แคร์ว่าคุณจะเล่นเพลงอะไร แนวไหน แบบไหน เขาสนใจแต่ว่าคุณเล่นได้ดีหรือเปล่า งานเขียนก็เหมือนกัน ผมไม่สนใจเลยว่ามันจะเป็นอะไรแบบไหน ขอเพียงให้มันดีที่สุดในทางของมันแค่นั้น
อย่างตอนที่ผมอยู่อเมริกา ฝรั่งเขาเอาหนังเก่าขาวดำมาทำเป็นสีโดยใช้คอมพิวเตอร์ มีคอมเมนต์ตามมาในทำนองว่าไม่น่าไปทำเลย เป็นการทำลายของเก่า ไร้รสนิยม ซึ่งถ้ามองอย่างนั้นก็โอเค. แต่หากลองมองอีกมุม ดีเสียอีกที่มีให้เลือกทั้งขาวดำและสี ใครชอบดูแบบไหนก็เลือกเอา นี่เป็นโลกประชาธิปไตย ไม่เช่นนั้นโลกเราก็คงไม่มีอะไรใหม่ๆ ออกมา มันอาจจะไม่ถูกใจคุณ แต่ถ้าใครไปเบรคเขาบ่อยๆ ในที่สุดก็ไม่มีใครกล้าสร้างสรรค์อะไรออกมา
นักวิจารณ์ท่านหนึ่งบอกว่า ฉากแต่ละฉากในเรื่องนี้เหมือนลิเก โดยเฉพาะถ้อยคำที่นำมาเปรียบเป็นอุปมาอุปมัย เช่น อาทิตย์เหมือนเตาเผาถ่าน, ดาวดั่งธุลี, สายฝนเทลงมาจากฟ้าเหมือนกระแสธาร หรืออาทิตย์แดงฉานทาบทาแผ่นอัมพรปุยเมฆสีอำพันเบื้องบน...
วินทร์ : ผมไม่รู้จะอธิบายอย่างไร ก็ใช้ไปตามที่รู้สึก อาจเป็นเชิงสัญลักษณ์บ้าง อย่างอาทิตย์แดงฉานนั่น ก็สื่อถึงยุคที่เรียกว่าท้องฟ้าสีทอง
ในบทวิจารณ์นั้นบอกว่า ภาษาเหล่านี้เป็น “ซากนักรบโบราณ” ซึ่งมันไม่เข้ากับเรื่องเลย คือ สามารถใช้ภาษาบรรยายที่ง่ายและกระชับกว่านี้ ไม่จำเป็นที่จะต้องให้ดูหรูหราแต่เทอะทะ อย่างการใช้บาลีสันสกฤต
วินทร์ : มันเป็นไปตามอารมณ์มากกว่า...ผมคิดว่าในการเปรียบเทียบนี่ มันไม่มีกฎเกณฑ์ที่ว่าจะต้องอย่างนั้นอย่างนี้ ผมพยายามศึกษาจากคุณอาจินต์ (ปัญจพรรค์) ที่บอกว่า เวลาเปรียบเทียบพยายามให้เห็นภาพ ใครจะเปรียบกับอะไรถือเป็นสิทธิ์ของแต่ละคน แต่ผลสรุปแล้วคือต้องเห็นภาพ
ถ้าคุณคิดแบบนั้น บางทีก็อาจมีปัญหากับคุณเอง ในหนังสือเล่มนี้มีการใช้ภาพจริงๆ มาประกอบด้วย เป็นไปได้หรือไม่ว่าคนอ่านจะเข้าใจเอาว่า คุณไม่สามารถบรรยายมันด้วยตัวอักษรได้ จึงต้องมีภาพ อย่างผ้าเช็ดหน้าที่มีแผนที่ลับ
วินทร์ : ผมกลับให้ความสำคัญกับภาพในฐานะที่มันเป็นส่วนประกอบซึ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือมา กขึ้นแค่นั้นเอง เพราะหลายเรื่องคนอ่านคิดว่าไม่น่าจะจริง คิดว่าเป็นเรื่องแต่งขึ้นมา แต่พอมีรูปก็ทำให้เข้าใจเรื่องดีขึ้น
แต่จริงๆ แล้วความหมายของนวนิยายคือเรื่องแต่ง...
วินทร์ : นี่ก็เรื่องแต่งอยู่แล้ว ตราบใดที่มันยังเป็นตัวละครสมมุติ ก็ต้องเป็นเรื่องแต่งอยู่ดี ที่จริงผมก็ไม่รู้นะว่าหลายคนให้ความสำคัญกับจุดนี้ เพียงแต่เห็นว่าในนิยายอิงประวัติศาสตร์ของฝรั่งเขายิ่งกว่านี้อีก ตัวละครเป็นตัวบุคคลจริงหมดเลย แล้วก็ไม่กลัวโดนฟ้องด้วย เขียนเต็มที่ไปเลย
ตุ้ย พันเข็มนี่ไปเอามาจากไหน หรือว่าผุดขึ้นมาจากอากาศ เหมือนที่คุณบอกว่าเป็นพลังความคิดจากอากาศ
วินทร์ : มีตัวบุคคลจริง เป็นตำรวจ ชื่อตุ้ยจริงๆ แต่ไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์ในเรื่องนี้ เพียงแต่หยิบยืมบุคลิกเขามา เขาเป็นตำรวจมือปราบอยู่ทางใต้ ที่หาดใหญ่ เขาเคยปราบโจร ยิงโจรตายกองเต็มถนนเลย
หลวงกฤษดาวินิจล่ะ
วินทร์ : นั่นมาจากอากาศ
หรือที่เป็นอีกภาคหนึ่ง เสือย้อย
วินทร์ : จากอากาศเหมือนกัน
ช่วงนี้คงต้องโดนคำวิจารณ์มากหน่อย ในฐานะที่เปรียบเสมือนออกมายืนอยู่กลางแจ้ง
วินทร์ : ส่วนตัวผมคิดว่าก็จำเป็นต้องรับฟังคำวิจารณ์ คือถ้าเราอยากจะเป็นนักเขียนที่ดีนะ การเป็นนักเขียนรางวัลไม่ได้แปลว่าคุณจะเขียนได้ดีทุกเรื่องไป แต่ละเรื่องต้องมีจุดอ่อน แน่นอนอยู่แล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะเขียนดีทุกเรื่อง
โดนวิจารณ์หนักๆ จะทำให้หมดกำลังใจไหม
วินทร์ : เคยมีนะ แต่ไม่ถึงกับหมด.....คือบางทีได้รับคำวิจารณ์ในเชิงลบมากๆ โดยที่ผู้วิจารณ์บางคนบางประเภทวิจารณ์โดยอคติด้วยความไม่ชอบแนวการเขียนแบบนี้ห รือเรื่องแบบนี้ มันจะออกมาเป็นลบมากๆ ไม่มีอะไรดีเลย แต่ก็ไม่บอกว่าไม่ดีเพราะอะไร ทำให้เสียกำลังใจเหมือนกัน
แต่ถ้าเป็นบทวิจารณ์ที่สร้างสรรค์ก็โอเค.นะ ชี้ว่าเรื่องนี้ไม่ดีตรงจุดนั้นจุดนี้ แก้ไขอย่างไร เป็นการวิเคราะห์วิจารณ์ แบบนี้ที่เป็นประโยชน์มาก
ไม่คิดหรือว่า นักเขียนนั้นใหญ่กว่านักวิจารณ์ประเภทที่ชอบด่ากราด
วินทร์ : เขาก็มีสิทธิ์จะมองในมุมของเขา ซึ่งบางทีก็หลุดออกมาเป็นมุมที่เรามองไม่เห็น มีประโยชน์กับเราบ้างเหมือนกัน
อย่างนักเขียนบางคนบอกว่าเขาไม่แยแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะที่มีท่าทีไม่ดี
วินทร์ : ไม่แยแสเสียเลยก็คงไม่ได้ เพราะนักวิจารณ์กับนักเขียนก็ร่วมอยู่ในตลาดเดียวกัน เกิดที่เขาวิจารณ์มันถูกล่ะ เราไม่ฟังไม่แก้เราก็ตายเหมือนกัน
ปัญหาการวิจารณ์น่าจะมีอยู่อย่างเดียว คือทำอย่างไรถึงจะเปิดกว้างและสร้างสรรค์ อย่างน้อยก็ระลึกถึงคำของคุณ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ที่ว่า ทุกคนล้วนเป็นญาติน้ำหมึก จะวิจารณ์เป็นลบก็ได้ แต่ก็ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานว่าเพื่อการพัฒนา ผลดีมันจะเกิดกับวงการวรรณกรรมโดยรวม แต่ทีนี้บางทีมันกลายเป็นการทะเลาะกัน ซึ่งเสียเวลา ส่วนตัวผมเองจะโต้แย้งในกรณีที่จำเป็นจริงๆ ถ้าไม่อย่างนั้นจะไม่พูดเลย
ความจริงแล้วนักอ่านก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการวิจารณ์ เพียงแต่ต้องเป็นนักอ่านที่มีคุณภาพ คราวนี้ในภาวะที่ตลาดหนังสือเมืองไทยเป็นแบบนี้ คุณมีความเห็นอย่างไรต่อคุณภาพของนักอ่านเมืองไทย
วินทร์ : มันตอบยาก เพราะนักอ่านของเรายังไม่รู้ว่ามีสินค้าอะไรบ้างสำหรับเขา อย่างที่ผมบอก ตลาดหนังสือเมืองไทยไม่เคยเปิดเผยโฉม ไม่เคยโฆษณาตัวเอง จะมีเพียงคนที่รักการอ่านอยู่แล้วเท่านั้นที่เข้าร้านหนังสือ คนทั่วไปเขาไม่เข้า เขาอาจไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ข้างใน หนังสือดีๆ นี่มันเป็นยังไง
บางอย่างก็อยู่ที่วัยด้วย อย่างวัยรุ่นเจอวรรณกรรมหนักๆ ก็ต้องถอย ผมเองยังถอยเลย ผมทำงานหนักมาทั้งวัน เครียดจะตายอยู่แล้ว ยังต้องมานั่งอ่านเรื่องเครียด ๆ อีก
ประเด็นนี้พูดกันบ่อย จริงๆ แล้วเป็นเหตุผลหรือว่าเพียงข้ออ้าง
วินทร์ : ผมว่าเป็นธรรมชาติของคน อย่างเวลาดูหนังเราก็เลือกดูที่มันบันเทิง ผมว่าคนที่ดูหนังหรืออ่านหนังสือเขาก็เสพเพื่อความบันเทิง เป็นการรีแล็กซ์ ผ่อนคลายอารมณ์ แน่นอนว่ายังอีกกลุ่มที่ดูหนังหรืออ่านเพื่อค้นหาสาระให้กับชีวิต แต่กลุ่มนี้เล็กกว่ากลุ่มแรกเยอะ ปัญหาอยู่ที่ว่าทำอย่างไรที่จะให้กลุ่มแรกรู้ว่า ยังมีงานเขียนดีๆ อยู่อีก มีสิ่งดีๆ อยู่ในหนังสือด้วย นอกจากความบันเทิงอย่างเดียว ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกัน ทั้งสำนักพิมพ์ ร้านหนังสือ อย่างผมเป็นนักเขียน หน้าที่ของผมก็คือเขียนให้มันบันเทิงด้วยและมีคุณค่าด้วย
ลองจินตนาการถึงชีวิตที่มีความสุขของคุณให้ดูสักหน่อย
วินทร์ : มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ผมรู้สึกแย่เอามาก ๆ ขนาดที่ว่าไม่อยากที่จะอยู่ในโลกนี้ด้วยซ้ำไป คงเหมือนกับพวกเซนส์ซิทีฟสักหน่อย คิดว่าเกิดมาทำไมวะ มีชีวิตทำไมในเมื่อไม่มีสาระอะไรเลยบนโลกใบนี้ เจอภาวะช่วงนั้นผมแก้ปัญหาด้วยการอ่านหนังสือของท่านพุทธทาส หนังสือของเต๋าของเซ็น ค่อยๆ ซึมซับเข้ามาว่า โอเค ในเมื่อมีชีวิตขึ้นมาแล้วก็ต้องอยู่ต่อไป เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ เราก็ต้องเป็นไปของมันเองอย่างนั้น ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมอะไรทั้งสิ้น ไหลชีวิตต่อไปเรื่อยๆ เพียงแต่ว่าขอให้มีสติอยู่กับตัว รู้ว่าทำอะไรอยู่ และขอให้มีความสุขทางใจ
ที่ผมเน้นมากหลังจากพยายามทำความเข้าใจตัวเองก็คือ สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตอยู่ที่ความสงบสุขทางใจเท่านั้นเอง แล้วมันก็ตอบทุกอย่างได้ เปลือกภายนอกไม่มีอะไรสำคัญเลย อยู่ที่ไหนอย่างไรก็ได้ ขอให้มีความสบายใจ สุขสงบ การฝึกสมาธิอะไรก็ไม่จำเป็น ทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำและไม่เดือดร้อนคนอื่น
คิดถึงความมั่นคงในชีวิตมากน้อยแค่ไหน
วินทร์ : ก็ในระดับที่ทำให้เราสบายใจ สามารถดำรงชีวิตไปได้อย่างปกติสุข ขอแค่ไม่ต้องไปกังวลกับเรื่องพวกนี้ จะได้เอาเวลาไปสร้างสรรค์งานที่เราอยากจะทำ แค่นี้ก็พอแล้ว
พอมีครอบครัวมีลูกนี่ ไม่คิดถึงความมั่นคงในระดับที่สูงขึ้นไป...
วินทร์ : ผมไม่เคยคิดฝันเรื่องอยากจะรวยเลยนะ เพราะถ้าคิดอยากรวย ผมว่าผมรวยได้ เพราะในชีวิตนี้ถ้าผมตั้งใจจะทำอะไรมักจะทำจนได้เสมอ แม้กระทั่งการเขียนหนังสือ ซึ่งผมคิดว่ายากกว่าการรวยเสียอีก
คาดหวังกับคนอื่นว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้หรือเปล่า โดยเฉพาะคนในครอบครัว
วินทร์ : ไม่ ผมเคยพยายามจะเปลี่ยนหลายคน แต่หลังจากนั้นก็เข้าใจได้ว่าเราเปลี่ยนคนไม่ได้ ทุกคนย่อมมีสิทธิ์ที่จะเป็นตามแบบอย่างของเขา อย่างภรรยาผมนี่ บางทีวางของบนโต๊ะเกะกะ ผมก็พยายามจัดให้มันเข้าที่เข้าทาง แต่ไม่นานก็จะกลับไปเป็นอย่างเดิมอีก ซึ่งบางทีมันก็รู้สึกรำคาญ แต่ถ้าเราได้เรียนรู้ว่าคนย่อมไม่เหมือนกัน เพียงแต่พยายามมาอยู่ด้วยกัน เราต้องเคารพในจุดนั้น
แสดงว่าคุณเป็นคนเรียบร้อย ละเอียด หรืออาจเลยไปถึงขั้นหยุมหยิม
วินทร์ : ไม่หยุมหยิมหรอก เป็นนิสัยเล็กๆ น้อยๆ บางอย่างเราเห็นว่าถ้าเขาทำอย่างนั้นแล้วจะดีกว่าเยอะเลย อย่างลูกน้องบางคน เราก็เห็นว่า เอ๊ะ! ทำไมไม่ทำแบบนี้ มองไม่เห็นหรือว่าถ้าทำแบบนี้ชีวิตคุณจะเปลี่ยนเป็นดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อเขาไม่ทำ เราก็ต้องทำความเข้าใจเอาเองว่าก็เรื่องของมันน่ะ จะไปเปลี่ยนอะไรมันมากมายได้ยังไง
มีความผิดพลาดในชีวิตอะไรบ้างไหมที่คิดว่าไม่น่าจะทำ เป็นเรื่องใหญ่ๆ ที่อยากจะแก้ เหมือนอย่างเวลาเขียนเรื่องสั้นหรือนวนิยาย เสร็จแล้วต้องขัดเกลา
วินทร์ : ก็มีบ้าง แต่พอชีวิตโตขึ้น ก็รู้ว่ามันป่วยการที่จะไปคิดอยู่กับเรื่องอย่างนั้น มีหลายเรื่องในอดีตที่อยากจะย้อนกลับไปแก้ไข แต่พอมาคิดดูแล้วก็เห็นว่าไร้สาระ คิดไปก็แค่นั้น โตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น อย่าไปคิดเรื่องไร้สาระเลย เอาเวลาไปคิดเรื่องสร้างสรรค์ดีกว่า
The Nation, Sunday Focus December 1995
On a Winning Streak
From : The Nation, Sunday Focus on Sunday, December 24, 1995
At this year's National Book Contest Win Lyovarin took home top prize in not one, but two categories. He spoke to Manote Tripathi about the works that have catapulted him to fame.
It is no easy task for newly-published Thai authors to make a a name for themselves; the obstacles are daunting indeed. First they are required to serve their literary apprenticeship, so to speak; to be prepared to write several books before their name comes to the attention of the (relatively small) book-buying public. To get onto the bestseller list requires a certain minimum sales, but many writers despair that in a country with a population of almost 60 million, they have difficulty disposing of a modest print run of, say 2,000 copies.
Author Win Lyovarin has been given a head start, though. Last month, his debut novel, Pracha Thippatai Bon Sen Khanan (Democracy, Shaken & Stirred), was named Best Novel of the Year (1995) in the National Books Contest organized by the Commission for Local Literary Development. Arphet Kamsual, his second collection of short stories, also picked up the first prize in the short story category in this year's contest. "At the moment, the local literary scene is a bit like a bitter candy; not many people buy books on a regular basis [and there are few quality publications], I'm trying to wrap the candy in some brightly-coloured paper [produce a colourful novel to attract a wider readership],"Win says with a cheeky grin.
One reason for the critical success of Pracha Thipatai Bon Sen Khanan could be that Win has tackled a subject that other Thai novelists were either unwilling to or uninterested in dealing with, namely Thai political history from 1932-1992.
Although this is a historical novel, it bears little resemblance to a textbook. Complicated details on political events over a 60-year period are presented in a colloquial, easy-to-read style. Much of the information is conveyed through conversations between the two leading characters: Sua Yoi, a civilian wrongly accused of involvement in a plot to kill Field Marshal Plaek Phibunsongkhram in 1934 and of sympathizing with Prince Bovorndej (or Boworadet) who led a failed rebellion against the government in October 1933; and Ja Tui, a low ranking police officer.
The novel deals with the way the attitudes and behaviour of the two leading characters change under differing circumstances. Originally on opposite sides of the political fence, the two men become firm friends after Ja Tui realizes that Sua Yoi was completely innocent of the charges brought against him.
The two old friends have a long discussion one morning six months after Bloody May (1992) sitting on a bench in Lumpini Park. They reflect upon their past and how much polities have changed since they were young men.
"I'm quite interested in politics and history and I've learned that when politicians feel they are slipping in the popularity stakes, they try to claw their way back up by influencing people [using propaganda, smear tactics and other political tricks of the trade]. It's always been like this; politics is just like a game of chess," says Win.
Win's novel is an attempt to fill in the gaps (intentional and otherwise) in the history textbooks used in Thai schools. He points out that textbooks written under Education Ministry supervision, are particularly weak on the details of the 1932 coup that ended the absolute monarchy and the reasons for the abdication of King Rama VII, three years later.
ìI knew nothing about this [period] until I did some research on it myself. I discovered that there's no mention [in history textbooks] about the revolution a year after the transformation [a coup by junior military officers in June 1933 which resulted in Phraya Phabon being made prime minister] or about the reasons why Pridi Bhanomyong [the leader of the civilian faction of the Promoters, the group which staged the 1932 coup] was forced into exile.
"The details are touching especially the fate of political prisoners [including Sua Yoi] imprisoned on Tarutao [an island off the southern province of Trang] due to their suspected links with the Bovorndej rebellion and their attempts to flee to the Malaysian island of Langkawi five kilometers away [Sua Yoi manages this with assistance from a villager named Mee]. This kind of information is worth delving into; itís a bit like fiction."
Pracha Thippatai has something for everyone : suspense, thrills, humour and horror. It's strength is in the way it makes history into an enjoyable read.
"Political events seem more like the plot of a thriller; sometimes history can seem almost too dramatic. It's like a movie. There's a train crash [Arun Bunnag, a soldier in Prince Bovorndej's forces, drives a locomotive head-on into a government train carrying anti-aircraft guns], an [attempted] assassination and confrontations between people holding different political views. It [politics] can sometimes seem stranger than fiction and the [real-life] coincidences make it even more melodramatic; make it seem even more like fiction," Win says.
The novel open with a flashback to 1932, the year the absolute monarchy of King Rama VII was toppled in a bloodless coup. Milestones in modern Thai political history are given a delicate treatment: the transformation of the political system [to democracy] on June 24, 1932; the Bovorndej rebellion; the 1947 coup by Field Marshal Plaek Phibungsongkhram; the 1951 Manhattan incident; the 1957 coup by Field Marshal Sarit Thanarat; the student uprising on Oct 14, 1973; the ring-wing backlash on Oct 6, 1976; and finally, the events of Bloody May 1992.
By using two main characters with opposing political views, Win manages to keep aloof from the left- versus right-wing discourse. This device, he says, saves the novel from being overly biased towards one side or the other.
"Otherwise, itís not fair to the general reader who may be inclined to take sides if the viewpoint of a single individual is pushed too much. I cover the clash in political ideology allowing readers to judge what is right and what is wrong," the author told Sunday Focus during a recent interview.
"Take Pridi Bhanomyong, for instance. He [originally] had civilian support for his political ideas but his detractors later launched a smear campaign against him. If we only listened to his detractors, we'd never get to hear the other side of the story."
Win's is optimistic about the future for political development in this country but not overly so. He has obviously done his homework ñ the bibliography lists more than 100 reference works although some sections need to be backed up with more hard evidence. For heavily-contested historical facts, he quotes at least two different sources.
"I don't think of it [Pracha Thippatai] as a heavy book it's quite easy to read, really. It's suitable for a wide range of readers. You can read it just for enjoyment but if you're into the subject matter, you'll probably find the book much more interesting than academic books which cover the same topic. Iíve tried to make the politics memorable and easy to understand."
Win increases the accessibility of the book by including illustrations and photos of people and places mentioned in the text.
"But I don't expect it to become a bestseller. I'm not targeting the book at a specific readership; that was never my intention. Writing this story was a challenge" collecting fragments of information and putting them all together into a novel that has both substance and entertainment value.
Win currently works as creative/art director with Paterson and Partners, an advertising company based on Surawong Road.
"Although my work requires me to be creative, my freedom [of expression] is restricted. We have to do what the customer wants. But I can put down any creative ideas I have in my writing."
Has he considered becoming a full-time writer?
"At the moment, writing [full-time] is not a satisfactory profession. Public interest in the literary scene is comparatively low here compared to the West. And the financial rewards are just not enough some short-story writers still only get Bt800 per story, for instance. I'll need to think about that one a bit more."
Born into a Thai-Chinese merchant family in Songkhla, Win was passionate about literature even as a young boy. At Saengthong Wittaya (a primary school in this southern province known for the excellence of its English-language courses and which boasts famous alumni including Nation editor-in-chief Suthichai Yoon), Win earned a reputation as a bookworm. As a boy he remembers devouring science fiction, crime thrillers and Chinese heroic epics.
He later moved up to Bangkok where he attended Bordin Deja (a well-known secondary school in Lardprao Soi 86) before taking an undergraduate course in architecture at Chulalongkorn University.
After spending three years working with a firm of architects in Singapore, Win traveled to the United States to do a post-graduate course in graphic design.
On his return to Thailand (10 years ago), Win set himself two priorities ñ finding a secure job in advertising and checking out all the good Thai-language books he had missed during his time abroad. "But very few good books had been published [in my absence]."
This, he says, inspired him to start writing short stories with lots of suspense and unexpected endings. Win describes his early work as 'radical, pessimistic and serious'. His first collection of 13 short stories, Samud Pok Dam Kap Bai Mai See Daeng (A Book with a Black Cover and a Red Leaf), won him a Chor Karaket Award (an annual prize given by the Short Story Writers Association of Thailand) in 1992.
Experimental, is how Win describes Arphet Kamsual, his second collection of short stories. Most of the stories deal with serious topics like the abuse of journalistic ethics by newspaper reporters and the stagnant local literary scene. "Some columnists accept bribes to write rave reviews; others alter facts. I think the readers are being cheated."
(Note : 'Pracha Thippatai Bon Sen Khanan' has been translated into English titled Democracy, Shaken & Stirred in 2003.)
DNA สัมภาษณ์
วินทร์ เลียววาริณ คอลัมน์ Et cetera : dna interview : Pens, Brains and The Whole New World โลก-เปลี่ยน-คน-เปล่า |
วินทร์ เลียววาริณ ในวันเวลาที่ 'ตกผลึก'
จากนิตยสาร Hi Class
ฉบับ 224 เมษายน 2546
ความโดดเด่นในความเป็นนักเขียนของ วินทร์ เลียววาริณ นอกจากการนำรูปแบบการเขียนสารพัดอย่างมาทดลองใช้ในการนำ เสนอเรื่องสั้น เพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้อ่าน ขณะเดียวกันเนื้อหายังอัดแน่นด้วยมุมมองที่น่าสนใจ ในระดับได้รับคัดเลือกให้ได้รางวัลทั้งเรื่องสั้นและนวนิยายจากคณะกรรมการ หลายคณะ รวมทั้งเรื่องสั้นส่วนหนึ่งยังได้รับการแปลพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่น
ความหลากหลายของแนวเรื่องที่เขียนเป็นอีกความโดดเด่นของนักเขียนหนุ่มวัย 46 ปีคนนี้ ไล่เรียงตั้งแต่ สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง รวมเรื่องสั้นแนวหักมุมรุนแรง รางวัลชมเชยจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2538
อาเพศกำสรวล รวมเรื่องสั้นแนวทดลอง รางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2538
ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน รางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2538 รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรท์) ประเภทนวนิยาย ปี 2540
เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว รวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ หนึ่งใน 88 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์สกว. ปี 2544
สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน รวมเรื่องสั้น รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ประเภทเรื่องสั้น ปี 2544
หนึ่งวันเดียวกัน รวมเรื่องสั้นแนวทดลอง, หลังอานบุรี รวมเรื่องสั้นหัสคดี, ปีกแดง นวนิยายประวัติศาสตร์การเมือง
วินทร์บอกว่าความเป็นคนขี้เบื่อง่ายของเขาเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของความหลาก หลายของงานเขียน "แล้วแต่สไตล์ บางคนอาจจะไม่ชอบแนววิทยาศาสตร์ หรือปรัชญา ถ้าไม่ชอบก็ไม่มีประโยชน์ที่จะเขียน เพราะมันไม่สนุก แต่ความสนใจของผมในแต่ละเรื่องมันสั้น คือพอเขียนเรื่องแนวนี้เสร็จแล้วเลยเปลี่ยนไปเขียนเรื่องแบบอื่น"
ความบันเทิงเป็นเครื่องปรุงหลักในงานเขียนทุกชิ้นที่กลั่นจากความคิดของเขา สู่สายตานักอ่าน เพราะในความคิดของเขาการอ่านหนังสือต้องได้ความสนุกสนาน
"ถึงแม้ว่าเราจะอ่านสารคดีซีเรียสก็สามารถอ่านด้วยความสนุกเพลิดเพลินได้ มันไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องมีอาหารที่มีคุณค่ามาก แต่ไม่อร่อย ผมคิดว่าเราสามารถที่จะกินอาหารที่มีคุณค่ามากและอร่อยด้วย ควรจะเป็นอย่างนั้น ปรัชญาที่ใช้ในการทำงานเสมอคือต้องสนุกและดีด้วย"
หากบางครั้งข้อจำกัดบางเรื่องบังคับให้ไม่สามารถทำได้อย่างที่ต้องการ
"แต่ผมพยายามจะใช้หลักการนี้มาตลอด ที่ทำไม่ได้ตลอดเพราะว่าบางเล่มต้องดูคนอ่านด้วย อย่างหนังสือบางเล่มก็เหมาะกับบางคนไม่ใช่เหมาะกับทุกคน เช่น รวมเรื่องสั้นเรื่อง หนึ่งวันเดียวกัน ก็เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบอ่านตัวหนังสือหนาๆ ตัวหนังสือเยอะ"
แต่ไม่ใช่ว่าเขาให้ความสำคัญต่อความบันเทิง จนมองข้ามความสำคัญต่อข้อมูลกับความรู้ข้อเท็จจริงในเรื่องราวที่เขียน
ปีกแดง เป็นหนึ่งในงานเขียนที่บ่งบอกให้เห็นว่าเขาเป็นนักเขียนที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อมูลของเรื่องราวที่ต้องการนำเสนอไม่น้อย
"ผมใช้เวลาในการค้นคว้าเยอะ เพราะว่าเป็นคนไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับลัทธิสังคมนิยม แต่เนื่องจากตอนเริ่มเขียน อยากจะรู้ว่ามันคืออะไร เลยเขียนถึงประเด็นที่อยากรู้ ใช้เวลาหลายปีทีเดียวในการรีเสิร์ชข้อมูลและเขียน ผมมีความรู้ในระดับหนึ่ง ไม่ได้ถือว่ามีความรู้ระดับเชี่ยวชาญลัทธิสังคมนิยม แต่รู้ในเรื่องหลักการประวัติศาสตร์ในระดับหนึ่ง อาจจะจับฉ่ายไปหน่อย แต่ผมก็รู้มากพอที่จะเขียนได้"
"ถ้าเราไม่รู้เรื่องอะไรเราก็สามารถแสวงหาเรื่องที่เราไม่รู้ได้ ในฐานะนักเขียน ผมถือว่าเราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา เท่าที่ผมเขียนหนังสือมา ผมต้องวิจัยค้นคว้าตลอดเวลาอยู่แล้ว ไม่มีอะไรที่เรารู้มากมายขนาดนั้น ผมใช้ตัวเองเป็นหลักว่าเราต้องการมากน้อยแค่ไหน แต่บางเรื่องที่เราสนใจเป็นพิเศษเราก็ศึกษาให้มากกว่าการใช้"
ใน สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน รวมเรื่องสั้นหลายเรื่องเกี่ยวกับชีวิต วิทยาศาสตร์ ปรัชญา สะท้อนมุมมองของเขามีต่อชีวิตผู้คนในสังคมปัจจุบันได้อย่างลึกซึ้ง คล้ายๆ เขารู้จักและเข้าใจชีวิตมนุษย์ถึงขั้นตกผลึกแล้ว
"ผมตอบไม่ได้เพราะผมไม่แน่ใจ เพราะคำว่า ตกผลึก ในความหมายของนักเขียนทั่วไป หมายถึงคนที่เข้าใจชีวิตอย่างลึกซึ้งทุกอย่าง เข้าใจอย่างลึกซึ้งชัดเจน คือผมทำงานไปเรื่อยๆ ผมไม่รู้ว่าจะใช้คำว่าตกผลึกได้หรือเปล่า หรือว่าถึงขั้นไหน ผมเลิกสนใจในข้อนั้นไปแล้ว ผมก็ทำงานไป ตามข่าวบ้านเมืองสังคม มองดูโลกด้วยสายตาคนสังเกตการณ์"
เทียบกับ 10 ปีก่อนในฐานะนักสังเกตการณ์ วินทรสรุปความรับรู้ที่มีต่อปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมได้เพียงว่า เขามองเห็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดได้ชัดเจนขึ้น
"แต่จะชัดพอหรือไม่ยังไม่รู้ สำหรับผมคำว่าตกผลึกคือความเข้าใจในชีวิตอย่างชัดเจน ถ้าถามตัวเองผมเห็นประเด็นในสังคมค่อนข้างชัดเจนพอสมควร รู้ว่าเราทำอะไรอยู่ อยู่ตรงไหน แต่ไม่กล้าพูดว่าตัวเองตกผลึกอะไร"
เช่นเดียวกันวินทร์ให้คำตอบไม่ได้ว่า ชีวิตของผู้คนในปัจจุบันดีกว่าหรือมีความสุขกว่าชีวิตผู้คนเมื่อ 50 ปีก่อน
"ถ้าดูเราก็มีความก้าวหน้าทางด้านวัตถุ แต่ว่าทางด้านจิตใจไม่ได้ดีกว่าเท่าไร แล้วเรายังทำลายมโหฬาร ยังไม่เข้าใจว่าธรรมชาติหรือธรรมชาติมีส่วนเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร ต่างคนต่างใช้ชีวิตเป็นเอกเทศ เข้าใจว่าเป้าหมายเป็นสุขนิยมมากกว่า ซึ่งผมไม่แน่ใจลักษณะชีวิตแบบนี้มันดีกว่า แต่เราก็เข้าใจว่านี่เป็นระบบที่พัฒนามาจากราก แล้วก็จะไปอย่างนี้ ผมว่าแต่ละยุคแต่ละสมัยมีจุดดีจุดไม่ดีของมัน"
ใน ปีกแดง วินทร์ผ่านตัวละครเอาไว้ว่า ชีวิตคือสงคราม เป็นสงครามที่เขายังมองไม่เห็นวิธีการยุติ
"ตราบใดที่มนุษย์ยังคงเป็นลักษณะแบบนี้ มีระบบ มีสังคมแบบนี้ เราคงไม่มีทางหยุดสงครามได้ มันเป็นธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ที่จะต้องมีสงคราม เพราะประวัติศาสตร์ในช่วง 2,000-3,000 ปีมานี้ ชี้ไปในทิศทางที่ว่า สงครามเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ นอกเสียจากว่าเราสามารถตัดยีนความรุนแรงของมนุษย์ออกไปได้ เท่าที่ผมศึกษาในเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องปรัชญา เราค่อนข้างมีแนวโน้มในความเชื่อที่ว่าพฤติกรรมของคนหลายๆ อย่างถูกยีนกำหนดให้วิวัฒนาการมาในลักษณะแบบนี้ ทุกคนต้องต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด"
ข้อมูลที่ถูกสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ในปัจจุบันเป็นปัญหาหนึ่งในสังคมที่วินทร์เห็นว่าน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยเฉพาะโฆษณา
"ในงานโฆษณาส่วนใหญ่เขาจะพูดความจริงกันทั้งนั้น แต่เป็นการพูดความจริงแค่ส่วนเดียว ถ้าเรามองในจุดนั้นมันไม่ผิดข้อมูลและไม่ผิดกฎหมาย เพียงแต่พูดไม่หมดบางครั้งอันตราย ถ้าคนทั่วไปไม่ได้มีความรู้พอ ก็อาจจะทำให้เกิดความหลงเชื่อในความต้องการใหม่ๆ โดยที่ตัวเองไม่รู้จริง ถ้าเราถูกฝึกให้รู้เท่าทันก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าเราตามไม่ทัน นั่นคืออันตรายที่เรามองไม่เห็น แต่คงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงระบบอะไรได้มาก เพียงแต่สอนคนทางอ้อมให้รู้จักระมัดระวังมากขึ้นเท่านั้นเอง"
ำ คอลัมน์ในมติชน สุดสัปดาห์เป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของเขา ที่ต้องการชี้ให้ผู้เสพสื่อเกิดคำถามต่อข้อมูลที่ได้รับ
"คอลัมน์ ำ นี้เกิดจากเรื่องสั้นที่ชื่อ คำให้การ ในหนังสือชุด สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน มีเรื่องบันทึกคำให้การที่มีเรื่องจริงกับเรื่องเท็จปนกันในเรื่องเดียวกัน พอลงหนังสือไปแล้วมีคนเขียนจดหมายมาวิจารณ์ว่า ทำไมเขียนหนังสือผิดๆ ถูกๆ เพราะในเรื่องข้อมูลมันจะมั่วไปหมด จริงๆ แล้วมีความตั้งใจที่จะให้มีความผิดความถูกปนกัน พอหนังสือได้รับรางวัลซีไรท์ ก็มีคนท้วงคณะกรรมการว่า เรื่องนี้ในตอนท้ายน่าจะมีการบอกว่าอันไหนจริงอันไหนเท็จ เพราะคนอ่านที่ไม่รู้เรื่องจะถูกหลอกเอาได้ง่ายๆ ผมเลยมีแนวคิดขึ้นมาว่า น่าจะใช้กลวิธีเดียวกันบวกกับคำเฉลยในการที่สื่อถึงสังคมว่า สังคมมันเต็มไปด้วยความหลอกลวง เราต้องระวัง โดยเฉพาะคนที่ทำงานในวงการโฆษณา ประเด็นนี้ค่อนข้างชัดเจน ความจริงผมเขียนขึ้นมา ไม่ได้มาเล่นเกมว่า คนไหนจับได้ว่าข้อมูลตรงไหนจริงไม่จริง"
ตลอดระยะเวลา 10 ปี คำวิจารณ์เป็นสิ่งที่คุ้นเคยกับวินทร์เป็นอย่างดี เขาได้รับมาหมดแล้วทั้งดอกไม้และก้อนอิฐในเวลาพร้อมๆ กัน
"เท่าที่อ่านดูมีหลายคนที่เขียนดี บางคนอาจจะใช้อารมณ์อยู่บ้าง ในฐานะคนอ่านเราต้องอ่านบทวิจารณ์ด้วยสายตาที่เป็นกลาง และตั้งคำถามตลอดเวลาว่า ไม่จำเป็นต้องเชื่อทุกอย่าง เพราะคำวิจารณ์เป็นแค่มุมมองของคนคนเดียวเท่านั้น"
ถ้ามีเวลาว่างพอ วินทร์บอกว่า งานเขียนวิจารณ์วรรณกรรมเป็นงานที่เขาสนใจ เขาวิเคราะห์โอกาสของวรรณกรรมไทยกับรางวัลโนเบลตามคำขออย่างตรงไปตรงมาว่า ความหลากหลายของเนื้อหาคือปัญหาใหญ่
"นักเขียนไทยต้องทำงานอีกไกลกว่าจะถึงจุดนั้น ผมว่าเราไม่ต้องคิดไกลไปถึงโนเบลหรอก ทำงานให้ดีให้คนในประเทศเราอ่าน ก็น่าจะเป็นเป้าหมายหลักได้ ถ้าดูความหลากหลายของหนังสือในตลาดบ้านเราจะมีน้อยมาก อย่างหาหนังสือนับสืบดีๆ ในตลาดเมืองไทยนี่น้อยมาก หนังสือแนวสืบสวนสอบสวนก็ไม่เจอ แนววิทยาศาสตร์มีอยู่คนสองคนที่เขียน พูดไปแล้วตลาดหนังสือเรายังแคบทีเดียว หาหนังสือดีๆ ไม่ว่าจะเป็นเชิงสารคดี มันมีไม่มากเท่าไร เมื่อเทียบปริมาณหนังสือในตลาด เรามีหนังสือแนวซีเรียส แนวสังคมที่อยู่ในเกณฑ์ดีมากเยอะ แต่ถ้าเทียบโดยรวมแล้ว เรามีนักเขียนอยู่ในสไตล์ 2-3 สไตล์เท่านั้นเอง ถ้าพูดถึงพื้นที่สำหรับน้กเขียนใหม่ยังมีอีกเยอะ"
วินทร์ให้ความเห็นว่านักเขียนไทยหลายคนเขียนเรื่องสั้นได้ในระดับโลก
"สมัยก่อนอย่างเช่นงานของ มนัส จรรยงค์ ผมว่าเป็นระดับโลก หรือว่างานยุดหลังของคุณกนกพงศ์ (สงสมพันธุ์) ผมว่าหลายเรื่องดีมาก เช่น โลกใบเล็กของซัลมาน หรือ สะพานขาด เรื่องพวกนี้มีความลงตัวทั้งฉาก ทั้งมุมมอง ทุกอย่างลงตัวมาก"
จากโนเบลวินทร์ให้ความคิดเห็นที่มีต่อเรื่องสั้นของซีไรท์รุ่นน้องอย่าง ปราดา หยุ่น ที่ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งแบบสับเละและชื่นชมไม่แพ้ซีไรท์รุ่นพี่อย่าง เขาแบบไม่เข้าข้างฝ่ายไหนว่า
"ผมว่าโดนเยอะโดนน้อยไม่ใช่ประเด็น เพราะคนที่ได้รับรางวัลต้องโดนทุกคนอยู่แล้ว มากหรือน้อยเท่านั้นเอง ประเด็นอยู่ที่สิ่งที่เขาเขียนคืออะไร ผมว่างานปราบดาเป็นแนวทางอันหนึ่งที่เพิ่มความหลากหลายในงานเขียนบ้านเรา โดยรวมผมว่าเป็นงานที่ดีน่าสนใจ และดีใจที่มีคนเขียนแบบนี้ขึ้นมา มันน่าเบื่อมากถ้ามีคนเขียนอยู่สไตล์เดียว มีอะไรที่แปลกใหม่หลุดโลกมาบ้างก็ดี ซึ่งเป็นการสร้างทางเลือกทำให้เราเกิดการสันดาปความคิดก็ดีต่อภาพรวม"
ข้อหาเรื่องสั้นบางเรื่องของปราบดาถูกวิจารณ์ว่าอ่านไม่รู้เรื่อง ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในมุมมองของวินทร์
"แต่ละคนมีสไตล์และวิธีการนำเสนอที่ไม่เหมือนกัน เราน่าจะดีใจที่มีคนคิดอะไรที่ไม่เหมือนกัน ส่วนคุณจะคิดเหมือนคนเขียนหรือเปล่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้ว เพราะนักเขียนมีสิทธิ์ที่จะเสนอสิ่งที่เขาเชื่อ ส่วนสิ่งที่เขาเสนอออกมา คนอ่านก็มีสิทธิ์ที่จะตีความอย่างไรก็ได้ เป็นเรื่องปกติที่เราจะเขียนหนังสือเล่มหนึ่งแล้ว มีกระแสทั้งบวกและลบ มันดีกว่าเขียนหนังสือแล้วได้แต่คำชม"
เช่นเดียวกับที่เขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับคำวิจารณ์หรือมุมมองเรื่องสั้นของเขาว่า เป็นแบบโพสต์โมเดิร์น หรือโมเดิร์น
"ถ้าถามจริงๆ ว่าโมเดิร์นเป็นอย่างไร โพสต์โมเดิร์นเป็นอย่างไร ผมก็ตอบไม่ได้ ผมทำงานของผมไปเรื่อยๆ ถ้าคิดว่าดีผมก็จะทำ ผมคิดว่าการเป็นกลุ่มไหนมันไม่สำคัญหรอก สำคัญที่ว่าเรื่องที่ดีเขียนดีแค่ไหน"
วินทร์ขยายความคำว่าเขียนดีในมุมมองของเขาว่า
"ในฐานะคนอ่านผมดูสองอย่างคือ ถ้าอ่านเรื่องสั้นย่อหน้าแรกแล้วมันไม่ดึงดูดใจให้อ่านต่อก็หยุดเลย ไม่ว่าเนื้อหาจะดีมากแค่ไหนก็ตาม ส่วนหนึ่งของการบอกว่าดีหรือไม่ คือการนำเสนอและเนื้อหา สองส่วนนี้ต้องลงตัว แต่อย่างไรก็ตาม เนื้อหาเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าการนำเสนอ แต่ผมว่าการอ่านหนังสือต้องอ่านด้วยความรู้สึกสนุกมากกว่าการอ่านแล้วรู้สึก ทรมาน"
วินทร์ตั้งใจมาไม่ต่ำกว่า 4-5 ปีแล้วว่า ต้องการเป็นนักเขียนอาชีพที่มีรายได้จากการเขียนหนังสือเพียงอย่างเดียว วันนี้เขาได้โอกาสทำตามความต้องการที่ตั้งใจแล้ว
"เหตุผลคือบริษัทโฆษณาที่ทำมาหลายปีปิดกิจการ เลยถือโอกาสลงมาเขียนหนังสือเต็มที่เสียที ผมอยากออกจากวงการโฆษณาสักพัก แล้วถ้าเขียนหนังสืออยู่ได้ คงไม่เข้าไปทำงานโฆษณาอีก ให้เวลาประมาณ 6 เดือนหรือ 1 ปีแล้วค่อยมาว่ากัน"
วินทร์ตั้งสำนักพิมพ์ 113 ซึ่งเป็นเลขที่บ้านเกิดของเขาที่หาดใหญ่ เพื่อพิมพ์ผลงานเขียนของเขาโดยเฉพาะ ปัญหาราคากระดาษแพงทำให้เขาต้องลดทุนค่าใช้จ่ายด้านอื่นตั้งแต่ออกแบบปก จัดหน้า ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากลำบากสำหรับอดีตสถาปนิกอย่างเขา เพื่อต้องการให้ราคาขายหนังสือออกมาถูกที่สุด
ผลตอบแทนที่กลับคืนมาวินทร์บอกว่า อยู่ในระดับพอมีกำไรเล็กน้อย
การไม่ใช้ชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อจนเกินไป เป็นกฎข้อสำคัญสำหรับนักเขียนไทยในความคิดของวินทร์ เพราะผลตอบแทนยังอยู่ในระดับแค่พอเอาตัวรอดเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนำไปเทียบกับอาชีพอื่นที่ใช้สมองในระดับเดียวกันหรือนักเขียนต่าง ประเทศ แต่ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับเขา
"ผมเพิ่งอ่านสัมภาษณ์ของนักเขียนจีน เขายังได้มากกว่าเราเลย อย่างที่ว่ามันต้องทำงานให้เต็มที่ ถ้าจะใช้ชีวิตเป็นนักเขียนก็ต้องยอมรับสภาพในหลายๆ ส่วนให้ได้ สิ่งที่ดีที่สุดคือเราต้องปรับงานเขียนของเราให้ขายได้คงทำได้แค่นั้น"
ในทัศนะของวินทร์งานเขียนเป็นลักษณะการทำงานแบบอุดมคติ เมื่อเปรียบเทียบกับอาชีพอื่น
"คุณจะทำอะไรก็ได้ ไม่มีกรอบอะไรมาบังคับ ไม่มีข้อแม้ในเรื่องการตลาดเท่าไรเลยทำให้เรามีความสุขกับมัน สิ่งที่ดีอีกอย่างหนึ่งคือการที่เราทำงานไปแล้วมีเสียงตอบรับอยู่ในเกณฑ์ที่ น่าพอใจ เป็นส่วนที่ทำให้มีกำลังใจในการทำงาน ประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้เราทำงานได้อย่างมีระบบ ภายใต้เงื่อนไขเวลาได้ ถ้าเราสามารถจัดระบบได้ เราก็ไม่ได้สูญเสียเรื่องความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้ลดคุณภาพของงาน ผมเชื่อว่าเราสามารถทำงานที่มีคุณภาพภายใต้เงื่อนไขเวลาได้"
ตอนนี้เขาอยู่ระหว่างเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ ทั้งที่เรื่องสั้นเป็นแนวการเขียนที่เขาชื่นชอบมากกว่านวนิยาย หากข้อจำกัดด้านรายได้และระยะเวลา คือสาเหตุที่เขาต้องเลือกเขียนนวนิยายก่อนในเวลานี้ ควบคู่ไปกับงานเขียนคอลัมน์ประจำในนิตยสาร 3-4 เล่ม
"ปกติผมใช้เวลาเขียนเรื่องสั้นเรื่องหนึ่ง 4-5 เดือนกว่าจะจบ ตอนนี้ถ้าทำแบบนั้นคงอยู่ไม่ได้ เรื่องสั้นเขียนเรื่องใหม่ต้องมีประเด็นใหม่ นิยายใช้ประเด็นเดียวแต่เขียนได้ยาวกว่า"
กับงานเขียนนวนิยายวินทร์บอกว่าเขายังไม่เข้ามือโปรในระดับที่สามารถกำหนดการเขียนส่งพิมพ์แบบอาทิตย์ต่ออาทิตย์ได้
"ถ้าเขียนอาทิตย์ต่ออาทิตย์มันเครียดเกินไป ผมต้องเขียนเรื่องให้เสร็จก่อนแล้วค่อยส่ง"
อดใจรอกันหน่อยแล้วกัน...
นิทานที่ วินทร์ เลียววาริณ อยากให้คนรุ่นใหม่อ่าน
นิทานที่ วินทร์ เลียววาริณ อยากให้คนรุ่นใหม่อ่าน
รายงานบันเทิง / อิสรีอิน 2547
นิทานดีย่อมมีผลต่อนิสัยรักการอ่านที่ดีของเด็กๆ ได้ (ตลอดไป)!!
เพราะเชื่อเช่นนี้ นักเขียนดับเบิลซีไรต์ อย่าง วินทร์ เลียววาริณ จึงไม่ลังเลใจแม้แต่น้อย ในวันที่ ทศสิริ พูลนวล บรรณาธิการสำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก ทาบทามให้เขียนนิทานให้กับ โครงการสมุดบันทึกนิทาน 2547 (Tale Diary 2004) เมื่อหลายเดือนก่อน
เพราะใจอยากปลูกฝังให้ 'เด็กรักการอ่าน' อยู่แล้ว อีกอย่างหนึ่ง หลายครั้งที่ได้ยินได้ฟังข่าวเด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลงๆ ด้วยแล้ว เขาเป็นคนหนึ่งที่อดตกใจไม่ได้เหมือนกัน
"มันอาจจะเป็นเรื่องธรรมดา หมายถึงว่า อาจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกก็ได้ แต่ผมคิดว่าน่าตกใจเพราะว่าถึงแม้ว่าผมไม่ได้คิดว่าหนังสือจะต้องเป็นสิ่ง เดียวที่แก้ปัญหาชีวิตหรือสังคม แต่ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญต่อบ้านเมืองอยู่เหมือนกัน..
"ถ้าเราไม่รู้จักหนังสือเสียเลย มันเหมือนขาดอะไรไปบางอย่าง หนังสือมันมีคุณค่า มีสิ่งดีๆ ความรู้ แล้วก็มากมายที่ซ่อนอยู่ ผมว่าอย่างน้อยเด็กก็ควรมีนิสัยรักการอ่านอยู่บ้าง แม้ว่าไม่ได้อ่านหนังสือเป็นหลักเหมือนคนสมัยก่อน แต่ควรมีส่วนนี้อยู่บ้าง"
วินทร์บอกถึงความสำคัญ เพราะอย่างตัวเขาเอง หนังสือเล่มแรกที่เขาได้อ่านในห้องสมุดสมัย ป.5 ก็เป็นนิทานเหมือนกัน แม้จำชื่อไม่ได้แต่ก็ได้อ่านนิทานมาตลอด
"สำหรับผม นิทานเป็นการปูพื้นฐานให้รักการอ่าน ซึ่งผมคิดว่าสำคัญกว่าเนื้อหาของมัน ก็คือ ถ้าหากเราสามารถจับใจให้เด็กสนใจอ่านเพราะความสนุกสนานของนิทาน มันโอเค มันทำให้เด็กโตขึ้นจะมีนิสัยรักการอ่านไปโดยปริยาย อันนี้สำคัญมากๆ
"ถ้าเล่มแรกเป็นเล่มที่ยากๆ ถ้าไม่ชอบเกิดภาพลบต่อหนังสือนี่ โตขึ้นคงไม่เดินเข้าร้านหนังสือ ซึ่งจุดนี้ลำบากหน่อย ปัจจุบันก็ยากเหลือเกินที่จะให้เด็กมาอ่านหนังสือสักชั่วโมงหนึ่ง แทนที่จะเล่นเกมอย่างเดียวซึ่งมันยากกว่าเดิม..
"ผมว่าหนังสือมันมีหน้าที่ตรงจุดนี้ ที่จะทำให้เด็กหันมาอ่าน ทีนี้ถ้าหากหนังสือเล่มนั้น มี 'เนื้อหาซ้อน' ทำให้คนที่วัยวุฒิสูงขึ้นมาหน่อยได้อะไรมากกว่านั้น ก็ถือว่าเป็นโบนัสไป"
ในสภาวะเช่นนี้ ถ้าหากช่วยกันถูกทางแล้ว วินทร์คิดว่าน่าจะช่วยเพิ่มปริมาณคนอ่านหนังสือได้แน่นอน เขาจึงขอเป็นหนึ่งในขบวนนั้นด้วย
ว่าแล้วเมื่อทาง มูลนิธิเด็ก ให้โจทย์มาว่าให้เขียนนิทานพื้นบ้านภาคใต้ นักเขียนชาวหาดใหญ่ จ.สงขลา คนนี้จึงมิรอช้าใช้เวลาเพียงแค่ 2 วัน 'จีนกับใบมะขาม' ก็เสร็จสมบูรณ์
อันที่จริงนิทานภาคใต้มีหลายเรื่องให้เลือกดู แต่เรื่องนี้เจ้าของสำนวนนิทานเรื่องนี้เห็นว่า "เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน" ที่สุด
"นิทานเรื่องนี้สอนให้เด็กเป็นคนสู้ชีวิต ไม่เป็นคนจับจด หรือเป็นคนหยิบโหย่ง แต่เป็นคนที่ทำงานให้สำเร็จลุล่วง ไม่เพ้อฝัน"
วินทร์กล่าวถึงจุดเด่นก่อนจะเอ่ยถึงความรู้สึกที่อยู่ในใจลึกๆ เกี่ยวกับ 'คนรุ่นใหม่' ให้ฟัง
"ผมมีความรู้สึกว่า คนรุ่นใหม่จะเป็นคนที่ค่อนข้างฉาบฉวยนิดหนึ่ง เพราะสภาพสังคมบ้านเราเป็นอย่างนี้ ก็เลยคิดว่าบางทีเราอาจจะใช้นิทานเป็นตัวสื่อตรงจุดนี้ก็ได้..
"ง่ายๆ คือ สอนให้รู้ว่าการจะก้าวไปสู่ความสำเร็จนั้น ไม่มีทางลัด มันต้องทำงานหนัก ทำงานจริงๆ จังๆ ซึ่งปัจจุบันนี้ใครๆ ก็อยากจะได้อะไรง่ายๆ ไปหมด..
"ผมคิดว่ามันน่าจะหยุดคิดสักนิดหนึ่งว่า เราอาจจะใช้วิธีการของบรรพบุรุษเรา ซึ่งทำงานหนักมาตลอดแล้วก็สร้างชาติสร้างตัวมาได้ด้วยการทำงานหนัก ผมว่านั่นเป็นสิ่งที่ดี เพราะไม่งั้นอะไรก็ทางลัดไปหมด ก็เลยคิดว่าน่าจะหยุดทบทวนสักนิดหนึ่ง"
ถึงตรงนี้ก็คงพอจะนึกถึงบรรยากาศร้านหนังสือและอันดับหนังสือที่ถูกจัดไว้หน้าร้านขึ้นมาได้ว่าเป็นยังไง
โดยเฉพาะ How to ประเภท รวยภายในสิบวัน ผิวขาวในสองอาทิตย์ สวยโดยไม่ต้องออกกำลังกาย ฯลฯ ที่เกลื่อนแผง
"คือทุกอย่างมันง่ายไปหมด ง่ายจนเกินไป มันเหมือนกับว่ามันมีปาฏิหาริย์อยู่ที่เราต้องพึ่งมันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งผมไม่เชื่อในเรื่องนี้
"ผมคิดว่า ทุกอย่างต้องทำงานหนักถึงจะได้มันมา แล้วเราจะรู้สึกว่ามันมีคุณค่า"
วินทร์กล่าวยาวเหยียด สำหรับนิทาน (สอนใจให้เด็กๆ รักความขยันหมั่นเพียร) ที่ไม่ได้เขียนไว้ให้อ่านเฉพาะเด็กเล็กๆ เท่านั้น
เหตุผลหนึ่งที่มูลนิธิเด็กติดต่อนักเขียนภาคใต้คนนี้ เพื่อถ่ายทอดนิทานพื้นบ้านท้องถิ่นนั้น ก็เนื่องจากเห็นว่าเป็นนักเขียนที่ใส่ใจกลวิธีในการนำเสนอดี น่าจะหลอกเด็กได้ เอ้ย...น่าจะมีกลวิธีเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือได้สนุก
แต่สำหรับวินทร์แล้ว กลับบอกว่าเรื่องนี้ไม่ได้ใช้เทคนิคอะไรพิเศษเลย เพราะตัวเรื่อง 'แรง' บอกอะไรชัดเจนพออยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคกลอุบายอะไรมากมาย
"จริงๆ ก็คิดว่าเล่ายังไงให้น่าสนใจ มานั่งอ่านนิทานจริงๆ ตัวนิทานมันเด่นอยู่แล้ว แทบไม่ต้องใช้เทคนิคหรือกลอุบายมากมาย คือใช้ภาษาที่เรียบง่ายที่สุด สละสลวยคือใช้ภาษาพื้นๆ มาก ไม่มีคำศัพท์พิสดารเลย"
"ผมคิดว่าลักษณะเรื่องเป็นเรื่องของคนสร้างตัวจากความไม่มีอะไร ทุกอย่างมันง่ายไปหมด เรียบง่ายก็เลยใช้ภาษาง่ายๆ แล้วคิดว่าตัวเรื่องมันบอกอะไรได้มากอยู่แล้ว"
ที่สำคัญเขียนเรื่องนี้ แบบ 'ไหลลื่น' มาก
"พอนั่งลงปุ๊บมันไหลไปได้เรื่อยๆ จนจบ คือไม่ได้เขียนอย่างนี้มานาน คือมันไหลไปได้เลย มันแทบไม่มีอุปสรรคอะไรเลย สำหรับงานชุดนี้ อาจจะเป็นเพราะเรื่องนี้ทำให้เราหวนคิดถึงวัยเด็ก ก็เลยทำด้วยความสบายใจ"
จีนกับใบมะขาม เป็นเรื่องราวของโกย้งกับโกผง เป็นชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาทำมาหากินอยู่ทางภาคใต้ของไทย โกย้งขยันจนมีเงินทองเข้าขั้นเศรษฐี แต่โกผงเกียจคร้าน จึงพอมีกินไปวันๆ โกย้งจึงคิดอุบายสอนเพื่อน
แต่จะเป็นอะไรนั้น-มีทั้งเรื่องให้อ่าน (แบบ 2 ภาษา ไทย-อังกฤษ) และรูปสวยๆ ให้ดู จากฝีมือของ ชนิศา ชงัดเวช อาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร เล่มละ 50 บาทเท่านั้นเอง เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนำไปเป็นของขวัญวันปีใหม่ แบบไม่จำกัดเพศและวัย
ส่วนผู้ปกครองที่จะจัดกระเช้าหนังสือให้เด็กๆ อ่านกันแต่ต้นปีนั้น นักเขียนดับเบิลซีไรต์คนนี้มีข้อแนะนำ
อย่างแรกไม่จำเป็นต้องมีรางวัลรับประกันก็ได้
"ผมคิดว่าเราไม่ควรจะปลูกฝังให้เด็กอ่านหนังสือที่เป็นรางวัล ตรงกันข้ามผมว่าถ้าเห็นหนังสือที่มีรางวัลควรจะห่างๆ ออกมาก่อนเพราะว่ามันไม่ได้เหมาะสมกับเด็กทุกคน"
อย่างสองให้พ่อแม่อ่านกับลูกด้วย จะได้รู้ว่าเด็กแต่ละคนต้องการอะไรกันแน่
และสาม อย่าบังคับฝืนใจให้อ่านเด็ดขาด
"ผมดูจากตัวเองเวลาผมให้ลูกอ่าน ผมจะไม่บังคับให้อ่านหนังสือที่ผมชอบหรือหนังสือที่ (คิดว่า) ดี ให้เขาอ่านหนังสือที่เขาอยากอ่าน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือนิทานหรือเป็นเรื่องเน้นความเพลิดเพลินบันเทิงอย่าง เดียว ผมก็ว่าไม่เป็นไร ตราบใดที่เราสร้างพื้นฐานรักการอ่านให้เขาแล้ว ก็โอเค เพราะอายุมากขึ้นแล้วเขาจะหันไปอ่านหนังสือที่ดีขึ้นโดยปริยาย โดยอัตโนมัติ"
ส่วนใครจะเริ่มต้นด้วยหนังสือดังๆ ในกระแสก็ไม่น่าจะมีปัญหา
"ถ้าเด็กอ่านบทสองบทแล้วไม่ชอบ เราก็ไม่ควรฝืนให้เขาอ่านเพียงเพราะว่ามันได้รางวัลหรือเห็นว่าเป็นหนังสือที่ดี"
ที่สำคัญมีการพูดคุยกันยิ่งดี จะได้ทำให้แตกหน่อทางสติปัญญาไปด้วย
และถ้ากลัวว่าเด็กๆ จะอ่านแค่เล่มเดียวก็แนะเล่มอื่นๆ ให้ลองอ่านดู
"ถ้าเขาไม่ยอมอ่าน ก็ยังไม่เป็นไร ตราบใดที่เราสร้างนิสัยรักการอ่านให้เขา ก็ยังโอเค ผมเชื่อว่าถ้าเขาชอบหนังสือนี้ เขาก็คงจะชอบตลอดไป เพราะมันเป็นภาพที่ดีที่ฝังอยู่ในใจแล้ว"
เรื่องแบบนี้นักเขียนคุณพ่อคนนี้ ทดลองมาเรียบร้อยแล้วจ้า!
ส่วนใครที่ติดใจสำนวนนิทานของวินทร์กันแล้ว อุดหนุนมูลนิธิเด็กกันหน่อย เพราะในไม่ช้าอาจจะมีทั้งนิทาน หนังสือเยาวชน ตลอดจนภาพประกอบเล่าเรื่องแปลกๆ (ที่ตั้งใจไว้แล้ว) มาให้อ่านกันอีก
จะได้ขึ้นชื่อว่า win ทั้งคนอ่าน-คนเขียนไปพร้อมๆ กัน!
(อ่านต้นฉบับได้ที่ห้องหนอนในตะกร้า - ข่าวหน้าหนึ่ง)
กรุงเทพธุรกิจ 24 สิงหาคม 2546
วินทร์ เลียววาริณ
นักเขียนดับเบิ้ลซีไรต์กับศิลปะการเขียน
นสพ. กรุงเทพธุรกิจ
ฉบับ 24 สิงหาคม 2546
เส้นทางสู่ความเป็นนักเขียน บางคนยอกย้อนยาวไกล บางคนดิ่งตรง ราวกับลูกธนูพุ่งสู่เป้าอย่างฉับไว แถมยังแม่นราวปิศาจช่วยจับวาง
ความแปลกแตกต่างของแต่ละคน ประการหนึ่งเพราะการ "สั่งสม" ประสบการณ์การเรียนรู้ อีกประการหนึ่งเพราะเก่งในการค้นพบตัวเอง ว่าเหมาะกับอาชีพนักเขียนตั้งแต่อายุยังน้อย ขณะที่บางคนกว่าจะรู้ ก็อายุมากแล้ว อย่าง เจ.เค โรว์ลิ่ง ผู้เขียน แฮร์รี่ พอตเตอร์ แต่เร็วหรือช้านั่นไม่สำคัญ เท่ากับการมี "จิตวิญญาณนักเขียน"
นักเขียนไม่มีทางลัด วัดกันที่ความอึด
พื้นฐานการเขียน ไม่ว่าจะเป็นนวนิยายและเรื่องสั้น ในหนังสือ ช่อการะเกด ของ บก. สุชาติ สวัสดิ์ศรี ชุด รากต่อใบ บอกไว้ว่า ถ้าจะเขียนหนังสือแล้วต้อง "1. เขียนให้ดีที่สุด 2. เขียนให้ถึงที่สุด และ 3. ต้องเขียนให้จริงที่สุด"
ใครที่คิดจะเป็นนักเขียน ทั้งสามประการควรน้อมนำมาปฏิบัติ
นักเขียนเจ้าของรางวัลซีไรต์ ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน และ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน นามปากกาว่า วินทร์ เลียววาริณ ไฉนสร้างสรรค์ผลงานได้ต้องใจคณะกรรมการรางวัลซีไรต์ และต้องตาคนอ่านนัก นั่นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
หนทางก้าวสู่ถนนนักเขียน วินทร์บอกว่า "ทางเดียวก็คือเขียน ไม่มีทางลัด เขียนแล้วต้องไม่วอกแวก ไม่ใช่เขียนไปเรื่องหนึ่งแล้วก็รอผลกระทบว่าจะมาอย่างไร มันไม่สามารถจะทำได้ถึงขนาดนั้น เขียนไปแล้วเรื่องหนึ่ง เราก็ต้องเขียนเรื่องที่สองต่อ เรื่องที่สามต่อ เขียนไปเรื่อย ๆ ความแตกต่างของคนเขียนหนังสือธรรมดา กับเขียนหนังสือจนเป็นนักเขียนได้ มันอยู่ตรงความอึด อยู่ที่ใครจะอึดจะทนกว่ากัน ถ้าเราผ่านจุดตรงนี้ได้ มันจะต้องไปจนได้ ไม่มีใครที่จะเขียนเรื่องลงตะกร้าไปตลอดชีวิตหรอกครับ" วินทร์เอ่ยด้วยท่าทางมั่นอกมั่นใจ
เขียนหนังสือไม่ต้องพรสวรรค์
เรื่อง "พรสวรรค์ วินทร์บอกว่า การเขียนหนังสือ "ไม่ต้องพรสวรรค์อะไรทั้งสิ้น"
การหาเรื่องราวมาเขียน "ผมไม่ห่วงเรื่องการหาเรื่องราวมาเขียน เพราะมีเรื่องเยอะแยะไปหมด ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องการหาพล็อต รอบๆ ตัวเรามีพล็อตเต็มไปหมด บางทีเรารู้สึกว่า เขาเขียนไปแค่ประเด็นสองประเด็นเท่านั้นเอง มีช่องว่างทางการตลาดให้เราเขียนอีกเยอะแยะ อย่างบ้านเรานี้ยังขาดหนังสือวิทยาศาสตร์ นวนิยายวิทยาศาสตร์ การหาเรื่องมาเขียน ผมว่าไม่มีปัญหา มันอยู่ที่เราจะเขียนได้ดีหรือเปล่าเท่านั้นเอง"
เขียนหนังสือให้ดี ต้องทำอย่างไร
สำหรับวินทร์แล้ว วินทร์มีขั้นตอนในการเขียนคือ "เราดูว่าเราจะเขียนหนังสือประเภทไหน มีข้อมูลใดที่เราต้องการ อะไรบ้าง เราหาข้อมูลไป แล้วเราก็หาโครงร่างว่า เรื่องแบบนี้ควรเขียนอย่างไร เราจะวางโครงเรื่อง วางโครงการไว้ก่อน กะเวลาว่า ทั้งหมดน่าจะประมาณกี่เดือนจบ ถ้าเราจะแบ่งงาน เราควรจะแบ่งอย่างไร ใช้เวลาแค่ไหน เมื่อไรเริ่มเขียน หรือทำไปพร้อมๆ กันได้ไหม...
"คือบางเรื่องไม่จำเป็นต้องทำรีเสิร์ซจนจบ เราทำเป็นตอนๆ ได้ไหม เพราะบางเรื่องเราอาจจะทำเป็นตอนๆ ตอนที่เราพร้อมเราก็เขียนไปก่อน และการเขียนหนังสือไม่ใช่ว่า เราจะมีอารมณ์สนุกเขียนตลอดเวลา มันเป็นไปไม่ได้ ช่วงเวลาที่เราเขียนช่วงเช้าเร็วที่สุด ดีที่สุด หรือว่าความคิดสร้างสรรค์เราแล่นที่สุด เราก็ใช้เวลานั้นในการเขียน สมมุติว่าช่วงบ่ายเราเหนื่อย เราไม่อยากจะคิดแล้ว เราก็เอาเวลานั้นไปรีเสิร์ซแทน"
เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรม ดูตัวอย่างการคิดเรื่อง เขียนเรื่อง และรีเสิร์ซเรื่องจากเรื่อง ปีกแดง ก็แล้วกัน
"โจทย์ของการเขียนจริงๆ ก็คือ การสอนวิชาประวัติศาสตร์เท่านั้นเอง โจทย์ของ ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน คือ การสอนประวัติศาสตร์ที่คนไม่รู้เรื่องมาก่อน โดยไม่ต้องอ่านตำราเรียน ส่วน ปีกแดง เป็นการสอนวิชาสังคมนิยม ตั้งแต่วันแรกของคอมมิวนิสต์ จนวันสุดท้ายของคอมมิวนิสต์ นั่นคือโจทย์ เราหวังว่าคนอ่านๆ แล้วจะเข้าใจในเรื่องสังคมนิยมได้ดีกว่าเดิม โดยที่ไม่ต้องอ่านตำราอีกหลายสิบเล่ม นั่นคือโจทย์ ผมได้ทำทุกอย่างตามโจทย์ที่ตั้งไว้"
เมื่อได้เรื่องเขียนแล้ว ก็รีเสิร์ซข้อมูล
การรีเสิร์ซข้อมูลมันก็หืดขึ้นคอทีเดียว เพราะว่านิสัยส่วนตัว เมื่อผมทำอะไรแล้วไม่อยากทิ้ง ถ้าหากทำไม่จบ เรื่องนี้มันน่าจะทิ้งไปตั้งหลายครั้งแล้ว มันเหนื่อยเหลือเกิน โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องทำงานประจำด้วย ตำราเกี่ยวกับสังคมนิยมที่เป็นเรื่องราวจริงๆ เป็นภาษาอังกฤษแทบทั้งนั้นเลย ไม่ค่อยมีภาษาไทย ภาษาไทยที่จะอ่านมีน้อยมาก เพราะฉะนั้นการหาข้อมูลต้องเป็นสองชั้น เราอ่านได้ช้าเนื่องจากเป็นภาษาอังกฤษ เราต้องอ่านหนังสือเป็นจำนวนมาก เพราะสงครามแต่ละสงครามมันก็มีรายละเอียดมากเหลือเกิน ข้อมูลมหาศาล ไม่รู้จะทำอย่างไร แต่จำเป็นต้องอ่าน เพราะต้องทำให้จบ ดังที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่ตอนแรก และเก็บข้อมูลบางส่วนไว้แต่ตอนแรก และเขียนไว้แล้วแต่ไม่ชอบใจ ต้องรื้อใหม่ เขียนใหม่ ๆ มาหลายที ตอนหลังก็กะว่า ต้องจบภายในปีหรือสองปี ถ้าไม่อย่างนั้นไม่ทำแล้ว ก็เลยโหมทำให้เสร็จ รวมทั้งหมดเวลา 6 ปี"
การแบ่งเวลาการเขียน
วินทร์ไม่เคยปล่อยเวลาทิ้งไปเปล่าๆ ถ้าเขียนมาทั้งวันแล้วเกิดเหนื่อยล้า ตอนกลางคืนก็ไม่ฝืนเขียนต่อ แต่หันไปขัดเกลา
"ช่วงกลางคืน ถ้าเป็นช่วงที่เราเหนื่อยแล้ว เราก็ใช้เวลาเกลาภาษาเท่านั้นเอง ถ้าเราแบ่งช่วงให้ถูก การทำงานของเราก็จะมีความก้าวหน้าตลอดเวลา ทุกวัน โดยที่ไม่ใช่ว่าทำอะไรไม่ได้ก็หยุดแค่นั้น ถ้าสมมุติว่า ผมคิดเรื่องนี้ไม่ออก ผมก็จะทำโปรเจ็คท์ที่สอง ไปก่อนได้ ผมจะไม่มานั่งรอให้เกิดอารมณ์โปรเจ็คท์นั้นอยู่"
เพื่อความคล่องตัวในการเขียน วินทร์วางแผนทำงานข้ามปี
"ผมจะวางล่วงหน้าหลายปี ไม่ใช่ปีเดียว ผมอยากจะเขียนอะไร อยากจะทำอะไรบ้าง แต่ละโครงการผมอยากทำอะไรก่อน ผมก็จะทำอย่างนั้นไป ผมอาจจะทำคราวละ สามสี่โครงการพร้อมๆ กัน ช่วงไหนที่ผมได้ข้อมูลที่ดีเกี่ยวกับโครงการใดโครงการหนึ่ง ผมอาจจะทำโครงการนั้นไปก่อนก็ได้ ทั้งหมดนี้เป็นการบริหารเวลามาใช้กับงานเขียน ซึ่งมันก็ดูแปลกๆ แต่มันทำได้ อยู่ที่คุณจะทำหรือเปล่า"
นักเขียนอาชีพต้องมีวินัย
นักเขียนต้องมีวินัยของนักเขียนเหมือนกัน เรื่องวินัยวินทร์ยืนยันว่า "ผมว่ามันฝึกกันได้ ถ้าหากว่าคุณกฤษณา อโศกสิน คุณ'รงค์ วงษ์สวรรค์ ทำทุกวันได้ ทำไมเราจะทำไม่ได้ ท่านเป็นตัวอย่างที่ดีที่เราควรจะตาม เขาทำได้เป็นระบบ เขียนได้ทุกวัน ตลอดเวลา เขาทำได้นั่นแสดงว่าวิธีการนี้คนอื่นก็ต้องทำได้"
วิธีการของ วินทร์ เลียววาริณ นับเป็นวิธีที่ "เหมาะ" สำหรับคนที่จะเป็นนักเขียนอาชีพ แต่ถ้านักเขียนสมัครเล่นจะรออารมณ์ รอแรงกระทบใจ รอปัจจัยต่างๆ ให้มากระตุ้นถึงจะเขียนออกมาได้ นั่นก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่ประการใด
รูปแบบไม่จำเป็นเสมอไป
กล่าวกันว่า วินทร์เป็นต้นแบบของ 'นักเขียนแนวทดลอง' อันหมายถึงมีรูปแบบหวือหวา และเป็นที่ยอมรับของนักเขียน นักอ่านรุ่นใหม่ๆ เมื่อเอ่ยถึงเรื่องนี้ วินทร์พรายยิ้มอย่างอารมณ์ดี ก่อนอธิบายว่า "ผมเลิกคิดเรื่องรูปแบบไปหลายปีแล้ว ผมดูที่ความเหมาะสมว่า จะเสนออย่างไร เวลาเราขาย เราดูหลายๆ อย่าง เช่น หนังสือบางเล่มอาจจะเหมาะสำหรับคนวัยน้อยๆ อย่าง หนึ่งวันเดียวกัน น่าจะเหมาะกับวัยรุ่นมากกว่าผู้ใหญ่ แต่นี่ไม่ได้แปลว่าผู้ใหญ่อ่านไม่ได้ แต่ว่าถ้าเราจะดูลักษณะรูปแบบการเขียน เราก็จะต้องเบาลงมาหน่อยหนึ่ง แต่เราไม่ทิ้งเนื้อหานะ"
สาเหตุที่ลดความหวือหวาลง วินทร์บอกว่า "ผมไม่ได้เปลี่ยนใจ ผมชอบทำงานที่มันแปลกออกไป อยากจะทดลองใหม่อยู่เสมอ แต่ผมไม่ได้ใช้แนวทดลอง ที่คนทั่วไปตีความว่างานทดลองคือรูปแบบ นั่นคือภาพที่คนอื่นมอง ผมว่ามันไม่จำเป็น พอทำงานถึงจุดหนึ่ง เราก็สามารถที่จะใช้อาวุธทุกอย่างมานำเสนอ ไม่จำเป็นต้องใช้รูปแบบเสมอไป รูปแบบอะไรก็ได้ นักเขียนรูปแบบทั่วไปมันก็เป็นแนวทดลองอยู่แล้ว"
พร้อมอธิบายเพิ่มเติมว่า "สิ่งที่คนทั่วไปติดอยู่ ก็คือรูปแบบคือแนวทดลอง งานทดลองคือรูปแบบ เพราะฉะนั้นมันก็ฝังอยู่เรื่องนั้น นั่นมันก็จำกัดตัวเองอยู่พอสมควร "
ถึงอย่างไรก็ตาม "ผมยังชอบที่จะทำงานสนุกๆ อยู่ และนำเสนอที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ไม่ได้แปลว่าจะต้องหวือหวาอะไรเสมอไป" ผลงานของวินทร์เริ่มเด่นดังมาจากแนวทดลอง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเด่นในเรื่องของการนำเสนอ เมื่อชั่วโมงบินมากพอ การเปลี่ยนแปลงในผลงานที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นเรื่องธรรมดา-ที่อาจไม่ธรรมดา
เขียนเพราะอยากเขียน อย่าเพื่อรางวัล ในฐานะเจ้าของผลงานหนังสือรางวัลซีไรต์ 2 เล่ม จึงอดที่จะถามเรื่องรางวัลตบท้ายไม่ได้ รางวัลในฐานะนักเขียนอย่างวินทร์มองอย่างไร
"รางวัลเป็นดาบสองคม รางวัลเป็นแค่ความเห็นของคณะกรรมการกลุ่มเดียวเท่านั้นเอง มันไม่ได้บอกอะไรเลยแม้แต่นิดเดียว" วินทร์เน้นเสียงหนักแน่น "แต่มันเป็นสีสันของวงการ ทำให้วงการขับเคลื่อนออกไป ทำให้มีความเคลื่อนไหว มีข่าว ให้คนมาสนใจวงการหนังสือมากกว่าที่จะไม่มีรางวัล เพราะฉะนั้นโดยภาพรวม ผมถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ใจจริงอยากให้บทบาทของรางวัลมีอะไรมากกว่านี้สักหน่อย รางวัลน่าจะสามารถกระตุ้นให้คนมาอ่านหนังสือมากกว่าปีละหนึ่งเล่ม"
สำหรับมือใหม่หัดเขียน เรื่องรางวัลคงต้องร้องเพลงประมาณว่า "ฉันเปล่าหนา เขามาเอง" คือให้เขาให้เองดีกว่าที่จะมุ่งมั่นเขียนเพื่อรางวัล
เพราะการบวกเลขถ้าผิดตั้งแต่แรก ยิ่งบวกต่อไปก็จะยิ่งพลาด
สัมภาษณ์ผู้จัดการ 8/2003
WIN.. or Lost
โดย นกป่า อุษาคเนย์
จากหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ อาทิตย์ทอดวง
ฉบับประจำวัน เสาร์-อาทิตย์ที่ 2-3 สิงหาคม 2546
เขาคือเจ้าของ 2 เข็มขัดแชมเปี้ยนซีไรต์ไทยแลนด์รายที่สองต่อจาก ชาติ กอบจิตติ และมีทีท่าว่าจะคว้าแฮตทริกในปี 2546 นี้? ซึ่งหากจะกล่าวจำเพาะเจาะจงลง ณ ห้วงเวลาปัจจุบันก็คงมิต้องเอ่ยอ้างอารัมภบทเกี่ยวกับปูมประวัติและชื่อ เสียงเรียงนามของนักเขียนหนุ่มใหญ่ที่ชื่อ วินทร์ เลียววาริณ กันให้มากความ ยิ่งในโมงยามเยี่ยงนี้ที่เสียงปี่กลองมโหรีกำลังเร้าเร่งโรมระรัว ก็ยิ่งจักได้สดับตรับฟังเรื่องราวหลายหลากจากปากคำของบรรดา Short List ทั้ง 7 ทางสื่อต่างๆ อยู่อย่างต่อเนื่องแล้ว ... ทว่า, นี่น่าจะเป็นปากคำล่าสุดของดับเบิ้ลซีไรต์- หนึ่งใน Short List ที่ชื่อ วินทร์ เลียววาริณ อันจะได้เปิดใจ-ให้สัมภาษณ์กับหนึ่งในทีมงาน 200 กว่าชีวิตของ อาทิตย์ทอดวง ระหว่างห้วงเวลาของเทศกาลงานประกวดวรรณกรรมประจำปี เชิญทัศนา...
> ช่วงที่ผ่านมาดูจะสับสนในข่าวที่ว่า วินทร์ เลียววาริณ เลิกทำงานประจำ- หันมาจับปากกาเขียนหนังสืออย่างเดียวเพียวๆ ความสับสนก็คือจริงๆ แล้วปิดบริษัท,บริษัทปิด หรือ ลาออก
> ปิดบริษัทครับ ไม่ใช่ลาออก คือบริษัทเขายุบตัวไป ก็เลยต้องลาออกโดยอัตโนมัติ
> คล้ายกับว่าคุณมีหุ้นในบริษัทนั้นด้วย
> มีอยู่บ้าง... คือคุยกันแล้วสรุปว่าเลิกกิจการ ก็เลยแยกย้ายกันไป
> จากนั้นก็มาลงหลักปักฐานกับอาชีพเขียนหนังสือ
> ครับ... เดิมทีผมเขียนหนังสือเป็นไซด์ไลน์ คือมีรายได้ประจำจากงานด้านอื่น ส่วนหนังสือก็เขียนมาเรื่อยๆ แต่ปัจจุบันนี้ รายได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์มาจากการเขียนหนังสือ ซึ่งก็ยังคงมีส่วนที่มาจากการทำงานในด้านอื่นช่วยเสริมอยู่ด้วย ไม่งั้นก็อาจจะลำบากนิดนึง รับออกแบบปก - เอ่อ ...ก็ไม่ได้รับออกแบบเป็นเรื่องเป็นราวอะไร คือมีเพื่อนอยู่ในวงการหนังสือ เราก็รับอาสามาทำ เป็นการหารายได้เสริมจากการเขียนน่ะ ต่อไปนี้จะเขียนหนังสืออย่างเดียวเพียวๆ
> ตั้งใจจะทำให้สำเร็จให้ได้ งานเก่าๆ ก็ดึงออกมาจากดอกหญ้าหมดแล้ว
> ดึงมาหลายปีแล้วครับ เพราะว่าพอตั้งบริษัท-ตั้งสำนักพิมพ์ขึ้นราวๆ เมื่อสามปีที่แล้ว ก็เริ่มทำงานของตัวเองเรื่อยมา
> สำนักพิมพ์ของคุณวินทร์เปิดกว้างรึเปล่าครับ
> เอ่อ.. ยังไม่ค่อยพร้อมเท่าไหร่ เพราะทำของตัวเองก็กินเวลาไปมากพอสมควรแล้ว แต่คิดว่าก็คงจะทำ แต่อาจไม่ได้กว้างเหมือนกับสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ ทั้งหลาย คือ อาจจะเอางานประเภทความคิดที่ดูแล้วน่าสนใจ...แต่คงค่อยๆเป็น ค่อยๆไป มั้งครับ เพราะไม่ได้มีทุนทรัพย์หรือสายป่านอะไรมากมาย
> นี่พูดได้เลยมั้ยว่า งานเก่าๆ สามารถเลี้ยงสำนักพิมพ์ 113 แห่งนี้ได้
> เลี้ยงตัวผมเองน่ะครับ (ยิ้ม) ไม่ได้เลี้ยงสำนักพิมพ์ คือ มันก็คงไม่ได้มีรายได้มากเหมือนทำโฆษณาหรืออะไร แต่มันก็โอเคอยู่ในระดับนึง ซึ่งผมก็จะวางแผนทำงานให้มันเป็นระบบมากขึ้นเพื่อที่จะทำให้เราสามารถอยู่ได้ด้วยการเขียนอย่างจริงๆ จังๆ คิดว่าน่าจะทำได้ถ้างานเป็นระบบ มากกว่าที่ผ่านมา
> เมื่อสักครู่ก่อนที่จะอัดเทปสัมภาษณ์ ได้ยินแว่วๆ ว่า คุณตัดพ้อทำนอง ปีนึงก็จะมาสัมภาษณ์กันที หรือว่าเรื่อง ปีกแดง แบบว่าต้องมีกระแสซีไรต์จึงจะขายได้... ฟังแล้วน่าตกใจว่าชื่อชั้นระดับ วินทร์’ นี่ยังต้องรอกระแส... ยอดหนังสือไม่เดินหรืออย่างไร
> หนังสืออิงประวัติศาสตร์แบบนี้จะซีเรียส คนอ่านที่ไม่ใช่แฟนประจำคงไม่หยิบขึ้นมาเท่าไร แต่อย่างหนังสือที่... ยกตัวอย่างเช่น “หนึ่งวันเดียวกัน” ที่เป็นเรื่องซึ่งเกี่ยวกับวัยรุ่นหน่อยๆ มันก็จะมีกลุ่มคนอ่านที่กว้างกว่า ส่วนอีกประเภทหนึ่งที่ต้องการการกระตุ้นอย่างแรงคืองานเขียนแนววิทยาศาสตร์ ที่มันจะไปช้า คือมันก็ใช้ได้แต่จะไปช้ามากเมื่อเทียบกับนิยายประเภทอื่นๆ แบบ ... กลุ่มคนที่อ่านหนังสือของเราเนี่ย ยังไงเขาก็อ่านอยู่แล้ว แต่ถ้าเราต้องการที่จะสร้างคนกลุ่มใหม่ๆขึ้นมานี่... มันไม่ได้ง่ายถึงอย่างนั้น เพราะว่ามันจะต้องมีการทำโปรโมชั่น ทำพีอาร์ ต้องมีการทำโฆษณาอย่างหนักหน่วง... ยิ่งถ้าทำด้วยตัวเองนี่มันก็ย่อมต้องมีเม็ดเงินที่แพงพอสมควรเมื่อนำมาเทียบ กับยอดขายที่มันไม่ได้สูงอะไร... มันไม่คุ้มที่จะลงไป - แต่มันก็คงต้องทำอะไรสักอย่างอยู่บ้างเหมือนกัน ซึ่งถ้ามันมีกระแสรางวัลอะไรสักอย่าง เช่น ซีไรต์นี่... ถ้าใช้ประโยชน์จากตรงนี้ได้บ้าง
> ได้ยินได้ฟังมาบ้างว่า วินทร์ เลียววาริณ บ่นเบื่อๆ เรื่องซีไรต์
> (หัวเราะ)... มันก็เบื่อๆ อยากๆ น่ะครับ! คือเราก็เข้าใจว่ามันเป็นปรากฏการณ์ของบ้านเมืองเรา คือมันเป็นอย่างนี้ก็โอเค ... โดยภาพรวมแล้วมียังดีกว่าไม่มี ผมคิดอย่างนี้นะ
> คุณวินทร์มองรางวัลซีไรต์ในเชิงการขายหรือในเชิงคุณภาพ
> ผมไม่มองในจุดพวกนั้น ผมมองว่าการที่จะสามารถสร้างรางวัลขึ้นมาสักรางวัลนึง โดยเฉพาะรางวัลในทางวรรณกรรมแล้วทำให้ผู้คนรับรู้ได้มากขนาดนี้เนี่ยมันเป็น สิ่งที่ดี แต่มันจะดียิ่งขึ้นถ้าหากว่าเขาสามารถทำให้คนอ่านได้ประโยชน์มากกว่าที่เป็น อยู่ คือสามารถสร้างกระแสทำให้คนสนใจอ่านหนังสือจริงๆ จังๆ มากกว่าที่จะเป็นการอ่านหนังสือเล่มสุดท้ายเล่มเดียวที่ได้รางวัล จุดนี้ผมว่าน่าจะดีกว่า แต่ก็คิดว่ามันคงต้องค่อยๆเป็นค่อยๆ ไป... เทียบกับหลายปีที่แล้วน่ะครับ ผมว่าช่วงหลังๆ มานี้ เรายังมีการพูดถึง 7 เล่มสุดท้ายกันมากขึ้น ก็ถือว่าเป็นการพัฒนาอย่างหนึ่ง คงต้องใจเย็นกันหน่อยเพราะการที่จะเปลี่ยนนิสัยให้คนมาอ่านหนังสือกันมากๆ เนี่ยมันไม่ใช่เรื่องง่าย
> รางวัลวรรณกรรมอื่นๆ ก็ไม่เด่นเท่านี้
> ครับ
> ในแง่ของคุณวินทร์เอง ถ้าเกิดงวดนี้ไม่เข้ารอบล่ะจะว่ายังไง
> เฉยๆ คือผมไม่ได้คิดว่าส่งแล้วต้องได้รางวัล ผมมองว่าส่งแล้ว มันทำให้เกิดความเคลื่อนไหวบนแผงหนังสือเท่านั้นเอง เรามองแบบนั้น เพราะว่าบทบาทของนักเขียนนี่ ... ไม่ว่าเรื่องนี้ เรื่องไหน หน้าที่มันจบลงเมื่อเราเขียนเสร็จ และเมื่อตีพิมพ์รวมเป็นเล่มแล้วก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายการตลาดที่ต้องขายให้ ได้เท่านั้นเอง
> ถามตรงๆ เลยนะว่าตอนที่ Short List ยังไม่ประกาศนี่ คุณวินทร์มั่นใจกี่เปอร์เซ็นต์ว่าต้องเข้า 7 เล่มสุดท้าย
> ไม่ได้มั่นใจอะไรขนาดนั้น คือจริงๆ ผมเป็นคนที่ไม่ได้คิดว่าการแข่งขันมันเป็นแค่การแพ้ชนะกัน ผมมองว่ามันเป็นการสร้างสีสันเป็นความเคลื่อนไหวในวงการ ... ให้ดูภาพรวมดีกว่าว่ามันมีดีกว่าไม่มีคือ ให้มีการพูดถึงกันมากขึ้น คนก็อาจหันมาสนใจ แม้ว่าจะมีแค่ปีละครั้ง ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย เพราะมีข้อสังเกตว่าแชมป์เก่าหลายคน ก็ไม่เข้า Short List - คือถ้าเราคิดว่าต้องชนะนี่ไม่สนุกแล้ว มันเครียดแล้ว แต่หากเราคิดว่าจะลงแข่งแล้วทำให้มันมีสีสันมากขึ้น อย่างนี้จะดีในภาพรวม
> รู้สึกอย่างไรในกรณีที่ ชิทแตก (ของปราบดา หยุ่น) ไม่ส่ง
> ได้คุยกับคุ่นคร่าวๆ เหมือนกันว่าทำไมไม่ส่ง... ก็ยังเสียดาย คือคงจะมีการพูดถึงกันมากขึ้น ถ้าเขาส่งเพราะมันจะได้มีการพูดถึงภาพรวมของนิยายไทยร่วมสมัยให้มากกว่านี้
> คุณปราบดา เค้าว่ายังไง
> ต้องไปถามคุ่นเอง (ยิ้ม)
> ทีนี้ในกรณีที่คุณเวียง - วชิระ บัวสนธ์ เขียนไว้ในนิตยสารสีสัน... กรณีต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ที่เพิ่งถูกนำเข้ามาปลูกในบ้านเราราวปี 2500 แต่ในนิยายเรื่องปีกแดงกลับมีต้นไม้นี้ปรากฏอยู่ทั้งๆที่เป็นฉากก่อนเกิด สงครามโลกครั้งที่ 2
> ครับ ที่เขาพูดก็น่าจะถูก ... ความจริงผมรู้มาจากคณะกรรมการตั้งแต่แรกแล้วว่านี่น่าจะเป็นจุดผิดพลาด... พูดไปแล้วก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลกอะไรที่มีการหลุดไปได้ เป็นเรื่องธรรมดาซึ่งผมก็ได้แก้ไขแล้วในฉบับพิมพ์ครั้งล่าสุด แต่ว่าจริงๆ นิยายเรื่องนี้ผ่านสายตาบรรณาธิการ ผ่านสายตาคนช่วยอ่านมาแล้ว 6-7 คน ไม่มีใครมองเห็นเลย ผมว่าของอย่างนี้มันหลุดกันได้ คือมันเป็นสิ่งสุดท้ายที่ผมมองว่าจะผิดพลาดเพราะผมมัวมองในจุดอื่น และมันก็ไม่ได้แปลกอะไรกับการเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่มันจะมีจุดหลุด ได้เสมอ คือมันมีโอกาสหลุดเยอะกว่าการเขียนนิยายธรรมดา ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณสำหรับคำท้วงติง ยังมีประเด็นอื่นอีกที่คุณเวียงชี้เอาไว้ เช่นเรื่องการยัดเยียด... อันนั้นเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล ไม่ใช่ประเด็นในเรื่อง อันนั้นเราวิจารณ์ได้ในแง่ส่วนบุคคล ส่วนใครจะเชื่อหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
แต่ถ้าเป็นข้อเท็จจริงแล้ว ถ้ามันผิด เราก็แก้เป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องของเทคนิค วิธีการ - ครับ ผมถือว่า เป็นเรื่องความเห็นของบุคคลมากกว่าซึ่งเราก็รับฟังไว้เสมอ คือเมื่อมีอะไร ต่างๆ นานา เราก็รับฟังแล้วมีการแก้ในการพิมพ์ครั้งต่อไปเสมอ ผมแก้อยู่ตลอดเวลา อย่างเล่มที่แก้มากที่สุด... เล่ม ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ก็แก้อยู่เรื่อยๆ ถ้าเป็นข้อมูลเข้ามาแล้วเป็นข้อมูลที่ทำให้เรื่องดีขึ้น บางจุดบางประเด็นที่มีการวิจารณ์เรารับฟังเสมอ ฟังแล้วก็แก้และก็ให้เครดิตคนที่วิจารณ์ไว้ด้วย นี่เป็นสิ่งที่ผมทำมาตลอดทุกเล่ม
> ถ้าอย่างนั้นหากใครอยากอ่านฉบับที่สมบูรณ์คงต้องซื้อเล่มที่พิมพ์ครั้งล่าสุด...
> คือทุกครั้งที่มีการพิมพ์ใหม่ ถ้ามีอะไรพลาดหรือหลุดเนี่ย จะแก้เสมอ โดยเฉพาะนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่มันหลุดได้ง่ายมากๆ ขนาดที่เราคิดว่ามั่นใจ-ชัวร์ 100 เปอร์เซ็นต์แล้วเนี่ยมันก็ยังมีอะไรหลุดออกมาในแบบที่เราไม่อยากจะเชื่อ ซึ่งก็พยายามทำให้ดีที่สุด ...อย่างปีกแดงนี่ก็พยายามให้ผ่านตาคนช่วยอ่านมาก (เน้นเสียง) กว่าจะออกมาเนี่ยอ่านแล้วอ่านอีก คือต้องการจะให้ชัวร์จริงๆ มันก็ยังหลุดจนได้ หรือเป็นเพราะข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจมีใครชี้ชัดได้ - อยากให้คุณลองเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์ดูสักเรื่องนึงแล้วจะรู้ คือมันมีรายละเอียดเยอะมาก มันต้องเช็กทุกอย่าง แล้วมันก็ไม่ใช่นิยายรักหรือเรื่องอิงสถานการณ์ปัจจุบัน... นิยายอิงประวัติศาสตร์เนี่ย ยิ่งเราจะย้อนหลังไปไกลๆ หรือไปต่างประเทศมันก็มีโอกาสจะหลุดได้ ก็พยายามเต็มที่- ทำเท่าที่คิดว่ามันถูกต้องในเวลานั้น และกับข้อมูลที่มี...
> รู้สึกคุณวินทร์เคยบอกไว้ว่า ปีกแดง นี่เป็นข้อมูลที่เหลือจากประชาธิปไตยบนเส้นขนาน
> มันไม่ได้เป็นข้อมูลที่เหลืออย่างเดียว มันมีข้อมูลที่เรา research ไว้จำนวนมากซึ่งยังไม่ได้ใช้ คือถ้าใช้ในเล่มประชาธิปไตยฯ มันจะมากเกินไป อาจทำให้เรื่องเปลี่ยนแนว ขณะเดียวกันก็มีอีกหลายจุดที่ผมอยากจะรู้ คือเรื่องเกี่ยวกับการเกิดและการดับของสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งอยากจะรู้ ก็เลยถือโอกาสเขียนไปด้วย เรียนรู้ไปด้วย
> จริงๆ แล้ว ที่อยากถามก็คือเมื่อครั้งที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ซีไรต์เล่มแรกของคุณ ซึ่งถูกโจมตีเรื่องข้อมูลผิดพลาดอยากถามว่าไม่เข็ดหรือ
> ผมอยากจะรู้น่ะ คือผมไม่แคร์... คำวิจารณ์สมัยแรกๆ อาจจะหนักไปบ้าง แต่เราก็เรียนรู้จากมัน แล้วเราก็มองในแง่ดีที่ว่า เขาอุตส่าห์อ่านจนจบแล้วมองในรายละเอียดซะจนมากขนาดนั้น แต่ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ในการแก้งาน เราขอบคุณเขาจริงๆ แม้ว่าจะวิจารณ์แรงไปบ้างก็ไม่ได้คิดอะไรมาก การทำงานทุกชนิดถ้ามันผิดเราต้องยอมรับว่าผิด แก้ได้เราก็แก้ ส่วนเข็ดหรือเปล่า... ก็ไม่ได้เข็ดอะไร เพราะผมสนุกกับมัน
> คิดว่าจะเขียนในธีมของความขัดแย้งทางการเมืองหรือเรื่องสังคมนิยมอีกมั้ย
> มันยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกมากในประวัติศาสตร์... ทำงานไปก็รู้สึกสนุกไปกับมัน ยังมีอีกหลายเรื่องที่น่าเขียน นั่นเป็นโครงการระยะยาว เพราะว่าไม่สามารถทำงานพวกนี้ เสร็จภายในปีเดียว สองปี มันเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่อง ที่อยากจะเขียนก็มีอย่างประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปสมัยสุโขทัย หรือสมัยอยุธยา น่าเขียนมากถ้ามีเวลา เพราะโปรเจกต์เช่นนี้ ชิ้นนึงอาจใช้เวลา 6-7 ปี ชุด อำ ในมติชนสุดสัปดาห์นี่ก็เป็นอีกอันนึง... - ชุดอำนี่ก็เป็นอีกโครงการหนึ่ง...
> ใน a day ก็ดี ใน อำ ก็ดี มันเสมือนการตอกย้ำหรือไม่ว่า วินทร์คือเจ้าพ่องานเขียนแนวทดลอง
> มันอาจเป็นภาพพจน์ที่ติดมา... พูดไปแล้วมันก็เหมือนแบรนด์เนมที่ติดหัวคนไปแล้วว่าถ้าเป็นงานของวินทร์แล้ว ต้องเป็นงานทดลองเสมอ ซึ่งอาจจะเป็นการจำกัดมุมมองของเรามากไปหน่อย ... ผมไม่คิดอย่างนั้นนะ แม้ว่าโดยรวม พอเห็นปั๊บก็อาจดูออกว่าเป็นงานของผม แต่จริงๆ แล้ว ไม่ได้คิดแบบนั้น ว่าต้องเขียนแต่แนวทดลองหรือต้องเขียนอะไรให้หวือหวาตลอดเวลา
> ไม่อยากให้จำกัดความ
> ผมเลิกจำกัดตัวเองตั้งนานแล้ว ในเรื่องที่ว่าจะต้องเขียนให้มันหวือหวา เราไม่ควรจะคิดว่าเรื่องไหนเป็นการทดลอง ไม่ทดลองหรือต้องทดลองตลอดเวลา หรือว่าไม่เห็นด้วยกับเรื่อง แนว - ผมว่าการใช้คำว่า 'แนวทดลอง' นั้นเป็นเรื่องของทิศทางเป็นเรื่องของรูปแบบมากกว่า
> พูดได้ว่า วินทร์ เลียววาริณ แจ้งเกิดจากเวทีช่อการะเกซึ่งโดดเด่นในแง่ของสนามเรื่องสั้นแนวใหม่ที่ไมใช่เรื่องสั้นสูตร เช่น สูตรเพื่อชีวิต และหลายคนก็มองว่าเป็นเวทีของเรื่องสั้นแนวทดลอง คือบางท่านก็มองว่าการเกิดของคุณวินทร์นั้น มาได้จังหวะ
> ผมว่าเป็นการ บังเอิญนะ คือผมไม่รู้ขนบเดิมๆว่าต้องแบ่งค่ายแบ่งเขาแบ่งเราว่านี่เป็นนิยายหรือนั่น เป็นเรื่องสั้นประเภทนั้นประเภทนี้ เราเขียนในสิ่งที่เราอยากเขียน บางเรื่องก็สนุกสนาน บางเรื่องก็เพื่อชีวิตหน่อยๆ ปนๆกันไป ... บางทีก็เป็นวิทยาศาสตร์ บางทีก็เป็นแนวอื่น ก็ไม่ได้คิดว่าต้องเป็นแนวไหน -ยังไงคิดเพียงแต่ว่าเรื่องที่เราเขียนสามารถสื่อสารได้ดีหรือเปล่า
> อะไรคือเป้าหมายที่เป็นจุดร่วมในงานเขียนของคุณ
> ผมอาจจะมองไม่เหมือนนักเขียนอื่นๆ ตรงที่ผมคิดว่า การเขียนหนังสือก็คือการสื่อสารชนิดหนึ่ง เรื่องสั้นคือการสื่อสารชนิดหนึ่ง ซึ่งมันต้องมีสารอะไรที่จะสื่อออกไป ถ้าคุณไม่เข้าใจสาร มันก็ไม่มีทางที่คุณจะเขียนออกมาได้ เพราะฉะนั้นเวลาก่อนที่จะเขียน ผมรู้ล่วงหน้าแล้วว่าสารของเรื่องนั้นคืออะไร และต้องการบอกอะไร แต่บางเรื่องอาจไม่มีศิลปะ คือบอกมากไปหน่อย แต่ละชิ้นจะแยกอิสระออกจากกัน - ใช่ แต่ว่ามันก็มีข้อแม้อยู่เหมือนกัน เช่นบางครั้งผมเขียนเรื่องออกมาสักชุดนึง... อย่างชุดนี้อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิต ชุดนั้นอาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังคม หรือชุดโน้นอาจจะต้องการล้อเลียนใครในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เพราะฉะนั้น เรื่องที่เขียนในแต่ละชุดมันก็จะมีกลิ่นอายหรือว่ามีวิธีการนำเสนอแตกต่างกัน
> หน้าที่ของวรรณกรรมในทัศนะของวินทร์ คืออะไร เช่น ต้องสร้างสันติภาพ...
> (หัวเราะ) ไม่มีวัตถุประสงค์อะไรไกลขนาดนั้น... ผมเขียนหนังสือเพื่อความบันเทิง เขียนเพื่อเอาใจตัวเอง มันอาจจะมีบางประเด็นในสังคมที่เราคิดว่ามันน่าจะเปลี่ยนแปลงหรือเราเห็น แล้วรู้สึกว่าไม่ดี คนอ่านถ้าอ่านไปแล้วคิดเห็นร่วมไปด้วย ก็ถือเป็นผลพลอยได้ ผมไม่ได้ตั้งใจจะใช้งานเขียนในการเปลี่ยนสังคมหรืออะไร ไม่ได้คิดว่ามันจะไปได้ไกลขนาดนั้น ถ้าไปได้ก็ดี - ถ้าไปได้ก็ดี มันเป็นผลพลอยได้
> กับประเด็นตลาดหนังสือในปัจจุบัน ที่แย่ลงเรื่อยๆ ล่ะครับ
> แย่ในแง่ไหนล่ะครับ ในแง่ยอดขายของงานเขียนแนวสร้างสรรค์ - แล้วแต่มุมมองนะ... อันนี้ผมดูตลาดแล้วมันก็คึกคักดี เช่น เรื่องแปล... ผมว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี อยากให้มองในแง่ดี มากกว่าจะมองเป็นคู่แข่ง ผมคิดว่านี่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เราทำงานหนักขึ้นเพื่อจะมีงานที่ดีโดยปริยาย คือถ้าเราไม่ทำตอนนี้เราตายแน่นอน (เน้นเสียง) เพราะฉะนั้น มันแทบจะเป็นการบังคับ...คือใครบางคนได้ถีบเราลงมาในสนามระดับโลกเรียบร้อย แล้ว เราก็ต้องรีบทำงานให้ดีที่สุดเท่านั้นเอง ... คนอ่านมีทางเลือกมากขึ้นจากตลาดงานแปล ส่วนงาน Local นั้น ยังเล็กอยู่ มีช่องว่างมากมาย ที่ผมคิดว่าสามารถเข้าไปเขียนกันได้เช่น นิยายจารกรรมก็ยังไม่มีใครเขียนเป็นเรื่องเป็นราว แนวนับสืบยิ่งน้อยมาก ยังอย่างอื่นอีกสารพัดคือ มีอีกเยอะมาก...ผมคิดว่าเราไม่จำเป็นจะต้องมานั่งเขียนเรื่องเดียวกันหรือทำ งานประเภทเดียวกันซ้ำๆซากๆอยู่ร่ำไป
> แล้วคิดว่านักเขียนไทยจะสู้เค้าได้บ้างมั้ย อย่างคุณวินทร์จะสู้ ’มูราคามิ’ ได้มั้ย
> คุณเล่นมูราคามิเลยเรอะ (หัวเราะ) กลัวตกเทรนด์น่ะครับ - ผมว่าได้นะ เราก็มีสมองมีปัญญา ถ้ามูราคามิมา เราก็ส่งปราบดาไปสู้ (ยิ้ม) เรายังมีคนเก่งอยู่เยอะเพียงแต่ว่าบางทีเรา... ไม่รู้สิผมว่าบางทีนักเขียนบ้านเราไม่รู้ว่าเกร็งกันมากไปรึเปล่า...คือผม ว่า ถ้าเราทำงานกันออกมาอย่างต่อเนื่องเนี่ย ดีไม่ดีก็ปนๆกันไป แต่ต้องทำออกมาเรื่อยๆ ผมว่ายังไงก็ต้องมีออกมาสู้จนได้ แล้วยังมีช่องว่างอีกเยอะ เรื่องผี เรื่องสยองขวัญ เรื่องวิทยาศาสตร์ต่างๆ คือยังมีช่องว่างอีกเยอะแยะมากเลยที่ไม่ค่อยมีใครลงไปเขียนเท่าไหร่ มัวแต่เขียนกันอยู่ประเภทเดียว ตลาดตรงนั้นมันก็เลยมีแค่เรื่องแค่แนวเดียว น่าเสียดายนะทั้งที่ต่างประเทศมีแนวต่างๆมากมาย
> ที่ว่าเขียนกันอยู่ประเภทเดียวนั้น คิดว่ากำลังติดกรอบอะไรกันอยู่ถึงทะลุไปไม่ได้
> ผมตอบแทนคนอื่นไม่ได้ครับ
> เคยเก็บข้อมูลมั่งมั้ยครับว่าแฟนหนังสือของคุณมีช่วงอายุเท่าไรบ้าง
> ผมว่าประมาณตั้งแต่วัยรุ่นถึงวัยดึกนะครับ ...สมัยก่อนอาจจะไม่มีวัยรุ่น ...ตั้งแต่เขียนลง a day มันก็จะมีกลุ่มวัยรุ่นเข้ามาเยอะพอสมควร แสดงว่าแต่เดิมก็ไม่ได้คาดหวังนักอ่านรุ่นใหม่ - เอ่อ ... ไม่ได้มองขนาดนั้น เพราะคิดว่าเรื่องที่ตัวเองเขียน มันอาจซีเรียสเกินไปกับเด็กวัย 12-13 ขวบ ผมว่าเขาอาจจะไม่อ่านหนังสือประเภทนี้ ช่วงหลังมาก็จะเปลี่ยนแบบแบ่งกลุ่มให้ชัดขึ้น อย่างที่เขียนลงใน a day ก็จะเน้นทางกลุ่มเด็กมากขึ้น โจทย์คือทำอย่างไรที่จะกระตุ้นให้เขาอยากอ่านหนังสือและก็หวังว่าถ้าเขาชอบ หนังสือที่เราเขียนไปเนี่ย โตขึ้น พวกเขาอาจจะมีนิสัยรักการอ่านบ้าง
> คิดว่านักอ่านฮาร์ดคอร์เช่นนักอ่านซ้ายจ๋าเพื่อชีวิตเก่าๆ ชอบอ่านงานของคุณมั้ย -
> ผมไม่รู้... แต่เท่าที่ทราบมันจะมีอยู่ 2 อย่างคือ ถ้าไม่เกลียดก็ชอบ-ไม่ค่อยมีคนอยู่ตรงกลางเท่าไหร่ ... ผมถือว่าถ้าทำได้อย่างนี้ก็ดี ...จริงๆแล้ว เราแค่อยากเห็นกลุ่มที่ชัดเจนขึ้นเท่านั้นเอง เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ทุกคนอ่านและทุกคนชอบงานคุณ แล้วก็ไม่เคยหวังอย่างนั้นด้วย... หวังแค่ว่าโอเค ถ้าเราสามารถสร้างความสัมพันธ์กับนักอ่านที่มีมุมมองชีวิต – มีวิถีชีวิตคล้ายๆกับเรา ก็เหมือนกับเขียนหนังสือให้เพื่อนอ่าน เพราะการทำงานเขียนแบบนี้มันไม่ใช่การทำธุรกิจที่กอบโกยเงินทองมากมายอะไร
> ฐานคนอ่านของคุณมีประมาณเท่าไหร่
> ประมาณ 4,000-5,000 น่าจะได้ ... แต่ก็ไม่แน่นอน เพราะบางเล่มก็จะมากผิดสังเกต แต่ก็ถือว่าใช้ได้เป็นตัวเลขที่ขึ้นๆ ลงๆ อยู่ประมาณนี้ แล้วคิดว่าในอนาคต ตัวเลขตรงนี้จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง - เท่าที่ดูอยู่หลายปี ... ฐานตรงนั้นมันก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลงสักเท่าไหร่ ก็อยู่ประมาณนี้ แต่ถ้าเพิ่มมันก็ดีนะ คือขณะที่ยอดพิมพ์ส่วนใหญ่มันอยู่ที่ประมาณ 3,000-5,000 เล่ม ที่เหลือมันก็จะค่อยๆกระจายในระยะยาว 5 ปี อาจจะได้ 5,000 หรือโชคดีก็เป็น 10,000 แต่ ตัวเลขในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี ตัวเลขไม่น่าจะเกิน 20,000 หรอก คือ 20,0100 ก็ว่าสูงมากแล้ว สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้ยอกพิมพ์มันสูงขึ้น ถ้านักเขียนสามารถทำให้สูงขึ้น นักเขียนก็สามารถผลิตงานที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แทนที่ปีหนึ่งๆ จะเขียนหนังสือ 2 เล่ม ก็เขียนเล่มเดียวพอ ถ้าเกิดผมอยากเขียนหนังสืออิงประวัติศาสตร์อีกซักเล่ม หากผมใช้เวลา 2 ปี ผมก็ยังมั่นใจว่ายังมีฐานพอรองรับค่าใช้จ่ายอยู่ แต่ถ้าตัวเลขอย่างนี้ก็คือจะทำโครงการที่ใช้เวลาถึง 2 ปี ไม่ได้แน่นอน
> งานคอลัมน์ที่ทำอยู่ Support ได้มากน้อยแค่ไหน
> ช่วยแค่บิลค่าไฟฟ้า น้ำประปา (ยิ้ม) ที่ตั้งใจทำมาตลอดคืออยากจะสร้างฐานให้กว้างขึ้นเรื่อยๆ และสาเหตุที่ผมอาศัยรางวัลเป็นตัวสร้าง... แต่ในระยะยาวแล้วเราไม่ควรพึ่งรางวัลเพราะมันจะเป็นการฆ่าตัวตาย คือมันไม่ดีเลยที่จะใช้รางวัลในการสร้างฐานคนอ่าน โอเค แม้ว่าใน พ.ศ. นี้ จะยังใช้อยู่ หรืออย่างการจัดงานสัปดาห์ขายหนังสือปีละ 2 ครั้งนั่น ระยะยาวก็ไม่ดี เพราะเหมือนเป็นการทำลายนิสัยรักการอ่านของคนไทย เพราะปีหนึ่งๆก็มีงานกันแค่ 2-3 ครั้ง จริงๆมันน่าจะเป็นแบบว่าว่างๆ ก็เดินไปร้านหนังสืออะไรทำนองนั้นจะดีกว่า เหมือนไปดูหนังน่ะนะ เราคงไม่ได้ดูหนังกันแค่ปีละ 2 ครั้ง อยากให้การซื้อ-การอ่านหนังสือมันเป็นเหมือนวิถีชีวิต ถ้าเราทำให้คนอ่านหนังสือจนเป็นเหมือนวิถีชีวิตแล้ว ผมคิดว่าน่าจะดีกว่านี้ แต่ก็คงต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆไป ...สำหรับนักเขียนก็คงทำอะไรได้ไม่มากเท่าไหร่ นอกจากทำงานให้ดีที่สุดเท่านั้น
> โครงการในอนาคตมีอะไรบ้าง
> ผมอยากทำอีกหลายโครงการ ... เป็นโครงการที่ต้องใช้เงินมหาศาลอย่างโครงการนิตยสารวิทยาศาสตร์และยังเรื่องเกี่ยวกับวรรณกรรม... มันเป็นโครงการที่ผมทำเองไม่ได้เพราะต้องใช้เม็ด เงินมาก ซึ่งถ้าสามารถใช้ประโยชน์จากรางวัลเพื่อให้ได้เม็ดเงินมามันก็สามารถทำให้ โครงการต่างๆ เป็นไปได้มากขึ้นเท่านั้นเอง
> เป้าหมายปลายทางในชีวิตวางไว้อย่างไร
> ผมมีความสุขกับการเขียนหนังสือ แล้วก็ดีใจที่ทำมันในเชิงการตลาดได้ระดับหนึ่ง ความฝันและความอยากเขียนก็คงอยู่ – ไม่ได้หายไปไหนตั้งแต่เริ่มต้นจับปากกามาเลย... อยากจะเขียนงานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดไฟ จนกว่าไม่มีปัญญาเขียน มันคงมีเรื่องให้เขียนอีกเยอะแยะนะผมว่า ถ้าเรายังมีสมาธิและสติปัญญามากพอ
> ซีไรต์ปีนี้หวังไว้ขนาดไหน
> เฉยๆ ไม่ได้หวัง คือมาถึงวันนี้ก็โอเคแล้วในภาพรวม มันก็เหมือนประกวดออสการ์น่ะ มันก็แค่ดีที่สุดของปีเท่านั้นเอง ก็อาจดีในสายตาของคนกลุ่มเท่านั้นเอง ถ้าคิดอย่างนี้ได้ก็คงไม่ซีเรียสอะไร อย่างที่บอกเขียนเสร็จหน้าที่ผมก็จบลงตรงนั้นแล้ว
สัมภาษณ์นิตยสาร E-Commerce, 6/04
เมื่อพูดถึงนักเขียนรางวัลรีไรท์ หลายคนคงนึกถึงนาม วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนที่มีงานเขียนออกมาประจักษ์ต่อสายตานักอ่านมากมาย อย่าง สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน, ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน, หลังอานบุรี และอื่นๆ อีกมากมายถ้าจะให้กล่าวออกมาทั้งหมดคงจะกินหน้ากระดาษไม่น้อย และบ่ายในวันหนึ่ง Dumber ได้มีโอกาสได้พูดคุยกับนักเขียนซีไรท์ท่านนี้ ณ คอนโดฯใจกลางกรุงเทพ ถึงการใช้ไอทีในงานเขียนของเขา
Dumber : ในปัจจุบันไอทีมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของคนเราอย่างไรบ้าง
วินทร์ : แล้วแต่ว่าคนเราจะใช้เทคโนโลยีนี้ให้เป็นประโยชน์กับตัวเองอย่างไร ผมรู้จักกับคนจำนวนมากที่คิดว่าไอทีไม่มีผลกับชีวิตประจำวันของเขา บางคนก็ว่ามีผลกับตัวเขา คนรุ่นเก่าๆ มักจะปฏิเสธไอที แต่มันก็แล้วแต่คนแหละครับ อย่างผมในฐานะอาชีพนักเขียน ผมก็ใช้ประโยชน์ของมันในหลักใหญ่ๆ คือ การรีเสิร์ชข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
Dumber : เข้าไปรีเสิรช์ข้อมูลอย่างไร
วินทร์ : มันมีหลายอย่าง เช่น ถ้าผมจะเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องหนึ่ง ต้องการทราบข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะเข้าไปที่ Google หรือเว็บเพจที่ไหนสักแห่ง ใส่ชื่อบุคคลที่ต้องการ และพยายามหาข้อมูลที่ได้มาให้มากที่สุด บางทีมันก็จะแตกหน่อไปยังข้อมูลใหม่ๆ แต่บางทีมันก็จะเป็นการเซิร์ฟเว็บดูว่ามีอะไรใหม่ๆ มาบ้างหรือเปล่า บางทีก็คีย์คำต่างๆ เข้าไปดูว่ามีอะไรขึ้นมา ทำให้เรียนรู้อะไรจากตรงนี้เยอะมาก ในสองสามปีนี้ผมใช้ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเยอะทีเดียว เพราะมันเป็นห้องสมุดที่ใหญ่มาก
Dumber : บางคนมองว่าห้องสมุดที่ใหญ่อย่างอินเทอร์เน็ตเป็นข้อมูลที่ค่อนข้างไม่ค่อยน่าเชื่อถือ และเป็นข้อมูลที่บิดเบือนเยอะเหมือนกัน
วินทร์ : แล้วแต่วิจารณญาณของเรา ไม่ใช่ว่าเห็นอะไรก็เชื่อไปหมด ต้องใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์กับเรา ไม่ใช่ให้ข้อมูลมาบังคับอะไรเรา ต้องพิจารณาดูว่าข้อมูลไหนหน้าเชื่อถือและไม่น่าเชื่อถือ แต่อย่างไรอินเทอร์เน็ตก็เป็นข้อมูลที่เปิดกว้างและชี้แหล่งข้อมูลใหม่ๆ ให้กับเราได้
Dumber : คุณวินทร์เริ่มมาใช้เน็ตจริงๆ จังๆ เมื่อสองสามปีที่ผ่านมาเหรอคะ แล้วเมื่อก่อนล่ะ
วินทร์: ผมก็ใช้มาเรื่อยๆ แต่เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ผมจะใช้ค่อนข้างเยอะหน่อย มีข้อมูลหลายอย่างที่ผมไม่ทรายว่าจะไปหาข้อมูลที่ไหน พอเข้าไปเสิร์ชในอินเทอร์เน็ต ก็จะหาเจอเป็นส่วนใหญ่ ก่อนหน้านั้นการหาข้อมูลจะมาจากการอ่านหนังสือ หรือหาข้อมูลจากแหล่งอื่นเท่านั้นเอง แต่มันก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ถ้ามันมีให้ใช้ก็ใช้
Dumber : เมื่อเทียบกับอดีตการหาข้อมูลต้องเข้าไปในห้องสมุดเพื่อหาข้อมูล
วินทร์ : มันมีหลายอย่าง ถ้าเป็นข้อมูลชั้นหนึ่งคือสัมภาษณ์คน หรือไปคุยกับชาวบ้านที่รู้ข้อมูล และก็อย่างหนังสือ ซึ่งก็อาจจะเข้าห้องสมุดหรือซื้อหนังสือจากร้านหนังสือทั่วไป ซึ่งมันก็ยังเป็นวิธีหนึ่งที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน ผมยังเข้าไปร้านหนังสือเพื่อซื้อหนังสือ แต่ในบางเรื่องผมต้องไปซื้อหนังสือต่างประเทศเพื่อเอาข้อมูลที่ต้องการมา เพียงนิดเดียว ต้องเสียเงินซื้อหนังสือในราคา 600-700 บาท ซึ่งในข้อมูลเดียวกันผมหาได้จากอินเทอร์เน็ตฟรี และเป็นข้อมูลเดียวกันเลย และก็ประหยัดกว่าด้วย
Dumber : รวดเร็วกว่าด้วย
วินทร์ : ถ้าเราหาเป็นก็เร็ว แต่ก็อาจไม่ได้ข้อมูลที่ต้องการเสมอไป บางอย่างก็ไม่ได้ แต่หลายอย่างก็หาได้ อย่างข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ประวัติศาสตร์ไทย ผมใช้อินเทอร์เน็ตจากต่างประเทศหาเจอ ซึ่งมันก็ไม่น่าเชื่อ
Dumber : ถ้าให้เลือกการหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตกับหาข้อมูลจากหนังสือ คุณวินทร์เลือกอย่างไหนก่อน
วินทร์: ถ้าให้เลือกปฏิบัติก่อน ก็คงเลือกจากอินเทอร์เน็ตก่อนอยู่แล้ว เพราะมันใกล้มือ
Dumber : แล้วนำข้อมูลที่หาได้จากหนังสือมายันข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
วินทร์ : เปล่า เพราะข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเป็นข้อมูลที่ใช้ได้แล้ว แต่บางข้อมูลผมก็ยังตั้งคำถามอยู่ ไม่ว่าจะหาหนังสือหรือจากแหล่งข้อมูลที่ไหนก็ต้องมาวิเคราะห์อีกทีหนึ่งว่า ข้อมูลนั้นใช้ได้หรือเปล่า ไม่ใช่ว่าเชื่อไปหมด
Dumber : ถ้ามีการซื้อขายข้อมูลเป็นเล่มๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตเลย จะได้บริการไหมคะ
วินทร์ : อาจจะใช้บริการ ถ้ามีเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกก็โอเค ยอมรับมัน
Dumber : บางคนมองว่าอินเทอร์เน็ตคือของฟรี พอจ่ายตังก็จะไม่ยอมรับกับเรื่องตรงนี้
วินทร์ : ผมว่าไม่มีอะไรฟรีหรอกครับ อินเทอร์เน็ตก็ไม่ฟรี ต้องเสียค่าโทรศัพท์ เสียค่าใช้จ่ายหลายอย่างเหมือนกัน แต่ถ้าเทียบกับเวลาผมว่ามันคุ้ม
Dumber : แต่ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเป็นข้อมูลที่จับต้องไม่ได้ อย่างมากก็แค่พริ้นต์มาอ่าน จะเย็บข้อมูลที่พริ้นต์มาเก็บเป็นเล่มๆ บนชั้นหนังสือก็ดูไม่สวยงาม
วินทร์ : มันแล้วแต่จุดประสงค์ของแต่ละคน อย่างผมเนี่ยก็ไม่จำเป็นพิมพ์ออกเป็นเล่ม ผมจับข้อมูลที่ได้มาและก็ใช้มันตรงนั้นเลย แต่บางทีก็เก็บไว้เป็นไฟล์ โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมา
Dumber : ไม่กลัวข้อมูลหายหรือคะ
วินทร์ : ผมแบ็คอัพเสมอ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ต้องแบ็คอัพไว้เสมอ
Dumber : ในแต่ละวันใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเยอะไหมคะ
วินทร์: ผมเขียนหนังสือด้วยคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นถ้าผมเขียนหนังสือก็ต้องใช้คอมพิวเตอร์
Dumber : เหมือนขาดไม่ได้เลย
วินทร์ : มันไม่ใช่ขาดไม่ได้แต่มันเป็นเครื่องมือในการเขียน
Dumber : อย่างไปต่างจังหวัดก็จะพกโน้ตบุ๊คตลอด
วินทร์ : บางสถานที่อาจไม่เหมาะกับการใช้โน้ตบุ๊คหรือคอมพิวเตอร์ก็ต้องจดใส่กระดาษ แต่อย่าลืมว่าถ้าจดใส่กระดาษก็ต้องไปคีย์ลงคอมพิวเตอร์อีกครั้งหนึ่ง มันเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน ถ้าเป็นอย่างนั้นสู้ผมคีย์ลงคอมพิวเตอร์ไปทีเดียวเลยไม่ดีกว่าหรือ นี่คือวิธีการทำงานที่เร็วกว่า
Dumber : การทำงานผ่านคอมพิวเตอร์โดนตรงเลยอาจมีข้อเสียคือถ้าเขียนงานอยู่แล้วเครื่องแฮงก์ ไฟดับ ข้อมูลที่เขียนมาทั้งหมดก็จะหายไปด้วย
วินทร์ : มันไม่เกี่ยวกัน ไม่ใช่ผลเสียจากการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ มันเกิดขึ้นจากความไม่ระมัดระวังของคนทำงานมากกว่า ถ้าคุณทำงานด้วยคอมพิวเตอร์และไม่แบ็คอัพมันทุกสองนาทีหรือห้านาที ถือว่าเป็นการบกพร่องของคุณเอง ผมทำงานจะต้องเซฟงานทุกสองนาที และทุกๆ ห้านาทีถึงสิบนาทีผมจะเซฟไฟล์ใหม่ขึ้นมา ถ้าเกิดเครื่องมีปัญหาขึ้นมา อย่างมากก็จะย้อนการทำงานกลับไปแค่ 2 นาทีที่ผ่านมา
Dumber : มันไม่ยุ่งยากหรือคะ เวลาทำงานแล้วความคิดกำลังไหล ต้องหยุดมันเพื่อเซฟข้อมูล
วินทร์ : มันทำให้เป็นนิสัยได้ ทุกๆ ครั้งที่คีย์ไปได้สองนาทีหรือห้านาทีก็จะคอมมานด์-เซฟมันได้ เพียงกดปุ่มแค่สองนิ้วเท่านั้นเอง
Dumber : เป็นเพราะว่าคอมพิวเตอร์มัน User Friendly มากขึ้น ทำให้ทำงานได้ง่ายดาย เวลาจะเซฟงานในแต่ละครั้งก็จะง่าย
วินทร์ : มันง่าย แต่เราก็ต้องใช้ประโยชน์จากความง่ายของมัน ผมไม่ได้ตกเป็นทาสของเครื่องมือนะครับ แต่ผมใช้เครื่องมือให้เป็นประโยชน์กับการทำงานมากกว่า มันทำงานสะดวก ก็โอเค มันประหยัดเวลาได้เยอะ
Dumber : คนที่ตกเป็นทาสของเครื่องมือจะเป็นอย่างไรคะ เขาเสพเครื่องมืออย่างไร
วินทร์ : ตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเล่นเกมคอมพิวเตอร์ และวันๆ ไม่ทำมาหากินอะไร ติดอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นแหละคือทาสของเครื่องมือ หรือบางคนทำงานอะไรง่ายๆ บางอย่างที่ใช้มือทำได้ ก็กลับไปใช้คอมพิวเตอร์ทำ เพราะว่าติดคอมพิวเตอร์ ผมว่ามันไม่จำเป็นบางงานที่ไม่จำเป็นใช้คอมพิวเตอร์ก็ไม่ต้องใช้ บางงานจำเป็นต้องใช้ก็ใช้ ต้องดูตามความเหมาะสม อย่างผมทำงานใช้คอมพิวเตอร์ เซฟเป็นไฟล์ดิจิตอล ก็สามารถส่งไปยังสำนักพิมพ์ หรือแมกกาซีนได้โดยตรง มันประหยัดเวลาของสำนักพิมพ์ได้มหาศาล เขาก็ไม่ต้องคีย์ใหม่ ผมทำให้หมดทุกอย่างเซฟเป็นไฟล์ให้ทุกฟอร์แมท ไม่ต้องและเสียกระดาษด้วย
Dumber : เหมือนเป็นการทำงานของนักเขียนยุคใหม่
วินทร์ : เรียกว่าปรับไปตามยุคสมัย มันประหยัดกว่า กระดาษก็ใช้น้อยลง เวลาตัดต่องานก็เร็วขึ้น
Dumber : งานเขียนแนวใหม่ของคุณวินทร์ที่ใช้ภาพสื่อความหมายแทนตัวหนังสือ ซึ่งมันต้องใช้ความรู้ทางด้านกราฟิก
วินทร์ : ผมทำทุกอย่างทุกขั้นตอนตั้งแต่ถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอล แต่งภาพใหม่ และมาจัดเลย์เอาท์ทุกอย่าง ถ้านักเขียนไม่มีความรู้ด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์จะยากนิดนึง เพราะต้องพึ่งให้ดีไซเนอร์ทำ แต่ผมทำขั้นตอนเดียวจบ เพราะฉะนั้นสำนักพิมพ์จะได้ดิสก์แผ่นเดียว และเอาไปเข้าโรงพิมพ์ได้เลย โดยไม่ต้องไปแต่งอะไรทั้งสิ้น มันเป็นการใช้เครื่องมือให้เกิดประโยชน์กับงาน
Dumber : นักเขียนบางคนมองว่าการแต่งภาพมันเป็นงานที่ค่อนข้างยาก
วินทร์ : การแต่งภาพมันไม่ใช่หน้าที่ของนักเขียน ผมเพียงแต่รำเรียนมาทางด้านนี้และมีความรู้ในระดับหนึ่ง ซึ่งคิดว่าทำมันเป็นงานได้ มันไม่ใช่หน้าที่ของนักเขียนที่จะต้องมาแต่งภาพ ทำเลย์เอาท์ แต่ผมมีความสุขในการทำงานแบบนี้ก็เลยทำมันเอง จะทำในช่วงเวลาที่ไม่ได้เขียนมา ก็จะมาออกแบบแก้เซ็งบ้าง จะได้ไม่จำเจ
Dumber : ในเรื่องของมือถือล่ะ ใช้ในงานเขียนหรือชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง
วินทร์ : โทรศัพท์มือถือไม่ได้ใช้ในเรื่องงานเขียนเลย แต่จะใช้ในเรื่องการสื่อสารเท่านั้นเอง แต่อย่ามาถามผมว่าเล่นเกมบนโทรศัพท์มือถืออย่างไร ผมไม่เป็น ส่งข้อความ รับข้อความอย่างไร ผมก็ไม่เป็น ผมใช้มือถือเพียงติดต่อสื่อสารอย่างเดียว เวลาผมซื้อโทรศัพท์มือถือจะง่ายมาก คือเลือกรุ่นที่ฟังก์ชั่นน้อยที่สุด
Dumber : ทำไมถึงคิดเช่นนั้นหละคะ เพราะบางเวลาที่ไปในสถานที่ที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตเพื่อติดต่อสื่อสารได้
วินทร์ : บังเอิญผมไม่ได้อยู่ในสถานการณ์อย่างนั้นสักเท่าไหร่ เลยไม่มีปัญหาอะไร ถ้าอยู่ในสถานการณ์อย่างนั้น สักพักหนึ่งคงถูกฝึกให้เป็นจนได้ เท่าที่ผ่านมามันไม่มีความจำเป็นต้องใช้
Dumber : เท่าที่ผ่านมางานเขียนของคุณวินทร์จะอยู่ห้องทำงานตัวเองและทำงานที่ ห้องอย่างเดียวโดยที่ไม่ได้เดินทางไปทำงานในที่ต่างๆ อย่างนักเขียนบางท่านชอบที่จะเดินทางไปในที่ต่างๆ เพื่อที่จะเก็บข้อมูลและสร้างอารมณ์ในการเขียน
วินทร์ : การเดินทางไม่จำเป็นต้องแบกคอมพิวเตอร์เสมอไป การใช้ชีวิตของนักเขียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
Dumber : ถ้าให้ประมาณตัวเองว่าเป็นคนที่ใช้เทคโนโลยีอยู่ในระดับไหน
วินทร์ : ผมเป็นคนโลว์-เทคครับ แต่เป็นคนที่ยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและใช้มันให้เป็นประโยชน์ กับชีวิตการทำงาน แต่โดยทั่วไปแล้วค่อยข้างจะล้าสมัยนิดนึง จะหัวโบราณเล็กน้อย แต่ก็ไม่มีปัญหาในการยอมสิงสิ่งใหม่ๆ และใช้มันให้เป็นประโยชน์
Dumber : สุดท้ายนี้ถ้าชีวิตนี้คุณวินทร์ต้องขาดไอทีจะอยู่ได้ไหม
วินทร์ : ถ้ามันไม่มี ผมก็ต้องอยู่ได้อย่างไม่มีปัญหา ไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ ผมก็ใช้พิมพ์ดีดได้อย่างไม่มีปัญหา ถ้าเราใช้เครื่องมือต่างๆ ให้เป็นประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรือว่าอะไรทั้งหลาย ถ้าใช้มันให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง ไม่ตกเป็นทาสของมันก็โอเค ที่ผมเห็นคนทั่วไปซื้อรถยนต์ราคาแพงเพื่อแสดงสถานะทางสังคม ผมว่ามันไร้สาระ
คนจำนวนมากที่ผมรู้จักซื้อโทรศัพท์มือถือที่ถ่ายรูปได้โดยไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องใช้ถ่ายรูปเลยแม้แต่น้อย แต่ซื้อเพราะว่าสังคมบอกว่านี่เป็นสิ่งที่เท่ที่สุดในปัจจุบัน ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น ถ้าเป็นอย่างนั้นก็แสดงว่าได้ตกเป็นเครื่องมือของมันไปแล้ว ถ้าเราเป็นเจ้านายมัน ถ้าในการทำงานจำเป็นต้องใช้ก็ใช้มัน ไม่ใช่เป็นคนขี้เห่อทางด้านไอที ถ้าต้องใช้ก็ใช้ ถ้าไม่ใช่ก็ไม่เป็นไร มีคนจำนวนมากที่ใช้โทรศัพท์มือถือพร่ำเพรื่อ โดยไม่จำเป็น ไม่มีอะไรทำก็โทรหาเพื่อน นี่คือตกเป็นทาสของเครื่องมือแล้ว และถ้าไปดูหนังก็ยังไม่สามารถปิดมือถือได้ นั่นก็ตกเป็นทาสของเครื่องมือโดยสิ้นเชิง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่หน้าเป็นห่วง
คำถามจาก นิตยสารสุดสัปดาห์ 25 มิถุนายน 2545
ถาม หนังสือภาพที่คุณคิดว่าสวยงามและยอดเยี่ยมที่สุด
ตอบ นิตยสาร สารคดี ครับ ดีใจที่มีคนไทยทำอะไรอย่างนี้ออกมา
ถาม นิยายหรือหนังสือที่เอามาทำเป็นภาพยนตร์ได้...สุดไม่เข้าท่า
ตอบ ถามอย่างนี้ ขอตอบหลังไมค์นะครับ
ถาม แล้วภาพยนตร์ที่เอามาเขียนเป็นหนังสือล่ะ? เล่มไหนที่แย่พอกัน
ตอบ ไม่พูดเรื่องแย่ได้ไหม เอาแต่ที่ดีนะครับ อันนี้ยกให้ 2001 : A Space Odyssey เขียนเป็นบทหนังก่อนเป็นหนังสือ ฉบับที่เป็นหนังสือ อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก ก็เขียนได้ดีมาก แม้ว่าอ่านกี่ทีก็ตีความไม่เหมือนเดิม
ถาม เล่มไหนที่อ่านเมื่อไหร่ก็ยังโรแมนติกตลอดกาล
ตอบ ฤทธิ์มีดสั้น (โก้วเล้ง)
ถาม มีหนังสือเล่มไหนที่คุณอ่านแล้ว ไม่เชื่อว่ามันจะดีขนาดนี้
ตอบ Billions and Billions ของ คาร์ล ซาแกน เป็นหนังสือรวมบทความที่อ่านแล้วอิ่ม ครอบคลุมประเด็นทางวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ปรัชญา และสังคมรอบด้าน ใครสักคนช่วยแปลเป็นไทยให้คนทั่วไปได้อ่านหน่อยครับ
ถาม ว่าด้วยหนังสือหัวเตียงดีเด่น เล่มไหนที่คุณมักอ่านก่อนนอน หรือครองตำแหน่งนานที่สุด
ตอบ โอวาสสี่ของท่านเหลี่ยวฝาน ฉบับแปลโดย อัชพรรณ เจือจันทน์ ผู้ล่วงลับไปแล้ว และ ปล่อยวางอย่างเซ็น ของ ละเอียด ศิลาน้อย
ถาม หนังสือเล่มไหนที่มีสไตล์การเขียนดุเด็ดเผ็ดมัน ถูกใจคุณที่สุด (ขอชื่อนักเขียนด้วย)
ตอบ ฉันจึงมาหาความหงอย ของ ไพบูลย์ วงษ์เทศ เป็นงานเขียนที่เลียนแบบนักเขียนสไตล์ต่างๆ มันมากกกก คิดได้ไง
ถาม คนดังคนไหน (ทั้งไทยและเทศ) ที่เขียนหนังสือได้เข้าท่ามากที่สุด
ตอบ แอนดรู บิกส์ ทุกเรื่องที่เขียนมองประเด็นชัดเจน แหลมคม ตอนนี้นายแอนดรูไม่รู้หายไปไหน กลับมาเขียนซะดีๆ
ถาม ว่าด้วยคำถามที่ 8 แล้วที่คุณอ่านแล้วไม่เข้าท่ามีไหม
ตอบ ก็ไอ้นั่นไง ไอ้นั่นน่ะ รู้มั้ย ไอ้คนนั้นเอง
ถาม หนังสือเล่มไหนที่คุณคิดว่าในชาตินี้ไม่มีทางอ่านจบแน่ๆ
ตอบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อ่านมาชาติกว่าๆ แล้วยังไม่จบ แต่ก็ยังต้องอ่านต่อไป
ถาม เล่มไหนที่คุณอ่านหลายรอบแล้ว แต่ก็ไม่เบื่อเสียที
ตอบ ล่องไพร (น้อย อินทนนท์) สิทธารถะ (เฮอร์มันน์ เฮสเส) ฤทธิ์มีดสั้น (โก้วเล้ง)
ถาม นักเขียนท่านใดที่คุณคิดว่าเยี่ยมที่สุดในโลก (ของคุณ)
ตอบ โก้วเล้ง
ถาม เล่มไหนที่คุณซื้อแล้วรู้สึกเสียดายเงินมากๆ
ตอบ อ๊ะ! คุณกะให้ผมถูกตีหัวหรือครับ
ถาม แล้วมีไหมที่วางไม่ลง หนาแค่ไหนก็ต้องอ่านรวดเดียวจบ ตอบ : มังกรหยก (กิมย้ง), กูชื่อ เจสัน บอร์น (รอเบิร์ต ลัดลัม), เพชรพระอุมา และ เล็บครุฑ (พนมเทียน)
ถาม ขำขันที่สุดแล้วเล่มนี้
ตอบ มาเฟียก้นซอย ของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นเรื่องล้อเลียนที่อ่านขำที่สุด ฮากลิ้ง อ่านมาหลายเที่ยวแล้ว ก็ยังขำทุกรอบ
ถาม เล่มไหนที่อ่านแล้วรู้สึกกลัวผวาที่สุด
ตอบ ไม่ค่อยได้อ่านเรื่องผีหรือเรื่องประเภทน่ากลัว แต่เล่มที่อ่านแล้วขนลุก และยังจำติดหัวจนทุกวันนี้คงต้องยกให้ เพชรพระอุมา ตอน จอมผีดิบมันตรัย ครับ
ถาม อ่านทีไรก็ร้องไห้
ตอบ มอม ของ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ประทับใจด้วยการเล่าเรื่องแบบง่ายๆ แต่กินใจ อีกเรื่องคือ ซาเก๊าะ ของ มนัส จรรยงค์ ยอดเยี่ยมทั้งเนื้อเรื่องและความลุ่มลึก
ถาม สุดสัปดาห์ของสักเล่มที่เป็นหนังสือ ฮาว ทู ที่ดีที่สุด ของคุณ
ตอบ Your Erroneous Zone ของ Dr Wayne W. Dyer เป็นหนังสือ ฮาว ทู เพื่อการดำรงชีวิตที่ดีกว่า มีคนเคยแปลเป็นภาษาไทยอยู่สองเวอร์ชั่น จำได้ชื่อเดียวคือ อยู่อย่างมีความสุข อ่านแล้วเห็นคุณค่าของชีวิตขึ้นมากครับ และจะเลิกเป็นคนขี้บ่นไปเลย
ถาม ส่งท้ายด้วยนิตยสารเล่มไหนที่คุณอ่านแล้วรู้สึกคุ้มเงินที่สุด (ทั้งไทยและเทศ และตอบแบบไม่ต้องเกรงใจ)
ตอบ นิตยสาร ช่อการะเกด เอ! ตอบช้าไปหรือเปล่าเนี่ย เพราะเล่มนี้เจ๊งไปแล้ว เอาเล่มที่ยังมีชีวิตอยู่ก็มี Update นิตยสารแนววิทยาศาสตร์ และ สารคดี อ่านแล้วคุ้ม
หนังสือของ ชาติ ภิรมย์กุล 22 พฤษภาคม 2545
สัมภาษณ์โดย ชาติ ภิรมย์กุล
ถาม ระหว่างทะเลกับภูเขา ชอบอย่างไหนมากกว่า เพราะอะไร
ตอบ ชอบทะเลมากกว่าครับ ชอบความลึกลับของทะเล ทุกครั้งที่เดินริมหาด ผมมักนึกถึงจักรวาล เวลากำทรายในมือ ก็มักให้คิดถึงดวงดาวในเอกภพ นี่ไม่ได้ตอบแบบนักปรัชยาไส้อะไรหรอกครับ คิดอย่างนี้จริง ๆ ผมรู้สึกว่าการไปเที่ยวทะเลก็เหมือนการกลับไปหาตัวตนดั้งเดิมของเรา ทั้งพระพุทธเจ้าและนักวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบันเห็นพ้องกันอย่างประหลาดว่า จำนวนเม็ดทรายทั้งมวลในโลกมีน้อยกว่าจำนวนดวงดาวในจักรวาล แหม! เรื่องเที่ยวแท้ ๆ ยังซีเรียสจัง พอดีกว่า เอาเป็นว่า ชอบทะเลมากกว่า
ถาม ชอบที่ไหนในเมืองไทยที่สุด
ตอบ ชอบทะเลทางใต้แถวพังงา กระบี่ มากกว่าที่อื่น เคยนั่งเรือแจวเล็กลอดถ้ำเข้าไปในปล่องทะเลปิดแถวพังงา ชอบมาก ไม่นึกว่าในเมืองไทยก็มีอะไรดีดียังงี้ด้วย
ถาม ปัญหาที่เจอเวลาไปเที่ยวในเมืองไทย
ตอบ ผมแพ้ช็อปปิ้งมอลล์ที่ติดสถานที่ท่องเที่ยวครับ พ่อค้าแม่ค้าเมืองไทยนี่เก่งจริง ๆ ไปเที่ยวที่ไหนเป็นต้องเจอร้านขายของ ยกตัวอย่าง ตลาดน้ำที่ราชบุรี ขายของดักหน้าดักหลัง ยอมแพ้เลยครับ ยอมแพ้
ถาม ประสบการณ์เที่ยวที่ไหนที่จำไม่มีวันลืม
ตอบ เขาพับผ้าครับ นั่งรถบัสผ่านตอนเด็ก ไปงานแต่งงานของพี่สาวที่ตรังในฐานะน้องชายของเจ้าสาว อ้วกแตกเลย เกือบบอกพ่อไม่ให้ยกลูกสาวให้เขาแล้ว ทางสายนั้นเมื่อสามสิบปีก่อนโรแมนติคมากครับ ถ้านั่งไปด้วยกันกับคนรัก เซซบกันไปซบกันมา ตอนหลังมีถนนผ่าตรง ก็เลยหมดเสน่ห์ของการนั่งรถขดเลื้อยไปตามขุนเขา
ถาม คิดว่าแหล่งเที่ยวเมืองไทยสู้ต่างประเทศได้ไหม
ตอบ ก็มีแบบทั้งที่สู้ได้กับสู้ไม่ได้นะครับ ที่สู้ไม่ได้มักเป็นส่วนที่เราเองมองไม่เห็นคุณค่าของมันมากกว่า ผมว่าสถานที่ท่องเที่ยวที่ดีไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่อย่าง ปิรามิด กำแพงเมืองจีน หรือ แกรนด์ แคนยอน หรอกครับ ผมเคยไปเดินในวัดเล็ก ๆ ที่ญี่ปุ่น มันให้ความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่มาก และทำให้เรามีความสุข
ความจริงเมืองไทยเรามีทะเลที่สวยไม่แพ้ทะเลดี ๆ ในต่างประเทศ อย่างแถว พีพี และอีกหลาย ๆ หาดที่ถูกข่มขืนไปหมดแล้ว เรามีภูเขา แม่น้ำ ลำคลอง ที่สำคัญคือเรามีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ผมว่าจุดเด่นของเราคือการรวมเอาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่แท้จริงเข้าไปกับ สถานที่ท่องเที่ยวโดยไม่เสแสร้ง อย่างชีวิตริมแม่น้ำลำคลองเป็นภาพที่สวยมาก ผมเคยไปล่องน้ำแถวเมืองกาญจน์ วิวมันวิเวกดี น่าเสียดายที่เจ้าของแพพยายามจะยัดพวกคาราโอเกะ อะไรต่ออะไรเข้าไป มันมากไปนะ อยู่กลางป่าแต่ใช้ไมโครโฟน สงสารลิงกับชะนีแถวนั้น คนต่างประเทศที่มาเยือนไทยไม่ได้อยากมาร้องคาราโอเกะกลางแม่น้ำหรอก ร้องที่บ้านก็ได้
ถาม ที่ที่อยากไป แต่ยังไม่มีโอกาส
ตอบ จังหวัดแถวอีสานครับ อยากไปอยู่สักระยะ ไม่ใช่เที่ยวแค่วันสองวัน อยากดูบั้งไฟ ประเพณีท้องถิ่น เบื่อขี้หน้ากรุงเทพฯมาก
Of Life, Death and Other Fears
by Manote Tripathi
From Focus Lifestyle & Culture The Nation, Wednesday, August 18, 1999
Win Lyovarin comes like a breath of fresh air to Thai literature. His unusual style and refreshing views on writing, art and the world make him a winner. Manote Tripathi meets the author.
No longer is it a case of the angry writing about the bad but the creative writing about the innovative. Thai literature is undergoing a long overdue fact-lift. And the proof positive is last week's selection of Win Lyovarin as the victor in the Thailand heats of the 1999 SeaWriteAwards, the second time this novelist and short-story writer has won the prestigious literary prize.
A former architect, now creative director of a Bangkok-based advertising agency, Win is in the vanguard of a new breed of local writers. Heís well educated, well-travelled and well-read.
The originality of his style, language and subject matter make his work refreshingly different; his breadth of view, a stark contrast with the parochialism of many fellow writers. Win's Seawrite Award-winning collection of short stories, Sing Mee Cheewit Thi Riak Waa Khon (The Creature Called Man), stands out in a number of ways.
To begin with, his experimental story-telling techniques is remarkable and may ultimately become his trademark. Win defies convention by playing around with language and structure. One piece, 'Choo', does not contain a single verb, adjective or conjunction; it is written entirely with nouns.
For another story, he deliberately left in sections of dialogue from an earlier draft and presents these next to the revised versions, which in may cases veer in the opposite direction and are different in sense and tone.
The protagonists in yet another story 'a soldier, pimp and artist' all have the same name and suffer from similar irrational fears.
In this collection, you wonít encounter the humdrum plots which have been the stuff of so many Thai novels and short stories over the past two decades; no innocent country boys disillusioned by the big bad metropolis or uneducated Isaan women selling sex for quick bucks.
The most striking feature of this book, however, is its juxtaposition of fact and fiction. Win prefaces each of his stories with a non-fiction article on a topic that he explores further in the tale which follows.
To shed more light on the often complicated messages he is trying to get across, he supplies us with well-researched articles on subjects including the origin of life, the sexual drive, the law of yin and yang, the creation of the universe, and euthanasia.
One minor quibble here is his failure to fully explain scientific and technical terms which may not be familiar to the average reader. Sing Mee Cheewit Thi Riak Wa Khon is a dense, opinionated book which can be quite hard going at times but this complexity is not an impediment to oneís enjoyment of these powerful and passionate stories.
The collection opens with 'Choo' (Adulteress), a story about a male prostitute who is paid to have an affair with an elderly manís much younger wife. The action is related using a progression of nouns and pronouns, a tactic Win says he employed in order to describe the erotic without being either obvious or obscene.
'Choo' is preceded by an article entitled 'Man's Thrust and Morality' in which he asserts that 'man's sexual drive still exerts a powerful influence on everything he does'.
In 'Pha Kao Kap Prathoo Neung Kheng', a penniless Thai veteran of the Vietnam War trades an old flag (the country is not specified) for a few small mackerel. This and ìChooî are by far the shortest and least complex tales in the collection.
Other topics covered include a monk struggling to control his sexual desires ('Kam Sukhang Likka Nuyoke'), the rape of a girl by her own father ('Ranthom Roi Kleep'), intentionally misleading advertising ('Kam Hai Karn'), murder and the death penalty ('Phetchakhat'), and euthanasia ('Krathang Chaniang Rim Natang').
The latter is particularly powerful. In it a man paralysed from the neck down as a result of a road accident lies in a hospital bed craving death. He begs his nurse, an attractive young woman, to put him out of his misery.
She responds by telling him the story of her life. So heart-rending is the nurseís account that the patient realises that his predicament is insignificant in comparison to her troubles.
Then, just as he is beginning to recover his will to live, the nurse accedes to his original request and smothers him with a pillow.
In 'Phetchakhat' (The Executioner), Win draws a comparison between a murderer on Death Row who has given up eating meat and is racked with guilt for the crimes he has committed, and an ex-soldier who takes pleasure in killing and whose duty it will eventually be to put the prisoner to death.
During a long conversation the pair exchange views on mortality and the streak of insanity that resides in many men.
Win's treatment of death in this story contrasts nicely with that in 'Maa Klang Thanon' (Dog in the Middle of the Road) in which a motorist is left totally unmoved by the death of a dog he has run over in his car.
In many of the stories, Win dwells on the brevity of human existence and how little we know about the meaning of life despite having occupied this planet for tens of thousands of years.
In his quest to explain why people stray from the path of moral behaviour, Win turns to science, suggesting in one non-fiction piece that genetic predisposition, not upbringing, family circumstances or other external factors, may lead people to commit violent crimes. "Sometimes thereís no right answer to such questions," said Win during a meet-the-author session held last week at The Oriental. "If we have a narrow perspective on life then we will never be able to find answers to certain questions.
"But if we take a step further and also consider mysteries like the origin of life and the universe then we might begin to see the root causes of many of the problems which surround us. Rape, for example, may have something to do with the perpetratorís genetic makeup.
"If we understand life better, more deeply than we will be happier in ourselves," he said with a grin.
Win said his latest book is the product of an ever-curious mind and recalled how, as a child, he used to sit and day-dream for hours about the possibility that other life forms might exist in outer space.
"I like to ask myself questions like 'what is life all about?' and "are all lives designed in advance according to some blueprint? Sometimes I wonder if human life might not be all a lot of nonsense and language just an illusion."
Over the past two years, Win said he has gained a much clearer vision of the nature of humankind and the world. "As someone now in his 40s, I have to take a critical approach to life and ask some serious questions."
Win explained that it was a desire to make complex subjects more appealing to the general reader that motivated him to experiment with literary forms.
"Writing a short story doesnít require one to follow specific rules. The main thing is that a story achieves the desired result. Thatís why I donít try to follow the old rules. Sometimes you don't have to supply answers. I prefer to let the reader do the thinking [reach his/her own conclusions]. Writing is like painting; an incomplete work can be very powerful."
Was he surprised to win the SeaWrite?
"I was shocked. I couldn't believe it!"
Why did he include non-fiction pieces in the book?
"It's impossible to get across the relationship between the universe and Man through the short-story medium alone. I thought a few informative articles would help the reader understand my points better.
"However, I expect to get some negative feedbacks from critics who think the inclusion of non-fiction articles disqualifies the book as a short-story collection. For me creativity is the first priority in writing short fictional pieces and to be creative one sometimes need to break free of conventional ways of doing things."
Why does death and dying figure so prominently in the book? Were any of the stories inspired by events in his own life?
"I lost several very close relatives in a short space of time. At one of the funerals a monk gave a very moving sermon on the nature of life and death. Since then Iíve become a lot more aware about the fragility of human existence. Life is so short that we canít afford to waste time in needless struggle."
'Loke Saam Bai Khong Rat Ekathet' (The Three Worlds of Rat Ekathet), at 35 pages one of the longest stories in the book, concerns a courageous soldier who is beset by a host of irrational fears.
Win said the story is partly autobiographical which is why it took him the best part of a year to perfect.
"Sometimes I'm plagued by fears but have great difficulty in ascertaining exactly what it is I am afraid of."
วินทร์ เลียววาริณ โดย ยูร กมลเสรีรัตน์
วินทร์ เลียววาริณ
สวรรค์ไม่เป็นใจให้เขารวย แต่ให้เขาเป็นนักเขียน
โดย ยูร กมลเสรีรัตน์
จากหนังสือสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
ปีที่ 51 ฉบับที่ 8 วันศุกร์ที่ 16- วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
ผมจำนามปากกาของนักเขียนคนนี้ได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่เรื่องสั้น เกม ของเขาตีพิมพ์ในนิตยสารช่อการะเกด ฉบับที่ 15 ที่มี สุชาติ สวัสดิ์ศรี เป็นบรรณาธิการ ที่จำได้แม่น เพราะเล่มนี้มีเรื่องสั้นของผมลงด้วยนั่นเอง ตอนนั้นเขาเพิ่งเขียนหนังสือได้ไม่นาน ซัก 2-3 ปีเห็นจะได้ แต่ใครจะคาดคิดเล่าว่านับจากเรื่องสั้นเรื่องแรก ไฟ ของเขาตีพิมพ์ในนิตยสารอิมเมจเมื่อปี 2534
อีก 6 ปี ต่อมา ชื่อเสียงของเขาจะโด่งดังเป็นพลุแตก เมื่อเขาได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2540 จากนวนิยาย เรื่อง ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ซึ่งก่อนหน้านั้นนวนิยายเรื่องนี้ได้รับรางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนา หนังสือแห่งชาติ เมื่อปี 2538 มาแล้ว และในปีเดียวกันผลงานของเขาอีก 2 เล่มก็ได้รับรางวัลนี้คือ สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง ได้รับรางวัลชมเชประเภทรวมเรื่องสั้น และ อาเพศกำสรวล ได้รับรางวัลดีเด่น ประเภทรวมเรื่องสั้น อีก 2 ปีต่อมาคือ ในปี 2542 เขาก็สร้างปรากฏการณ์แก่วงการวรรณกรรมอีกครั้ง ด้วยการคว้ารางวัลซีไรต์เป็นครั้งที่ 2 จากรวมเรื่องสั้น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน และเล่มนี้ยังได้รับคัดเลือกให้เป็หนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มจาก สกว.ที่เด็กและเยาวชนควรอ่าน
วินทร์ เลียววาริณ เคยพูดถึงนวนิยายเรื่องนี้ให้ผมฟังครั้งที่เลี้ยงอาหารกลางวันผมที่ร้าน อาหารย่านสีลมว่า "ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน เป็นนวนิยายเรื่องแรกที่เขียนสำเร็จ เคยลองเขียนนวนิยายมาก่อนหน้านี้แล้ว ก็ไม่สำเร็จ ใช้ไม่ได้ เลยทิ้งไป มันดองอยู่หลายเรื่องในเครื่อง (คอมพิวเตอร์) อ่านดูมันห่วยสิ้นดี เขียนในสมัยแรกๆ ไม่จบ มันคาราคาซังอยู่ เรื่องที่อยากเขียนจริงๆ กลับไม่สำเร็จ"
จากการได้พูดคุยกัน ทำให้ผมรู้ว่าเขาเป็นคนที่ความมุ่งมั่นในการเขียนมาก เขียนหนังสือทุกวัน ไม่เว้นกระทั่งวันเสาร์-อาทิตย์ ถ้าตัวหนังสือเปรียบกับผู้หญิงที่เขารัก เรียกได้ว่าเขาหมั่นเกี้ยวพาราสีด้วยความเพียรพยายาม ไม่เคยว่างเว้น ด้วยเหตุนี้เขาจึงพบกับความสำเร็จในเวลาไม่นานนัก แต่ความสำเร็จนั้นใช่จะได้มาง่ายๆ
"ผมทำงาน 7-8 ปีหนักมาตลอด ไม่ใช่ทำงานเรื่อยเฉื่อย ผมเอาจริงเอาจังกับมัน ไม่เคยหยุดเขียนแม้แต่วันเดียว อย่างน้อยขอให้ได้เขียน 10-15 นาทีก็เอา ดีกว่าไม่ได้เขียนเลย แม้จะต้องหยุด สะดุด ติดลมบ้างก็จำเป็น คือพยายามทำเป็นกิจวัตร จะได้เป็นนิสัย"
ช่วงแรกที่ วินทร์ เลียววาริณ เขียนเรื่องสั้นส่งไปหนังสือต่างๆ เขาบอกว่าลงตะกร้าเยอะมาก ทำให้นึกถึง อาจินต์ ปัญจพรรค์ อดีตบรรณาธิการฟ้าเมืองไทยที่เคยโปรยไว้ในหน้าคอลัมน์ “เขาเริ่มต้นที่นี่” ว่า ตะกร้าสร้างนักเขียนมาทุกยุค
"ตอนเขียนเรื่องสั้นเรื่องแรกไม่แน่ใจอะไรเลย ก็ลองส่งดู ไม่สนใจค่าเรื่อง ลงฟรียังเอาเลย นักเขียนก็คงคิดยังงี้กันทุกคน ก็มีท้อบ้าง เขียนไปๆ เขียนไม่ออกบ้าง ถูกปฏิเสธบ้าง เอ!ทำไมไม่ได้ลงพิมพ์นะ แต่ต่อมาก็เข้าใจ ในช่วงแรกต้องเรียนรู้ในเรื่องการเขียนเยอะมาก ในเรื่องการใช้ภาษายังใช้ไม่ได้เลย ตอนเริ่มเขียน กว่าจะเริ่มคำๆ หนึ่งนี่ยากมาก มันไม่ลื่นไหลเลย ก็ต้องอาศัยฝึกทุกวัน ฝึกอย่างเดียวเท่านั้น"
การเขียนหนังสือช้าหรือเร็วไม่ใช่สิ่งสำคัญ เพราะวิถีชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกัน คงไม่อาจวัดกันด้วยอายุ แต่แน่นอนที่สุดว่า คนที่เดินบนถนนสายนี้ย่อมมีเหตุจูงใจไม่ต่างกัน นั่นก็คือการเป็นนักอ่านมาก่อน ซึ่งสะสมมาตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งโต
เขาเล่าให้ฟังว่า ตอนยังเด็กชอบอ่านการ์ตูนภาพเรื่อง สิงห์ดำ ของ ราช เลอสรวง และ เจ้าชายผมทอง ของ จุก เบี้ยวสกุล จนติดงอมแงม จนถึงขั้นเขียนการ์ตูนเล่มละ 1 บาทขาย แล้วพัฒนาไปอ่านนวนิยายต่างๆ โดยเฉพาะนวนิยายกำลังภายใน นวนิยายอาชญากรรม ไปจนถึงนิยายวิทยาศาสตร์ หากเป็นเรื่องสั้น
เขาชอบเรื่องสั้นหักมุมของ โอ. เฮนรี่ และ ปกรณ์ ปิ่นเฉลียว เรื่องสั้นเรื่องแรกทำให้ วินทร์ เลียววาริณ มีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขวัญคือเรื่องสั้น โลกีย-นิพพาน ตีพิมพ์ในนิตยสารช่อการะเกด ฉบับที่ 12 เมื่อปี 2535 นอกจากได้ประดับช่อแล้ว ยังได้คะแนนเสียงจากสมาชิกช่อการะเกดให้เป็นนักเขียนช่อการะเกดยอดนิยมจาก เรื่องสั้น การหนีของราษโลกสามใบของราษฎร์ และเรื่องสั้น ตุ๊กตา ตามลำดับ สำหรับเรื่องสั้น เช็งเม้ง ได้รับรางวัลดีเด่นจากสมาคมภาษาและหนังสือฯ เมื่อปี 2541
ผมทึ่งในความสามารถของนักเขียนคนนี้ตรงที่ เขาทุ่มเทให้กับการเขียนมากจริงๆ จนมีผลงานพิมพ์รวมเล่มถึง 12 เล่ม ในระยะเวลาประมาณ 12 ปีที่ทำงานเขียน ที่สำคัญก็คือ เขาสร้างผลงานได้หลายประเภท มีทั้งแนวหักมุม แนววิทยาศาสตร์ แนวหัสคดี และแนวสืบสวนฆาตกรรม นับตั้งแต่รวมเรื่องสั้น สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง, อาเพศกำสรวล, สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน, เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว (1 ใน 88 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์จาก สกว. ปี 2544) หนึ่งวันเดียวกัน หลังอานบุรี, วันแรกของวันที่เหลือ, ฆาตกรรมกลางทะเล ปกิณกะ- ำ รวมเรื่องสั้นและบทความ- ปั้นน้ำเป็นตัว (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น น้ำแข็งยูนิตตราควายบิน) นวนิยาย-ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน และ ปีกแดง อีกเล่มเป็นจดหมายเขียนร่วมกับ ปราบดา หยุ่น คือ ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน
ในรุ่นเดียวกัน ถือว่า วินทร์ เลียววาริณ เป็นนักเขียนที่มีฝีมือพอตัว ผลงานแต่ละเล่มของเขาโดดเด่นแตกต่างกันไป เหตุเพราะเขาเขียนงานได้หลากแนวนั่นเอง เหมือนจะบอกในตัวว่า โลโก้นี้ไม่ย่ำอยู่กับที่ ต้องมีอะไรแปลกใหม่มาเสนออยู่เสมอ ถ้าจะพูดว่านักเขียนคนนี้ชอบทดลองอะไรใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ก็คงไม่ผิดนัก
"อะไรก็ตามที่มันซ้ำอยู่กับที่ มันก็อาจจะน่าเบื่อ ผมไม่ชอบอะไรที่มันซ้ำซาก” เขาเคยบอกผมอย่างนั้น
“ทำอะไรก็ได้ที่มันดีขึ้น ฉีกไป ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือเนื้อหา" เขาเล่าให้ผมฟังว่า เขาจะเขียนพร้อมๆ กันหลายเรื่องด้วยกัน โดยเฉพาะเรื่องสั้นจะเขียนค้างไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ คืเรื่องไหนเขียนแล้วติดขัด ก็จะไปเขียนเรื่องอื่น ตอนนั้นผมยังมองไม่เห็นชัดข้อดีของคอมพิวเตอร์หรอกว่า ทำให้ทำงานได้สะดวกอย่างไร และแนวที่เขาชอบ เพราะว่าตัวเองเขียนแล้วสนุก คือ นิยายวิทยาศาสตร์
"แต่ไม่รู้ว่าคนอ่านจะสนุกรึเปล่า แต่จะไปเทียบกับระดับปรมาจารย์ระดับโลกย่าง อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก หรือ ไอแซค อซิมอฟ ไม่ได้หรอกเขาเป็นนักเขียนที่สามารถเขียนได้ทุกเวลา ทุกโอกาส ทุกแนว แต่อย่างว่าเขาเป็น genius ถึงทำได้ระดับนี้"
นักอ่านที่เป็นแฟนประจำก็กระหายใคร่จะเห็นผลงานเล่มใหม่ของเขาแต่ละเล่มว่า จะฉีกออกมาแบบไหนอีก อย่างเล่มล่าสุดที่เขาส่งให้ผมคือ ฆาตกรรมกลางทะเล ซึ่งเป็นรวมเรื่องสั้นแนวสืบสวนฆาตกรรม ซึ่งเป็นเรื่องสั้นชุด เสี่ยวนักสืบ ลำดับ 1 นี่แสดงว่าต้องมีลำดับ 2 ออกมาอีกแน่นอน ผมว่าเล่มนี้เขามาแปลกกว่าทุกเล่ม เพราะฉีกจากงานแนวทดลองไปเลย เพราะงานส่วนใหญ่ของเขาเป็นแนวนั้น แถมนักสืบในเรื่องนี้เป็นคนอีสาน ชื่อ พุ่มรัก พานสิงห์ เป็นนักร้อง เว้าอีสานปนไทยกลาง ไม่ต้องบอกก็รู้ว่ารู้ ชอบกินลาบ ข้าวเหนียว ส้มตำ แจ่ว แน่นอน
เออ! เขาช่างเข้าใจคิดนะ นี่ก็น่าจะถือได้ว่าเป็นความแปลกใหม่ได้เหมือนกัน เพราะนิยายเกี่ยวกับนักสืบของไทยยังไม่เคยมีตัวละครเป็น “บักเสี่ยว” เลย ผมว่านักอ่านไม่ควรพลาดงานชุดนี้ของเขานะ เขาปรุงอาหารรสแปลกใหม่ให้ลิ้มลองแล้ว ก็น่าจะลิ้มรสดูบ้างปะไร ว่าฝีมือของเขาเป็นอย่างไร คงจะแซบอีหลีไม่น้อย
หลังจากที่ วินทร์ เลียววาริณ ได้รางวัลซีไรต์เป็นครั้งที่ 2 เขาก็เอาผลงานตัวเองมาพิมพ์เองในนามสำนักพิมพ์ 113 รู้สึกจะเป็นชื่อหมายเลขบ้านเกิดของเขา ตอนหลังตั้งเป็นบริษัทแล้ว สำนักงานก็ใช้บ้านตัวเองนั่นแหละ ปกก็ไม่ต้องจ้างคนออกแบบ เพราะเขาออกแบบปกเอง เรียกว่าด้านศิลปกรรม ทำเองหมด ประหยัดค่าใช้จ่ายดี เขาทำงานโฆษณามาก่อน มีฝีมือทางนี้อยู่แล้ว ต้องใช้หัวคิดในการออกแบบอยู่เป็นประจำ กิจการก็ไปได้ดี
สำนักพิมพ์ของเขาออกบูธในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และมหกรรมหนังสือแห่งชาติ ก็ขายดิบขายดี เขาไปนั่งเซ็นชื่อที่บูธด้วย มีนักอ่านมาอุดหนุนมากมาย โดยเฉพาะนักอ่านวัยรุ่น เห็นว่ามีแฟนคลับด้วย ผมดีใจแทนที่นักเขียนพิมพ์งานของตัวเองแล้วขายได้ สามารถยึดเป็นอาชีพได้สมกับความตั้งใจ ทั้งที่จะยังไม่ตั้งใจจะเป็นอาชีพในตอนนี้ เพราะเขาเคยพูดกับผมว่า... "ความใฝ่ฝันเป็นนักเขียน อาชีพเป็นอนาคต มันเสี่ยง ไม่ใช่คนโสด มีครอบครัวแล้ว ชีวิตเมืองหลวงค่าใช้จ่ายสูง ขายดีเฉพาะเล่มที่ได้ซีไรต์ ตอนเซ็นชื่อให้คนอ่าน บอกเขาซื้อเล่มอื่น เขาไม่สนใจ เขาซื้อเฉพาะเล่มที่ได้ซีไรต์ ถ้าเกิดเล่มต่อไปขายไม่ดีก็ลำบาก"
แต่จะเป็นด้วยชะตาชีวิตกำหนดมาแล้วว่าให้เขาเป็นนักเขียนอาชีพหรือวิถีชีวิต ทำให้เป็นไปก็ตามที หลังจากเขาออกมาตั้งบริษัทโฆษณากับเพื่อน ก็ประสบปัญหา เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย จึงต้องเลิกกิจการ หันมายึดอาชีพนักเขียนและทำสำนักพิมพ์ พิมพ์งานของตัวเอง อ้อ! อีกอาชีพหนึ่งที่เขาทำและไปได้ดีก็คือออกแบบปกพ็อกเก็ตบุ๊ก เขายังออกแบบปกนวนิยายของผมด้วย นักเขียนดังออกแบบปกให้ก็ดีใจและภูมิใจนะ สำหรับผมแล้วถือว่า วินทร์ เลียววาริณ เป็นกัลยาณมิตรคนหนึ่งที่หาได้ไม่ง่ายนักในวงวรรณกรรม ถึงเขาจะมีชื่อเสียงโด่งดัง เขาก็ยังเป็น “วินทร์” คนเดิมที่มีอัธยาศัยไมตรีเสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีเปลี่ยนแปลง
ผู้ผลิตหนังสือทำมือ 3 สิงหาคม 2546
คำถามจากผู้ผลิตหนังสือทำมือ
3 สิงหาคม 2546
ถาม : คุณคิดว่าหนังสือทำมือมีบทบาทในการเป็นสือทางเลือกหรือไม่ ถ้ามีมีอย่างไรในแง่ใดบ้าง
ตอบ : แน่นอนหนังสือทำมือเป็นทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากสื่ออื่นๆ แต่ว่าไม่ใช่เป็นทางเลือกที่แตกต่างจากหนังสือที่ผลิต-จำหน่ายตามขั้นตอน ปกติ อีกทั้งมิได้แตกต่างกันทางจุดประสงค์ สองอย่างนี้ต่างกันที่วิธีการผลิตและจัดจำหน่ายเท่านั้น
ถาม : คุณคิดว่าหนังสือทำมือเกิดขึ้นจากปัจจัยหรือแรงจูงใจใดบ้าง
ตอบ : มีปัจจัยเดียวคือ กระบวนการทางการตลาดที่ไม่เอื้อให้หนังสือบางประเภทได้รับการผลิตและจัด จำหน่าย จึงต้องมา "ทำมือ" กันเอง
ถาม : คุณมีทัศนะอย่างไรกับหนังสือทำมือ
ตอบ : เป็นสิ่งที่ดี เพราะแสดงให้เห็นว่านักเขียนไม่จำเป็นต้องพึ่งระบบการตลาดที่ควบคุมทิศทาง ประเภทหนังสือและรสนิยมการเสพหนังสือ และเป็นการสร้างตลาดเฉพาะกลุ่มที่สนใจงานที่อาจ "ขายไม่ได้" ในเชิงพาณิชย์
ถาม : อยากให้คุณช่วยวิเคราะห์ สถานภาพทางสังคมและธุรกิจและสถานการณ์ของหนังสือทำมือในปัจจุบันนี้เป็น อย่างไร
ตอบ : หนังสือทำมือเป็นทางออกหนึ่งของศิลปินที่ต้องการเผยแพร่งานของตนออกไปสู่ ตลาด มันมีคุณค่าในเชิงความพยายาม เป็นก้าวแรก ๆ ของนักเขียนใหม่ แต่คุณค่าเชิงศิลปะนั้นขึ้นอยู่กับงานแต่ละชิ้นมากกว่า ส่วนในเชิงธุรกิจถือว่ายังเป็นตลาดที่เล็กมาก
ถาม : อยากให้คุณช่วยวิเคราะห์และคาดการอนาคตของหนังสือทำมือ
ตอบ : บทบาทของหนังสือทำมือก็เหมือนหนังสืออื่น ๆ ที่ต่างกันก็เพียงวิธีการผลิตและจัดจำหน่ายเท่านั้น ฉะนั้นเชื่อว่าระบบนี้จะคงอยู่อีกนาน เพราะนักเขียนที่ไม่ผ่านกระบวนการจัดจำหน่ายของระบบใหญ่ที่หวังผลกำไรเชิง ธุรกิจเป็นหลัก ยังจำเป็นต้องพึ่งระบบที่เจาะตลาดกลุ่มเล็ก (นั่นคือ หนังสือทำมือ)อยู่ แต่โอกาสที่ตลาดหนังสือทำมือจะใหญ่กว่านี้มากๆ นั้น ยากมาก เพราะวิธีการผลิตหนังสือทำมือนั้น ไม่คุ้มในเชิงการลงทุนทางธุรกิจ และหากมันสามารถสร้างกำไรในเชิงธุรกิจได้เมื่อไร มันก็เปลี่ยนสภาพเข้าไปสู่กระแสหลักไปโดยปริยาย
นิตยสาร FRONT 31 กรกฎาคม 2546
คำถามจากนิตยสาร FRONT
31 กรกฎาคม 2546
ถาม : อยากให้พูดถึงเรื่องราวหรือสิ่งที่ต้องการนำเสนอในนวนิยายเรื่อง ปีกแดง สำหรับคนที่ยังไม่ได้อ่านหรือจะทดลองอ่านได้รู้เป็นพื้นฐาน
ตอบ : อาจบอกได้ว่า ปีกแดงเป็นโครงการสอนหนังสือผ่านนวนิยายก็ได้ครับ กล่าวคือเป็นการเล่าที่มาที่ไปของลัทธิสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่วันแรกที่เปลี่ยนแปลงการปกครองในรัสเซีย และส่งผลกระทบต่อทั่วโลก เน้นที่ทางเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งเมืองไทยด้วย ผมสนใจประวัติศาสตร์ส่วนนี้มานาน เพราะเกิดมาในยุคที่คนกลัวคอมมิวนิสต์กัน แต่ไม่รู้มาก ก็เลยอ่านไป ศึกษาไป และเขียนไป การเสนอในรูปของนิยายทำให้คนอ่านรู้เรื่องสังคมนิยมโดยไม่ฝืดคอเกินไป เพราะเป็นเรื่องแนวรัก ผจญภัย สืบสวนสอบสวน เขียนเรื่องนี้เหนื่อยมาก แต่ก็สนุกสมใจ
ถาม : อยากให้อธิบายเกี่ยวกับกลวิธีที่ใช้ในการนำเสนอเนื้อหาในนวนิยายเรื่อง ปีกแดง ว่าใช้เทคนิค วิธีการอะไรบ้าง โดยเฉพาะหากสิ่งที่ใช้เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือน่าสนใจ
ตอบ : ผมใช้การเดินเรื่องหลักในรูปนวนิยาย และเรื่องประกอบในรูปเรื่องสั้นขนานกันไป เรื่องย่อยทำหน้าที่เป็นส่วนขยายความของเหตุการณ์บางส่วนหรือบางตัวละครของ เรื่องใหญ่อีกที
ถาม : เสียงตอบรับจากผู้อ่านและผู้สนใจอื่นๆเป็นอย่างไรบ้าง
ตอบ : ดีมากครับ ดีกว่าที่คิด เพราะปกติเรื่องแบบนี้ออกจะเครียด มีแต่คนอ่านเฉพาะกลุ่มเท่านั้นที่สนใจ บางคนหยิบหนังสือขึ้นมาแล้วก็วางลงแทบทันที แต่ก็มีคนที่ตามอ่านตั้งแต่ที่ตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ ผมคิดว่าบ้านเรายังขาดนิยายอิงประวัติศาสตร์อีกมาก แต่ก็เข้าใจ เพราะเขียนยาก การเรียนรู้อดีตสำคัญมาก เพราะเป็นรากฐานของอนาคต จะได้ไม่ทำเรื่องผิดพลาดซ้ำซาก ยิ่งเราอยู่ในสังคมที่ลืมง่ายด้วย ยิ่งจำเป็นต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์
ถาม : มีความรู้สึกอย่างไรที่ผลงานได้เข้ารอบสุดท้ายในปีนี้ และมีความคาดหวังไว้อย่างไรบ้าง
ตอบ : ก็ดีใจครับ แม้ว่าไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องได้รางวัลในท้ายที่สุด นี่พูดจริงๆ ครับ แต่ก็น่าจะช่วยทำให้บรรยากาศซีไรต์มีสีสันขึ้น
ถาม : มองภาพรางวัลซีไรต์ในปีนี้อย่างไร
ตอบ : ก็คล้ายทุกปี ต่างตรงที่ว่าสองปีนี้มีการเน้นเจ็ดเล่มที่เข้ารอบมากกว่าปีก่อนๆ และปีนี้เป็นปีที่ 25 ของซีไรต์ มีกิจกรรมทางวรรณกรรมหลายอย่าง น่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดี
ถาม : ได้อ่านหรือติดตามนวนิยายเรื่องอื่นที่เข้ารอบเช่นเดียวกันในปีนี้หรือไม่ ถ้าได้อ่าน โดยส่วนตัวชื่นชอบเล่มใดเป็นพิเศษ
ตอบ : ได้อ่านแค่ โลกของจอม ของ ทินกร หุตางกูร ครับ ตั้งแต่ยังตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ชอบเรื่องนี้มาก ถ้าเขาได้ก็สมควรอย่างยิ่ง เพราะคงจะช่วยปลูกฝังเด้กรุ่นใหม่ให้สนใจที่จะอ่านเรื่องหลากหลายมากขึ้น
คำถาม 17 มีนาคม 2546
คำถาม
17 มีนาคม 2546
ถาม : แรกเริ่มทำไมถึงสนใจงานเขียน และเริ่มต้นอย่างไร
ตอบ : อ่านหนังสือมาหลายปี เมื่ออ่านมาถึงจุดหนึ่งก็เริ่มเบื่อ อยากลองอ่านสิ่งที่แปลก ๆ ไปจากเดิมบ้าง เมื่อไม่มีก็เขียนเอง อีกประการหนึ่งคือ มีหลายๆ ความคิดและความเห็นที่คาในหัวที่อยากระบายออกมา ก็เริ่มเขียน
ถาม : มีเป้าหมายไว้อย่างไรเกี่ยวกับงานเขียน
ตอบ : ต้องการให้มีความบันเทิงและหรือสื่อความคิดบางประเด็นในใจเราออกมา ซึ่งเป็นการตอบสนองความอยากของตนเองมากกว่าของคนอ่าน ถ้าเราอ่านงานที่เราเขียนแล้วชอบ ก็มีโอกาสที่คนอื่นแล้วอาจจะชอบด้วย แต่เราควรจะเขียนตามใจตัวเองมากกว่าตามใจคนอ่าน
ถาม : หนุ่มสาวสมัยนี้เขียนหนังสือกันมากขึ้น เห็นได้จากบรรดา เว็บไดอารี่ หนังสือทำมือ นิตยสารหัวใหม่ที่เปิดตัวกันแทบจะรายเดือน ซึ่งทำให้คนที่สนใจมีโอกาสมากขึ้น พี่คิดว่าคนที่จะทำงานเขียนได้ดีต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
ตอบ : ช่างสังเกต มีความคิดสร้างสรรค์ และอดทน
ถาม : หลายคนที่บอกว่าอยากเขียนหนังสือ แต่ไม่มีโอกาส และไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร พี่ช่วยชี้ทางสว่างให้พวกเขาหน่อยนะคะ
ตอบ : โอกาสไม่เคยมีหรอกครับ ต้องสร้างขึ้นมาเอง การเขียนหนังสือไม่มีทางลัด มีทางเดียวคือจับปากกาและเขียน ยิ่งเขียนมากก็ยิ่งชำนาญขึ้นเอง พูดง่าย ๆ คือถ้าอยากมีกล้ามก็ต้องยกน้ำหนัก อยากมีหุ่นเพรียวก็ต้องออกกำลังกาย อยากเป็นนักเขียนก็ต้องเริ่มเขียน
ถาม : อ้อ มีอีกข้อค่ะ คิดยังไงกับคำว่า นักเขียนไส้แห้ง คะ
ตอบ : นักเขียนก็เหมือนทุกๆ อาชีพแหละครับ มีทั้งคนที่ประสบความสำเร็จและไม่ค่อยประสบความสำเร็จ อย่าลืมว่าคนเราสามารถรวยหรือไส้แห้งได้จากทุกอาชีพ ประเด็นอยู่ที่ว่าคุณทำงานดีพอหรือไม่ มากพอหรือไม่
คำถาม 30 มกราคม 2547
30 มกราคม 2547
ถาม : อยากให้เล่าถึงความรู้สึกต่องานที่ทำและอะไรเป็นแรงผลักดันที่ทำให้คุณก้าว มาถึงจุดนี้
ตอบ : งานของผมเป็น 'งานในฝัน' ครับ คือเป็นงานที่ต้องฝันอยู่ตลอดเวลา ! ผมรักงานเขียนหนังสือที่ผมทำครับ เป็นความรู้สึกแบบที่ว่า ถ้าวันไหนไม่ได้ทำงาน ก็เหมือนชีวิตขาดอะไรไปอย่างหนึ่ง ผมสนุกกับงานทุกวัน ตั้งแต่เริ่มเขียนหนังสือในวันแรกจนถึงวันนี้ ผมไม่เคยคิดว่ามันเป็นงานนะครับ เหมือนการหย่อนใจมากกว่า แต่แน่ละ กว่าจะมาถึงจุดนี้ ก็ต้องลงแรงวิริยะอุตสาหะและวินัยอย่างมากทีเดียว ต้องฝึกปรือฝีมือ การใช้ความคิด การเค้นความฝันในอากาศออกมาให้เป็นรูปธรรม ยากครับ แต่ผมเชื่อมาแต่ไหนแต่ไรแล้วว่า ถ้าเราอยากทำอะไรสักอย่างหนึ่งมากพอ อุปสรรคไม่ใช่เป็นปัญหาเลย ตรงกันข้าม มันกลับช่วยทำให้เราแข็งแกร่งและฉลาดขึ้น ด้วยความเชื่อนี้ ผมจึงชอบงานใหมๆ ที่ท้าทายความคิด และสติปัญญา และแน่นอนมันทำให้เรารู้สึกสดอยู่เสมอ
ถาม : ความเห็นต่อวัยหนุ่มสาวกับการก้าวเดินตามความฝันตัวเอง
ตอบ : ผมดีใจทุกครั้งที่เห็นคนหนุ่มสาวทำตามสิ่งที่อยู่ในหัวใจของพวกเขา ไม่ใช่ตามกระแสนิยมของสังคม เวลาของเราแต่ละคนบนโลกนั้นสั้นมาก หากผ่านชีวิตทั้งชีวิตไปโดยที่ไม่ได้ทำอะไรที่อยากทำ ออกเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอยู่ บางคนเชื่อว่าการประสบความสำเร็จในชีวิตคือการเป็นเจ้าของเงินตรา ผมว่ามันคือการเดินไปถึงความฝันต่างหาก เงินซื้อความฝันไม่ได้หรอกครับ หากหยุดฝันเมื่อไร ชีวิตก็เฉาเมื่อนั้น แต่แน่นอนความฝันย่อมเป็นเพียงความฝันที่ไร้ประโยชน์ หากเราไม่ลงมือกระทำ ฝันที่ทำไม่สำเร็จยังดีกว่าฝันที่ไม่เคยเริ่มทำ ไม่ลองก็ไม่รู้ครับ
คำถามจากนักศึกษา 2547
คำถามจากนักศึกษา
2 มีนาคม 2547
ถาม : บริบทแวดล้อม (เช่น การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สังคม ฯลฯ) ส่งผลต่อการเขียนเรื่องสั้น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน แต่ละเรื่องของท่านหรือไม่ / อย่างไร กรุณาอธิบาย
ตอบ : โดยทั่วไปแล้ว วรรณกรรมมักสะท้อนสังคม ตลอดจนด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ไม่ว่าโดยเจตนาของผู้เขียนหรือไม่ รวมเรื่องสั้นชุด สิ่งมีชีวิตที่เรียกคน เป็นการเสนอแนวคิดของปัญหาสังคมในมุมมองที่กว้างกว่าหรืออีกมุมมองหนึ่ง นั่นคือการย้อนไปถึงต้นกำเนิดของคน จักรวาล ซึ่งทำให้เห็นว่าปัญหาของคนหรือสังคมหนึ่ง ๆ นั้นมีความลึกซึ้งมากกว่าปัญหาของปัจเจกหรือสังคมนั้นๆ เท่านั้น การมองมุมนี้ทำให้เรื่องสั้นชุดนี้ไม่ได้สะท้อนสังคมไทยทั้งหมด เพราะหลายเรื่องเป็นการมองสภาวะความเป็นคนมากกว่า เช่น กระถางชะเนียงริมหน้าต่าง, ชู้, ตุ๊กตา, เพชฌฆาต แม้กระทั่งเรื่อง การหนีของโลกสามใบของ ราษฎร์ เอกเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนเรื่องราวทางการเมืองที่เกิดขึ้นในไทย แต่จริงๆ แล้ว แสดงความเป็นมนุษย์มากกว่า
ถาม : โดยภาพรวมแล้วท่านมองว่าเรื่องสั้นที่รวมอยู่ในหนังสือรวมเรื่องสั้น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน ได้ทำหน้าที่ในฐานะสื่อมวลชน (ตามที่ผู้วิจัยได้นิยามไว้) หรือไม่/อย่างไร
ตอบ : จุดประสงค์ของเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการแสดงบทบาทของสื่อมวลชนเป็นอันดับแรก อาจมีบางเรื่องที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนบ้าง เช่น วรรณกรรม 48 ชั่วโมง แต่ไม่ชัดเจนเหมือนหลายๆ เรื่องในชุด อาเพศกำสรวล ซึ่งเล่นเรื่องสื่อมวลชนมากกว่า
ถาม : ท่านคิดว่างานเขียนประเภทเรื่องสั้น(ทั่วไป) ได้แสดงบทบาทในฐานะเป็นสื่อมวลชน (ตามที่ผู้วิจัยได้นิยามไว้)มากน้อยเพียงใด / ท่านมองว่าเรื่องสั้น(ทั่วไป) มีข้อจำกัดในการทำหน้าที่สื่อมวลชน(ตามที่ผู้วิจัยได้นิยามไว้) หรือไม่ /อย่างไร
ตอบ : ขึ้นอยู่กับเรื่องสั้นเรื่องนั้น ๆ อย่าลืมว่าเรื่องสั้นเป็นเพียงศิลปะอย่างหนึ่ง นักเขียนไม่มีหน้าที่ต้องรับใช้ความต้องการนี้แต่อย่างใด ส่วนมันจะไปช่วยสะท้อน ยกระดับประเด็นสื่อมวลชนนั้น ถือเป็นผลพลอยได้
ถาม : หากมีผู้วิจัยท่านอื่นต้องการทำงานวิจัยต่อยอดจากงานวิจัยชิ้นนี้ ท่านมองว่าควรจะต่อยอดในเชิงลึก หรือ เพิ่มเติมในส่วนใด
ตอบ : ประเด็นทางปรัชญา
ถาม : หากมีผู้วิจัยท่านอื่นต้องการทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสั้น ท่านมองว่ามีประเด็นใดที่ผู้วิจัยควรหยิบยกมาทำการศึกษา
ตอบ : ขึ้นอยู่กับผู้ศึกษาครับ เราสามารถศึกษาทุกสิ่งในโลกนี้ในมุมมองต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นประเด็นเดิมๆ
กีรตี ชนา 1 มีนาคม 2547
คำถามจาก กีรตี ชนา
1 มีนาคม 2547
ถาม : ตอนที่เริ่มงานเขียน เคยกลัวไหมกับคำว่า "นักประพันธ์ไส้แห้ง"
ตอบ : ไม่กลัวหรอกครับ เพราะผมไม่เคยคิดจะเป็นนักเขียนอาชีพมาก่อน สิบปีแรกของชีวิตนักเขียนเป็นการทำงานแบบสมัครเล่นเท่านั้น และไม่เคยคาดหวังรายได้จากงานเขียนเลย เมื่อไม่คาดหวังก็ไม่เครียด ครั้นปีสองปีที่ผ่านมานี้ ริอ่านเปลี่ยนสถานะตนเองเป็นนักเขียนอาชีพ จึงต้องระวังตนเองไม่ให้ข้ามเส้นไปสู่ความเป็นนักประพันธ์ไส้แห้ง ก็พบว่าเป็นไปได้โดยการทำงานที่มีวินัย สม่ำเสมอ ตรงเวลา จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่หวาดกลัวคำนี้อยู่ครับ (ไขว้นิ้วอยู่ครับ!)
ถาม : ระหว่างประสบการณ์ชีวิต กับ จินตนาการ และวัตถุดิบข้อมูลที่ต้องค้นคว้าในการเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์ (ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน, ปีกแดง) วินทร์ เลียววาริณ ให้ความสำคัญกับอะไรมากที่สุด
ตอบ : ผมให้ความสำคัญกับจินตนาการมากกว่าอย่างอื่น (เพื่อความขลังขอยกคำคมของไอน์สไตน์มาอ้าง : จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ ) ในกรณีของนิยายอิงประวัติศาสตร์นั้น ข้อมูลมีความสำคัญมากก็จริง แต่จินตนาการก็ยังต้องมาก่อน เพราะหากไร้จินตนาการ เรื่องที่เขียนก็จัดอยู่ในตระกูล 'สารคดี' มากกว่า 'นิยาย' อย่างไรก็ตามในนิยายตระกูลนี้ จินตนาการมักมีข้อจำกัดของมัน เพราะมีกรอบของข้อมูล (โดยเฉพาะเรื่องเวลาและบุคคลจริง) มาบังคับ ต่างจากนิยายประเภทอื่นๆ ที่นักเขียนสามารถฝันไปได้ไกลไร้ขอบเขต ทว่าข้อจำกัดก็คือความท้าทาย
ถาม : คุณวินทร์เป็นนักเขียนที่ชอบทำ "งานทดลอง" ใหม่ๆ แต่สำหรับผู้ที่ไม่ชินกับเวทีเขียนนิยาย คุณวินทร์คิดว่า ควรลองเขียนแบบงานทดลองเลยเป็นเรื่องแรกดีไหม หรือมีข้อแนะนำอย่างไร
ตอบ : ระวังอย่าสับสนความหมายของคำว่า 'ทดลอง' นะครับ คำว่าทดลอง (experimental) นี้กว้างมาก ใช้ในทุกวิชาชีพ แม่ค้าที่ทำขนมใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลกมาขาย ก็คือการทดลองชนิดหนึ่ง แม่ค้าที่ต้องการ 'นำเสนอ' ขนมที่มีอยู่แล้วในรูปแบบใหม่ (เช่นขนมสอดไส้ห่อด้วยใบตองสังเคราะห์ที่กินได้ หรือขนมชั้นแนวเฉียง) ก็เป็นการทดลองชนิดหนึ่ง การทดลองในงานเขียนเป็นสิ่งที่นักเขียนทุกคนทำอยู่แล้ว การทดลองหาสิ่งใหม่ๆ นี่แหละที่ทำให้งานเขียน(และนักเขียน)พัฒนาไปข้างหน้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดของนักเขียนแต่ละคนว่าจะทดลองไปในแนวทางใด คนที่เพิ่งเริ่มงานเขียน ไม่ควรถูกจำกัดด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเขียน-ประเภทงานเขียนมากเกินไป อาจทำให้ตันทางความคิดและไม่กล้าคิดค้นนำเสนอสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีในโลก ตราบที่ยังไม่เป็นอิสระจากกรอบ เราก็ยังไม่สามารถก้าวออกจากรอยเท้าเดิมของคนที่เดินไปก่อนหน้าเรา
ถาม : ยังมีนิยายที่อยู่ในสมองหรือในใจของคุณวินทร์มานานๆ แต่ยังไม่ได้เขียนหรือเขียนยังไม่จบบ้างไหม และพล็อตนิยายเกิดขึ้นในความนึกคิดบ่อยหรือไม่
ตอบ : มีอีกล้านกว่าเรื่องครับ! คงไม่มีวันเขียนหมด ยกเว้นจะเบื่อหรือหมดแรงที่จะเขียนเสียก่อน พล็อตนั้นเกิดทุกวันทุกเวลาครับ เพราะผมมักมองสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเป็นเรื่องเล่าไปหมด สิ่งนี้ฝึกได้ครับ
ถาม : ยุคสมัยเปลี่ยน วิธีการเล่าการเขียนนิยายก็เปลี่ยน คุณวินทร์คิดว่างานประพันธ์นวนิยายจะหมุนเวียนหวนกลับคืนมาใหม่ เหมือนแฟชั่นการแต่งกาย หรือผ่านแล้วก็ผ่านไปเลย
ตอบ : เป็นไปได้อย่างยิ่งครับ ความจริงเท่าที่สังเกตมันก็เป็นเช่นนี้ ยุคหนึ่งเรื่องสั้นแนวหักมุมจบเป็นที่นิยม แล้วก็เลือนหายไป แล้วก็กลับมาใหม่ แล้วก็หายไปอีก ความจริงคือ ความคิดสร้างสรรค์นั้นอยู่ในอากาศ ใครๆ ก็คิดค้นซ้ำกับสิ่งที่คนรุ่นก่อนๆ คิดมาแล้ว ยกตัวอย่างเช่นงาน 'แนวทดลองแบบวรรณรูป' ที่ผมทำ เป็นสิ่งที่นักเขียนหลายศตวรรษก่อนทำมาแล้ว โดยที่ผมไม่เคยรู้มาก่อนเลย เป็นต้น
สัมภาษณ์นักศึกษาคณะสถาปัตยฯ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คำถามจากนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Contemporary กับวรรณกรรมไทย
ถาม : ในความคิดของท่าน ท่านให้คำจำกัดความคำว่า Contemporary ว่าอย่างไร
ตอบ : Contemporary เป็นการแสดงออกหรือสะท้อนตัวตนของงานศิลปะในยุคสมัยของผู้สร้างสรรค์งานนั้นๆ ในงานวรรณกรรม การสะท้อนปัญหาและวิถีความเป็นอยู่ของยุคนั้นก็คืองานเขียนร่วมสมัย อาจกล่าวได้ว่า หากวรรณกรรมมีหน้าที่ หน้าที่หนึ่งของมันก็น่าจะเป็นการสะท้อนสังคมร่วมสมัยออกมา เช่นเดียวกับที่ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่สะท้อนสังคมไทยในยุคสุโขทัย เป็นต้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า วิถีชีวิตของผู้คนย่อมเปลี่ยนแปรไปตามกาลเวลา ความต้องการใหม่ ๆ เกิดขึ้นหรือถูกสร้างโดยกลไกทางการตลาด ทำให้ศิลปะร่วมสมัยเปลี่ยนไปด้วย ไม่ว่าทางที่ดีขึ้นหรือเลวลง (หรือทั้งสองอย่างผสมกัน) และไม่ว่าคนสร้างสรรค์งานรู้ตัวหรือไม่ว่าตนเองเป็นกลไกส่วนใดในสังคมนั้น
ถาม : คนส่วนมากเห็นว่างานในสาขาท่านเป็นงานที่มีลักษณะร่วมสมัย ท่านคิดว่างานของท่านเป็นเช่นนั้นหรือไม่ อย่างไร
ตอบ : โดยทั่วไปงานวรรณกรรมเป็นงานสะท้อนสังคม หรือเป็นการแสดงสภาพสังคมในยุคนั้น ไม่ว่างานเขียนนั้นเป็นงานเพื่อความบันเทิงอย่างเดียว หรือแม้กระทั่งนิยายอิงประวัติศาสตร์ในอดีตกาล หรืองานประเภทนิยายวิทยาศาสตร์ที่ใช้ฉากเหตุการณ์ในอนาคต ล้วนสามารถสะท้อนวิถีความเป็นอยู่ของคนปัจจุบัน ไม่ว่าคนเขียนรู้ตัวหรือไม่
ดังนั้นงานเขียนร่วมสมัยจึงน่าจะกินความกว้างกว่างานที่มีฉากหรือรูปลักษณะ หรือชีวิตผู้คนปัจจุบันอย่างเดียว ด้วยนัยนี้ จึงอาจกล่าวว่า งานเขียนส่วนใหญ่ของวินทร์ เลียววาริณเป็นงานร่วมสมัยอย่างแน่นอน
ถาม : ท่านคิดว่างานในสาขาวิชาของท่านควรมีความร่วมสมัยหรือไม่
ตอบ : จุดประสงค์ของงานเขียนนั้นต่างกันออกไปตามจุดประสงค์ของนักเขียน เช่น เขียนเพื่อความบันเทิง เพื่อการสื่อสารสาระบางประการ ฯลฯ บ้างก็ไม่แสดงออกซึ่งความร่วมสมัย บ้างก็แสดงออกอย่างชัดเจน ความเป็นงานร่วมสมัยเกิดขึ้นเมื่องานเขียนชิ้นนั้น ๆ สะท้อนหรือแสดงออกซึ่งตัวตนของผู้คนในยุคสมัยนั้น ไม่ว่าเป็นเจตนาของคนเขียนหรือไม่ก็ตาม คำว่า ควร หรือ ไม่ควร จึงไม่สลักสำคัญในนัยนี้
ถาม : งานของท่านชิ้นไหนบ้างที่มีความร่วมสมัยมากที่สุดและทำไมท่านถึงคิดเช่นนั้น ผลงานของใครในสาขาวิชาของท่านที่มีอิทธิพลต่อแนวความคิดในงานของท่านมากที่ สุด อย่างไร
ตอบ : งานเขียนของผมส่วนใหญ่เป็นงานสะท้อนปัญหาสังคมในยุคสมัยของคนเขียน ผลงานของนักเขียนหลายคนในอดีตจุดประกายให้ผมเกิดความรู้สึกอยากถ่ายทอดการ สะท้อนปัญหาสังคมออกมาโดยไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างเช่นงานเขียนยุควรรณกรรมเพื่อชีวิต งานเขียนของ อาจินต์ ปัญจพรรค์, 'รงค์ วงษ์สวรรค์, เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, ลาวคำหอม, เสนีย์ เสาวพงศ์ ฯลฯ นักเขียนเหล่านี้ชี้ให้เห็นปัญหาของสังคมไทย ทั้งปัญหาชนบทและเมืองหลวง
ถาม : ในอนาคต งานในสาขาของท่านน่าจะมีการพัฒนา คลี่คลาย หรือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใด
ตอบ : ผมมองว่างานวรรณกรรมของไทยน่าจะมีการพัฒนาไปเป็นสากลมากขึ้น กล่าวคือเป็นงานร่วมสมัยแห่งโลก ไม่ใช่เฉพาะสังคมไทยเท่านั้น เหตุผลก็เพราะโลกเราเล็กลง และระบอบโลกาภิวัฒน์มาทดแทนสังคมเล็กๆ อย่างสมัยก่อน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น
บทสัมภาษณ์ โตเกียว ชิมบุน 2001 (ฉบับแปล)
บทสัมภาษณ์ หนังสือพิมพ์ โตเกียว ชิมบุน
2001 (ฉบับแปล)
นักเขียนไทย วินทร์ เลียววาริณ ในบรรดานักเขียนรุ่นใหม่ที่ถูกจับตามองจากทั้งในและนอกประเทศมากที่สุดในขณะ นี้ คงจะเป็น วินทร์ เลียววาริณ ผู้ได้รับรางวัลซีไรท์ถึง 2 ครั้ง เป็นผู้นำเอา 'นวนิยายแนวทดลอง' มาใช้ในงานเขียนของตนจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ไปทั่ว เป็นนักเขียนในแนวสังคมเมืองซึ่งจะแตกต่างจากนักเขียน 'วรรณกรรมเพื่อชีวิต' ที่อาศัยอยู่ในชนบทอย่าง ลาว คำหอม (ชิดูเอะ อินามะ)
Q: เหตุใดคุณจึงเลือกอาชีพนักเขียนคะ
A: ไม่ทราบเหมือนกัน อาจเป็นเพราะว่าตอนกลับจากอเมริกาเมื่อ 16 ปีที่แล้ว มีเวลาว่างมาก (หัวเราะ) หาหนังสือที่อยากอ่านไม่ได้เลยคิดที่จะเขียนเอง ในช่วงปลายทศวรรษที่ 80 วรรณกรรมไทยถึงจุดต้น นักวิจารณ์กล่าวกันว่า ช่วงที่วรรณกรรมคึกคักนั้น คือ ช่วงที่นักศึกษาและนักเขียนที่หนีเข้าป่าไปในเหตุการณ์ ปี 1976 ได้รับการยกโทษจากรัฐบาลในปี 1981 กลับเข้ามาสู่สังคม ทำให้ 'วรรณกรรมเพื่อชีวิต' โดดเด่นขึ้นมาในช่วงนั้น แต่สำหรับผมแล้วรู้สึกว่า มันยึดติดที่รูปแบบเกินไป หลังจากที่ผมจบจากมหาวิทยาลัย ก็ไปทำงานเป็นสถาปนิกที่สิงคโปร์ แล้วไปเรียนกราฟฟิคดีไซน์ที่นิวยอร์ก จากนั้นก็กลับเมืองไทย แล้วอยากลองทำอาชีพใหม่ๆ ดูบ้าง คือเกิดจากการคิดเรียบๆ ง่ายๆ
Q: ประเทศไทยเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ในปี 1932 หลังจากนั้นผ่านประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมาหลายสมัย คุณวินทร์ผ่านชีวิตในวัยหนุ่มช่วงปี 1973-1976 ในช่วงที่ประชาธิปไตยเบ่งบาน เหล่านักศึกษาต่อต้านลัทธิเผด็จการ แล้วใช้แนวคิดเรื่องการปฏิวัติของประชาชนในเรื่อง “ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน” จนได้รับรางวัลซีไรท์ในปี 1987
A: ตัวผมไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมนักศึกษาในสมัยนั้นโดยตรง แต่มีเพื่อนรอบข้างที่เข้าป่าไป เป็นไปได้ที่ความเข้าใจ เรื่องสังคมและการเมืองของผมจะได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อม เพราะคนรุ่นผมเป็นคนรุ่นที่ต่อสู้ เพื่อที่จะได้มาซึ่งประชาธิปไตย ดังนั้นความรู้สึกถึงความสำคัญของประชาธิปไตย คงจะมีมากกว่าคนรุ่นใหม่นี้
Q: ในปี 1999 ได้รับรางวัลเดียวกัน จากหนังสือรวมเรื่องสั้นและบทความ 17 เรื่อง สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน ได้คำชมเชยว่าเป็นเรื่องที่เขียนถึงชีวิตมนุษย์ โดยใช้วิธีการนำเสนอแบบใหม่
A: แต่สำหรับพวกอนุรักษ์นิยม เขาวิจารณ์ว่ามันไม่ได้เป็นวรรณกรรม ผมเพียงแค่เขียนสิ่งที่ตัวเองอยากพูดเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจให้มันเป็นการ ทดลองอะไรเลย เป็นการทำการจัดพิมพ์จำหน่ายด้วยตัวเอง เลยลงมือเองเขียนเองทั้งหมด ใส่แนวคิดของการโฆษณาลงไปด้วย ก่อนหน้านี้เคยเขียน นวนิยายวิทยาศาสตร์ ได้ใช้วิธีการนำเสนอในการจัดทำรูปเล่ม โดยใช้ตัวอักษรดำ บนพื้นขาวครึ่งหน้า และอีกครึ่งหน้าใช้ตัวอักษรขาวบนพื้นดำ ผมคิดว่าในเมื่อหนังสือมีไว้ดูด้วยแล้ว ก็น่าจะใช้วิธีการต่างๆ ในการสื่อถึงแนวคิดหลักของเรื่องได้ แต่ก็รู้สึกเหมือนกันว่าตนเองใช้เทคนิคในการนำเสนอมากเกินไป ตอนนี้เลยพยายามให้ความสำคัญกับตัวงานเขียนให้มากขึ้น
Q: ในประเทศไทยมีงานเขียนในแนว 'วรรณกรรมเพื่อชีวิต' ที่เขียนเรื่องโดยใช้ฉากชนบทและเขียนแบบสัจจะนิยม แต่งานเขียนของคุณวินทร์ ส่วนใหญ่จะใช้ฉากในเมืองและวาดภาพชีวิตของคนเมือง
A: เป็นเพราะผมเกิดและเติบโตในเมืองมาตลอด เลยเขียนเรื่องที่เข้าถึงชนบทได้ไม่ค่อยดี แต่จุดที่จะเหมือนกับ วรรณกรรมเพื่อชีวิต ก็คือการสะท้อนภาพชีวิตของมนุษย์ว่าเป็นอย่างไรเหมือนกัน ตัวผมเคารพเหล่านักเขียนที่เขียนเพื่ออุดมการณ์มากกว่าที่จะคำนึงถึง เศรษฐกิจของตัวเอง แต่ผลงานของพวกเขาขาดหลักการตลาด ไม่แพร่ขยายไปในวงกว้าง เลยทำให้พวกเขาไม่ได้มีฐานะดี สำหรับตัวผมแล้วพูดอย่างจริงใจว่า ต้องการให้หนังสือตัวเองขายได้ ถ้าคนเราท้องอิ่มแล้ว ย่อมมีแรงมีกำลังในการที่จะสร้างสรรค์งานดีๆ แต่ก็มีงานในกลุ่ม วรรณกรรมเพื่อชีวิต ที่นอกจากของคุณ ลาว คำหอม แล้ว ก็มีอีกหลายท่านที่เป็นที่ติดตลาดเหมือนกัน
Q: รู้สึกถึงความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบทบ้างไหม
A: สำหรับสังคมเมืองของไทยนั้น รับเอาวัฒนธรรมของตะวันตกเข้ามาทั้งหมด โดยไม่มีการปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมของตัวเอง เมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปญี่ปุ่น จากการเชิญของมูลนิธิญี่ปุ่น แล้วได้เห็นว่า ญี่ปุ่นได้นำเอาวัฒนธรรมตะวันตก และวัฒนธรรมของตนเองมาเชื่อมต่อกัน สิ่งใหม่กับสิ่งเก่าอยู่ร่วมกันได้อย่างดี วัฒนธรรมรอยยิ้มและการช่วยเหลือเกื้อกูลของไทยนั้น ถ้ายิ่งไปในชนบทเท่าไร ยิ่งพบมากขึ้น ในขณะที่ในเมืองนั้นเหลือน้อยลงทุกที
Q: เมื่อพูดถึงระยะทางของแต่ละประเทศในยุคโลกาภิวัฒน์แล้ว มันจะแคบลงทุกที
A: ในภาวะแบบนี้ มีนักเขียนมากมายที่คิดในแง่ลบและปฏิเสธมัน เพราะว่าคิดว่ามันจะทำให้บทบาทของนักเขียนเปลี่ยนไป สำหรับผมโดยส่วนตัวแล้วไม่ได้คิดว่ามันดีหรือเลว เพียงแต่มองว่าโลกมันมีการเปลี่ยนแปลงในทศวรรษที่ 70 นักเขียนมีอิทธิพลต่อนักศึกษามาก แต่สำหรับนักเขียนในปัจจุบันแล้ว ผมไม่คิดว่าจะมีพละกำลังถึงกับเปลี่ยนสังคมได้ มีผู้ใหญ่มากมายตำหนิว่า เด็กสมัยนี้ไม่สนใจในการเมือง แต่ผมเห็นว่ามันคงต้องเป็นไปในรูปแบบนี้ในสภาพปัจจุบัน และเราควรที่จะเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงนั้น หน้าที่ของนักเขียนคือ รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมและนำมาสะท้อนในงานเขียนของตัวเอง และจากนี้ไป งานเขียนที่เสนอจุดร่วมของมนุษยชาติ ก็จะมีคนอ่านไม่ว่าจะในประเทศไหนหรือท้องถิ่นใดก็ตาม ที่ผ่านมาเรามีกำแพงทางด้านภาษา และภูมิศาสตร์ แต่ในศตวรรษที่ 21 นี้ กำแพงนั้นจะหายไป ไม่จำเป็นว่านักเขียนไทยจะต้องเขียนเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ แต่งานเขียนภาษาไทยจะถูกแปลเป็นภาษาอื่นๆ
Q: ประเทศไทยเป็นประเทศพุทธศาสนา แนวคิดเรื่อง 'โลกมีการเปลี่ยนแปลง' ก็เป็นปรัชญาทางพุทธศาสนา บทบาทของศาสนากับประเทศไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง
A: ในสังคมไทยปัจจุบัน คนไปยึดติดกับตัวบุคคลที่เกี่ยวกับศาสนามากกว่าจะมองในปรัชญาศาสนา พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า ก่อนที่เราจะเชื่อคำพูดคนอื่นให้คิดไตร่ตรองด้วยตัวเองก่อน ในประเทศไทยเราเชื่อกันว่าไม่ควรตั้งข้อสงสัยในศาสนา แต่ผมคิดว่าการที่ให้ความสำคัญแต่เปลือกนอกมากกว่าทำความเข้าใจแก่นแท้เป็น สิ่งผิด
Q: เรื่อง สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน นั้นดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่เขียนขึ้นโดยเป็นการมองภาพการต่อสู้ของมนุษย์ จากจักรวาล
A: มันเป็นงานเขียนที่เขียนขึ้นจากการเรียบเรียงความคิดของตัวผมเองที่สงสัยและ ลังเล เขียนเพื่อตัวเองได้เกิดสุข อยากจะว่าปัญหาของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ถ้าเกิดเรามองในมุมสูงและกว้างก็จะพบหนทางแก้ไขนั้น การที่จะหาเหตุผลว่าเหตุใดมนุษย์จึงฆ่ากันเอง ถ้ามองจากการเป็นไปของมนุษย์จากจักรวาลก็อาจจะได้เหตุผลที่ชัดเจนกว่าการที่ จะวิเคราะห์ จากสภาพสังคมหรือ จิตวิทยา ถ้าเกิดคนเราเข้าใจแล้ว ก็จะเกิดสุข อย่างปัญหาการเหยียดเชื้อชาตินั้น
ถ้าเรามองย้อนไปในอดีต ก็จะพบว่ามนุษย์เรามีต้นกำเนิดมาจากที่เดียวกัน ทุกคนเป็นพี่น้องกัน เมื่อมองจากจักรวาลแล้วก็จะพบว่าประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศนั้นยังตื้น เขิน ถ้าคิดอย่างนั้นได้ก็จะพบว่าการที่มนุษย์รบกัน แต่ละประเทศแข่งขันกันเป็นเรื่องไร้สาระ ถ้าเราเข้าใจต้นตอแล้ว ก็จะเห็นทางในการที่จะมีชีวิตต่อไป
ประวัติ วินทร์ เลียววาริณ เกิดที่เมืองหาดใหญ่ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย เมื่อปี 1956 จบการศึกษาจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างปี 1980-1985 ได้ไปทำงานเป็นสถาปนิกที่สิงคโปร์ และอเมริกา หลังจากนั้น ได้เข้าทำงานในบริษัทโฆษณาและเริ่มงานเขียนไปด้วย ได้รับรางวัลช่อการะเกดยอดนิยม ในเรื่องสั้น การหนีของราษโลกสามใบของ ราษฎร์ เอกเทศ เรื่องยาวเรื่อง ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ได้รับรางวัลสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรท์) เรื่องสั้นเรื่อง สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน ได้รับรางวัลเดียวกันเป็นครั้งที่ 2 ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ
ลมหายใจบนตัวหนังสือ
สัมภาษณ์ สิงหาคม 2546
เรื่อง : ณัฐพล ศรีเมือง
WAYS OF LIFE นิตยสาร GM
วินทร์ เลียววาริณ ลมหายใจบนตัวหนังสือ | |
วินทร์ เลียววาริณ นั่งเขียนหนังสือหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์คนเดียวทุกวัน เขาอาศัยอยู่ในห้องบนชั้น 12 ของคอนโดมิเนียมสูง 22 ชั้น ย่านสุขุมวิท อาจจะหงอยเหงาไปบ้าง แต่เขาก็สนุก และมีความสุขดี... |
|
การถูกถีบตกน้ำ / อาชีพนักเขียน / ความเป็นไปได้ | |
8 เดือนแล้วที่วินทร์หันหลังให้กับอาชีพที่ทำมานานร่วม 20 ปี เขาไม่ได้ลาออกจากการเป็นครีเอทีฟ - อาร์ตไดเรกเตอร์ที่บริษัทโฆษณาแห่งนั้น แต่เมื่อต้นสังกัดปิดตัว ทุกชีวิตก็จำต้องแยกย้ายกันไปโดยปริยาย เขาใช้เวลาตัดสินใจนาทีเดียวที่จะไม่ไปทำงานกับเอเจนซีอื่น แล้วหันมาเป็นนักเขียนอาชีพเต็มตัว "มันไม่มีวันพร้อมหรอก ถ้าคุณไม่ลงมาทำจริงๆ" ที่จริงมันเป็นภาพในใจของเขามานาน กว่า 10 ปีกับการเขียนหนังสือเป็นงานอดิเรกทำให้เขามีผลงานทั้งเรื่องสั้นและนวนิยาย ออกมา 9 เล่ม เขียนบทความร่วมกับ ปราบดา หยุ่น อีก 1 เล่ม ได้รับรางวัลซีไรต์ 2 หน ไม่นับรางวัลอื่นๆ อีกหลายรางวัล กระนั้น วินทร์ก็ยังกล้าๆ กลัวๆ ที่จะออกมาเดินบนถนนคดเคี้ยวเส้นนี้ เขาเป็นคนไม่ค่อยชอบเสี่ยงเท่าไหร่ - ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ "มันมาถึงจุดๆ หนึ่งที่เหมือนกับคุณโดนถีบลงน้ำ คุณจะว่ายไปหรือจะปล่อยให้จม? มันก็ต้องว่ายข้ามฝั่งไปให้ได้เท่านั้นเอง เพียงแต่เราเตรียมฝึกว่ายน้ำมาก่อนล่วงหน้าแล้ว ฉะนั้น เวลาโดนถีบลงไปในน้ำ มันก็ไม่ถึงกับทรมานอะไร ยังว่ายไปได้ และก็ต้องตั้งใจว่ายข้ามไปให้ได้" การเขียนหนังสือมาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ทำให้เขามีฐานคนอ่านอยู่จำนวนหนึ่ง ชาติ กอบจิตติ เคยแนะนำว่าถ้ามีงานออกมาเรื่อยๆ ให้เปิดสำนักพิมพ์ของตัวเองดีกว่า วินทร์เห็นด้วย เมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว เลขที่บ้านเกิดในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จึงถูกนำมาใช้เป็นชื่อสำนักพิมพ์ 113 ของเขา หากบริษัทไม่ยุบ เขาคงยังเขียนหนังสือตามสบายต่อไป อาศัยยามว่างจากงานประจำวันละ 1 - 2 ชั่วโมงเป็นอย่างมาก ตอนนี้เขามีเวลาทำงานเขียนอย่างน้อยวันละ 7 - 8 ชั่วโมงแล้ว แผนการคร่าวๆ ของวินทร์คือจะออกหนังสือปีละประมาณ 2 เล่ม เขาตระหนักดีว่า การจะเป็นนักเขียนอาชีพได้ อันดับแรกต้องมีวินัยในการทำงานอย่างเคร่งครัด และทำงานอย่างเป็นระบบ คุณสมบัติอื่นๆ นอกเหนือจากนั้น เป็นพื้นฐานที่นักเขียนทั่วๆ ไปจะต้องมีอยู่แล้ว ถ้าไม่ฆ่าตัวตายด้วยการทำงานลวกๆ ออกมา และมีความสม่ำเสมอ เขาเชื่อว่ามันน่าจะเป็นไปได้
|
|
ชีวิตประจำวัน / โปรเจ็กต์ / ความโดดเดี่ยว | |
ในหัวของวินทร์มีงานอยู่หลายโปรเจ็กต์ ไม่นับที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เขาอยากเขียนเรื่องแทบทุกแนว เรื่องผีเขาเขียนไปแล้วเรื่องสองเรื่อง เรื่องหักมุมอยากเขียนสัก 20 ชุด ถ้าเป็นไปได้ รวมทั้งนิยายน้ำเน่าด้วย ตอนนี้สองมือของเขาทำพร้อมกันได้แค่ 4 โปรเจ็กต์ คือ นิยายวิทยาศาสตร์ บทความปรัชญา เรื่องสั้นนักสืบ และ 'หนึ่งวันเดียวกัน' ชุดใหม่ ส่วนใหญ่เสร็จไปกว่าครึ่งแล้ว ส่วนรวมคอลัมน์ ' ำ' ในมติชนสุดสัปดาห์นั้นใกล้เสร็จเรียบร้อย และคงจะพิมพ์ออกมาเป็นเล่มต่อไป แต่ละโปรเจ็กต์มีเดทไลน์ของมัน วินทร์คำนวณว่า ถ้าปีหนึ่งเขาจะออกหนังสือ 2 เล่ม สมมุติเดือนมีนาคมกับตุลาคม ก็แปลว่าเขามีเวลาเขียนอยู่ประมาณเล่มละ 6 เดือน จากนั้นก็ย้อนกลับมาดูว่า โปรเจ็กต์นี้เป็นไปได้ไหมที่จะทำทัน ถ้าไม่ทัน บางทีอาจจะต้องเป็น 1 ปี หรือมากกว่านั้น ปัญหาของนักเขียนทุกคนคือ ถ้าไม่วางเดทไลน์ไว้เลยจะไม่ยอมทำงาน การวางเดทไลน์ไว้ก็เพื่อเป็นการบังคับตัวเองว่าต้องทำ ไม่ได้แปลว่าต้องตามนั้นเป๊ะ แต่โดยทั่วไปเขาก็ค่อนข้างจะรักษาเดทไลน์ได้ดี บางครั้งก็เสร็จตรงเวลา บางครั้งก็เสร็จก่อน "ในแต่ละวันผมจะเลือกทำโปรเจ็กต์ตามความอยาก ลักษณะการทำอย่างนี้ นอกจากจะได้งานเร็วแล้วยังได้งานดีด้วย บางทีวันเดียวก็ทำสองโปรเจ็กต์ คือถ้าหากโปรเจ็กต์ที่เราทำแล้วมันไม่ไปไหน เราก็ต้องหยุดเลย ไม่มีประโยชน์ที่จะฝืนทำต่อ ก็ทำงานชิ้นอื่นไปก่อน มันจะเป็นการปรับอารมณ์ พอปรับอารมณ์แล้วก็โอเค เพราะบางครั้งเราคิดในเรื่องบางอย่างไม่ได้ มันต้องใช้อารมณ์พอสมควร เช่นอารมณ์ของตัวละครเวลาคุยกัน ถ้าฝืนเขียนออกมามันจะแข็งมาก ฉะนั้น เราเอาช่วงเวลาลักษณะนั้นไปทำอย่างอื่น เช่นเรื่องที่ต้องใช้การคิดพล็อตแทน มันก็จะช่วยแก้ได้" ทุกวัน วินทร์จะตื่นขึ้นมาตอน 6 โมงเช้า ไปออกกำลังกายที่สวนสาธารณะถ้าฝนไม่ตก กลับมาเริ่มทำงาน พักเที่ยง ทำงานต่อจนถึงเย็น บางวันอาจจะเลยไปถึงช่วงค่ำ และเข้านอนประมาณ 5 ทุ่ม นักเขียนอาชีพต้องเขียนหนังสือทุกวัน ไม่มีวันหยุด ไม่มีข้อแม้ เหมือน 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ไอดอลคนหนึ่งของวินทร์ ที่ยังเขียนหนังสือแม้ในยามป่วย (เขาเคยไปเยี่ยม 'รงค์ ที่สวนทูนอิน 2 ครั้ง) บางวันวินทร์อดรู้สึกเหงาไม่ได้ อยู่ที่บริษัทยังมีเพื่อนร่วมงานให้พูดคุย แต่ตอนนี้เขาทำงานอย่างโดดเดี่ยว สิ่งที่ทำให้เขายังรับสภาพนี้ได้และคิดว่ามันก็ดีไปอีกแบบหนึ่งคือ การจมหายไปในโลกของงานเขียน ซึ่งบางครั้งเวลาหลายๆ ชั่วโมงก็ผ่านไปโดยไม่รู้ตัว |
|
การเขียนหนังสือ / ข้อจำกัด / บรรณาธิการ | |
วินทร์คิดเล่นๆ เขาคงจะเขียนหนังสือช้ากว่า ฮ.นิกฮูกี้ สักร้อยเท่า เรื่องสั้นที่วินทร์เคยเขียนเร็วที่สุดใช้เวลา 3 วัน นานที่สุดคือ 1 ปี ส่วนนวนิยาย เร็วที่สุด 2 ปี นานที่สุด 6 ปี ตอนที่ยังทำงานประจำ ความอยากเขียนหนังสือมาก ทำให้ในหนึ่งวันเขาแทบไม่มีเวลาว่างเหลืออยู่เลย เขาเจียดในการดูหนัง ดูทีวี รวมทั้งตอนนั่งรอคน หรือขณะกินอาหาร ไปใช้ในการเขียนหนังสือหมด สมองของวินทร์เหมือนมีสวิตซ์ เปิด - ปิด เขาจึงไม่ต้องรออารมณ์ สามารถเขียนได้เมื่อต้องการ และทำงานได้คราวละมากกว่าหนึ่งโปรเจ็กต์ วินทร์เชื่อในเรื่องของ Time management ถ้าคนเราต้องการจะทำอะไรจริงๆ ก็ย่อมทำได้ ไม่มีข้ออ้างเรื่องเวลามากเวลาน้อย อยู่ที่การจัดสรรเวลาให้เป็น "ผมไม่เคยเชื่อในเรื่องที่ว่า ถ้าคุณมีเวลามากแล้วคุณจะต้องทำงานดีได้เสมอไป เพราะผมทำงานในวงการที่อยู่ภายใต้เส้นตายตลอดเวลา แล้วมันก็พิสูจน์ให้เห็นเยอะแยะไปว่า งานที่ใช้เวลา 5 นาที อาจจะดีกว่างานที่ทำเป็นเดือนด้วยซ้ำ ฉะนั้น ผมเชื่อว่าคนเราสามารถทำงานที่ดีภายใต้ข้อจำกัดเวลาได้ แต่หมายถึงว่าจะต้องผ่านการฝึกคิดให้เป็นระบบมาก่อน ไม่งั้นก็มีปัญหา คุณจะคิดไม่ออกเลย ไอ้เรื่องพวกนี้ไม่ใช่ว่าคุณเกิดมาแล้วทำได้ มันต้องฝึก" เขาเก็บข้อมูลอยู่ตลอดเวลา เห็นอะไรสะดุดตาสะดุดใจก็รีบเก็บไว้ จะเอาไปใช้อะไรค่อยว่ากันอีกที บางครั้งอาจจะเป็นแค่คำพูดประโยคเดียวที่รู้สึกว่ามันเท่ หรือเกร็ดความรู้แปลกๆ ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน เขาคิดว่ามันเป็นสัญชาตญาณของนักเขียน เวลาทำงาน เขามักจะวางโครงร่างไว้คร่าวๆ ก่อนว่าต้องการนำเสนอเรื่องอะไร อย่างไร อารมณ์จะไปในทิศทางไหน แล้วก็เขียนไปตามนั้น วิธีนี้ทำให้ไม่หลงทาง หรือถ้าไปผิดทางก็จะได้รู้แต่เนิ่นๆ มีบ้างที่อาจจะดิ้นหลุดไปในแนวทางของมันเองแล้วออกมาดี ก็ถือเป็นโบนัสที่เกิดขึ้น แต่สำหรับเขา ถ้าอยากจะเขียนหนังสือเป็นอาชีพ เรื่องเหล่านี้ต้องกำหนดได้พอสมควร สำหรับงานสร้างสรรค์ เขาเชื่อว่าโลกนี้ยังมีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเสมอ ทว่าเป็นความใหม่ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากศูนย์ แต่มีรากฐานมาจากของเก่า และความใหม่นั้น ไม่นานก็จะกลายเป็นเก่าไป เป็นวงจรของมัน แม้จะมีประสบการณ์ในการเขียนหนังสือไม่น้อย และมีสำนักพิมพ์รองรับงานของตัวเอง ซึ่ง 95 เปอร์เซ็นต์เขาทำคนเดียว แต่วินทร์ก็ไม่เคยไว้ใจให้ตัวเองควบตำแหน่งบรรณาธิการ ต้องมีอะไรหลุด ต้องมีอะไรผิดพลาดเสมอ เขาจึงดึงคนในแวดวงโฆษณาหลายคนมาช่วยทำหน้าที่นี้ให้ "บรรณาธิการในความหมายของผมไม่ใช่คนมาพิสูจน์อักษร เพราะพิสูจน์อักษรมีคนที่มีความรู้ภาษาไทยเยอะแยะทำได้ บรรณาธิการต้องทำหน้าที่มากไปกว่านั้น คือสามารถคอมเม้นท์งานได้ บอกได้ว่า ตรงนี้ผิดหรือถูก ควรหรือไม่ควร ต้องกำหนดทิศทางหนังสือได้พอสมควร" เมื่อบรรณาธิการอ่านเรื่องแล้วชี้จุดบกพร่องกลับมา เช่นตรงนี้ไม่สมจริง ตรงนั้นไม่จำเป็น ถ้ายังเชื่อมั่นว่าความคิดเห็นของตัวเองน่าจะดีกว่า เขาก็ยังยึดเอาไว้ แต่หากเห็นด้วยกับที่บรรณาธิการแย้งมา ก็ต้องแก้ไข วินทร์คิดว่าไม่ใช้บรรณาธิการไม่ได้ เขาเจียดเงินส่วนหนึ่งมาจ้างบรรณาธิการ เพราะอยากทำให้หนังสือมีมาตรฐานมากขึ้น น่าเสียดายที่บ้านเราหาบรรณาธิการเก่งๆ ยาก บางครั้งวินทร์นึกถึงสุชาติ สวัสดิ์ศรี สุดยอดบรรณาธิการของเมืองไทย "ที่เมืองไทยไม่ค่อยนิยมใช้บรรณาธิการมากนัก อันที่หนึ่ง น่าจะเป็นเพราะคนไม่เห็นความจำเป็น คิดว่าตัวเองเป็นนักเขียนตัวเองก็อ่านเองได้ อันที่สอง เข้าใจว่าคงเป็นเรื่องงบประมาณ ไม่มีเงินจ้าง สมมุติว่าคุณมีเงินอยู่ 2-3 พันบาท บรรณาธิการที่ไหนก็ไม่อยากรับเงินนั้น เพราะมันไม่คุ้มกับเวลาที่ต้องเสียไป อ่านหนังสือแล้วต้องวิเคราะห์นี่ไม่ใช่เป็นงานที่จ่ายด้วยเงิน 2-3 พัน ผมไม่แน่ใจว่าสำนักพิมพ์อื่นเขาทำกันยังไง สำนักพิมพ์บางแห่งอาจจะพิมพ์งานเยอะ บรรณาธิการจึงทำหน้าที่คล้ายเป็นคนอ่านคำผิด บางแห่งอาจจะเชื่อใจนักเขียนอยู่แล้ว ก็เลยไม่กล้าที่จะแตะต้อง แต่เท่าที่ทราบดูเหมือนค่าจ้างสำหรับบรรณาธิการต่ำมาก ฟังแล้วน่าตกใจ" เขาเห็นว่า อันที่จริงการจ้างบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องทำโดยสำนักพิมพ์ มันเป็นการติดต่อระหว่างนักเขียนกับบรรณาธิการมากกว่า |
|
ลูกค้า / การตลาด / การดิ้นรน | |
วินทร์เลือกที่จะพิมพ์หนังสือโดยไม่ใช้เครดิตโรงพิมพ์ เขาต้องการจะทำราคาหนังสือให้ถูกที่สุดเท่าที่จะถูกได้ เพื่อให้คนทั่วไปซื้อหาอ่านได้ไม่ยากจนเกินไป การจ่ายสดเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาสามารถต่อรองกับโรงพิมพ์ได้ อีกอย่าง เขาไม่ค่อยชอบยุ่งเรื่องบัญชีเท่าไหร่ เมื่อหักต้นทุนต่างๆ แล้ว ถ้าหนังสือไม่มีการพิมพ์ซ้ำ เขาก็จะไม่ได้กำไร ดีที่ส่วนใหญ่ไม่เป็นเช่นนั้น "ผมยังเชื่อในปรัชญาเดิมมาตลอด คือ เราสามารถจะทำงานประเภทที่ได้ทั้งเงินทั้งกล่องได้พร้อมกัน แน่นอน บางเรื่องอาจจะได้เงินมากหน่อย บางเรื่องอาจจะได้กล่องมากหน่อย แต่อย่างน้อยที่สุด มันต้องผ่านมาตรฐานที่เราตั้งเอาไว้ว่าไม่ห่วย เวลาส่งหนังสือออกไปเล่มหนึ่งในตลาดต้องดูได้ มันอาจจะไม่ได้ดีเหมือนกับเล่มก่อนๆ แต่ก็ไม่ได้เป็นหนังสือที่เลวแน่นอน บางเล่มอาจจะโดดออกมาจากเล่มเก่าๆ มันก็แล้วแต่ เพราะว่านักเขียนก็คือคน ไม่จำเป็นว่าเล่มที่สองจะต้องดีกว่าเล่มที่หนึ่งเสมอไป มันก็ขึ้นๆ ลงๆ แต่ก็ยังอยู่ในมาตรฐาน ผมเชื่อว่าถ้างานดีจริงๆ มันต้องขายได้ด้วย และก็เชื่อว่า ถ้าคุณทำงานห่วยชิ้นหนึ่ง ลูกค้าของคุณจะหายไปครึ่งหนึ่งได้แทบจะทันที ฉะนั้น คุณไม่สามารถจะทำงานห่วยได้ ทุกชิ้นที่ออกมาอย่างน้อยที่สุดต้องผ่านคิวซีของคุณว่ามันใช้ได้ในระดับหนึ่ง" เพื่อที่จะอยู่ให้ได้ในฐานะนักเขียน วินทร์ต้องพยายามทำการตลาดหลายอย่าง โดยอยู่ในขอบเขตของงบประมาณ ทั้งให้สัมภาษณ์สื่อ ส่งหนังสือชิงรางวัล ไปพูดตามที่ต่างๆ ทำเว็บไซต์เพื่อสื่อสารกับคนอ่านโดยตรง และเปิดตลาดต่างประเทศด้วยการแปลผลงานเป็นภาษาอังกฤษ เริ่มด้วยเรื่อง ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ซึ่งปริสนา บุญสินสุข บรรณาธิการคนหนึ่งของวินทร์เป็นผู้แปล วินทร์มีแผนตั้งนานแล้วที่จะแปลหนังสือของตัวเองออกมาเป็นภาษาอังกฤษให้หมด เพราะนั่นคือด่านแรกที่จะไปสู่โลกภายนอก ใช่ว่าเขาอยากดังอะไร เพียงแต่มันเป็นแหล่งรายได้ใหม่ เขาคงขายในเมืองไทยก่อน เหมือนที่ชาติ กอบจิตติทำ ดูว่าเป็นยังไง มันไม่เสียหายอะไรที่จะลองขยายตลาดดู เขาต้องดิ้นรนทุกอย่างที่จะทำให้หนังสือขายได้ ยกเว้นการขายวิญญาณ "ผมไม่ได้ต้องการจะขายวิญญาณให้กับเงินหรืออะไรเพื่อที่จะอยู่รอดได้ แต่โอเค มันต้องเจอกันครึ่งทาง เราทำงานที่เราคิดว่าดีแล้ว และก็ตั้งใจจะขายมันให้ได้ด้วย อาจจะฝืนจากนิสัยตัวเอง แต่ก็ต้องยอมทำ โดยหวังว่าถ้าอยู่รอดได้ มันก็น่าจะมีเวลา มีกำลังเงินที่จะผลิตงานที่ดีขึ้นเรื่อยๆ "เป็นนักเขียน ถ้าหากไม่ยอมเปิดตัวมันก็ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า หนังสืออาจจะขายไม่ได้มากเท่าที่ควร เพราะคนอ่านอาจจะไม่รู้จัก เวลาเจอนักเขียนหลายคน เราก็คุยกันเรื่องนี้ ผมก็บอกเสมอว่า มันมีสองทางคือหนึ่ง เก็บตัว หรือสอง เปิดตัว มีสองทางนี้ ไม่มีทางอื่น" ถ้าอยากจะให้หนังสือขายได้ ก็มีทางเดียวเท่านั้น คือต้องเปิดตัว วินทร์เข้าใจและยอมรับในข้อนี้ |
|
รางวัลซีไรต์ / วงการวรรณกรรมไทย / ช่องว่าง | |
ประกาศผลรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนหรือซีไรต์รอบคัด เลือก 7 เล่มปีนี้ วินทร์เห็นนวนิยายเรื่อง ปีกแดง ของตัวเองรวมอยู่ในนั้นด้วย เขาเคยได้รางวัลนี้มาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อปี 2540 และ ปี 2542 ประเทศไทยขณะนี้มีเพียงเขากับ ชาติ กอบจิตติ เท่านั้นที่ถูกเรียกว่า ดับเบิ้ลซีไรต์ เมื่อก่อน วินทร์ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าซีไรต์เขาทำอะไรกัน สำนักพิมพ์บอกให้ส่งก็ส่ง ไม่ได้คิดอะไรมาก เดี๋ยวนี้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของการตลาด เป็นช่องทางการจำขายอย่างหนึ่งของเขาไปเสียแล้ว ที่จริงก็ไม่ควรคิดอย่างนั้น วินทร์รู้ แต่ในเมื่อรางวัลมันทำให้หนังสือขายได้ ก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร สำหรับปีนี้ เขารู้สึกว่ามีความเป็นไปได้ต่ำมากที่จะได้รับรางวัลเป็นครั้งที่ 3 ไม่ใช่เป็นเพราะเคยได้มาแล้ว 2 ครั้ง แต่เพราะอะไรก็บอกไม่ถูกเหมือนกัน มันไม่สำคัญหรอก เขาไม่ได้หวังไกลว่าจะต้องได้รางวัลอะไร แค่เข้ารอบ 7 เล่มก็ถือว่าจบหน้าที่ของเขาแล้ว ที่เหลือปล่อยให้เป็นหน้าที่ของข่าวต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเขาหวังว่าคงจะช่วยทำให้หนังสือขายได้ขึ้นอีกระดับหนึ่ง การเป็นนักเขียนอาชีพทำให้เขาต้องรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น ต้องทำทุกอย่างให้หนังสือเป็นที่รับรู้ รางวัลซีไรต์เป็นเรื่องที่สื่อทุกสื่อให้ความสนใจอยู่แล้ว และมันก็เป็นการพีอาร์ให้ฟรี ฉะนั้น เขาจึงยังต้องส่งประกวดอยู่ "ทุกวงการต้องมีการแข่งขันเป็นธรรมดามัน ในสายตาส่วนตัว ผมคิดว่ารางวัลซีไรต์มีประโยชนมากกว่ามีโทษ คือมันช่วยกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันขึ้นมา และการแข่งขันก็เป็นสิ่งที่ทำให้ผลงานก้าวไปข้างหน้าโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว แต่เรามักจะไปมองที่ด้านลบของรางวัลตลอดเวลา ก็เลยอาจจะไม่มีประโยชน์ คือในเมื่อรางวัลมันตั้งมาขนาดนี้แล้ว ก็น่าจะใช้ประโยชน์จากมันให้มากกว่านี้ หาทางกระตุ้นให้คนอ่านหนังสือมากขึ้น และไม่ใช่ไปกระตุ้นให้อ่านเล่มเดียวอย่างที่เป็นมา ซึ่งผมคิดว่า เขาก็คงอยู่ในช่วงเวลาที่จะเปลี่ยนทัศนคิตแบบนั้น อย่างการเอา 7 เล่มที่เข้ารอบสุดท้ายมาเผยแพร่มากขึ้นกว่าเดิม มันก็เป็นขั้นตอนหนึ่งที่พยายามจะทำให้คนอ่านมากกว่าหนึ่งเล่มสุดท้าย" ไอเดียเรื่อง 'โฆษณาวรรณกรรม' ยังวนเวียนอยู่ในหัวของวินทร์ นานมาแล้วเขาเคยเปรยเรื่องนี้กับรุ่นพี่ในวงการบางท่าน และเคยเล่าให้ปราบดา หยุ่นฟังทางอีเมล์ "โฆษณาวรรณกรรมคือ ไม่ได้โฆษณาหนังสือเจ้าใดเจ้าหนึ่งเป็นพิเศษ แต่เป็นการโฆษณาโดยภาพรวม ผมคิดว่าถ้าหากมีการรวมตัวกัน เช่น องค์กรของคนพิมพ์หนังสือมาลงขันกัน มันอาจจะช่วยขยายตลาดให้กว้างขึ้นได้ เหมือนกับที่ต่างประเทศเขารณรงค์ให้คนมาดื่มนมกัน หรือบางทีในช่วงเวลาที่เนื้อวัวขายไม่ดี เขาก็จะรณรงค์ให้คนกินเนื้อวัวมากขึ้น ก็เป็นเรื่องธรรมดา คือมารวมตัวกัน "ทีนี้เนื่องจากหนังสือเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อคนส่วนรวม ผมคิดว่ามันเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องมาช่วยด้วยเหมือนกัน คือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนมารวมกัน สมมุติหนังสือพิมพ์บางฉบับมีพื้นที่เหลือจากการโฆษณาซึ่งเป็นพื้นที่ว่าง เปล่า ก็เอามาลงโฆษณาให้คนมาอ่านหนังสือ มันก็ไม่เสียหายอะไร เพราะไหนๆ ก็ต้องเสียพื้นที่นั้นอยู่แล้ว เจอกันครึ่งทางแบบนี้ ในภาพรวมนานๆ เข้า คนโดนกระตุ้นบ่อยๆ มันก็อาจจะโน้มน้าวให้เข้าร้านหนังสือมากขึ้น หรือบางทีคุณอาจจะใช้คนดังช่วยมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้อ่านหนังสือยังได้เลย ถ้าคนดังพูดบ่อยๆ เด็กวัยรุ่นก็ตามเอง "ปัญหาคือไม่มีใครทำ ต่างคนต่างทำของตัวเอง และบางคนก็อาจจะคิดว่าธุระไม่ใช่ด้วย ทุกอย่างเป็นไปได้อยู่แล้ว อยู่ที่ว่าคุณต้องการหรือเปล่า ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้หรอก สมมุติท่านนายกฯ เกิดวันดีคืนดีอยากจะทำโปรเจ็กต์นี้ขึ้นมา ผมก็คิดว่าเขาทำได้ภายในเวลาเดือนสองเดือนด้วยซ้ำไป แค่เอ่ยปากก็ทำได้แล้ว ส่วนผมหรือสำนักพิมพ์ของผมยังทำไม่ได้เท่านั้นเอง" วินทร์นึกถึงวงการวรรณกรรมไทยหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา เขาสังเกตว่าวรรณกรรมไทยมีความหลากหลายขึ้น แต่ยังไม่หลากหลายพอ ตอนเขาไปร้านหนังสือ จะหาหนังสือนักสืบอ่านก็ไม่ค่อยมี จะหาหนังสือฆาตกรรมสืบสวนสอบสวนก็หาไม่ค่อยได้ หนังสืออัตชีวประวัติ หรือหนังสือเฉพาะกิจบางอย่างก็มีน้อย และอีกหลายๆ ประเภทซึ่งเขาไม่เห็นของไทย เห็นแต่ของฝรั่ง เขาหวังว่า ปรากฎการณ์หนังสือแปลที่เข้ามาในบ้านเราตอนนี้ จะช่วยกระตุ้นให้นักเขียนไทยเขียนอะไรที่หลากหลายมากขึ้น "ผมถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี เพราะมันทำให้เกิดการแข่งขัน ตอนนี้เราไม่ได้แข่งขันกับนักเขียนไทยด้วยกันเท่านั้น เราแข่งขันกับนักเขียนต่างชาติด้วย การคิดว่านักเขียนต่างชาติเข้ามาแย่งพื้นที่คือการคิดที่เห็นแก่ตัว ถ้าคิดอย่างนั้นปุ๊ปคุณก็ตาย เราคิดอย่างนั้นไม่ได้ เหมือนกับสมัยหนึ่งที่เราไม่ให้หนังต่างประเทศเข้ามาฉายในเมืองไทย ให้ดูแต่หนังไทย มันไม่ได้ มันต้องให้คนมีทางเลือกมากขึ้น เมื่อคนอ่านมีทางเลือกมากขึ้น เขาก็ฉลาดขึ้น สังคมก็ไปไกลขึ้น ไม่ใช่อ่านหนังสือแบบเดิมๆ เรื่องเดิมๆ ตลอดเวลา เราต้องมองปรากฏการณ์นี้เป็นเรื่องดี อย่างน้อยมันก็กระตุ้นให้เราต้องทำงานหนักขึ้น หรือเพิ่มมุมมองของตัวเองมากขึ้น" บนแผงหนังสือ วินทร์มองเห็นช่องว่างให้นักเขียนลงไปเขียนเต็มไปหมด เขาสงสัยว่าทำไม นักเขียนก็มีไม่น้อย ลำพังเขาคนเดียวคงทำไม่ไหว อยากจะเขียนโน่นเขียนนี่ อย่างมากก็ได้แค่ปีละ 2 เล่ม เขาคิดว่าถ้าใครถนัดทางไหน ก็เอาดีทางนั้นไป ถ้าถนัดเรื่องสยองขวัญ ก็เขียนให้ได้อย่างสตีเฟ่น คิงไปเลย ผลิตออกมาเยอะๆ แล้วตลาดก็จะมีทางเลือกมากขึ้น ต่อให้หนังสือต่างชาติดีแค่ไหน แต่จริงๆ เราก็ยังต้องการรสชาติแบบไทยๆ อยู่ วินทร์พยายามจะวิเคราะห์ตัวเอง ดูเหมือนเขาจะถนัดทางการสร้างพล็อตมากกว่าเรื่องในแนวอารมณ์ เขาชอบนิยายวิทยาศาสตร์มาก (ถ้าให้เลือกเรียนปริญญาอีกสักใบเขาอาจจะเรียนดาราศาสตร์) มันช่วยให้เกิดจินตนาการได้ดี จินตนาการเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในทุกๆ วงการ สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ตั้งแต่เขียนชุด เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว ปี 2538 เขาก็ยังไม่ได้เขียนเรื่องวิทยาศาสตร์อีกเพราะติดพันโปรเจ็กต์อื่น ครั้นมองออกไปรอบตัวก็ค่อนข้างจะเงียบเหงา ไม่ค่อยเห็นนักเขียนแนววิทยาศาสตร์ในบ้านเราเท่าไหร่ ในเมื่อแนวอื่นมีคนทำเยอะแล้ว และทำได้ดีกว่าเขาด้วย ฉะนั้น มาทางนี้ก็ไม่เลวทีเดียว วินทร์ตั้งใจว่าจะเบี่ยงตัวเองมาทางเรื่องแนววิทยาศาสตร์มากหน่อย ตอนนี้เขามีอยู่ 2 - 3 โปรเจ็กต์แล้ว และจะทำให้มีรสชาติไทยๆ มากขึ้น เขาอยากให้คนมาเขียนนิยายวิทยาศาสตร์มากกว่านี้ เทียบกับต่างประเทศแล้ว เราน่าจะล้าหลังเขาสักร้อยปีได้ |
|
รายได้ / ครอบครัว / ประเทศสิงคโปร์ | |
วินทร์เขียนหนังสือเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในหัวออกมา ทั้งความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และเขาชอบเขียนในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้มาก่อน มันทำให้เขาได้ศึกษาค้นคว้า เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ตั้งคำถามหลายๆ อย่างกับตัวเอง - กับชีวิต เขาไม่คิดว่าตัวเองมีพันธกิจต่ออะไร พันธกิจของเขาคือเอาตัวรอดให้ได้ด้วยการเขียนหนังสือ นักเขียนควรจะรับผิดชอบตัวเองและครอบครัวก่อน นอกจากลงมือออกแบบปกหนังสือของตัวเองทุกเล่ม บางครั้งเขาก็ออกแบบให้คนอื่นที่มาจ้าง ทั้งปกหนังสือ งานโฆษณา มันเป็นรายได้อีกทางหนึ่งของเขา นอกเหนือจากการเขียนและขายหนังสือ ซึ่งเป็นรายได้หลัก บางเดือนรายได้ของเขาพอๆ กับเงินเดือนที่เคยรับ บางเดือนน้อยกว่า และมีบ้างที่มากกว่า แต่โดยเฉลี่ยแล้วก็อยู่ได้ แลกกับความเป็นอิสระที่มากขึ้น วินทร์ไม่ชอบช็อปปิ้ง เขาหมดเงินไปกับหนังสือมากกว่า หนังสือฝรั่งบางเล่มแพงมากแต่ก็ต้องซื้อ อีกส่วนหนึ่งก็เป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว ทุกวันนี้เขาคล้ายฤาษี ถ้าไม่มีธุระที่อื่นก็มักจะออกจากห้องเฉพาะตอนไปร้านอาหาร ร้านหนังสือ โรงหนัง สวนสาธารณะ และประเทศสิงคโปร์ - ภรรยาชาวสิงคโปร์และลูกชายวัยมัธยมของเขาอยู่ที่นั่น โดยปกติวินทร์จะอยู่ที่กรุงเทพฯ ครึ่งเดือน อีกครึ่งเดือนบินไปอยู่กับครอบครัวแถวโตปาโย ไม่ห่างจากใจกลางเมืองสิงคโปร์นัก เขาไม่เคยลืมเอาเครื่องแล็ปท็อปไปด้วย… |
GM Magazine 2538
GM : | จะว่าไปคุณยังจัดว่าเป็นนักเขียนหน้าใหม่อยู่ ถ้าให้แนะนำตัวเองคร่าว ๆ สัก 20 ประโยค คุณจะพูดว่าอย่างไร |
วินทร์ : | เป็นคำถามที่ยากมาก อืม... ผมคิดว่าผมเป็นคนที่สนใจหลายๆ อย่างที่เกี่ยวกับชีวิต โดยเฉพาะทางด้านศิลปะซึ่งจะชอบหลายอย่างมาก เรียกว่าค่อนข้างจะจับฉ่ายว่างั้นเถอะ ก็คือเริ่มแรกเรียนมาทางสถาปัตย์ แล้วก็ไปเรียนกราฟฟิกดีไซน์ เรียนหนัง เรียนวิดีโอ มาทำโฆษณา จากนั้นก็เขียนหนังสือ แต่ละอย่างที่ได้ไปเรียนมาก็เป็นสิ่งที่ผมชอบจริงๆ แต่เนื่องจากเวลาที่จะให้ทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้มันค่อนข้างจะน้อย ดังนั้น จึงต้องแบ่งเวลาไป เช่น ทำงานสถาปัตย์สัก 5 ปี ทำโฆษณาสัก 10 ปี แล้วก็มาทำหนังสือ มันก็เป็นชีวิตที่มีเรื่องต่างๆ ปะปนกันอยู่ |
GM : | คุณเริ่มต้นด้านเขียนครั้งแรกเมื่อไหร่ |
วินทร์ : | ประมาณปี '31 แต่มันก็ไม่ได้เป็นการเขียนที่จริงจังอะไร เพราะแรกๆ ที่ผมเขียน ผมอาจจะเขียนเรื่องหนึ่งแล้วเว้นไปประมาณ 6 เดือนแล้ว ค่อยเขียนอีกเรื่อง บางทีปีหนึ่งอาจจะเขียนแค่เดือนเดียว คือไม่ได้ทำอย่างจริงจัง จนกระทั่งหลังจากปี '35 จึงเขียนอย่างค่อนข้างจะต่อเนื่อง |
GM : | พิจารณาจากระยะเวลา คุณเขียนหนังสือมา 5 ปี มีพ็อกเก็ตบุ๊คออกมา 3 เล่ม จัดว่าเป็นจำนวนที่ไม่น้อยสำหรับนักเขียนที่เพิ่งเริ่มต้น? |
วินทร์ : | ผมไม่แน่ใจว่ามันมากหรือเปล่า เพราะผมเองก็ไม่รู้ว่าเรทคนอื่นเป็นอย่างไร บังเอิญตอนที่จะรวมเล่มมันมีเรื่องพอ ก็เลยเอามารวมกันเพื่ออีโก้ตัวเองมากกว่าว่าในชีวิตได้มีเรื่องรวมเล่มได้สำเร็จ |
GM : | มักได้ยินเสมอว่า สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการเป็นนักเขียนคือการเริ่มต้น คุณเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า |
วินทร์ : | ไม่คิดว่าเป็น อย่างนั้น เพราะส่วนตัวผมเองการเขียนมันเกิดจากการได้อ่านหนังสือมากมาย แล้วเมื่ออ่านไปถึงจุดหนึ่งก็เกิดความรู้สึกว่าไม่มีอะไรอยากจะอ่านอีกต่อไป จึงต้องพลิกผันตัวเองมาลองเขียนดู เรียกว่าจู่ ๆ ผมก็อยากเขียนขึ้นมาเฉยๆ แล้วก็จำไม่ได้ว่าผมเริ่มต้นมันอย่างไร แต่มันไม่ได้เป็นสิ่งที่ยากอย่างที่ใครๆ คิดหรอก |
GM : | ถ้าอย่างนั้น 'อะไร' ที่ทำให้คุณเขียน |
วินทร์ : | ความอยากระบาย อารมณ์ฝันในตัวเองคือโดยปกติแล้วผมเป็นคนที่ค่อนข้างจะเพ้อฝันนิดหน่อย ชอบคิด ชอบจินตนาการอยู่ในหัว จึงอยากระบายมันออกมา ซึ่งเมื่อก่อนผมก็ระบายออกมาในรูปการ์ตูนบ้ง ทำแล้วก็ปล่อยๆ มันไป หรือบางทีอ่านหนังสือแล้วก็ฝันว่าตัวเองเป็นพระเอกบ้าง เป็นอะไรบ้าง แล้วมันก็ผ่านไป จากนั้นพอโตขึ้นมาหน่อยจึงหาทางระบายออกมาเป็นตัวหนังสือ |
GM : | ขณะลงมือเขียน คุณรู้สึกถึงพลังอำนาจที่สามารถกำหนดบทบาทของตัวละครในเรื่องให้เป็นไปอย่างที่ใจคุณต้องการไหม |
วินทร์ : | ใช่ มีความรู้สึกอย่างนั้น คล้ายๆ ว่าเราเป็นเจ้านายของอะไรบางอย่าง หรือจะเป็นพระเจ้าหรือเปล่าก้ไม่ทราบ แต่ก็ไม่ได้มีความรู้สึกที่รุนแรงอะไร เป็นเพียงการระบายความเพ้อฝันออกไปมากกว่า |
GM : | เมื่อมีคนถาม เออร์เนสต์ เฮมิ่งเวย์ ว่าอะไรคือการอบรมเบื้องต้นที่ดีที่สุดสำหรับนักเขียน เขาตอบว่าวัยเด็กที่ไม่มีความสุขนัก ถ้าถามคุณด้วยคำถามเดียวกัน คุณจะตอบว่าอย่างไร |
วินทร์ : | ผมไม่เหมือนเฮมิ่งเวย์ เพราะชีวิตผมค่อนข้างจะเรียบง่าย คือแนวคิดของเรื่องต่างๆ มันมาจากความฝันตลอด เป็นจินตนาการล้วนๆ ซึ่งเกิดจากการอ่าน ชีวิตผมเป็นโทนที่ค่อนข้างจะเรียบง่ายอยู่แล้ว สมัยเด็กก็เรียนหนังสือ ทำการบ้าน พอโตขึ้นก็สอบเข้ามหาวิทยาลัย เป็นชีวิตที่ราบเรียบมาโดยตลอด ส่วนเรื่องต่างๆ ที่เขียนออกมานั้นเกิดจากจินตนาการเป็นหลัก แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้ผมอยากเขียนนั่นก็คือการอ่าน
ตอนเด็กๆ ผมอ่านหนังสือเพราะมันอ่านแล้วสนุก ก็เลยติดเป็นนิสัยเรื่อยมา แรกๆ ผมก็อ่านหนังสือนิยายน้ำเน่าไปตามเรื่องตามราว แต่พอโตขึ้นมันก็จะเบื่อหนังสือพวกนี้ไปเอง จกนั้นจึงหันไปอ่านหนังสือที่มีประโยชน์ เช่น พวกหนังสือปรัชยา ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากที่จะอ่าน เพราะนิสัยการอ่านมันถูกเพาะขึ้นมาแล้ว ซึ่งเรื่องนี้มันก็เป็นแนวคิดอย่างหนึ่งสำหรับตัวเองว่า ถ้าผมเขียน ผมน่าจะเขียนหนังสือให้คนอ่านอ่านแล้วสนุกมากกว่า จากนั้นก็สร้างเสริมอะไรเข้าไปบ้าง หารูปแบบหรืออะไรต่างๆ มาดึงให้คนหันมาอ่านหนังสือ |
GM : | หนังสือ 5 เล่มในดวงใจของคุณมีอะไรบ้าง |
วินทร์ : | 'สิทธารถะ' ของ เฮอร์มาน เอสเส, หนังสือทุกเล่มของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ไม่ว่าจะเป็น 'มหาวิทยาลัยชีวิต', 'เดินป่าเสาะหาชีวิตจริง' ซึ่งอ่านแล้วได้ทั้งอารมณ์และความคิดความอ่านต่างๆ แม้กระทั่งบทความของของเขาก็เช่นเดียวกัน ส่วนพวกหนังสือแนววิทยาศาสตร์ผมยกให้ '2001 อะ สเปช โอดีสซี่' ของ อาร์เธอร์ ซี คลาร์ก นี่นับว่าสุดยอดแล้ว มันเป็นหนังสือที่มีจินตนาการลึกล้ำมาก เขาเขียนเรื่องได้ไกลกว่าที่เราเคยเรียนหรือเคยอ่านหนังสือวิทยาศาสตร์ มีการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ในเรื่องซึ่งเป็นที่เข้าใจทุกอย่าง การออกแบบเรื่องก็เรียบง่าย มาก แต่ถึงแม้จะเขียนมาหลายสิบปีแล้ว เดี๋ยวนี้กลับมาอ่านอีกทีก็ยังทันสมัยเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมด้วยประการทั้ง ปวง
ถ้าเป้นพวกแนวจารกรรมซึ่งผมก็อ่านมากอยู่เหมือนกันที่ผมชอบเรื่อง 'The Odessa Files' ของ เฟรเดอริค ฟอร์ไซท์ พล็อตเรื่องลงตัวมาก การเดินเรื่อง ความตื่นเต้น ข้อมูลทุกอย่างรีเสิร์ชมาแม่นำและเนี้ยบมาก หนังสืออีกแนวที่ผมชอบและอ่านทุกเล่มที่มีอยู่ในตลาดตั้งแต่สมัยเด็กคือ นิยายกำลังภายใน เช่น ของกิมย้ง เรื่อง 'กระบี่เย้ยยุทธจักร' ซึ่งจัดว่าเป็นสุดยอดของนิยายกำลังภายในสำหรับผมส่วนของ โกวเล้ง ก็มีฤทธิ์มีดสั้น ดาบจอมภพ และเหยี่ยวเดือนเก้า |
GM : | ส่วนใหญ่คนสมัยนี้ชอบอ้างว่าที่ไม่อ่านหนังสือก็เพราะไม่มีเวลา คุณเชื่อหรือเปล่า |
วินทร์ : | ผมไม่เชื่อข้อ อ้างเรื่องเวลา เพราะผมเชื่อว่าถ้าคุณอยากดูหนังสักเรื่อง คุณก็ย่อมหาเวลาไปดูได้เอง ดังนั้นถ้าคุณอยากจะทำอะไรสักอย่างก็ย่อมหาเวลาได้เอง อย่างผมซึ่งยุ่งมากขนาดนี้ยังมีเวลาเขียนหนังสือ แม้ว่าจะเขียนวันละ 10 นาทีหรือครึ่งชั่วโมง ผมก็ยังเขียนอยู่ ไม่ต้องมีข้ออ้างอะไร คือถ้าคุณอยากจะทำงานนั้นๆ จริงๆ คุณก็ต้องทำงานอื่นให้เร็วขึ้น เช่น กินข้าวให้เร็วขึ้น หรือนอนให้น้อยลง แล้วก็เอาเวลาที่เหลือสัก 10 นาทีต่อวันมาทำงานที่อยากทำ ผมว่าคุณจะสามารถทำอะไรได้เยอะแยะเลย |
GM : | ยังจำเรื่องสั้นเรื่องแรกในชีวิตที่เขียนได้หรือเปล่า |
วินทร์ : | จำไม่ได้ จำได้แต่ว่าเป็นเรื่องแนวหักมุม เล่นเรื่องโดยเน้นที่ตัวพล็อตมากกว่า จากนั้นก็หักมุมแรง ๆ สไตล์แบบเรื่องของ โอ'เฮนรี่ หรือ ปกรณ์ ปิ่นเฉลียว เรื่องแรกๆ ที่ผมเขียนจะเป็นแนวหักมุมตลอด พอตอนหลังรู้สึกเบื่อๆ จึงเขียนในแนวทดลองดูบ้าง ตอนที่เขียนเรื่องหักมุมนั่นก็เขียนทีละหลายๆ เรื่อง และไม่ได้ส่งไปลงที่ไหน ส่วนเรื่องแรกที่ได้ลงคือ เรื่อง 'ไฟ' ลงในนิตยสาร 'อิมเมจ' ซึ่งตอนที่ส่งไปก็ไม่ได้คิดว่าเขาจะลงให |
GM : | คุณเคยถูกบรรณาธิการปฏิเสธไหม |
วินทร์ : | เยอะแยะที่เขียนส่งไปแล้วลงถังขยะ ก็ต้องเอากลับมาดูใหม่ว่ามันไม่ดีตรงไหน จากนั้นก็เขียนใหม่แค่นั้นเอง เรื่องนี้ผมไม่ได้คิดอะไรมาก เพราะว่าช่วงแรก ๆ ที่เขียนก็ไม่ได้สนใจด้วยซ้ำว่าจะลงหรือไม่ลง คิดแค่ว่าเขียนเพื่อระบายตัวเองมากกว่า |
GM : | ที่บอกว่าชอบแนวหักมุม คุณได้อิทธิพลมาจากนักเขียนคนไหน |
วินทร์ : | มีอยู่ 2 คน, โอ'เฮนรี กับ ปกรณ์ ปิ่นเฉลียว |
GM : | ในพ็อกเก็ตบุ๊ค 'สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง' คุณประกาศไว้ตั้งแต่หน้าปกว่าเป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นหักมุม บอกผู้อ่านล่วงหน้าอย่างนี้ คุณไม่กลัวหรือว่ามันจะเป็นการลดอรรถรสในการอ่าน |
วินทร์ : | เป็นไปได้ที่คนอาจจะตั้งใจจับผิดการหักมุม เพราะรู้อยู่ก่อนแล้วว่าเรื่องมันต้องหักมุม แต่บังเอิญสไตล์ของมันต้องหักมุม แต่บังเอิญสไตล์ของหนังสือเล่มนี้ทั้งเล่มมันคล้ายกันมาก ฉะนั้นถ้าไม่บอกไปอย่างนั้นก้จะทำให้คนเข้าใจผิดได้ ส่วนคนที่ชอบใจเรื่องแนวนี้ก็จะซื้อไปอ่านได้ตรงตามความต้องการ แต่สิ่งสำคัญท่ผมประกาศว่ามันเป็นเรื่องหักมุมก็เพื่อเป็นการทดสอบว่าผม เขียนเรื่องได้ดีหรือเปล่า เพราะถ้าได้บอกว่าเป็นเรื่องหักมุมไปแล้ว และเมื่ออ่านเสร็จคุณยังบอกว่าเป็นเรื่องหักมุมที่ดีแสดงว่างานเขียนของผมโอ เค แต่ถ้าอ่านไปแล้วมีเสียงสะท้อนกลับมาว่ายังหักมุมไม่ถึงใจ ก็แสดงว่าเรื่องนั้นผมยังเขียนไม่ถึง |
GM : | หากมองไปที่พัฒนาการงานเขียนของคุณแล้ว มันมีลำดับความคลี่คลายอย่างไร |
วินทร์ : | ตอนแรกจะเป็นการ เรียนรู้งานเขียนเสียมากกว่า แรกๆ เรามีแต่พล็อตอย่างเดียว ส่วนเรื่องภาษาหรือการเดินเรื่องต่างๆ ค่อนข้างจะอ่อนมากทีเดียว ยกตัวอย่าเช่นภาษาในเรื่องแรก ๆ ที่เขียนจะหยาบกระด้าง ห้วนสั้น ไม่มีบทบรรยาย ไม่มีการใช้ภาษาที่สวยงาม จะห้วนและตรงเป้ามาตลอด เป็นเรื่องสั้นที่สั้นจริงๆ แต่การเดินเรื่องก็นับว่าโอเค ยังมีศิลปะของการเดินเรื่องอยู่บ้าง เนื่องจากได้ดูหนัง ได้อ่านหนังสือมามากพอสมควร จึงเกิดการซึมซับการเดินเรื่องเข้ามา ส่วนเรื่องภาษาในช่วงแรกๆ จะห่วยมาก ที่นี้เมื่อเวลาผ่านไปและเราได้อ่านงานของคนอื่นมากๆ จึงเรียนรู้จากงานที่คนอื่นเขียนโดยการวิเคราะห์ วิจารณ์ นอกจากนั้นการเขียนมานาน ๆ ก็ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นมาได้ |
GM : | เริ่มแรกงานเขียนของคุณเป็นแนวเรียลลิสติก แล้วต่อมาเปลี่ยนเป็นแนวทดลอง พูดอย่างนี้ถูกต้องไหม |
วินทร์ : | ผมไม่คิดว่า อย่างนั้นนะ เพราะเท่าที่เขียนมามันก็ปนไปปนมาอยู่แล้ว คือตอนที่ผมเขียนเรื่องซึ่งเน้นพล็อตกับเรื่องแนวทดลองก็เขียนพร้อม ๆ กันเขียนในช่วงเวลาเดียวกัน มันขึ้นอยู่กับว่าในช่วงเวลานั้น ผมอยากเขียนงานประเภทไหนมากกว่า ถ้าอยากเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์ผมก็จะเขียน ถ้าเขียนไม่ออกก็อาจจะหันไปเขียนเรื่องแนวสืบสวนสอบสวนอะไรทำนองนี้ เพราะฉะนั้นมันจึงเกิดจากเขียนที่ปะปนกันไปในช่วงเวลาหนึ่ง ผมไม่ได้ตั้งใจเขียนเป็นพีเรียตว่าช่วงนี้จะเขียนแนวนั้นแนวนี้ |
GM : | คุณคงยอมรับว่าโด่งดังขึ้นมาก็เพราะงานเขียนเรื่องแนวทดลอง อยากทราบว่าคุณให้คำจำกัดความคำว่า "เรื่องแนวทดลอง" อย่างไร |
วินทร์ : | อะไรก็ได้ที่มัน ฉีกไปจากแนวเดิมอย่างสิ้นเชิง ไม่มีกฎไม่มีเกณฑ์ เป็นอิสระจากทุกอย่าง เป็นอะไรก็ได้นอกเหนือจากตัวหนังสือ คือไม่จำเป็นต้องเป็นตัวหนังสืออย่างเดียวก็ได้ อาจจะใช้ตัวหนังสือกราฟิกหรือเป็นเรื่องที่มีพล็อตฉีกออกไปได้ทั้งนั้น นี่คือแนวทดลองที่ผมพูดถึง |
GM : | เพราะความที่งานเขียนของคุณเป็นแนวทดลอง ซึ่งโดดเด่นเป็นพิเศษที่รูปแบบการนำเสนอ จึงมีเสียงวิจารณ์ว่า การไปเน้นที่ตัวรูปแบบมากเกินไป ทำให้เรื่องของคุณย่อหย่อนในเรื่องเนื้อหาสาระ คำวิจารณ์นี้คุณเห็นอย่างไร |
วินทร์ : | เวลาเขียนเรื่อง แนวทดลองมันก็เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า การทดลองคือการสร้างอะไรออกมา ซึ่งเราเองก็ยังไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร นั่นคือการหาทางแนวใหม่เหมือนกับการสร้างงานศิลปะ คือแต่ละยุคสมัยมันจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ อาจจะมีการสร้างงานใหม่ๆ ซึ่งตอนแรกอาจจะรับไม่ได้ แต่ว่าตอนที่เขาสร้างมันยากที่คนสร้างจะได้ทั้ง 2 อย่าง คือทั้งรูปแบบและเนื้อหาในเวลาเดียวกัน เป้าหมายของผมคือทุกเรื่องจะต้องได้ทั้ง 2 อย่าง แต่ก็พยายามที่จะให้ได้เนื้อหาก่อน จากนั้นจึงเอาตัวรูปแบบเป็นแบ็คอัพเนื้อหานั้น ผมยืนยันว่างานเขียนของผมอันดับ 1 ยังคงเป็นเนื้อหา ส่วนอันดับ 2 คือรูปแบบ ซึ่งทั้ง 2 อย่างจะต้องกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียว นั่นคือเป้าหมาย แต่เวลาทำจริง ๆ มันก็ไม่ได้อย่างนั้นเสมอไป ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะจริง ๆ แล้วมันค่อนข้างยากทีเดียว |
GM : | เวลาเขียนเรื่องแนวทดลอง คุณคิดถึงอะไรก่อนรูปแบบหรือพล็อตเรื่อง |
วินทร์ : | คิดถึงเนื้อหาเป็นอันดับแรก ส่วนกลวิธีในการนำเสนอรูปแบบนั้นเป็นสิ่งที่เข้ามาช่วยแบ็คอัพเท่านั้นเอง เวลาเขียนผมไม่ได้คิดรูปแบบก่อน แต่บางครั้งบางคราวเวลาเราคิดงานทางสร้างสรรค์ก็ต้องคิดรูปแบบทิ้งๆ เอาไว้เช่นกัน เช่น บางครั้งเราคิดว่ารูปแบบอย่างนี้มันน่าจะนำมาพรีเซ้นต์ได้นะ เราก็อาจจะจดไว้ก่อนที่จะมีเนื้อหา แล้วถ้ามันบังเอิญเหลือเกินที่ได้เนื้อหาที่ตรงกับรูปแบบนั้นพอดี คือเมื่อรวมกันแล้วมันปิ้งเลย อย่างนั้นก็คือหยิบใช้ได้ แต่จริง ๆ แล้วเรื่องมันต้องเน้นที่เนื้อหา ถ้าปราศจากเนื้อหามันก็ไม่ใช่เรื่องสั้นอีกต่อไป แต่เป็นแค่วิธีการพรีเซ้นต์เท่านั้น |
GM : | คุณเคยลอกงานเขียนของฝรั่งหรือเปล่า คุณเคยลอกงานของฝรั่งหรือเปล่า |
วินทร์ : | ผมไม่เคยมีความคิดที่จะลอกใคร คือถ้าคิดเองไม่ได้ก็ไม่คิดดีกว่า แต่มันก็เป็นไปได้อย่างสูงในงานทุกประเภทที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ว่า บางครั้งบางคราวไอเดียมันคล้ายกันหรือเหมือนกันได้บ้าง แต่ไม่ถึงกับเหมือนกัน 100 เปอร์เซ็นต์ อย่างผมที่คิดงานโฆษณาอยู่ มีหลายครั้งเหลือเกินทีไอเดียไปตรงกับคนอื่นซึ่ทำไปแล้ว โดยที่เราไม่รู้มาก่อน แม้กระทั่งการเขียนเรื่องแนวทดลองในบางเรื่อง เมื่อทำไปแล้วและไปอ่านเจองานของบางคน ยังรู้สึกแปลกใจว่ามันเหมือนกันได้อย่างไร แต่โดยจริงๆ แล้วผมจะไม่ลอกเพราะถ้าลอกไปมันก็เหมือนกับฆ่าตัวตาย |
GM : | พล็อตเรื่องต่างๆ ที่ปรากฎในเรื่องสั้นของคุณ คุณได้มันมาจากไหนบ้าง |
วินทร์ : | พล็อตเรื่องมัน อยู่ในอากาศ เกิดจากการอ่านมากๆ แล้วพล็อตมันจะซึมอยู่ในหัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเวลาผมเขียน พล็อตเก่าของใครคนใดคนหนึ่งจะโผล่มานะ แต่มันเกิดจากการผสมความคิดในหัวปน ๆ กันไป คือจะเป็นลักษณะของเรื่องที่ 1 บวกกับเรื่องที่ 2 กลายเป็นเรื่องที่ 3 หรือเรื่องที่ 3 บวกกับเรื่องที่ 5 กลายเป็นเรื่องที่ 8 อะไรทำนองนี้ปนๆ กันไป พล็อตของผมมันอาจจะเหมือนกับน้ำสีในขวดต่างๆ เมื่อเทใส่กันมันก็ผสมไปผสมมาจนได้สีแปลกๆ ออกมา |
GM : | ได้ยินว่าคุณคิดพล็อตเรื่องสั้นได้เร็วมากจริงหรือเปล่า |
วินทร์ : | ไม่รู้ว่าคุณได้ ข่าวมาจากไหน แต่วันดีคืนดีผมอาจจะเขียนพล็อตไว้ในคอมพิวเตอร์รวมเดียว 20 พล็อตก็ได้ ซึ่งก็เคยทำมาแล้ว คือพล็อตที่ 1 อาจจะวิ่งไปสู่พล็อตที่ 2 พล็อตที่ 2 วิ่งไปสู่พล็อต 3 แล้วพล็อต 3 บวกกับพล็อต 1 กลายเป็นพล็อตที่ 7 นี่คือวิธีการทำงานของผม ฉะนั้นบางทีมันจึงต้องมีพล็อตอยู่ในหัวทีเดียว 20 พล็อต ซึ่งมันก็ต้องไปเรื่อยๆ อย่างนี้ บางทีอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ก็เกิดคิดเป็นพล็อตมันเข้มพอที่จะเขียนเป็นเรื่อง สั้นได้ก็เอามาเขียน แต่ถ้ามันยังไม่พอก็ต้องรอโอกาสเพื่อที่จะเอาไปผสมกับเรื่องอื่นให้เกิดเป็น พล็อตใหม่ ๆ ขึ้นมา |
GM : | อยากให้คุณลองคิดพล็อตเรื่องสั้นแนวหักมุมให้เราสักเรื่องเดี๋ยวนี้เลย เอาเป็นว่าตัวละครมีอยู่ 3 ตัว คือ นักหนังสือพิมพ์ นางเอกหนัง แล้วก็เด็กขายพวงมาลัย |
วินทร์ : | อืมม์ .... ผมจะลองดูนะ (เขาหยิบกระดาษ, ดินสอมาขีดเขียนอะไรครู่หนึ่ง) ในเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งซึ่งมีตัวละครมากถึง 3 ตัว และมีคาแร็กเตอร์ที่แตกต่างกัน จะต้องเอาตัวใดตัวหนึ่งเป็นตัวเอก ผมยกตัวอย่างเล่น ๆ ก็แล้วกันว่า นักหนังสือพิมพ์กำลังตามข่าวของนางเอกหนังคนนี้ เพื่อนำมาเขียนเป็นสกู๊ปลงหนังสือพิมพ์ อาจจะเป็นข่างที่ไม่ดีนัก เช่นได้ข่าวว่าดาราคนนี้ไปมีสัมพันธ์กับใครสักคนจนมีลูก หรือจะไปเยี่ยมลูกอะไรทำนองนี้ จนในที่สุดให้ไปพบความจริงว่าเด็กขายพวงมาลัยเป็นลูกของนางเอกหนัง ซึ่งเป็นการหักมุมในตอนจบ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็ต้องสร้างเหตุการณ์ขึ้นมาแบ็คอัพตัวเหตุผลต่างๆ ถ้าคิดคร่าว ๆ แบบนี้มันเป็นไปได้ว่เด็กขายพวงมาลัยเป็นลูกของนางเอกหนังจริง แต่ถ้าพูดลอยๆ มันจะเป็นการตัดตอนไปหน่อย จึงต้องสร้างเหตุการณ์มารองรับนิดหนึ่งว่าทำไมต้องเป็นเด็กขายพวงมาลัยซึ่ง เป็นคนนอกอยู่ตอนนี้ เรื่องจะเข้มข้นถ้านักหนังสือพิมพ์ก็มีพบบาทกับเด็กขายพวงมาลัยด้วย ซึ่งตรงนี้จะต้องมีการผูกเหตุการณ์กับเด็กขายพวงมาลัยด้วย ซึ่งตรงนี้จะต้องมีการผูกเหตุการณ์เข้าไปอีก เพื่อสร้างรายละเอียดให้มากขึ้น |
GM : | ภาพที่ถูกมองว่าเป็น 'นักเขียนเรื่องสั้นแนวทดลอง' มันทำให้คุณอึดอัดหรือเปล่า มันกลายเป็นกรอบที่ปิดกั้นตัวคุณเองในการทำงานเขียนหรือเปล่า |
วินทร์ : | นั่นเป็นภาพที่คนอื่นตั้งให้ผม ผมไม่ได้ตั้งให้ตัวเอง อาจจะเป็นเพราะว่าไม่ค่อยมีคนเขียนเรื่องสั้นแนวทดลองหรือเปล่าก็ไม่ทราบที่ ทำให้คนที่มาทำกลายเป็นเป้า ผมต้องของเปรียบเทียบกับศิลปินสมัยเก่า ซึ่งแต่ก่อนมีการเขียนแต่เฉพาะภาพในแนวเรียลลิสติก พอวันดีคืนดี มีแวนโก๊ะห์ หรือนักเขียนที่เขียนภาพเป็นจุดๆ ขึ้นมาก็เจอด่า หรือโดนวิพากษ์วิจารณ์ว่าอะไรกันแน่ที่เป็นสิ่งที่ดีและถูกต้อง ซึ่งแวนโก๊ะห์มันอาจจะห่วยจริง ๆ ก็ได้ แต่มันเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ผ่านไป แล้วในยุคสมัยก็จะต้องมีคนที่มาสร้างอะไรที่มันต่างไปจากเดิม
พูดง่ายๆ ว่ามันเป็นสินค้าคนละตัวกัน คนที่อยากใช้สินค้าก็มีหลายกลุ่มหลายประเภท ไม่ทุกคนหรอกที่อยากได้แบบเรียลลิสติกเสมอไป บางคนเขาก็อาจจะอยากดูอะไรที่มันแปลกๆ ออกไปบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็ต้องพิสูจน์กันในระยะยาวว่ามันไปได้หรือเปล่า ซึ่งสำหรับตัวผมเองตอนนี้มันยังอยู่ในช่วงแรกๆ ของการทำงาน |
GM : | คุณมีความสุขที่สุดเมื่อได้เขียนงานแนวไหน |
วินทร์ : | มันสนุกคนละแบบ ผมอยากที่จะตอบว่าชอบแนวไหนมากกว่า แรกๆ ผมจะสนุกกับการทำงานในแนวของเรื่องหักมุมค่อนข้างจะมาก เพราะเขียนแล้วมันได้คิดพล็อตอะไรที่สนุกๆ และทำให้มันหักมุมพลิกล็อกจริงๆ ได้เราก็มีความสุขแล้วตอนนั้นก้ไม่เคยคิดจะเขียนเรื่องในแนววรรณกรรมเลย ต่อมาพอได้มาเขียนเรื่องในแนววรรณกรรมแล้วก็รู้สึกว่ามันสนุกไปอีกแบบหนึ่ง มันเป็นแนวการเขียนที่ไม่เลว ให้ความรู้สึกระบายอารมณ์ได้เหมือนกัน บางครั้งบางคราวเห็นความอยุติธรรมในสังคมซึ่งเราไม่รู้จะไปร้องกับใคร ก็สามารถระบายออกทางการเขียนได้ |
GM : | คุณมักจะพูดถึงปัญหาสังคมต่างๆ ในเรื่องสั้นหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาคอร์รัปชั่น, ยาเสพติด, โสเภณีและดูจะสะท้อนมันออกมาอย่างค่อนข้างชิงชัง ตัวจริงของคุณเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายหรือเปล่า |
วินทร์ : | นั่นเป็นความ จริงของสังคมที่เป็นอยู่ไม่ใช่หรือ เช่นภาพของนักการเมืองที่โกงกิน ภาพการค้าประเวณี เหล่านี้เป็นภาพจริงที่ผมได้สะท้อนออกมาเท่านั้นเอง สิ่งต่างๆ ที่ผมสะท้อนออกมาทางงานเขียนล้วนเป็นเรื่องจริงทั้งนั้น เมื่อมองเห็นมันแล้วก็อยากระบายออกมา เพราะไม่เห็นจะมีใครทำอะไรกับมันสักอย่าง ผมก็เลยของทำอะไรขึ้นมาบ้าง เลยเอาเป็นในรูปของเรื่องสั้นก็แล้วกัน |
GM : | เคยอ่านเรื่องสั้นของคุณเรื่องหนึ่ง คุณให้ตัวละครหาทางออกในการแก้ปัญหาด้วยวิธีรุนแรง เช่น ไปฆ่าคนเลว หรือนักการเมืองที่โกงกินบ้านเมือง นั่นเป็นความรู้สึกส่วนลึกของคุณ? |
วินทร์ : | ยอมรับว่าผมฝัน แต่คงไม่ได้คิดจะทำอะไรรุนแรง ไม่คิดจะไปฆ่าใครอย่างนั้นจริงๆ มันแค่เป็นจินตนากรคล้าย ๆ กับว่าขอระบายออกมานิดหน่อย แต่ยอมรับว่าบางครั้งบางคราวมันก็รู้สึกโกรธที่เห็นสภาพอย่างนั้น พอโกรธแล้วไม่รู้จะทำยังไง ก็ต้องระบายออกมาในพล็อตเรื่องสไตล์แบบนั้น ยิ่งตอนนี้มีข่าวพระข่มขืนผู้หญิงแล้วฆ่า ผมคิดว่าปฏิกิริยาของคนทั่วไปคือ โกรธ แล้วถ้าหากว่าจะมีใครไปฆ่าพระองค์นั้นตอนนี้ ผมเชื่อว่าทุกคนย่อมไม่ปฏิเสธ ผมหมายความว่า ณ เวลานั้นที่ได้รู้ข่าวนี้อารมณ์มันจะเป็นแบบนั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าถ้าให้ไปฆ่าคนคนนั้นแล้วเราจะฆ่าลง |
GM : | คุณค่อนข้างใช้สัญลักษณ์แทรกอยู่ในงานเขียนมากเป็นพิเศษ เรื่องสั้นล่าสุดที่ได้อ่านคือ 'การหนีของราษโลกสามใบของ ราษฎร์ เอกเทศ' ที่เล่าเรื่องจิตใต้สำนึกของผู้ชายซึ่งมีสถานภาพแตกต่างกัน 3 คน คือ จิตรกร ทหาร และแมงดา มีสัญลักษณ์อย่างหนึ่งในเรื่องที่น่าสนใจคือ 'เสือดำ' อยากทราบว่าคุณใช้มันแทนอะไร |
วินทร์ : | เรื่องนี้ผมไม่ ขอแสดงความคิดเห็น เพราะมันเป็นงานเขียนเชิงทดลอง ซึ่งตัวผมเองก็ยังไม่รู้ว่าตอนจบของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร คือที่จริงผมรู้คร่าวๆ ว่าตอนจบจะเป็นอย่างไร แต่ไม่รู้ว่าการเดินเรื่องตรงกลางจะเป็นอย่างไร คือกว่าจะออกมาเป็นเรื่องโลกสามใบฯ นั้น ผมต้องเขียนโลกมาแล้วเป็นสิบๆ ใบ เสร็จแล้วจึงค่อยมาดูว่าใบไหนเหมาะสมที่สุดที่จะมาดีไซน์เป็นเรื่องของภาษา ออกไป คือผมต้องทดลองว่าถ้าตัวเขาเป็นจิตรกรจะเป็นอย่างไร ตัวเขาเป็นนักการเมืองจะเป็นอย่างไร ถ้าเขาเป็นทหารจะเป็นอย่างไร หรือถ้าขาอยู่ในอาชีพอื่นๆ เขาจะเป็นอย่างไร โดยผมทดบองเขียนหลายๆ อาชีพในกระดาษ ก่อนที่จะทำออกมาเป็น 3 อาชีพนี้
ฉะนั้น เรื่องนี้ผมน่าจะฟังความคิดเห็นจากคนอื่นมากกว่า เพราะผมคงแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ไม่ได้ มันเป็นการทดลองที่ต้องการรู้ว่ามันจะออกมาอย่างไร ถ้าหากว่าตัวละครเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเราก็นำมาผูกเรื่องทำนองนี้ เรารู้แต่เพียงแนวของเรื่องคร่าวๆ คือ บุคลิกของคนที่มีหลายคาแร็กเตอร์แล้วมารวมกันในคนคนเดียว ออกมาจะเป็นอย่างไร ซึ่งไม่รู้เหมือนกันเพราะมันเป็นการทดลองล้วนๆ รวมทั้งตัว 'เสือดำ' ก็บอกได้แต่เพียงว่ามันเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเท่านั้น ผมว่าให้คนอ่านตีความกันเองดีกว่า |
GM : | เรื่องของคุณมีการวางพล็อตที่แน่นอนหรือเปล่า หมายความว่ารู้ตอนต้น ตอนจบตั้งแต่ยังไม่ลงมือเขียน |
วินทร์ : | ส่วนใหญ่ผมจะ พยายามวางพล็อตให้ได้ในรูปแบบอย่างนั้น อาจจะมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์บ้าง แต่โดยรวมๆ แล้วจะไม่เปลี่ยน ถ้าจะเปลี่ยนก็ต้องมีความรู้สึกว่าตอนจบหรือตอนเดินเรื่องมันดีกว่าที่วาง พล็อตไว้ในตอนแรก แต่ส่วนใหญ่แล้วผมจะวางพล็อตคร่าวๆ ไว้ก่อนเพื่อเป็นแนวทางในการเขียน ก็คงเหมือนกับนักเขียนคนอื่นๆ |
GM : | เวลาเขียนเสร็จเรื่องหนึ่ง ก่อนที่จะส่ง คุณต้องรีไรท์กี่ครั้ง |
วินทร์ : | พอเขียนเสร็จ แล้วผมก็จะอ่านทวนซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งจะมากหรือน้อยมันก็แล้วแต่เรื่อง บางเรื่องอาจอ่านทวนถึง 50 เที่ยวก็มี หรือเรื่องหนึ่งอาจจะใช้เวลา 1 อาทิตย์จึงเขียนเสร็จ ขณะที่อีกเรื่องอาจจะถึง 6 เดือนก็ยังมีอย่างเรื่องโลกสามใบฯ ผมใช้เวลาเขียนราว 7-8 เดือน |
GM : | เห็นคุณใช้วิธีเขียนมาแล้วหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นตัดต่อจากข่าวหนังสือพิมพ์ ใช้ตัวหนังสือต่างๆ กัน ใช้พื้นกระดาษคนละสี ฯลฯ อยากรู้ว่าตอนนี้คุณคิดรูปแบบการนำเสนอเรื่องที่แหวกแนวไปากที่เคยทำได้หรือ ยัง |
วินทร์ : | ผมก็นึกวิธีการพรีเซ้นต์ไปเรื่อยๆ คือ ถ้านึกออกเมื่อไหร่ก็จะจดไว้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีเรื่องที่จะมาลงได้อย่างเหมาะสมก็ตาม ก็จะจดเอาไว้ก่อน แล้วพอมีบางเรื่องที่เข้ากันได้ก็ค่อยนำมาใช้ มันก็มีอะไรใหม่ๆ ให้ทำอยู่เรื่อยๆ นั่นแหละ |
GM : | คุณห่วงหรือเปล่าว่า ถ้ามัวแต่คิดฉีกแนวบ่อย ๆ สักวันหนึ่งมันอาจจะตัน |
วินทร์ : | ผมไม่ซีเรียสว่า จะตันหรือไม่ตัน เพราะผมไม่ได้คิดที่จะฉีกแนวตลอดเวลา ผมเพียงแต่พยายามเขียนเรื่องที่ธรรมดาให้มันดี เหมือนกับนักเขียนสมัยเก่าที่บรรยายเรื่องง่ายๆ ในชนบท หรือเรื่องธรรมดาๆ เรื่องหนึ่งออกมาเป็นงานเขียนได้ดี ผมยังรู้สึกว่าตัวเองทำอย่างนั่นไม่ค่อยได้เท่าไหร่ แต่ก็พยายามที่จะทำอย่างนั่นอยู่ ผมเคยอ่านคำพูดของฝรั่งที่เขาพูดว่าเวลาคุณร้องเพลง เขาไม่สนใจหรอกว่าคุณจะร้องเพลงอะไร เพลงเก่า เพลงใหม่ หรือฉีกแนวหรือเปล่า แต่อยู่ที่ว่าคุณร้องเพลงได้ดีหรือเปล่า เพลงที่คุณร้องมันอาจจะเป็นเพลงธรรมดาๆ แต่คุณร้องมันได้ดีหรือเปล่าล่ะ ก็เหมือนกับการเขียนหนังสือคือคุณเขียนเรื่องง่ายๆ ก็ได้ แต่เขียนให้มันดี ซึ่งผมรู้สึกว่าการเขียนเรื่องง่ายๆ ให้มันดีมันกลับยากกว่าเสียอีก เมื่อเทียบกับการเขียนเรื่องที่พยายามฉีกแนวออกไป |
GM : | คุณมีเคล็ดลับในการเขียนที่ไม่เคยบอกใครหรือเปล่า |
วินทร์ : | ไม่มี เพราะเวลาใครถามอะไร ผมก็บอกหมดว่าผมทำงานยังไง ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่านั่นเรียกว่าเคล็ดลับหรือเปล่า อย่างเช่นวิธีการที่จะครีเอทีฟ หรือวิธีการต่างๆ ที่จะเดินเรื่อง ผมไม่แน่ใจว่ามันเป็นเคล็ดลับหรือเปล่า |
GM : | การทำงานโฆษณา ทำให้คุณได้เปรียบนักเขียนคนอื่นในเรื่องการคิดรูปแบบนำเสนอเรื่องใช่ไหม |
วินทร์ : | ใช่, เพราะมันเป็นสิ่งที่บังคับให้คุณต้องทำอะไรที่ฉีกอกกไปตลอดเวลา แต่ก็ไม่ได้แปลว่าผมจะผูกตัวเองอยู่กับการฉีกหรือการทดลองตลอดไปหรอกนะ เนื่องจากการทำอย่างนั้นจะทำให้ตัวเองขาดอิสระในการทำงาน เพราะบางเรื่องมันไม่จำเป็นต้องทดลอง มันก็แรงอยู่แล้ว ส่วนบางเรื่องที่มันไม่แรงก็สามารถทำให้แรงขึ้นได้ โดยการทดลอง เพราะฉะนั้นก็แล้วแต่เนื้อหาของแต่ละเรื่อง ยกตัวอย่างเช่นเรื่องสั้นในแนวหักมุม เราไม่จำเป็นต้องทดลองเลย เพราะว่าเรื่องแนวนี้เราเน้นที่ตัวพล็อต ไม่ใช่วิธีการนำเสนอเพราะตัวพล็อตมันมีความเข้มของเหตุการณ์สูงพออยู่แล้ว |
GM : | คุณเป็นคนโฆษณาคนแรกที่มาเขียนหนังสือหรือเปล่า |
วินทร์ : | ผมไม่แน่ใจนะ เพราะบางทีคนเขียนอาจจะเขียนด้วยนามปากกาก็ได้ แต่เข้าใจว่ามีคนโฆษณาที่เขียนหนังสือ เพราะว่าคนโฆษณาจริงๆ ก็คือเขียนหนังสืออยู่แล้ว |
GM : | ภาพงานโฆษณาในสายตา ของคนทั่วไปคือเป็นงานที่ยุ่งเหยิงตลอด 24 ชั่วโมง ไหนจะต้องครุ่นคิดวางแผนครีเอทงาน ไหนจะต้องดีลกับลูกค้า สงสัยอยู่ว่าคุณเอาเวลาที่ไหนมาเขียนหนังสือ |
วินทร์ : | ผมมีคติอยู่ว่า ต้องรู้จักแบ่งเวลา งานทุกชนิดต้องรู้ว่าเดทไลน์มันคือเมื่อไหร่ จากนั้นก็เชตเวลาให้ถูก เมื่อถึงเวลาก็จะตัดสินใจสรุปได้ว่าเอาไอเดียไหน แต่บางทีเวลาคิดงานโฆษณาอยู่แล้วมันเกิดไอเดียเรื่องสั้นขึ้นมา ผมก็จะจดเอาไว้ก่อน แล้วค่อยไปสะสางทีหลัง หรือบางทีขณะเขียนเรื่องสั้นอยู่แล้วเกิดไอเดียงานโฆษณาขึ้นมาผมก็จดไว้ นั่นคือการทำงานที่รู้หน้าที่ว่าเรามีอะไรต้องทำบ้าง จากนั้นจึงแบ่งเวลาไปตามความเหมาะสมของตัวเอง |
GM : | ดู ๆ แล้วงานประจำกับงานอดิเรกของคุณน่าจะส่งเสริมกัน ? |
วินทร์ : | ผมคิดว่าส่งเสริมกัน มันเป็นงานที่เกิดจากการใช้ความคิด |
GM : | เคยมีคนในบริษัทว่าคุณเบียดบังเวลาทำงานไปเขียนหนังสือไหม |
วินทร์ : | ผมไม่เคยทำงาน ข้ามเวลาเลยสักครั้งในชีวิตนะ เช่นสมัยที่เรียนในคณะสถาปัตย์ ซึ่งคนอื่นต้องอดหลับอดนอนเพื่อทำงานงานส่งอาจารย์ แต่ผมไม่เคยอดนอน ผมนอนตรงเวลามาตลอด คือทุกอย่างจะต้องเป็นระบบและเคารพในเรื่องเวลา |
GM : | เคยรู้สึกว่าชีวิตอย่างนี้มันน่าเบื่อไหม นิสัยที่ว่า มันทำให้ชีวิตคุณไร้รสชาติหรือเปล่า |
วินทร์ : | ผมไม่ได้รู้สึกอย่างนั้นนะ ผมคิดเพียงว่าจะพยายามทำงานให้มีความสุข โดยที่ไม่ได้คิดว่าตัวเองกำลังทำงานอยู่ แต่คิดว่ากำลังทำบางสิ่งบางอย่างที่เราชอบและเอ็นจอยกับมัน |
GM : | พอจะยกตัวอย่างงานโฆษณาที่เป็นฝีมือคุณสักชิ้นสองชิ้นได้ไหม |
วินทร์ : | งานโฆษณามันต่าง จากการเขียนเรื่องสั้นหรือนิยายโดยสิ้นเชิง เพราะว่างานเขียนหนังสือมันเป็นมานบินเดี่ยว คือมีอะไรเราก็เขียนออกมาโดยไม่แคร์ตลาด มีอะไรก็ระบายออกไป ซึ่งมันเป็นตัวตนของเรา 100 เปอร์เซ็นต์ เราไม่ต้องไปสนใจอะไร แค่ต้องการความสนุก ความมันเท่านั้น แต่งานโฆษณามันมีปัจจัยหลายด้านเหลือเกิน ที่ทำให้งานโฆษณาชิ้นหนึ่ง ๆ ออกมาเป็นอย่างที่เห็น คือมันไม่ใช่เป็นงานที่มีเพียงแต่ตัวเรา และไม่ใช่มีเฉพาะฝ่ายลูกค้าหรือฝ่ายคนโฆษณาเพียงด้านใดด้านหนึ่ง แต่มันมีมากกว่านั้น แม้แต่ในฝ่ายโฆษณาเองก็ยังมีอีกตั้งหลายแผนกที่จะต้องแอพปรู๊ฟงานนั้นก่อน ที่จะไปถึงลูกค้า ที่นี้พอถึงมือลูกค้าก็ยังต้องมีการตัดสินใจ หรือมีการเปลี่ยแปลงอะไรบางอย่าง ดังนั้นกว่าที่งานมันจะออกมาชิ้นหนึ่ง มันเป็นการทำงานที่ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มากมาย เพราะฉะนั้นมันยากที่จะมาเทียบว่างาน 2 อย่างนี้มันต่างกันอย่างไร เนื่องจากงานหนึ่งมันเป็นงานที่ค่อนข้างจะเป็นศิลปะล้วน ๆ ส่วนอีกงานหนึ่งมันคือพาณิชย์ศิลป์
งานที่บริษัทนี้มันปนเปกัน แล้วแอ็คเคานท์ส่วนใหญ่ก็เป็นระดับปานกลาง ไม่ได้ใหญ่โตอะไร จะเป็นงานประเภทโฆษณายาเสียมาก เช่น ฮีรูดอยส์ หรือยาที่ช่วยในการย่อยอาหาร แล้วก็พวกสีทาบ้านอย่างสีโจตัน นอกนั้นก็เป็นงานคอร์ปอเรทกับดีทแฮล์ม |
GM : | ฟังจากที่พูดแล้ว สรุปได้ไหมว่า คุณภูมิใจกับงานเขียนมากกว่างานโฆษณา |
วินทร์ : | ไม่ใช่ เพราะผมทำทุกอย่างโดยมีเป้าหมายว่าจะทำให้มันดีที่สุดอยู่แล้ว เพียงแต่งานเขียนเป็นงานที่สามารถปลดปล่อยตัวเองได้มากกว่า และเป็นตัวของตัวเองมากกว่า คืออยากจะทำอะไรก็ได้ไม่ต้องไปสนใจชาวบ้าน แต่งานโฆษณาจะต้องสนใจทุกอย่าง แม้กระทั่งต้องสนใจด้วยว่าทำไปแล้วจะต้องขายสินค้าได้ มันเป็นดีลชนิดหนึ่งที่คุณรับจ้างเขามาทำโฆษณา คุณก็ต้องทำโฆษณาที่ทำให้สินค้าของเขาขายได้ เมื่อเขาขายได้เราก็อยู่ได้ มันเป็นอาชีพที่มีเงิน ดังนั้นเราจะต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่ความรู้เราจะมี หรือความคิดสร้างสรรค์เราจะช่วยได้ |
GM : | งานเขียนสามารถชดเชยความรู้สึกลึก ๆ ที่ถูกกดดันจากการทำงานโฆษณาหรือเปล่า |
วินทร์ : | ไม่นะ เพราะผมแบ่งมันออกเป็น 2 ส่วนอยู่แล้ว คืองานเขียนคล้ายๆ กับเป็นงานอดิเรก เป็นงานผ่อนคลายจินตนาการของตัวเอง ซึ่งไม่ได้เกี่วพันกับงานประจำ แล้วผมทำโฆษณาก็ไม่ใช่จะไม่มีความสุข |
GM : | การที่งานโฆษณากว่าจะออกมาเป็นรูปเป็นร่างต้องผ่านการสกรีนหลายขั้นตอน มันทำให้คุณรู้สึกอายกับงานบางชิ้นที่คุณคิดแล้วถูกแก้จนไม่เหลือเค้าโครง เดิมไหม |
วินทร์ : | ผมไม่รู้สึกอายกับงานโฆษณาที่ได้ทำออกไปหรอก เพียงแต่บางครั้งมันออกมาแบบได้ผลดีมาก หรือบางครั้งออกมาแล้วมันธรรมดา แต่ว่าทุกชิ้นที่เราทำ เราทำไปด้วยปัจจัยต่างๆ ที่ต้องทำให้ดีที่สุดอยู่แล้ว คือไม่ว่าเวลาจะน้อยหรือมีปัจจัยอะไรบีบบังคับก็ตาม เราก็จะทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะมีความสามารถทำได้ กลายเป็นเรื่องของมืออาชีพ ซึ่งไม่มีเรื่องอารมณ์เข้ามาเกี่ยว |
GM : | คุณเคยเอาเทคนิคการเขียนมาใช้ในงานโฆษณาหรือเปล่า |
วินทร์ : | เคยแต่เอางานโฆษณามาใช้เป็นเทคนิคงานเขียน เพราะลักษณะการทำงานมันต่างกันค่อนข้างจะมากทีเดียว |
GM : | อะไรคือทฤษฎี CREATIVITY ของคุณ |
วินทร์ : | โดยส่วนตัวผม มันก็มีทฤษฎีการคิดแบบสร้างสรรค์อยู่แล้ว ซึ่งผมไม่ได้เรียนมาจากตำราเล่มใดเป็นพิเศษ แต่ว่าเกิดจากการนำสิ่งต่างๆ มาประยุกตืใช้มากกว่า คือตอนที่เรียนอยู่คณะสถาปัตย์ฯ ผมก็ถูกสอนให้คิดอะไรที่มันฉีกแปลกแหวกแนวออกไปจากเดิมอยู่แล้ว เมื่อมาดูงานของรุ่นพี่ หรืองานที่เขาทำๆ กันอยู่ก็ได้ซึมซาบความรู้สึกเช่นนี้เข้าไป ทีนี้เมื่อไปอยู่เมืองนอกก็ได้เรียนหนังสือ มีโอกาสไปเทคคอร์สความคิดทางครีเอทีฟ ซึ่งไม่ตรงเลยทีเดียว แต่ผมก็เอามาประยุกต์ใช้กับความคิดทางโฆษณา คือพยายามจะใช้พลังของสมองฝั่งจินตนาการอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะคิดให้มันฉีกที่สุด ระบบการคิดก็อย่างเช่นคิดจากจุด 1 ไปยังจุด 2 คิดจากจุด 2 ไปยังจุด 3 จากจุด 3 ไปจุด 4 แล้วจุด 4 มารวมกับจุดที่ 1 กลายเป็นจุดที่ 5 อะไรทำนองนี้ ซึ่งมันก็เป็นการครีเอทความคิดพื้นฐานของฝรั่ง ซึ่งครีเอทีฟทั่วโลกเขาใช้วิธีนี้กันอยู่แล้ว นั่นคือเมื่อมีความคิดอะไร คุณก็ลิสต์มันออกมาให้หมด จากนั้นจึงเอาความคิดที่มีอยู่เหล่านั้นมาผสมหรือดัดแปลง แล้วถ่ายทอดออกไปเป็นอีกความคิดหนึ่ง
ผมก็นำวิธีนี้มาใช้กับงานเขียน ซึ่งมันทำให้ได้ไอเดียเพื่อที่จะสร้างเป็นเรื่องหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ออกมา ที่ตอนต้นอาจจะไม่เกี่ยวกัน แต่เมื่อสร้างเป็นเรื่องแล้วมันก็เข้ามาเกี่ยวกันได้ แล้วยังมีความคิดสร้างสรรค์แบบของ เอ็ดเวิร์ด เดอโบโน ซึ่งเป้นนักคิดคนสำคัญของโลกคนหนึ่ง ที่มีวิธีการคิดแบบ LATERAL THINKING คือมองทุกอย่างไม่ให้เหมือนกับที่ชาวบ้านหรือคนทั่วไปเขามองกัน เช่น ถ้าเราเห็นบ้านตั้งอยู่บนเนิน เบื้องหลังเป็นท้องฟ้า ถ้าเราคิดอย่างคนทั่วไป ก็จะบอกว่าบ้านหลังนั้นตั้งอยู่บนพื้นดิน แต่ถ้าเราลองคิดแบบแนวข้าง ก็จะบอกว่าบ้านหลังนั้นแขวนอยู่บนท้องฟ้า ห้อยติดอยู่กับดิน คิดอย่างนี้อาจจะดูเหมือนบ้าๆ บอๆ แต่วิธีแบบนี้แหละที่จะเป็นตัวสร้างสรรค์ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ออกมา บางทีคุณอาจได้ไอเดียอะไรที่ฉีกออกไปก็ได้ คิดอะไรทีมันบ้าๆ บอๆ ดูแล้วเป็นไปไม่ได้ แต่บางทีเมื่อเอาไปผสมกับทฤษฎีอื่น เอาไปปนกับไอเดียโน้นไอเดียนี้ออกมาเป็นไอเดียใหม่ที่จะนำไปใช้ได้ ผมลองเอาวิธีคิดแบบนี้มาใช้กับงานเขียนดู ก็ปรากฎว่มันใช้ได้เหมือนกัน มันทำให้เราทำงานเป็นระบบมากขึ้น ถึงแม้จะมีเวลาจำกัด ก็สามารถคิดแนวทางสร้างสรรค์ออกมาได้ |
GM : | ถ้าเอางานโฆษณามาเปรียบเทียบกับงานเขียนแล้ว คุณว่า 'ลูกค้า' กับ 'บรรณาธิการ' มีความเหมือนหรือแตกต่างกันตรงไหน |
วินทร์ : | เท่าที่เจอมา ผมไม่มีความรู้สึกอย่างนั้นนะ เพราะว่าบรรณาธิการหนังสือเมืองไทยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้ทำหน้าที่บรรณาธิการ อย่าง 100 เปอร์เซ็นต์ สมมุติว่าส่งเรื่องไป จะไม่ค่อยได้คอมเม้นต์กลับมาว่าเรื่องนี้ดีหรือไม่ดีเพราะอะไร หรือว่าเขาได้ดูพัฒนาการของเขาหรือเปล่า ส่วนใหญ่ เขามีหน้าที่เพียงแค่เอาหรือไม่เอา ส่วนลูกค้านั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งคือเขาต่างจากเรา เมื่อเขาสั่งเรา เราก็ต้องทำงานให้ดีที่สุด ให้สินค้าของเขาขายได้ เขาคงต้องคอมเม้นต์ด้วยความคิดในส่วนของเขาซึ่งอาจจะแตกต่างจากเรา เราก็ต้องรับฟัง แล้วเอามาปรับปรุงกับงานของเรา
การทำงานในชีวิตประจำวันผมจะใกล้ชิดกับลูกค้ามากกว่าบรรณาธิการ ผมเข้าใจว่าเมืองนอก นักเขียนกับบรรณาธิการจะสนิทสนมกันกว่านี้ และสำหรับตัวผมอาจจะเพราะไม่รู้จักบรรณาธิการเป็นการส่วนตัวก็เลยไม่ได้มี การคุยกันในเรื่องนี้ ส่วนนักเขียนคนอื่น ๆ จะเป็นอย่างไรผมไม่ทราบ |
GM : | บรรณาธิการคนไหนบ้างที่คุณเชื่อถือ |
วินทร์ : | สุชาติ สวัสดิ์ศรี เขาเป็น บก. ที่มีวิญญาณความเป็นอาจารย์สูง |
GM : | ทราบว่า คุณเคยส่งเรื่องสั้นไปให้คุณสุชาติพิจารณา 2 เรื่อง แต่ไม่ผ่าน |
วินทร์ : | ผมจำชื่อเรื่องไม่ได้ แต่เข้าใจว่าหนึ่งในนั้นคงเป็นเรื่องแนวหักมุมซึ่งเขียนในสมัยแรกๆ เป็นเรื่องประเภทบู๊สะบั้นซึ่งไม่ตรงกับเรื่องสั้นที่ลงใน 'ช่อการะเกด' ที่เป็นเรื่องแนววรรณกรรมประเภทที่หนักหน่อย เพราะฉะนั้นพล็อตแบบหักมุม สนุกสนาน หรือว่าแนวนักสืบที่ผมเขียนในช่วงแรกๆ จึงไม่เหมาะกับนิตยสารเล่มนี้ด้วยประการทั้งปวง อีกอย่าง, เรื่องมันคงจะห่วยด้วย ผมก็ยอมรับว่าเรื่องแรกๆ ที่ผมเขียนมันห่วย |
GM : | การเขียนเป็นจุดหักเหที่สร้างชื่อเสียงให้คุณใช่ไหม |
วินทร์ : | ก็เป็นไปได้ แต่จริงๆ แล้วมันก็ไม่ใด้เปลี่ยนชีวิตผมอะไรเท่าไหร่หรอก ผมก็ยังเขียนเหมือนเดิม ทำงานทุกอย่างเหมือนเดิม ด้วยจังหวะที่ยังเหมือนเดิม ส่วนเรื่องที่ว่าทำให้คนรู้จักมากขึ้นมันก็ไม่เชิงหรอก เพราะส่วนตัวแล้ว ผมก็พยายามคีพ โลว์ โปรฟายล์ อยู่ บางครั้งผมก็รู้ว่าการเป็นนักเขียนมันต้องมีตอนเน็กชั่นหลายๆ อย่าง การที่คนรู้จักเราก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องยอมรับ แต่จริง ๆ แล้วผมเป็นคนที่ค่อนข้างเก็บตัวเงียบ ไม่ค่อยออกสังคม สังเกตจากหลายปีที่ผ่านมา ผมไม่เคยเป็นที่รู้จักของใครเท่าไหร่ แต่อย่างว่า, การเป็นนักเขียนเขียนหนังสือให้คนอ่าน บางทีมันก็ต้องมีปัจจัยอย่างอื่นที่ต้องทำ เช่นไปให้คนรู้จักบ้าง หรือทำอะไรต่ออะไรให้สังคมบ้าง อะไรทำนองนั้น ซึ่งผมไม่ชอบวิธีนั้นเท่าไหร่ ผมอยากให้คนอยู่กับหนังสือ ชอบแล้วก็ตามอ่าน มากกว่าที่จะมาโปรโมตตัวเองด้วยวิธีอื่น |
GM : | ทุกวันนี้การโปรโมชั่นกลายเป็นยุทธวิธีสำคัญสำหรับการขายหนังสือไปแล้ว คุณซีเรียสหรือเปล่าถ้าสำนักพิมพ์ทุ่มเงินโปรโมตหนังสือของคุณจนคนซื้อไป อ่านเยอะแยะ โดยที่ยังไม่รู้เลยว่าหนังสือเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร |
วินทร์ : | ผมไม่ซีเรียสห รอก ใครจะทำอะไรก็ทำ ผมถือว่าผมเขียนหนังสือไปก็เพื่อเอาใจตัวเองมากกว่า มันคงจะประหลาดถ้าผมต้องเปลี่ยนแนวการเขียนเพื่อให้ขายดี แต่ผมก็ไม่ซีเรียสถ้าสำนักพิมพ์จะโปรโมตให้ เพราะพูดไปแล้วทุกวันนี้ทุกอย่างในโลกมันเปลี่ยนไป มันโลกาภิวัตน์มากขึ้น แล้วก็มีสื่อต่างๆ เข้ามามากขึ้น เพราะฉะนั้น นักเขียนก็ต้องปรับตัวเองขึ้นมา มากพอที่จะสามารถคีพอัพตัวเองกับโลก หนังสือหรือสื่ออื่นๆ มันก็ตอ้งมีการปรับ มีการใช้มาร์เก็ตติ้งในการโปรโมตหนังสือมากขึ้นเมื่อเทียบกับสมัยเก่า ซึ่งนักเขียนก็ต้องทำงานหนักขึ้น |
GM : | หนังสือคุณขายดีไหม |
วินทร์ : | ก่อนหน้าจะได้ รางวัลรู้สึกแย่มาก คือไปได้เรื่อย ๆ แต่ว่าขายน้อยมาก พิมพ์ 3,000 เล่ม ก็ขายได้ประมาณ 2,000 เล่ม แต่หลังจากได้รางวัลก็ดีขึ้นมาหน่อย แต่ไม่ถึงขนาดพุ่งปรู๊ดปร๊าดเท่าไหร่ จุดหนึ่งที่น่าสังเกตคือ รางวัลมันกลายเป็นดัชนีที่ชี้ยอดขายไปโดยปริยาย |
GM : | ในเรื่องสั้นของคุณเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว เรื่อง 'หมึกหยดสุดท้าย' คุณเขียนเสียดสีรางวัลซีไรท์หรือเปล่า |
วินทร์ : | ผมไม่ได้แซทไท ร์ซีไรท์ แต่ผมแซทไทร์การให้รางวัลเท่านั้นเอง ในสมัยนั้นมันมีหลายรางวัลที่มีผลต่อยอดขาย ผมก็อยากเขียนตรงนี้ คล้ายกับว่าเปอร์เซ็นต์การอ่านหนังสือของคนไทยตอนนี้มันต่ำเหลือเกิน ถ้าไม่มีการให้รางวัลก็จะไม่มีคนอ่านหนังสือกัน ผมมีความรู้สึกว่าคณะกรรมการจ่ายรางวัลนั่นเอง ที่เป็นคนคัดเลือกหนังสือให้เราอ่าน ดังนั้น ผมจึงไม่ได้หวังอะไรมากกับรางวัล |
GM : | แต่คุก็ไม่ได้ปฎิเสธรางวัลใช่ไหม |
วินทร์ : | ไม่ได้ปฎิเสธรา งวัล ซึ่งมันก็เป็นเรื่องธรรมดาเหมือนกับการดูหนังขาวดำ กับดูหนังสี คือถ้าชอบแบบไหนก็ดูแบบนั้น ไม่ชอบก็ไม่ตอ้งดู ไม่ต้องไปนั่งคอมเม้นตว่าทำไมต้องมาทำหนังขาว-ดำให้กลายเป็นสี เหมือนในสมัยหนึ่งี่ฝรั่งเขาแอนตี้การทำหนังสมัยเก่ามาใส่สีลงไปจนเป็น เรื่องเป็นราว ความคิดของผมคือรางวัลจะมีหรือไม่มีก็ได้ ไม่ได้ซีเรียสอะไร เหมือนกับคุณจะดูหนังขาว-ดำ หรือไม่ดูมันก็เรื่องของคุณ ไม่อยากเอาเวลามาเถียงเรื่องเหล่านี้ สู้เอาเวลาไปเขียนหนังสือดีกว่า |
GM : | ปีนี้รางวัลซีไรท์เป็นคิวของเรื่องสั้น คุณจะส่งหนังสือของคุณเข้าประกวดหรือเปล่า |
วินทร์ : | ผมไม่ทราบ เรื่องนี้ก็แล้วแต่ทางสำนักพิมพ์ อย่างครั้งที่แล้วที่เขาส่งกันก็ส่งโดยสำนักพิมพ์ โดยที่ตัวผมไม่ทราบเรื่อง |
GM : | สมมุติว่เกิดคุณได้ซีไรท์ขึ้นมา คุณจะเตรียมคำพูดสำหรับตอบนักข่าวว่าอย่างไร |
วินทร์ : | ไม่เตรียมอะไร เพราะผมไม่ได้คิดหวังอะไร การเขียนหนังสือแล้วได้รับการยอมรับขนาดนี้ ผมก็ค่อนข้างจะมีความสุขแล้ว คำวิจารณ์ไม่ว่าจะในแง่บวกหรือแง่ลบ ผมคิดว่าไม่สำคัญ เพราะถึงจุดนี้ผมมีคนอ่านงานแล้ว ตอนต้นที่ผมเริ่มเขียนหนังสือ ผมหวังเพียงแค่ให้มีการรวมเล่มเรื่องที่ผมเขียนเท่านั้นเอง ไม่ได้หวังว่าจะได้รางวัลอะไร ผมเขียนเพื่อเอาใจตัวเอง ไม่ได้เพื่อเอาใจตลาด แล้วก็ไม่ได้คิดว่าจะยึดเป็นอาชีพหลักอยู่แล้ว |
GM : | คุณมักย้ำเสมอว่า คุณเป็นนักเขียนสมัครเล่น ทำไมต้องพูดถึงตัวเองอย่างนั้น |
วินทร์ : | ผมเข้าใจว่า สมัครเล่นคือไม่ได้เลี้ยงชีพด้วยการเขียน ถ้านักเขียนอาชีพก็คือต้องเขียนเป็นอาชีพ ซึ่งผมคงไม่ใช่เพราะว่าผมเขียนเล่นๆ ไม่ได้ซีเรียสกับมัน ไม่ได้เดทไลน์ ไม่มีใครมาบังคับ อยากจะเขียนก็เขียน ไม่อยากจะเขียนก็ไม่เขียน แล้วผมก็ไม่ได้มีชีวิตอยู่ด้วยรายได้จากการเขียน ซึ่งถ้าอยู่ก็คงอยู่ไม่ได้ |
GM : | คุณไม่เคยคิดจะยึดงานเขียนเป็นอาชีพหลักเลยหรือ |
วินทร์ : | เคย แต่ไม่รู้ว่าทำอย่างไรจึงจะยึดเป็นอาชีพหลักได้ ยังนึกไม่ออกเลยจริง ๆ ว่าทำอย่างไรจึงจะได้ถึงขั้นนั้น ถ้าไม่เขียนนิยายเป็นเรื่องเป็นราวแล้วมีคนเอาไปทำทีวี เพราะไม่อย่างนั้นงานก็ขายไม่ออก คือตราบใดที่ยังเขีนนเรื่องสั้นแนววรรณกรรมอย่างนี้ผมคงอดตายแน่ๆ |
GM : | เคยลองคำนวณเล่น ๆ ไหมว่าต้องเขียนหนังสือสักกี่เรื่อง คุณถึงจะมีรายได้เท่ากับที่ทำโฆษณาชิ้นหนึ่ง |
วินทร์ : | ผมว่มันเทียบกัน ไม่ได้เลยนะ อาจจะเป็น 100 เท่า ด้วยซ้ำไป เพราะกว่าจะได้พ็อกก็ตบุ๊ค 1 เล่มผมต้องเขียนเกือบๆ 3 ปี เพราะฉะนั้นมันได้แค่ 10 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายเท่านั้นเอง คือถ้าพูดเป็นเงินแล้วก็คงไม่อยากจะคิดถึง ผมเขียนเอามันมากกว่า |
GM : | จอห์น แจ๊คส์ เขียนบทความสั้น ๆ เรื่อง THREE ESSETIAL FOR A SUCCESSFUL WRITING CAREER ว่าหากอยากประสพความสำเร็จในอาชีพนักเขียน คุณต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่างคือ การฝึกฝน, ความเพียรพยายาม และการถือเป็นอาชีพ คุณคิดว่าคุณจะประสพความสำเร็จมากกว่านี้ไหม ถ้ายึดงานเขียนเป็นอาชีพ |
วินทร์ : | ผมไม่เคยคิดอะไรแบบที่ว่าเลยนะ เพราะผมก้มหน้าก้มตาเขียนลูกเดียว ไม่มองใครเลย ผมคิดว่าถ้าจะให้เป้นเรื่องเป็นราวที่สุด เราต้องก้มหน้าก้มตาเขียน เขียนทุกวัน เขียนให้เป็นนิสัย มีอารมณ์หรือไม่มีอารมณ์ต้องเขียนได้หมด ผมค่อนข้างจะเชื่อว่าคนที่เป็นนักเขียน ก็คือคนที่อยากให้งานเขียนของตัวเองเป็นที่รับรู้ของคนอ่าน ไม่งั้นก็คงไม่มีประโยชน์ที่จะเขียนอะไรออกมา แต่ผมไม่คิดว่าจำเป็นจะต้องถืองานเขียนเป็นอาชีพ เพราะผมเชื่อว่ามีนักเขียนเยอะแยะไปที่เขียนออกมาแล้วไม่ได้มาตรฐาน แต่เขาก็อยู่ได้ มันอยูที่จุดมุ่งหมายของนักเขียนแต่ละคนมากกว่าว่าตั้งเป้าตัวเองไว้อย่างไร คิดว่าจะเขียนให้ได้ระดับไหน หรือเมื่อเทียบกับนักเขียนที่โด่งดังในโลกแล้วเราอยู่ในเกรดไหน ถ้าเราได้สักขั้นหนึ่งของเขาที่จะเขียนวรรณกรรมที่ประดับโลกไว้ตลอดกาลก็ได้ คือที่สุดแล้วผมคิดว่าถ้าเราเขียนให้ได้ตามที่ตั้งใจไว้ มันก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว |
GM : | คนในวงการคาดหมายว่าคุณเป็นนักเขียนที่เป็นความหวังใหม่ รู้อย่างนี้แล้วทำให้คุณเกร็งไหม |
วินทร์ : | ผมคงไม่ถึงขนาดเป็นความหวัง มันต้องอาศัยการช่วยกันทำ ช่วยกันสร้างสิ่งแปลกใหม่ขึ้นมาในวงการมากกว่า |
GM : | ถ้าให้มองข้อด้อยในงานเขียนของตัวเอง คุณว่ามันคืออะไร |
วินทร์ : | เรื่องภาาา ซึ่งผมคิดว่ายังไม่สามารถที่จะถ่าายทอดออกมาได้สวยงามมากเท่าไหร่ ผมรู้สึกว่าตัวเองภาษายังไม่ดี อีกอย่างคือการถ่ายทอดเรื่องง่ายๆ ให้มันสวยงาม ยังรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งยากที่จะทำได้ |
GM : | ชั่วโมงบินที่มากขึ้น เพิ่มความชำนาญในการเขียนให้คุณหรือเปล่า |
วินทร์ : | ใช่, สังเกตจากตัวเองตอนนี้ ความไวหรือการลื่นไหลอขงภาษาจะดีกว่าตอนเริ่มเขียนใหม่ๆ มากทีเดียว ซึ่งมันเกิดจากประสบการณ์โดยแท้ ยิ่งเขียนหนังสือมากเท่าไหร่มันก็ยิ่งไวขึ้นเท่านั้น แต่เรื่องแนวความคิดมันก็แล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละคนที่จะผ่านเรื่องราว ต่างๆ มาตามวัย และตามมุมมองต่างๆ ผมก็คิดว่าตัวเองค่อนข้างจะตกตะกอนขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังไม่ถึงที่สุด คงต้องดูไปเรื่อยๆ |
GM : | ที่ผ่านมา คุณเขียนงานที่ถือว่าเป็นมาสเตอร์พีซแล้วหรือยัง |
วินทร์ : | ผมไม่แน่ใจ่ว่า จะใช้คำว่ามาสเตอร์พีซได้หรือเปล่า แต่มันก็มีงานหลายชิ้นที่คิดว่าผมตอบโจทย์ที่ต้องการเขียนออกไปได้ คือได้ทั้งความแรงและการนำเสนอ แล้วก็ได้เนื้อหาตามที่ต้องการ ซึ่งผ่านมาบางเรื่องมันก็ได้ แต่หลายเรื่องก็ไม่ได้ มันขึ้นๆ ลงๆ มีดีกับธรรมดาปนๆ กันไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็อยู่ที่คนอ่านที่จะเป็นคนตัดสินมากกว่า สำหรับผม เขียนจบไปเรื่องหนึ่งคือได้ระบายอารมณ์ออกไปส่วนหนึ่ง แล้วก็จบแค่นั้น |
GM : | นวนิยายเรื่องหนึ่ง ของคุณที่แปลก และน่าสนใจมากคือ 'ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน' ซึ่งคุณหยิบประวัติศาสตร์การเมืองไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมาร้อยเป็น เรื่องสั้นเรียงต่อกันเป็นนิยายเรื่องยาว ที่อ่านสนุกทีเดียว อยากทราบแรงบันดาลใจที่ทำให้คุณขียนเรื่องนี้ |
วินทร์ : | ผมจำไม่ได้ว่า มันเริ่มอย่างไร แต่บังเอิญมีอยู่วันหนึ่งได้ไปอ่านหนังสือการเมืองของเพื่อนในออฟฟิศ ซึ่งเขาเก็บหนังสือเก่าไว้เยอะ พออ่านแล้วก็พบว่าเรื่องราวหลายเรื่องในประวัติศาสตร์ของเราน่าตื่นเต้นและ น่าประหลาดใจว่ามันเป็นไปได้อย่างไร เราไม่เคยอ่านเจอเรื่องอย่างนี้ในตำราเรียนมาก่อนเลย อย่างกบฎบวรเดชที่เอารถไฟมาชนกัน หรือเรื่องกบฎแมนฮัตตันที่ยิ่งกันสะบั้นเหมือนหนังบู๊ก็น่าตื่นเต้นมาก อ่านไปอ่านมาก็เห็นว่ามันมีเยอะเหลือเกิน ซึ่งเราน่าจะทำอะไรกับมันได้โดยการย่อยมันให้ง่ายลง จึงเขียนเป็นเรื่องออกมาประกอบกับในช่วงนั้นมีความคิดอยากจะเขียนนวนิยายใน อีกรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากตัวเองไม่ถนัดในการเขียนนวนิยายยาวโดยตรง เลยคิดว่ามันเป็นไปได้ไหม ที่จะเขียนเรื่องสั้นรวมๆ กันแล้วร้อยเป็นเรื่องยาว ด้วยความคิดนี้จึงเกิดเป็นนวนิยายเรื่องนี้ขึ้น |
GM : | ดูจากเนื้อเรื่องแล้ว ก่อนที่จะเขียนเห็นทีคุณคงต้องรีเสิร์ชข้อมูลเป็นการใหญ่โตเลยใช่ไหม |
วินทร์ : | เรื่องนี้ผมต้องรีเสิร์ชข้อมูลมาก เริ่มจากที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยเกี่ยวกับกบฏบวรเดช ไม่ว่าจะเป็นกบฎนายสิบ กบฎนายพลทั้งหลาย ก็อ่านจนกระทั่งรู้เรื่องพวกนี้ทั้งหมดจึงค่อยเขียน |
GM : | คุณเขียนไว้ในคำนำ ว่าไม่ต้องการแสดงความคิดเห็นถูก/ผิด ในเหตุการณ์การเมืองต่างๆ ในนิยายเรื่องนี้ แต่การตั้งชื่อเรื่องโดยใช้คำว่า 'เส้นขนาน' มันก็ฟ้องทรรศนะคุณอยู่กลาย ๆว่าไม่มีความหวังกับประชาธิปไตยในประเทศนี้ ข้อสังเกตนี้ถูกหรือไม่ถูก |
วินทร์ : | จริง ๆ แล้วชื่อเรื่องหมายถึงแนวความคิดของ 2 ฝ่าย และไอ้คำว่า 2 ฝ่ายก็คือการเป็นตัวแทนของแนวความคิดซึ่งตรงกันข้ามกันในเหตุการณ์หนึ่งที่ เกิดขึ้นในบ้านเมือง คือ ทุกๆ เหตุการณ์มันย่อมจะมี 2 ฝ่ายเสมอ ความจริงบางครั้งมันอาจจะมีมากกว่า 2 ฝ่าย แต่เรายกให้ว่ามีแค่ 2 ฝ่ายเสมอที่มีความคิดขัดแย้งกันตลอดเวลา กลายเป็นที่มาของคำว่า 'เส้นขนาน' คือความคิดที่มันแตกต่างกัน และผมขอยืนยันว่าต้องการให้หนังสือมีความเป็นกลาง มันจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างตัวละครขึ้นมาจาก 2 ฝ่าย เหตุการณ์ต่าง ๆ จะพยายามพูดในแง่มุมของทั้ง 2 ฝ่าย เนื่องจากถ้าไปพิจารณางานเขียนซึ่งได้ไปอ่านมา จะพบว่ามีนักเขียนที่เซียร์ ฝ่ายหนึ่งอยู่เสมอในเหตุการณ์เดียวกัน เมื่อแต่ละฝ่ายต่างพูดกันไปแล้ว เมื่อแต่ละฝ่ายต่างพูดกันไปแล้ว ตัวเราก็เลยงงว่าอันไหนกันแน่ที่ถูก เพราะฉะนั้นผมก็เอาคำพูดทั้ง 2 ฝ่ายมาลงในเล่มเดียวกัน ให้คนอ่านเป็นคนตัดสินเองว่าเหตุการณ์นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร |
GM : | แต่โดยส่วนตัวแล้ว คุณเชื่อใช่ไหมว่ากงล้อประวัติศาสตร์จะย้อนรอยเดิมของมัน |
วินทร์ : | ไม่ใช่ว่าผม เชื่อว่าเฉพาะประเทศไทยที่เป็นอย่างนั้น เพราะเท่าที่ดูมาในทุก ๆ ประเทศ บ้านเมืองมันจะมีความสงบสุขสลับกับสงคราม ซึ่งมันหมุนเป็นวงของมันอยู่แล้ว เพราะมันเป็นธรรมชาติของคน การเมืองไทยมีอายุแค่ 60 ปี ซึ่งนับว่าสั้นมากเมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์โลกที่มีการขึ้นมามีอำนาจและตก จากอำนาจ และจะดำเนินไปอย่างนี้เหมือนกันตลอดในทุกเรื่อง ทุกบท ทุกตอน |
GM : | ในพฤษภาทมิฬ คุณเป็นหนึ่งในม็อบมือถือหรือเปล่า |
วินทร์ : | เปล่า |
GM : | ดูจากนิยายเรื่องนี้ น่าจะอนุมานได้ว่าคนเขียนต้องสนใจการเมืองพอสมควร |
วินทร์ : | สนใจมากพอสมควร แม้ว่าบางช่วงอาจจะเบื่อๆ แล้วก็ชาๆ ความสนใจลงไปบ้าง แต่ก็ยังตามข่าวตามอะไรอยู่ เลือกตั้งก็ยังไปทุกครั้ง แม้ว่าจะไม่อยากออกไปเลย |
GM : | คุณว่ารัฐบาลนี้เป็นยังไง |
วินทร์ : | จริงๆ แล้ว ผมไม่ค่อยอยากแสดงความเห็นเท่าไหร่ ถ้าให้แสดงความเห็นนอกสัมภาษณ์ก็อาจจะได้ |
GM : | แสดงว่ามันต้องออกไปทางเนกาตีฟ? |
วินทร์ : | ทำนองนั้น แต่ผมว่ามันก็เป็นเรื่องที่นานาจิตตังนะ มันแล้วแต่ความชอบ ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้นขอสงวนความเห็นในเรื่องนี้ไว้ดีกว่า |
GM : | เคยเอารัฐบาลนี้มาเขียนหรือยัง |
วินทร์ : | เคยแต่เอา พฤติกรรมของคนในรัฐบาลมาใช้ก่อนที่จะเป็นรัฐบาลนี้ ซึ่งหลาย ๆ คนในนั้นตอนนี้ก็อยู่ในรัฐบาล ผมเอามาเขียนล้อเป็นเรื่องสั้นชื่อ 'สุนัขาธิปไตย' มันเกิดจากที่ผมฟังการอภิปรายในรัฐสภาแล้วมันน่าเบื่อน่ารำคาญเหลือเกินจน ต้องลุกขึ้นมาเขียนเสร็จรวดเดียวในเวลา 2-3 วัน รู้สึกว่าเป็นเรื่องสั้นในน้อยเรื่องเหลือเกินที่เขียนรวดเดียวจบ ปกติผมเขียนอย่างนั้นไม่ได้แน่ นี่แบบรำคาญสุดๆ แล้ว |
GM : | คาดว่าเรื่องสั้นเรื่องนี้ของคุณ อีก 10 ปีก็ยังไม่ล้าสมัย |
วินทร์ : | ถ้าดูที่พฤติกรรมของคนมันก็คงไม่ล้าสมัยเท่าไหร่ แต่ถ้าในแง่ศิลปะการเขียน ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ธรรมดาๆ ไม่มีอะไรใหม่ |
GM : | นักเขียนส่วนใหญ่ใฝ่ฝันอยากเขียนนิยายเล่มโต ๆ คุณฝันอย่างนั้นด้วยไหม |
วินทร์ : | มี, ตั้งแต่เด็กผมก็อยากเขียนนิยายจารกรรมพวกรัสเซียแนวนั้น ส่วนเรื่องแนวชีวิตหรือประเภทแนวเศร้าๆ ผมคงไม่อยากเขียน อยากเขียนอะไรที่มันๆ มากกว่า |
GM : | เคยอยากเขียนอะไรที่แปลกออกไปไหม, อย่างเช่นบทหนัง |
วินทร์ : | เคยคิดจะเขียนอยู่เหมือนกัน แต่ผมรู้สึกว่มันยาก ผมว่ามันแล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน |
GM : | เห็นคุณเขียนจดหมาย ถึงคุณเสถียร จันทิมาธร ใน 'มิติชนสุดสัปดาห์' เล่าว่าการที่ได้มีโอกาสไปเที่ยวเวียดนานทำให้คุณมองเห็นความแตกต่างระหว่าง การเขียนโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากรีเสิร์ชล้วน ๆ กับการเขียนโดยสัมผัสจากประสบการณ์ในชีวิตจริง |
วินทร์ : | ใช่, ที่ผ่านมาการเขียนส่วนใหญ่ของผมเขียนจากจินตนาการเป็นหลัก แล้วผมก็ไปหาข้อมูลมาแบ็คอัพจินตนาการนั้น เช่นผมอยากเขียนเรื่องกระบวนการศีลธรรม ซึ่งมีพล็อตเรื่องคร่าวๆ ในหัวแล้ว ทีนี้ผมก็ต้องไปรีเสิร์ชเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับฝิ่นใส่เข้าไป แต่ในชีวิตจริงผมไม่มีโอกาสไปเจอขบวนการค้าฝิ่น หรือมีประสบการณ์จากการเข้าไปอยู่ในป่า เนื่องจากชีวิตผมเรียบง่ายกว่านั้นเยอะ จึงไม่มีข้อมูลเหล่านั้น แต่เมื่อไปเวียดนาม ผมได้เห็นอะไรบางอย่างที่มันสะกิตใจให้คิดว่า สิ่งนี้คือสิ่งที่ผมขาดไป เพราะไม่ได้ออกไปสัมผัสกับสภาพแวดล้อม จริงๆ ที่เราจะเขียนมันออกมาเป็นฉาก สิ่งที่ผมได้เขียนไปมีบางส่วนที่เกี่ยวกับเวียดนาม ซึ่งเมื่อได้ไปเห็นของจริงก็พบว่า มันแตกต่างจากที่จินตนาการไว้ จึงเกิดความคิดว่าต้องถอยออกมาคิดดูใหม่ว่ เราควรจะต้องรีเสิร์ชให้ลึกกว่านั้น หรือออกไปสัมผัสของจริง ซึ่งจะให้ความรู้สึกที่ผิดกัน |
GM : | ที่คุณพูดถึงนี่คือเรื่อง 'ใต้ฟ้าดาวแดง' ใช่ไหม |
วินทร์ : | ใช่, มันเป็นเรื่องกี่ยวกับกรผจญภัยสไตล์กำลังภายในบวกเรื่องการเมือง แล้วก็บวกเรื่องนักสืบของ เฟรเดอริค ฟอร์ไซท์ ปนๆ กันไป นี่คือแนวความคิดคร่าวๆ ในหัว แต่พอเวลาเขียนจริงมันยากกว่านั้น เพราะข้อมูลต่าง ๆ มันเกิดจากจินตนาการ ไม่ใช่ของจริง พอเป็นของจริงแล้วมันรู้สึกว่าเท่ากับเราจะต้องมาเขียนใหม่ |
GM : | คำพูดในจดหมายฉบับเดียวกันที่ว่า 'การเขียนก็เหมือนกับการเดินทาง ยิ่งเดินเร็วก็ยิ่งมีเวลาดื่มด่ำกับทิวทัศน์น้อยลง' เป็นคำพูดของคุณเองหรือจำมาจากใคร |
วินทร์ : | เข้าใจว่าเป็น ของผมเอง เพราะผมเขียนมันจากความรู้สึก แต่มันอาจจะไปตรงกับใครก็ได้ นี่เป็นการเรียนรู้ว่สำหรับการเขียนหนังสือแล้ว คุณห้ามรีบร้อนเป็นอันขาด เพราะถ้ารีบเมื่อไหร่งานมันก็จะออกมาหยาบ ซึ่งมันก็เหมือนกับการเดินทางที่ถ้าคุณรีบเร่งเดินไปเร็วๆ ก็จะมองไม่เห็นว่ามีอะไรสวย ๆ อยู่ 2 ข้างทางบ้าง |
GM : | ทราบว่าคุณเคยทำงานในบริษัทที่สิงคโปร์กับอเมริกา 5 ปีกว่า ประสบการณ์สำคัญที่สุดที่คุณได้จากการทำงานร่วมกับคนต่างชาติคืออะไร |
วินทร์ : | ได้รู้ว่าพวกฝรั่งทำงานซีเรียส เอาจริงเอาจัง ไม่มีประเภททำงานวันหนึ่ง อีกวันหนึ่งไม่สบาย หรือทำงานเหยาะแหยะอย่างที่ผมเจอเมื่อตอนที่กลับมาเมืองไทยใหม่ๆ ความจริงจังในการทำงานของเรายังสู้เขาไม่ได้อีกมาก |
GM : | ภรรยามีส่วนช่วยในการเขียนของคุณหรือเปล่า |
วินทร์ : | เปล่าเลย ภรรยาผมเป็นคนสิงคโปร์ เขาอ่านงานเขียนผมไม่ออก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่สุดเรื่องหนึ่ง ผมก็ได้แต่เล่าเรื่องที่ผมเขียนให้เธอฟัง แต่มันก็คงไม่ได้ทั้งหมดเพราะเรื่องสั้นที่ผมเขียนให้เธอฟัง แต่มันก็คงไม่ได้ทั้งหมดเพราะเรื่องสั้นหรือนิยายมันควรจะได้อ่านบ้าง ไม่ถึงขนาดไม่ได้อ่านเลย ยิ่งเรื่องประเภทวรรณกรรมแล้วอาจจะยากสักหน่อยที่จะเล่า |
GM : | คุณกับภรรยาคุยกันด้วยภาษาอะไร |
วินทร์ : | ภาษาอังกฤษ |
GM : | แล้วกับลูกชายล่ะ |
วินทร์ : | ภาษาอังกฤษกับไทยปนกัน |
GM : | ไลฟ์สไตล์คุณเป็นอย่างไร |
วินทร์ : | เรียบๆ ไม่ค่อยมีอะไรตื่นเต้นเท่าไหร่ |
GM : | คุณพูดถึงตัวเองบ่อยๆ ว่าชีวิตราบเรียบ มีเรื่องอะไรสักเรื่องไหม ที่คุณคิดว่าหวือหวาที่สุดเท่าที่เคยทำในชีวิต |
วินทร์ : | อาจจะเป็นการเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะมีโอกาสได้ไป คือตั้งแต่เรียนจากต่างจังหวัดมาต่อกรุงเทพฯ ก็ไม่เคยคิดว่าจะได้ไปต่างประเทศ หรือว่าไปเจอเมืองอะไรที่ชีวิตมันมีรูปแบบที่แตกต่าง ถ้าพูดไปมันก็เป็นสิ่งที่หักเหในชีวิตแบบที่แตกต่าง ถ้าพูดไปมันก็เป็นสิ่งที่หักเหในชีวิต เพราะมันทำให้ผมได้มุมมองต่างๆ ในอีกโลกหนึ่งที่เราไม่เคยคิดมาก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก แล้วมันก็ช่วยผมได้มากในเรื่องมุมมองต่าง ๆ คือ ถ้าหากไม่ได้ไปต่างประเทศในคราวนั้น คิดว่าตอนนี้ผมก็ยังอยู่ในกะลาอยู่ |
GM : | เคยคิดจะเขียนนิยายภาษาอังกฤษไหม |
วินทร์ : | เคยคิดแต่ว่าขนาดภาษาไทยผมยังไม่สามารถควบคุมมันได้เท่าไหร่เลย ถ้าเป็นภาษาอังกฤษคงจะแย่หน่อย คือผมยังไม่สามารถมาสเตอร์ภาษาในเซ้นส์ที่ว่าใช้ศัพท์ใช้ภาษาให้มีพลังได้ อย่างเก่งที่สุดที่จะทำได้ก็คงแค่เล่าเรื่องว่าเรื่องเป็นยังไง คงเน้นที่ตัวเรื่องมากกว่าภาษา ซึ่งนั่นอาจจะเป็นไปได้ แต่ก็คือว่ายังเป็นอนาคตที่ยาวไกล ค่อนข้างเป็นเรื่องที่ยาก |
GM : | คุณว่าอีกนานไหมที่นักเขียนไทยจะได้รางวัลโนเบล |
วินทร์ : | อันนี้ผมคงตอบ ไม่ได้ เพราะผมไม่รู้ว่าคณะกรรมการเขาใช้มาตรการอะไรเป็นตัวพิจารณา แล้วเรื่องเกี่ยวกับที่ว่าต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษด้วยหรือเปล่า แต่ถ้าถามถึงคุณภาพของนักเขียนไทย ผมคิดว่าน่าจะอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี คือมีมุมมองในเรื่องชีวิตชนบท ชีวิตในเมือง และด้านต่าง ๆ ให้บันทึกไว้เยอะพอสมควร |
GM : | ถ้าเดาไม่ผิด คุณใช้คอมพิวเตอร์เขียนงาน ? |
วินทร์ : | ผมคุ้นกับคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ทำงานก็เลยใช้มันมาตลอด แรก ๆ ที่เขียนเรื่องสั้นก็ใช้ดินสอนิดหน่อย แต่มันไม่ทันใจ แล้วการที่จะรู้ว่าเขียนช้าหรือเขียนเร็วก็ต้องใช้พิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์ พิมพ์ออกมา สุดท้ายก็เลือกเอาคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็ฝึกพิมพ์ แรก ๆ ผมพิมพ์ช้า มาก แต่เดี๋ยวนี้เร็วขึ้นแล้ว พิมพ์เกือบจะทันความคิด แต่ก็ยังช้ากว่าอยู่ดี
หมายเหตุ : แนวการเขียนแบบขีดเส้นทับ ยืมมาจากเรื่องสั้นของ วินทร์ เลียววาริณ เรื่อง 'การหนีของราษโลกสามใบของราษฎร์ เอกเทศ' ในนิตยสารช่อการะเกด ฉบับ ดี งาม จริง ลวง เดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2538 ตัดตอนจากเรื่อง 'โลกีย-นิพาน' ของวินทร์ เลียววาริณ ในหนังสือรวมเรื่องสั้น 'อาเพศกำสรวล' หน้า 17 สำนักพิมพ์ดอกหญ้า หล่อนสลัดชุดยาวออก อย่างไม่ขัดเขิน เผยชุดชั้นในดำบางเบาภายใน กึ่งซ่อนเร้นกึ่งเปิดเผยกึ่งทะมัดทะแมงกึ่งยั่วยวน วัยของหล่อนคงไม่ต่ำกว่าสามสิบ แต่คงกร้านชีวิตมามากกว่าผู้หญิงที่ผมรู้จักอีกหลายคนรวมกัน นัยน์ตาคู่นั้นคมแบบคนสู้โลก รอยตีนกาถูกกลบหายไปด้วยเมคอัฟสังเคราะห์สีเข้ม หล่อนไขก๊อกน้ำร้อนและเย็น ปล่อยให้น้ำสองสายไหลลงหาน้ำเย็น คละเคล้าละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ส่งควันกรุ่นลอยบางเบา น้ำแปลกหน้าสองสายกับคนแปลกหน้าสองคน ระดับน้ำในอ่างค่อยๆ เผยอสูงขึ้นทีละน้อย เงียบจนได้ยินแต่เสียงน้ำรินและเสียงหัวใจผมลั่นในอก แล้วผู้หญิงแปลกหน้าคนที่ผมเพิ่งรู้จักมาไม่เกินสิบหน้านาทีก็บอกผม "ถอดเสื้อออกสิ' หลวงพี่สันติขยับจีวรให้กระชับร่างอีกครั้ง ท่านเป็นคนร่างใหญ่ ไหล่และต้นคอหนา คางสองชั้น ใบหน้าที่เปล่งปลั่งด้วยเลือดฝาดดูอ่อนกว่าตัวเลขวัยห้าสิบ แว่นตาขอบกระทำให้ท่านดูคงแก่เรียนและน่าเลื่อมใสมากขึ้น หากมิได้ห่มผ้าเหลืองท่านก็คงดูเหมือนคฤหัสถ์ผู้อยู่ดีกินดีมาตลอดชีวิต ท่านไขก๊อกน้ำปล่อยให้มันไหลลงในขันเงินที่ขัดเงาจนเงาวับพันสายสิญจ์โดยรอบ และหลับตาบริกรรม ผมเฝ้าสังเกตทุกอิริยาบถของท่านอย่างสนใจ ครู่ต่อมาท่านยกขันน้ำมนต์วางบนแท่นเปิดลิ้นชักใต้แท่นยกถาดเครื่องมือสัก ยันต์ออกมาและเบือนหน้าไปที่ชายหนุ่มวัยยี่สิบกว่าที่นั่งพนมมืออยู่เบื้อง หน้าผมรู้แต่เพียงว่าแขกคนล่าสุดของกฎิมาหาหลวงพี่เพิ่มความเชื่อมั่นอะไร บางอย่างของชายชาตรี "ถอดเสื้อออกสิ" |