(พิมพ์ครั้งแรก 2555 / 256 หน้า)
รวมเรื่องสั้นแนววรรณกรรม
รางวัลเรื่องสั้นดีเด่นจากสมาคมภาษาและหนังสือ PEN 2556 (รักกันหนึ่งร้อยปี)
โลกเราเขียนขึ้นด้วยเส้นสมมุติ แกรนด์ แคนยอน เป็นของอเมริกา, ภูเขาฟูจิเป็นของญี่ปุ่น, ภูผางามแห่งกุ้ยหลินเป็นของจีน, ป่าอะเมซอนส่วนใหญ่เป็นของบราซิล, เกรท แบร์รีเออร์ รีฟ เป็นของออสเตรเลีย, ป่าห้วยขาแข้งเป็นของไทย, น้ำมันใต้ดินเป็นของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ฯลฯ
หากเราจะไปเยี่ยมชม แกรนด์ แคนยอน ก็ต้องไปเข้าคิวขอวีซาที่สถานทูตอเมริกา เพราะอเมริกามีสิทธิ์ขาดเป็นเจ้าของมัน หากอยากไปชื่นชมภูเขาฟูจิ ก็ต้องไปขออนุญาตประเทศญี่ปุ่น อยากล่องป่าอะเมซอน ก็ต้องไปขออนุญาตบราซิล ฯลฯ
ย้อนหลังไปสักห้าพันปีก่อน มนุษย์คนไหนอยากไปที่ไหนในโลก ก็ไปได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาตใคร เพราะเวลานั้นโลกยังไม่มีประเทศ ไม่มีพาสปอร์ต ไม่มีวีซ่า
คิดดูก็น่าประหลาด จู่ ๆ โลกก็ถูกกาแบ่งเขตขีดเส้นว่าส่วนนี้เป็นของฉัน ส่วนนั้นเป็นของคุณ
เส้นสมมุติ เป็นการตั้งคำถามถึงบทบาทของเส้นสมมุติ ทั้งระหว่างสังคม ระหว่างประเทศ ไปจนถึงระหว่างคนกับคน เชื้อชาติกับเชื้อชาติ ความเชื่อกับความเชื่อ ในรูปรวมเรื่องสั้นแนววรรณกรรม นี่เป็นการเดินทางต่อมาจากหนังสือชุด อาเพศกำสรวล, สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน, น้ำแข็งยูนิตตราควายบิน
"หากนำ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน กับ เส้นสมมุติ มาวางเทียบกัน เส้นสมมุติดูเป็นงานที่สามัญอย่างยิ่งในเชิงรูปแบบ แต่ขณะเดียวกัน ในแง่ของความลึกซึ้งแล้ว เส้นสมมุติ ไปไกลกว่า สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน อย่างเห็นได้ชัด"
จรูญพร ปรปักษ์ประลัย
(รักกันหนึ่งร้อยปี) "เข้าถึงระดับใจของตัวละครได้อย่างลึกซึ้ง โครงเรื่องและเนื้อหาสมจริงสมจัง เชื่อว่ามีการค้นข้อมูลอยู่นานและจำนวนมากในการเขียนเรื่องสั้นเรื่องนี้ อ่านแล้วอินมากทำให้รู้สึกว่า ตัวละครในเรื่องคือญาติสนิทของผู้อ่านเองเลยทีเดียว มันเห็นภาพจนทำให้น้ำตาซึม"
ผู้อ่าน
ซื้อวันนี้ ไม่คิดค่าจัดส่ง