-
วินทร์ เลียววาริณ1 วันที่ผ่านมาเล่าเรื่องการยิงเป้ากบฏพระยาทรงสุรเดชต่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๘๒ นักโทษประหารได้แก่ พ.อ. พระสิทธิเรืองเดชพล พ.อ. หลวงมหิทธิโยธี ร.อ. ขุนคลี่พลพฤณฑ์ และ จ.ส.ต. แม้น เลิศราวีวันนี้นักโทษชุดที่สองทั้งสี่คนเ... ตรียมพร้อมมาก่อน เพราะทุกคนรู้เรื่องการฉุดลากนักโทษไปประหารเมื่อวานนี้ นักโทษประหาร ร.ท. ณ เณร ตาละลักษมณ์ บอกผู้คุมว่า “พวกเราเป็นทหาร ยินดีให้คุมตัวไปฆ่าได้ อย่าทำแบบนี้”ผู้คุมไปแจ้งต่อผู้บัญชาการเรือนจำ วันต่อมาจึงไม่มีการฉุดลากตัวนักโทษไปอีกพ.อ. พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธุประภาส) เป็นอดีตรัฐมนตรีในปี ๒๔๗๗ และ ส.ส. ประเภทสอง อดีตผู้บัญชาการทหารบกมณฑลที่ ๕ จังหวัดราชบุรีพ.อ. หลวงมหิทธิโยธี (สุ้ย ยุกตวิสาร) เป็นผู้บังคับการจังหวัดทหารบกราชบุรีร.อ. ขุนคลี่พลพฤณฑ์ (คลี่ สุนทรารชุน) เป็นครูประจำโรงเรียนรบ และลูกศิษย์คนสนิทของพระยาทรงสุรเดชทั้งหมดมีสายสัมพันธ์กับพระยาทรงสุรเดชในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาทรงสุรเดชเสนอต่อกระทรวงกลาโหมขอตั้งโรงเรียนรบขึ้นที่เชียงใหม่ สภากลาโหมอนุมัติ จึงสร้างโรงเรียนที่นั่น พานายทหารจำนวน ๒๙ นายไปเรียน ตลอดเวลานั้นหลวงพิบูลสงครามที่ระแวง พระยาทรงสุรเดช ก็ส่งคนติดตามความเคลื่อนไหวตลอดเวลาไม่นานหลังจากนั้น พระยาทรงสุรเดชก็ถูกสั่งปลดออกจากราชการ และถูกบังคับให้ลี้ภัยในอินโดจีนสำหรับพระสิทธิเรืองเดชพล นายทหารผู้สนิทสนมกับพระยาทรงสุรเดช ไปหาพระยาทรงสุรเดชเพื่อเสนอให้ก่อรัฐประหาร ให้เหตุผลว่าทหารหลายคน “ไม่สบายใจที่ทหารแตกกัน ต่างหนุนคนละฝ่าย”พระสิทธิเรืองเดชพลบอกว่า “ทหารส่วนใหญ่ยังเคารพนับถือเจ้าคุณ อยากให้เจ้าคุณคืนสู่อำนาจ เป็นนายกรัฐมนตรี”“ซึ่งแปลว่าต้องทำรัฐประหาร”เวลานั้นพระสิทธิเรืองเดชพล มีตำแหน่งผู้บังคับการทหารราบ คุมกำลังมากพอก่อรัฐประหารได้แต่พระยาทรงสุรเดชปฏิเสธพระสิทธิเรืองเดชพลรู้ว่า เหตุที่พระยาทรงสุรเดชไม่เปิดไฟเขียวให้ ก็เพราะท่านไม่ต้องการใช้กำลังยึดอำนาจ แต่อยากใช้กระบวนการทางรัฐสภาในเวลานั้นรัฐสภากำลังคัดสรรคนเป็นนายกรัฐมนตรีถัดจากพระยาพหลพลพยุหเสนา มีคู่ท้าชิงสองคนคือ พระยาทรงสุรเดชกับหลวงพิบูลสงคราม ตอนนั้นพระสิทธิเรืองเดชพลเป็นสมาชิกสภาประเภทที่ ๒ ชวนให้สมาชิกอื่น ๆ สนับสนุนพระยาทรงสุรเดชเป็นนายกฯ ในการลงคะแนนลับ คะแนนของพระยาทรงสุรเดชนำหน้าหลวงพิบูลฯ ๓๗ ต่อ ๕เมื่อทราบผลการนับคะแนน หลวงพิบูลฯชี้แจงว่า การลงคะแนนนี้ไม่ใช่การเลือกจริง เป็นการทดลองฟังความเห็นของสภาเท่านั้น เพราะมีคนกำลังเสนอให้เชิญพระยาพหลฯกลับมารับตำแหน่งอีกครั้ง เมื่อพระยาทรงสุรเดชทราบเรื่อง ก็ไม่พอใจหลังจากนั้นพระสิทธิเรืองเดชพลก็ตัดสินใจลาออกจากราชการ หลวงพิบูลสงครามเชิญเขาไปร่วมงานด้วย เต่เขาปฏิเสธ ทำให้หลวงพิบูลสงครามไม่ไว้ใจพระสิทธิฯไปด้วยลงเอยที่โทษประหารชีวิตคนทั้งสี่ผ่านกระบวนการเช่นเมื่อวานนี้ ฟังพระเทศน์ แล้วนำไปที่หลักประหาร คู่แรกคือ ร.อ. ขุนคลี่พลพฤณฑ์ และ จ.ส.ต. แม้น เลิศราวี คู่หลังคือ พ.อ. พระสิทธิเรืองเดชพล พ.อ. หลวงมหิทธิโยธีสีหน้าพระสิทธิเรืองเดชพลเรียบเฉย ซ่อนความรู้สึกทั้งหมดไว้ภายใน สมเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่เสียงปืนดังขึ้นหลายชุด สาเหตุเพราะปืนที่ยิงหลวงมหิทธิโยธี กระสุนด้าน เมื่อเปลี่ยนกระสุนยิงอีก ก็ด้านอีกหลวงมหิทธิโยธีร้องว่า “เมื่อยเต็มทีแล้ว เมื่อไหร่จะยิง!”ปืนกลรัวขึ้นตอนสายภรรยาพระสิทธิเรืองเดชพลนำอาหารมาส่งตามปกติ ทราบข่าวการจากไปของสามี ก็เป็นลมล้มพับไป................................วันที่ ๒ ธันวาคมเป็นวันที่สามของการประหาร ถึงคราของนักโทษสี่คนคือพ.ต. หลวงไววิทยาศร พ.ต.ท. ขุนนามนฤนาท ร.อ. จรัส สุนทรภักดี และ ร.ท. แสง วัณณะสิริพ.ต. หลวงไววิทยาศร (เสงี่ยม ไววิทย์) นั้นเป็นนายทหารประจำการ พ.ต.ท. ขุนนามนฤนาท (นาม ประดิษฐานนท์) เป็นนายตำรวจประจำการ ส่วน ร.อ. จรัส สุนทรภักดี และ ร.ท. แสง วัณณะสิริ เป็นนายทหารฝึกหัดราชการโรงเรียนรบของพระยาทรงสุรเดชทั้งหมดล้วนมีสายสัมพันธ์กับพระยาทรงสุรเดชหลวงไววิทยาศรกับ ร.ท. แสง วัณณะสิริ เดินไปเป็นคู่แรกเหล่านักโทษไม่แสดงความกลัวตายใด ๆ ขณะถูกนำไปที่หลักประหาร จู่ ๆ หลวงไววิทยาศรตะโกนขึ้นว่า “ที่ไหนโว้ยจุดหมาย?”ขุนนามนฤนาทตะโกนกลับมาจากด้านหลังว่า “อเมริกาซิเพื่อน”วิญญาณของทั้งคู่ปลิดปลิวเมื่อเวลา ๐๕.๒๐ น. แต่จะไปเกิดใหม่ที่อเมริกาหรือไม่นั้น ไม่มีใครรู้เมื่อได้ยินเสียงปืนกลรัว ขุนนามนฤนาทไม่มีสีหน้าประหวั่นพรั่นพรึง พูดเสียงกลั้วหัวเราะว่า “เอ้า! เราเตรียมตัวได้”ส่วน ร.อ. จรัสเครียด เพราะภรรยาเพิ่งให้กำเนิดลูกน้อยไม่กี่เดือนเท่านั้นขุนนามนฤนาทพูดกับ พ.ต.ต. ขุนสมัครพลกิจว่า “ท่านขุนครับ ช่วยเรียนผู้บังคับบัญชาชั้นผู้ใหญ่ว่าผมขอกราบลาไปก่อน”แล้วก้าวเดินไปสู่ความตายโดยไม่พรั่นพรึงเสียงปืนคำรามอีกระลอกตายไปแล้วสิบสองคน(ยังมีต่อ).........................จากหนังสือชุด ประวัติศาสตร์ที่เราลืม / วินทร์ เลียววาริณตอนนี้มีโปรโมชั่นสุดคุ้ม สั่งทาง Shopee https://shope.ee/30QSjhDgNg?share_channel_code=6 สั่งทางเว็บ https://www.winbookclub.com/store/detail/176/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%20%E0%B9%91-%E0%B9%95%20+%20%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A9 ดูเพิ่มเติม0
- แชร์
- 12
-
วินทร์ เลียววาริณ1 วันที่ผ่านมางานหนังสือรอบนี้สำหรับผม ถือว่าจบไปแล้วเมื่อวานนี้ หลังจากไปประจำการ "ทำงานทำงานทำงาน" มา 12 วันเต็มรอบนี้ได้พบปะพูดคุยกับผู้อ่านไม่น้อย บางคนคุยด้วยกัน 1-2 ชั่วโมงเรื่องที่คุยก็มีทั้งประวัติศาสตร์ เห... ตุการณ์บ้านเมือง เรื่องชีวิต ปรัชญา ไปจนถึงแก่นพุทธศาสนาได้ประโยชน์มากมายเด็กหญิง Yada ก็นำงานสเก็ตช์มาให้ดูด้วย น่ารักครอบครัว พุ่มรัก พานสิงห์ ก็มากันทั้งบ้าน (หมายถึงครอบครัวที่ทั้งบ้านอ่านนิยายชุดนี้)ก็เป็นด้านดีของการเปิดบูธพบนักอ่าน นอกเหนือจากการเคลียร์สต็อกหนังสือนี่เป็นปีที่ 21 ของการเปิดบูธงานหนังสือ ทำบ่อยจนสถานที่จัดงานเป็นบ้านหลังที่สองไปแล้วถ้าจะไม่ชอบ ก็คงเป็นแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นขณะมีงาน และยังทำให้โกดังพัง (ตอนนี้ซ่อมเสร็จแล้ว)ก็ขอขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมเยือน เอาอาหาร ขนม ไอติม ผลไม้มาฝากพบกันใหม่รอบหน้าในเดือนตุลาคมพร้อมนวนิยายที่เขียนนานหกปี 'สี่ภพ' (เป่ย-หนาน-ตง-ซี) ---ถ้าฟ้าเปิดวินทร์ เลียววาริณ8-4-25 ดูเพิ่มเติม1
- แชร์
- 19
-
วินทร์ เลียววาริณ1 วันที่ผ่านมาเล่าเรื่องกบฏพระยาทรงสุรเดชต่อผลของการกวาดล้างกลุ่มพระยาทรงสุรเดช คน ๑๘ คนถูกประหารด้วยคำพิพากษาจากศาลพิเศษคือศาลที่ไม่ต้องเสียเวลาแก้ต่างศาลพิเศษมีคำพิพากษา จำคุกตลอดชีวิต ๒๒ คน พ้นข้อกล่าวหา ๗ คน แล... ะประหารชีวิต ๒๑ คน แต่ลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต ๓ คนเป็นการยิงเป้าจำนวนคนมากที่สุดตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองปี ๒๔๗๕ ผู้ถูกลงทัณฑ์หลายคนร่วมก่อการในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ด้วยรุ่งสางวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ปี ๒๔๘๒ เป็นคืนข้างแรมอ่อน ๆ พระจันทร์เกือบเต็มดวง อากาศเย็นจัด น้ำค้างลงเผาะ ๆที่ประตูชั้นในใต้หอรักษาการณ์คุกบางขวาง เจ้าหน้าที่ ๓๐-๔๐ คนกำลังออกันอยู่ บุคคลเหล่านี้ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่เรือนจำ หมอ ผู้คุม คณะกรรมการจังหวัดนนทบุรี เจ้าหน้าที่สันติบาล และผู้แทนจากกระทรวงกลาโหม ทั้งหมดเป็นประจักษ์พยานการฆ่าคนการยิงเป้านักโทษการเมืองสิบแปดคนนักโทษสิบแปดคนนี้จะถูกทยอยยิงเป้านับจากเช้ามืดวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๒การยิงเป้านักโทษการเมืองทั้งสิบแปดคงดำรงเป็นความลับไปตลอดกาล หากมิใช่เพราะมีบันทึกที่ละเอียดมากฉบับหนึ่ง ทำให้เรารู้เห็นเหตุการณ์ชั่วโมงสุดท้ายของนักโทษทั้งสิบแปดคนบันทึกการยิงเป้านักโทษการเมืองสิบแปดคนที่ชัดเจนและละเอียดที่สุดคือเรื่อง ข้าพเจ้าเห็นการยิงเป้า โดย จ.ส. (ตีพิมพ์ในหนังสือ เบื้องแรกประชาธิปตัย)จ.ส. เล่าว่า ในเช้ามืดวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๒ ผู้คุมหลายคนค่อย ๆ ย่องเข้าไปในที่คุมขัง ลากตัวนักโทษชุดแรกสี่คนออกมาขณะกำลังหลับ ขณะปลุกปล้ำฉุดกระชากลากตัวไป ปรากฏเสียงตึงตังดังลั่น นักโทษคนอื่น ๆ เห็นและต่อว่าทางเรือนจำว่า ทำไมทำแบบนี้นักโทษทั้งสี่ได้แก่ พ.ท. พระสุวรรณชิต (จร กังสวร) ร.ท. เผ่าพงษ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา นายดาบผุดพันธ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา บุตรชายทั้งสองของพระยาเทพหัสดิน และ ร.ต. บุญมาก ฤทธิสิงห นายทหารประจำการ บางคนนุ่งผ้าขาวม้า บางคนสวมเพียงกางเกงในอากาศเย็นเฉียบ โซ่เหล็กและตรวนรัดข้อเท้า นักโทษหนาวจนสั่นสะท้านไปทั้งตัว ทั้งหมดถูกพาไปฟังพระเทศน์เป็นครั้งสุดท้าย นักโทษประหารนั่งในโถงที่มีพระจากวัดบางแพรกใต้รออยู่ ด้านหนึ่งวางพระพุทธรูปหน้าตักแปดนิ้ว หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก และธูปเทียน ทุกครั้งที่ลมเย็นโชยเปลวเทียนก็สั่นไหวไปมาพระให้ศีลจบก็แสดงธรรม นักโทษพนมมือฟังไปหนาวสั่นไป คำสอนของพระคืออย่าได้จองเวรต่อกัน ทำใจให้สงบ เพื่อให้วิญญาณไปสู่สุคติหลังจากนั้นนักโทษทั้งสี่ก็ถูกพาไปที่หลักประหารหนึ่งในนักโทษประหารชุดแรกคือพระสุวรรณชิต ถูกตั้งข้อหาว่าจ้างนายลีไปยิงหลวงพิบูลสงคราม เขาให้การว่าไม่เคยรู้จักนายลีมาก่อน เส้นทางของคนทั้งสองไม่พาดผ่านกัน คนหนึ่งเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ คนหนึ่งเป็นผู้รับใช้ส่วน ร.ท. เผ่าพงษ์ กับนายดาบผุดพันธ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยาเป็นบุตรชายของพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาเทพหัสดินเป็นทหารเอกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสูงจนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยความผันผวนทางการเมือง นอกจากพระยาเทพหัสดินจะถูกจับกุมด้วยข้อหากบฏแล้ว บุตรชายทั้งสองก็ถูกกวาดจับมาด้วยเมื่อถูกจับกุม พระยาเทพหัสดินนึกในใจว่า ลูกชายทั้งสองก่อเรื่องให้ท่านถูกจับเสียแล้ว เมื่อพบกับลูกชายทั้งสอง ลูกกลับบอกว่า”นี่พ่อไปทำอะไร ทำให้ผมพลอยเดือดร้อนไปด้วย”พระสุวรรณชิตขออนุญาตเขียนจดหมายสั่งเสียถึงลูก ให้ลูก ๆ รักกัน เขียนเสร็จแล้วก็มอบจดหมายให้เจ้าหน้าที่ไปส่งต่อให้ครอบครัวเมื่อรู้ว่าเวลาจากกันมาถึงแล้ว สองพี่น้องเทพหัสดิน ณ อยุธยา โผเข้ากอดกันแล้วร้องไห้ ทุกคนในที่นั้นเบือนหน้าหนีด้วยความสะเทือนใจเวลา ๐๕.๓๐ น. เจ้าหน้าที่ทัณฑสถานพาพระสุวรรณชิตกับ ร.ท. เผ่าพงษ์ออกไปเป็นคู่แรก ผู้คุมถือโคมนำทาง นักโทษทั้งสองหิ้วโซ่ตรวนเดินไปช้า ๆ บรรยากาศเงียบสงัด มีแต่เสียงโซ่กระทบกันเป็นจังหวะ เจ้าหน้าที่และผู้สังเกตการณ์ทั้งหลายก็เดินตามไปเมื่อถึงแดนประหาร ข้าหลวงอ่านคำพิพากษาของศาลพิเศษ นักโทษประหารฟังเงียบ ๆ นัยน์ตาเด็ดเดี่ยวไม่มีความกลัวตาย แต่ตัวสั่นสะท้านเพราะความหนาวข้าหลวงถามว่า “มีอะไรจะสั่งเสียอีกไหม?”ทั้งสองปฏิเสธข้าหลวงบอกว่า “จงอย่าผูกพยาบาทจองเวรเลยนะ เพราะผมทำตามหน้าที่”..........................เรือนประหารเป็นโรงไม้ ขึงผ้าสีน้ำเงินปิดสี่ด้าน ด้านหลังวางกระสอบทรายตั้งซ้อนกันสูงประมาณ ๑.๘๐ เมตร สำหรับกันกระสุนปืน ภายในวางแท่นตั้งปืนกลเบิร์กมันน์ห่างจากเป้าหกเมตร ตัวเป้าเป็นรูปวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณสี่นิ้ว วางตรงระดับหัวใจของนักโทษประหาร โดยปรับระดับความสูงของเป้าตามความสูงของนักโทษก่อนพาเข้ามาที่แดนประหาร ตรงกลางเป็นเสาไม้กางเขนสูงราวคน พื้นขุดเป็นหลุมลึกถมเต็มด้วยแกลบเพื่อดูดซับโลหิต ด้านหลังไปอีกวางหีบศพสำหรับบรรจุศพนักโทษประหารผู้คุมนำผ้ามาปิดตาพระสุวรรณชิต พระสุวรรณชิตบอกว่า “ไม่ต้องผูกได้หรือไม่ เป็นทหาร ไม่กลัวดอก”เจ้าหน้าที่ว่า “ผมทำตามระเบียบครับ”นักโทษจึงยอม ตามมาด้วยการปิดตา ร.ท. เผ่าพงษ์ ทั้งสองถูกผูกกับเสา หันหน้าเข้าหาหลัก มัดสายสิญจน์บนลำตัวติดกับหลัก ป้องกันไม่ให้ร่างขยับเขยื้อน หากถูกยิงแล้วยังไม่ตายทันที เพชฌฆาตก็ยิงซ้ำได้ง่ายเจ้าหน้าที่ใช้สายสิญจน์มัดแขนติดกับไม้ขวาง ให้มือทั้งสองอยู่ในท่าพนมเหนือศีรษะ วางกรวยใบตองที่มีดอกไม้ธูปเทียนบนมือ เป็นการขอขมาลาตายนิ้วมือเพชฌฆาตสอดที่ไกปืน๐๕.๔๕ น. เสียงปืนลั่นหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่แก้มัดเชือก ยกศพไปวางไว้ที่โรงตอนใน เจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งบันทึกจุดที่กระสุนเข้าร่าง อีกคนหนึ่งพิมพ์ลายนิ้วมือทั้งสิบ ถ่ายรูปเป็นหลักฐานหลังจากนั้นก็ถึงคราวนักโทษสองคนที่เหลือของวันก่อนจากโลกไป บุตรชายพระยาเทพหัสดินฝากฝังผู้คุมให้ช่วยดูแลพระยาเทพหัสดินผู้พ่อ เนื่องจากท่านแก่แล้ว และฝากกราบลาพ่อด้วยเสียงปืนคำรามอีกครั้งอย่างไร้ความปรานีพระยาเทพหัสดินเป็นคนเดียวที่ยังไม่รู้ว่าลูกชายทั้งสองตายไปแล้ว ไม่มีใครกล้านำข่าวไปบอกท่าน ในตอนเช้าอดีตแม่ทัพใหญ่ชงกาแฟให้ผู้คุมช่วยนำไปส่งให้ลูกชายเช่นทุกวัน แต่ผู้คุมไม่นำกาแฟไปด้วยครั้นตอนสายพัศดี จำรัส เพชรคล้าย มาตรวจการณ์ตามปกติ พระยาเทพหัสดินก็ขอให้เขาช่วยนำกาแฟที่เย็นชืดแล้วไปส่งให้ลูกทั้งสอง จำรัสตอบสั้น ๆ ว่า “เขาเอาไปแล้ว”พระยาเทพหัสดินนึกถึงเสียงปืนที่ได้ยินตอนเช้ามืด ครางเบา ๆ “อ้อ! ได้ยินเสียงปืนตอนเช้ามืด เขาไปเป็นสุขแล้ว”(ยังมีต่อ).........................จากหนังสือชุด ประวัติศาสตร์ที่เราลืม / วินทร์ เลียววาริณตอนนี้มีโปรโมชั่นสุดคุ้ม สั่งทาง Shopee https://shope.ee/30QSjhDgNg?share_channel_code=6 สั่งทางเว็บ https://www.winbookclub.com/store/detail/176/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%20%E0%B9%91-%E0%B9%95%20+%20%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A9 ดูเพิ่มเติม1
- แชร์
- 28
Chartrakสมัยนั้นดุกันจังนะครับ คดีการเมืองต้องจัดการกันถึงตายเลยทีเดียว -
วินทร์ เลียววาริณ1 วันที่ผ่านมาวันนี้ผมไปงานหนังสือเป็นวันสุดท้ายความจริงผู้จัดงานขยายเวลาไปอีกหนึ่งวัน ถึงวันพรุ่งนี้ เพื่อชดเชยเหตุแผ่นดินไหว แต่สำนักพิมพ์ของผมวางแผนจัดคนได้ถึงวันนี้เท่านั้น นักเรียนนักศึกษาที่มาช่วยงานก็มาได้ถึ... งวันนี้ ทุกคนก็เหนื่อยแล้วด้วยถ้ามาวันพรุ่งนี้ก็จะไม่เจอกันโปรโมชั่นต่างๆ ยังมีอยู่เฉพาะงานวันนี้เท่านั้น ส่วนโปรโมชั่นทางออนไลน์จบไปแล้วเมื่อคืนนี้ใครอยากมาพบกัน คุยกัน ก็เชิญครับ ไม่งั้นก็ยกยอดไปงานหน้าก็ไม่รู้ว่าจะได้จัดอีกกี่งาน เพราะเรี่ยวแรงก็ถดถอยตามวัยSee you when I see you.ว.ล.7 เมษายน 2568บูธ D-08 ดูเพิ่มเติม1
- แชร์
- 32
-
วินทร์ เลียววาริณ1 วันที่ผ่านมาสาธุคุณ ชาร์ลส์ สวินดอลล์ เคยกล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตไม่ใช่เงินตรา การศึกษา ความสำเร็จ หากคือคำคำเดียว : ทัศนคติทัศนคติสำคัญกว่าความจริง สำคัญกว่าอดีต สำคัญกว่าเปลือกนอก พรสวรรค์ ความเชี่ยวชาญท... ่านกล่าวว่า "ชีวิตคือ 10 เปอร์เซ็นต์ของสิ่งที่เกิดขึ้นกับข้าพเจ้า และ 90 เปอร์เซ็นต์ของปฏิกิริยาของข้าพเจ้าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น และมันก็เป็นกับคุณเช่นกัน เราเป็นคนดูแลทัศนคติของเราเอง"เราทุกคนเกิดมาโดยไม่สามารถเลือกข้อแม้ของการเกิด ไม่สามารถเลือกชาติกำเนิด ฐานะ คุณภาพสมอง ความแข็งแรงทางกายภาพ ฯลฯ แต่อย่างน้อยที่สุด เราสามารถเลือกที่จะมองโลกด้วยสายตาแบบบวกหรือลบ เราอาจไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันหนึ่ง ๆ ก็จริง แต่สามารถผ่านชีวิตวันนั้นหรือทั้งชีวิตไปได้ด้วยดีหากเรามีทัศนคติที่ดีหากชีวิตแรกเกิดเป็นผืนผ้าใบว่างเปล่า เราแต่ละคนต่างก็ได้รับพู่กันกับสี บางคนโชคดีได้รับหลอดสีสดใส บางคนได้รับหลอดสีดำหม่น แต่ไม่ว่าจะเป็นสีสดหรือสีดำ เราต่างสามารถระบายภาพที่ต้องการให้สวยงามได้กวีชาวอังกฤษ เฟรเดอริก แลงบริดจ์ เขียนไว้ใน A Cluster of Quiet Thoughts (1896) ว่า "สองคนยลตามช่อง : คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม คนหนึ่งตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย"จะเลือกเป็นสุขหรือเลือกเป็นทุกข์อยู่ที่ตัวเราเองทั้งสิ้นบางครั้งในความมืดมนที่สุดของชีวิต ทัศนคติที่ดีอาจช่วยเป็นแว่นขยายให้เราเห็นภาพต่าง ๆ ชัดขึ้น และพบว่าในความมืดยังมีจุดสว่างเบื้องบนยังมีแสงดาววินทร์ เลียววาริณ7-4-25......................จากหนังสือ เบื้องบนยังมีแสงดาว https://www.winbookclub.com/store/detail/84/เบื้องบนยังมีแสงดาว โปรโมชั่นชุด 6 เล่ม https://www.winbookclub.com/store/detail/217/S6%20ชุดกำลังใจครึ่งโหล ดูเพิ่มเติม1
- แชร์
- 26
